วันนี้เมื่อ 79 ปีก่อนได้มีการก่อตั้ง "วงดนตรีโฆษณาการ" โดยมี "ครูเอื้อ สุนทรสนาน" และนักดนตรีชุดแรก ได้แก่ ครูสังเวียน แก้วทิพย์ ครูสมบูรณ์ ดวงสวัสดิ์ ครูเวส สุนทรจามร ครูภิญโญ สุนทรวาท ครูสริ ยงยุทธ ครูคีติ คีตากร ครูสภา กล่อมอาภา ครูสมบูรณ์ ศิริภาค ครูทองอยู่ ปิยะสกุล ครูสมพงษ์ ทิพยกะลิน ครูจำปา เล้มสำราญ ได้เข้ามาร่วมงานกันในวงดนตรี

และในขณะเดียวกันก็มีการตั้ง "วงดนตรีสุนทราภรณ์" เพื่อเป็นวงดนตรีสำหรับรับงานนอกเวลาราชการ

เพลงต่างๆของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ นอกจากครูเอื้อ ได้มีครูเพลงหลายท่านที่ได้ร่วมงานกับครูเอื้อ ทั้งแต่งเนื้อร้องทั้งแต่งทำนอง เช่น
ครูเวส สุนทรจามร ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูสุรัฐ พุกกะเวส ครูวิชัย โกกิลกนิษฐ์ ครูสมศักดิ์ เทพานนท์ ครูสริ ยงยุทธ ครูพรพิรุณ ฯลฯ
ในยุคแรกหลังจากก่อตั้ง - ก่อน2495 วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์และวงดนตรีสุนทราภรณ์ มีนักร้องประจำวง เช่น
คุณมัณฑนา โมรากุล (ศิลปินแห่งชาติ)

เพลงจุฬาตรีคูณ

คุณชวลีย์ ช่วงวิทย์

เพลงขอให้ได้ดังใจนึก

คุณสุปาณี พุกสมบุญ

เพลงบ้านเรือนเคียงกัน

คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี (ศิลปินแห่งชาติ)

เพลงหงส์เหิร

คุณจันทนา โอบายวาทย์

เพลงใจหนอใจ

คุณวินัย จุลละบุษปะ

เพลงพรหมลิขิต

คุณเลิศ ประสมทรัพย์

เพลงใครจะเมตตา

ในช่วงหลัง มีนักร้องบางท่านลาออกจากวง ทางวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์จึงทำการหานักร้องทดแทนและเมื่อนักร้องเข้ามาในวงก็ได้ตามครูเอื้อไปร้องกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ด้วย ในยุคนี้เรียกว่า นักร้องยุคกลางของวง เช่น
คุณสมศักดิ์ เทพานนท์

เพลงรักร้าง

คุณศรีสุดา รัชตะวรรณ

เพลงสุขกันเถอะเรา

คุณวรนุช อารีย์

เพลงมนต์ดลใจ

ในยุคหลังพ.ศ.2500 ได้มีนักร้องที่สมัครเข้ามาอยู่กับครูเอื้อ บ้างก็เข้ามาสอบเป็นข้าราชการสังกัดวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ บ้างก็ตามไปร้องกับครูที่วงดนตรีสุนทราภรณ์อย่างเดียว เช่น
คุณมาริษา อมาตยกุล

เพลงริมฝั่งน้ำ

คุณรวงทอง ทองลั่นทม (ศิลปินแห่งชาติ)

เพลงจำได้ไหม

คุณบุษยา รังสี (มานี ทัพพะรังสี)

เพลงฝนหยาดสุดท้าย

และหลังจากนั้นก็มีนักร้องยุดนักร้องนักเรียน ดาวรุ่งสุนทราภรณ์ และอีกมากมาย เมื่อครูเอื้อ เกษียณจากวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ทางวงสุนทราภรณ์ก็ได้มีการรับนักร้องเข้าวงโดยตรง และทางวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ก็จัดสอบเพื่อบรรจุเป็นคีตศิลปิน แต่นักร้องยุคแรก - ยุคดาวรุ่งฯ ก็ยังร่วมงานกับครูเอื้ออยู่ เช่น ตามไปร้องกับวงสุนทราภรณ์ จนกระทั่งครูเอื้อถึงแก่กรรม เมื่อปี2524 วงดนตรีทั้งสองก็แยกกันดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น มีการรับบุคลากรเป็นของตน แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ยังอยู่ภายใต้แนวเพลงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์
แนวเพลงวงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์ ได้รับการพิสูจน์ตนเองมาอย่างยาวนาน เป้นที่นิยมจากอดีตสู่ปัจจุบัน หยั่งรากลงไปในวัฒนธรรมคนไทย
แม้กระทั่ง เด็กๆวัยรุ่น ก็ยังร้องเพลงแนววงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์ ได้กันมากมาย เช่น เพลงรำวงวันลอยกระทง เป็นต้น
และอีกสิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์คือการที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้รับการยกน่องเป็น
"บุคคลสำคัญของโลก" จากยูเนสโก
ยิ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของครูเอื้อ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงดนตรีสุนทราภรณ์ได้เป็นอย่างดี

