
" นพ.วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากทุกการศึกษาทั่วโลกพบว่าระบบ ABS สามารถลดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ได้ โดยการศึกษาในเยอรมันพบว่ามีส่วนช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ถึง ร้อยละ 85 ลดการบาดเจ็บรุนแรง ร้อยละ 8-17 ในออสเตรเลียลดอุบัติเหตุลงได้ ร้อยละ 55 การศึกษาในสวีเดน ร้อยละ 48 การศึกษาในอเมริกา ร้อยละ 37 และในอินเดีย ร้อยละ 33 ส่วนระบบ CBS มีข้อมูลสรุปว่าช่วยลดการเสียชีวิตลงได้ ร้อยละ 6 – 26 ทว่าการติดตั้งระบบเบรคทั้งสองชนิด จะเพิ่มต้นทุนต่อราคารถจักรยานยนต์ ประเทศไทยจึงต้องมีการพิจารณาในเชิงนโยบาย โดยหากกฎหมายบังคับให้รถจักรยานยนต์ใหม่ทุกคันติดตั้งระบบ ABS หรือ CBS เพิ่มขึ้น 1.8 ล้านคันจะสามารถลดการเสียชีวิต ต่อปีลงได้ 401 - 602 คน ลดการบาดเจ็บสาหัส 2,661 – 3,991 คน บาดเจ็บเล็กน้อย 18,061 – 27,092 คน
“ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ก
ลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป บังคับให้รถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 125 CC ทุกคันที่วางจำหน่ายต้องติดต้ังระบบ ABS สำหรับรถขนาด 50-125 CC ให้ใช้ระบบ ABS หรือ CBS ประเทศอินเดียและญี่ปุ่นประกาศใช้ปี 2561 ประเทศไต้หวันและออสเตรเลียปี 2562 ประเทศบราซิลใช้กับรถขนาดมากกว่า 300 CC ในปี 2562 และจีนรถขนาด 150 – 250 CC เลือกใช้ ABS หรือ CBS ขนาดมากกว่า 250 CC ใช้ ABS ในปี 2562 ตัวอย่างที่น่าสนใจคือประเทศอินเดีย ประเทศกำลังพัฒนามีประชากรกว่าหนึ่งพันสามร้อยล้านคนการเสียชีวิตด้วยประชากรอินเดียมีจำนวนมาก การประมาณการขององค์การอนามัยโลกในปี 2556 คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในอินเดียสูงถึง 231,000 คน ทว่าเมื่อเทียบสัดส่วนการตายต่อแสนประชากรกลับต่ำกว่าประเทศไทย โดยครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รัฐบาลอินเดียต้องการลดอุบัติเหตุจึงออกกฎหมาย ให้รถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 125 CC ทุกคน ที่วางจำหน่ายหลังเดือนเมษายน 2561 ต้องติดตั้งระบบ ABS สำหรับรถขนาด 50-125 CC ให้ใช้ระบบ ABS หรือ CBS ซึ่งจากการศึกษาของ The Automotive Research Association of India (ARAI) คาดประมาณว่าจะสามารถลดอุบัติเหตุ ลงได้ถึงหนึ่งในสาม โดย
ราคารถที่เพิ่มขึ้นหลังบังคับใช้กฎหมายให้ติดตั้ง ABS อยู่ที่ 8,000 – 10,000 Rs หรือ ประมาณ 3,700 – 4,600 บาท ส่วน CBS 1,000 – 2, 000 Rs หรือประมาณ 460 – 920 บาท”
ขณะที่ระบบเบรค CBS บริษัท Honda ได้พัฒนาและติดตั้งสู่ท้องตลาดเมื่อปี 2526 หลักการทำงานคือการทำให้เกิดแรงเบรคจากล้อทั้งสองด้วยการเบรคด้วยมือหรือเท้าเพียงอย่างเดียว จากการวิจัยของ National Highway Traffic Safety Administration ของอเมริกา พบว่าระบบ CBS มีระยะเบรคสั้นกว่าการเบรคด้วยล้อหลังเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามระบบนี้หากเบรครุนแรงจะไม่สามารถป้องกันการล็อกล้อได้เหมือนระบบ ABS...
https://voicetv.co.th/read/ovq_xoTMo
_________________________________
ดีใจมากกกกกกกก
ในที่สุดรถเล็กจะได้มี ABS สักที ไม่เหมือนบางค่ายรถเป็นแสนใส่แค่ดรัมเบรคหลัง...
ต้องดูว่าราคาจะกระทบแค่ไหน และจะบังคับกับรถกี่ CC ซึ่งคงอิง 125cc ตามมาตรฐานส่วนใหญ่ครับ
(นอกซะจากโดน honda lobby)
ตอนนี้ ABS ล้อหน้า อ้างอิง Grand filano hybrid ราคาต่างกันอยู่ 3,500 บาท
พอต้องผลิตใส่ทุกคัน Economy of scale และราคาทางจิตวิทยาที่จะดูโดดเกินไปคงทำให้ Gap นี้แคบลงครับ (แพงขึ้นสัก 2-2500 กำลังดี)
ส่วน combine break ของ Honda ส่วนตัวเฉยๆ
คิดว่ากำเบรคแยกความแรงได้เองควบคุมรถได้ดีกว่า (เช่น เข้าโค้ง)
แต่กับผู้ใช้ทั่วไป เผลอกำแต่หลังแล้วไหล หรือกำแต่หน้าแล้วรถแถ มี CBS ก็อาจจะช่วยได้บ้างยามฉุกเฉินครับ
[ข่าว] ดันออกกฎหมายให้รถจักรยานยนต์ทุกคันติดตั้งเบรค ABS-CBS เพิ่มความปลอดภัย
" นพ.วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากทุกการศึกษาทั่วโลกพบว่าระบบ ABS สามารถลดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ได้ โดยการศึกษาในเยอรมันพบว่ามีส่วนช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ถึง ร้อยละ 85 ลดการบาดเจ็บรุนแรง ร้อยละ 8-17 ในออสเตรเลียลดอุบัติเหตุลงได้ ร้อยละ 55 การศึกษาในสวีเดน ร้อยละ 48 การศึกษาในอเมริกา ร้อยละ 37 และในอินเดีย ร้อยละ 33 ส่วนระบบ CBS มีข้อมูลสรุปว่าช่วยลดการเสียชีวิตลงได้ ร้อยละ 6 – 26 ทว่าการติดตั้งระบบเบรคทั้งสองชนิด จะเพิ่มต้นทุนต่อราคารถจักรยานยนต์ ประเทศไทยจึงต้องมีการพิจารณาในเชิงนโยบาย โดยหากกฎหมายบังคับให้รถจักรยานยนต์ใหม่ทุกคันติดตั้งระบบ ABS หรือ CBS เพิ่มขึ้น 1.8 ล้านคันจะสามารถลดการเสียชีวิต ต่อปีลงได้ 401 - 602 คน ลดการบาดเจ็บสาหัส 2,661 – 3,991 คน บาดเจ็บเล็กน้อย 18,061 – 27,092 คน
“ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป บังคับให้รถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 125 CC ทุกคันที่วางจำหน่ายต้องติดต้ังระบบ ABS สำหรับรถขนาด 50-125 CC ให้ใช้ระบบ ABS หรือ CBS ประเทศอินเดียและญี่ปุ่นประกาศใช้ปี 2561 ประเทศไต้หวันและออสเตรเลียปี 2562 ประเทศบราซิลใช้กับรถขนาดมากกว่า 300 CC ในปี 2562 และจีนรถขนาด 150 – 250 CC เลือกใช้ ABS หรือ CBS ขนาดมากกว่า 250 CC ใช้ ABS ในปี 2562 ตัวอย่างที่น่าสนใจคือประเทศอินเดีย ประเทศกำลังพัฒนามีประชากรกว่าหนึ่งพันสามร้อยล้านคนการเสียชีวิตด้วยประชากรอินเดียมีจำนวนมาก การประมาณการขององค์การอนามัยโลกในปี 2556 คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในอินเดียสูงถึง 231,000 คน ทว่าเมื่อเทียบสัดส่วนการตายต่อแสนประชากรกลับต่ำกว่าประเทศไทย โดยครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รัฐบาลอินเดียต้องการลดอุบัติเหตุจึงออกกฎหมาย ให้รถจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 125 CC ทุกคน ที่วางจำหน่ายหลังเดือนเมษายน 2561 ต้องติดตั้งระบบ ABS สำหรับรถขนาด 50-125 CC ให้ใช้ระบบ ABS หรือ CBS ซึ่งจากการศึกษาของ The Automotive Research Association of India (ARAI) คาดประมาณว่าจะสามารถลดอุบัติเหตุ ลงได้ถึงหนึ่งในสาม โดยราคารถที่เพิ่มขึ้นหลังบังคับใช้กฎหมายให้ติดตั้ง ABS อยู่ที่ 8,000 – 10,000 Rs หรือ ประมาณ 3,700 – 4,600 บาท ส่วน CBS 1,000 – 2, 000 Rs หรือประมาณ 460 – 920 บาท”
ขณะที่ระบบเบรค CBS บริษัท Honda ได้พัฒนาและติดตั้งสู่ท้องตลาดเมื่อปี 2526 หลักการทำงานคือการทำให้เกิดแรงเบรคจากล้อทั้งสองด้วยการเบรคด้วยมือหรือเท้าเพียงอย่างเดียว จากการวิจัยของ National Highway Traffic Safety Administration ของอเมริกา พบว่าระบบ CBS มีระยะเบรคสั้นกว่าการเบรคด้วยล้อหลังเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามระบบนี้หากเบรครุนแรงจะไม่สามารถป้องกันการล็อกล้อได้เหมือนระบบ ABS...
https://voicetv.co.th/read/ovq_xoTMo
_________________________________
ดีใจมากกกกกกกก
ในที่สุดรถเล็กจะได้มี ABS สักที ไม่เหมือนบางค่ายรถเป็นแสนใส่แค่ดรัมเบรคหลัง...
ต้องดูว่าราคาจะกระทบแค่ไหน และจะบังคับกับรถกี่ CC ซึ่งคงอิง 125cc ตามมาตรฐานส่วนใหญ่ครับ
(นอกซะจากโดน honda lobby)
ตอนนี้ ABS ล้อหน้า อ้างอิง Grand filano hybrid ราคาต่างกันอยู่ 3,500 บาท
พอต้องผลิตใส่ทุกคัน Economy of scale และราคาทางจิตวิทยาที่จะดูโดดเกินไปคงทำให้ Gap นี้แคบลงครับ (แพงขึ้นสัก 2-2500 กำลังดี)
ส่วน combine break ของ Honda ส่วนตัวเฉยๆ
คิดว่ากำเบรคแยกความแรงได้เองควบคุมรถได้ดีกว่า (เช่น เข้าโค้ง)
แต่กับผู้ใช้ทั่วไป เผลอกำแต่หลังแล้วไหล หรือกำแต่หน้าแล้วรถแถ มี CBS ก็อาจจะช่วยได้บ้างยามฉุกเฉินครับ