และในโอกาสครบรอบ 79 ปีของวงทั้งสอง ผมขอตั้งกระทู้บูชาครู ทั้งนักร้อง นกัดนตรี นักประพันธ์ที่ได้ก่อให้เกิดแนวเพลงที่ทรงคุณค่าของแผ่นดิน เป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความสามารถของศิลปินไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
กระทู้บูชาครู รวมความยิ่งใหญ่ของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์และวงดนตรีสุนทราภรณ์ ในโอกาสครบรอบ 79ปี
และในขณะเดียวกันก็มีการตั้ง "วงดนตรีสุนทราภรณ์" เพื่อเป็นวงดนตรีสำหรับรับงานนอกเวลาราชการ
เพลงต่างๆของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ นอกจากครูเอื้อ ได้มีครูเพลงหลายท่านที่ได้ร่วมงานกับครูเอื้อ ทั้งแต่งเนื้อร้องทั้งแต่งทำนอง เช่น
ครูเวส สุนทรจามร ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ครูสุรัฐ พุกกะเวส ครูวิชัย โกกิลกนิษฐ์ ครูสมศักดิ์ เทพานนท์ ครูสริ ยงยุทธ ครูพรพิรุณ ฯลฯ
ในยุคแรกหลังจากก่อตั้ง - ก่อน2495 วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์และวงดนตรีสุนทราภรณ์ มีนักร้องประจำวง เช่น
คุณมัณฑนา โมรากุล (ศิลปินแห่งชาติ)
เพลงจุฬาตรีคูณ
คุณชวลีย์ ช่วงวิทย์
เพลงขอให้ได้ดังใจนึก
คุณสุปาณี พุกสมบุญ
เพลงบ้านเรือนเคียงกัน
คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี (ศิลปินแห่งชาติ)
เพลงหงส์เหิร
คุณจันทนา โอบายวาทย์
เพลงใจหนอใจ
คุณวินัย จุลละบุษปะ
เพลงพรหมลิขิต
คุณเลิศ ประสมทรัพย์
เพลงใครจะเมตตา
ในช่วงหลัง มีนักร้องบางท่านลาออกจากวง ทางวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์จึงทำการหานักร้องทดแทนและเมื่อนักร้องเข้ามาในวงก็ได้ตามครูเอื้อไปร้องกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ด้วย ในยุคนี้เรียกว่า นักร้องยุคกลางของวง เช่น
คุณสมศักดิ์ เทพานนท์
เพลงรักร้าง
คุณศรีสุดา รัชตะวรรณ
เพลงสุขกันเถอะเรา
คุณวรนุช อารีย์
เพลงมนต์ดลใจ
ในยุคหลังพ.ศ.2500 ได้มีนักร้องที่สมัครเข้ามาอยู่กับครูเอื้อ บ้างก็เข้ามาสอบเป็นข้าราชการสังกัดวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ บ้างก็ตามไปร้องกับครูที่วงดนตรีสุนทราภรณ์อย่างเดียว เช่น
คุณมาริษา อมาตยกุล
เพลงริมฝั่งน้ำ
คุณรวงทอง ทองลั่นทม (ศิลปินแห่งชาติ)
เพลงจำได้ไหม
คุณบุษยา รังสี (มานี ทัพพะรังสี)
เพลงฝนหยาดสุดท้าย
และหลังจากนั้นก็มีนักร้องยุดนักร้องนักเรียน ดาวรุ่งสุนทราภรณ์ และอีกมากมาย เมื่อครูเอื้อ เกษียณจากวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ทางวงสุนทราภรณ์ก็ได้มีการรับนักร้องเข้าวงโดยตรง และทางวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ก็จัดสอบเพื่อบรรจุเป็นคีตศิลปิน แต่นักร้องยุคแรก - ยุคดาวรุ่งฯ ก็ยังร่วมงานกับครูเอื้ออยู่ เช่น ตามไปร้องกับวงสุนทราภรณ์ จนกระทั่งครูเอื้อถึงแก่กรรม เมื่อปี2524 วงดนตรีทั้งสองก็แยกกันดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น มีการรับบุคลากรเป็นของตน แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ยังอยู่ภายใต้แนวเพลงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์
แนวเพลงวงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์ ได้รับการพิสูจน์ตนเองมาอย่างยาวนาน เป้นที่นิยมจากอดีตสู่ปัจจุบัน หยั่งรากลงไปในวัฒนธรรมคนไทย
แม้กระทั่ง เด็กๆวัยรุ่น ก็ยังร้องเพลงแนววงกรมประชาสัมพันธ์-สุนทราภรณ์ ได้กันมากมาย เช่น เพลงรำวงวันลอยกระทง เป็นต้น
และอีกสิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์คือการที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้รับการยกน่องเป็น "บุคคลสำคัญของโลก" จากยูเนสโก
ยิ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของครูเอื้อ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงดนตรีสุนทราภรณ์ได้เป็นอย่างดี
และในโอกาสครบรอบ 79 ปีของวงทั้งสอง ผมขอตั้งกระทู้บูชาครู ทั้งนักร้อง นกัดนตรี นักประพันธ์ที่ได้ก่อให้เกิดแนวเพลงที่ทรงคุณค่าของแผ่นดิน เป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความสามารถของศิลปินไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล