คอลัมน์หมัดเหล็กในไทยรัฐวันนี้บอกว่า โครงการอีอีซีจะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก และนักวิชาการเห็นว่า รถไฟความเร็วสูงไม่เพียงนำความสะดวกมาให้ แต่จะเป็นการนำเทคโนโลยีชั้นสูงที่เป็นประโยชน์มาด้วย นำข่าวและคลิปมาฝากค่ะ
----------------------------
ผลบวกเชิงเศรษฐกิจจากอีอีซี
โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ถูกนำไปบิดเบือนในแง่ลบมากมายทั้ง ๆ ที่โครงการดังกล่าวหากดำเนินการได้เต็มรูปแบบ จะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดก้าวกระโดดครั้งสำคัญ
ทั้งนี้ มีข้อมูลจาก ธนาคารกสิกรไทย โครงการอีอีซีใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา จะทำให้ จีดีพี โตเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2569 มูลค่าทางเศรษฐกิจ จะโตขึ้นจาก 2.2 ล้านล้านบาทในปี 2559 เป็น 7.5 ล้านล้านบาท
ในปี 2569 รายได้ต่อหัวของประชากร จาก 0.6 ล้านบาทต่อปีในปี 2559 เป็น 1.7 ล้านบาทต่อปีในปี 2569
นอกจากนี้ ธุรกิจในพื้นที่จะได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ
มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 แสนอัตราต่อปี
แรงงานผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ โตขึ้น 2 เท่าตัว
นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 140%
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยจะโตขึ้น 50% จากปี 2560
โรงพยาบาล
ค้าปลีกค้าส่ง
บันเทิง
โลจิสติกส์
โรงแรม
และร้านอาหารก็จะโตตามไปด้วย
รายได้ที่จะเข้าประเทศไทย เมื่อคิดจากแหล่งรายได้การท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว จำนวนนักท่องเที่ยว จะเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จาก 29.89 ล้านคน เป็น 46.72 ล้านคน รายได้ เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า จาก 285,572 ล้านบาท เป็น 508,590 ล้านบาท โดยมีการยกระดับ การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงทางทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและชุมชน สวนผลไม้วิถีชีวิตชาวบ้าน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงศูนย์การประชุมและนิทรรศการ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภายใต้การดูแลของ อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ที่จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นด้าน E-commerce สานพลังประชารัฐ D3 แอปเดียวสำหรับนักท่องเที่ยว การจองโรงแรม ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก ให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงการบริการและสินค้า สามารถที่จะนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูล Big Data นำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงการพัฒนาบุคลากร ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชนต้นแบบ ศูนย์ประสานพัฒนากำลังคนอาชีวะ สร้างบุคลากรระดับสูง 10 อุตสาหกรรมหลัก โครงการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติให้มีคุณภาพไปในอีกระดับ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
ศูนย์ซ่อมบำรุงทางอากาศ
ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3
ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3
รถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ
ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
กระจายไปยังเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลอีอีซี เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยโครงการส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการร่วมลงทุนเพื่อให้โครงการต่างๆมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีมาตรฐาน
ภาพเหล่านี้คือภาพที่เศรษฐกิจของประเทศจะได้รับผลเชิงบวกจากอีอีซีอย่างมหาศาลที่ไม่เฉพาะภาคตะวันออกเท่านั้น แต่จะได้รับอานิสงส์ทั่วประเทศ ทุกพื้นที่ของประเทศไทย
หมัดเหล็ก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1382654
รถไฟความเร็วสูง และ อีอีซี นำประโยชน์อะไรมาให้ประเทศไทย
----------------------------
ผลบวกเชิงเศรษฐกิจจากอีอีซี
โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ถูกนำไปบิดเบือนในแง่ลบมากมายทั้ง ๆ ที่โครงการดังกล่าวหากดำเนินการได้เต็มรูปแบบ จะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดก้าวกระโดดครั้งสำคัญ
ทั้งนี้ มีข้อมูลจาก ธนาคารกสิกรไทย โครงการอีอีซีใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา จะทำให้ จีดีพี โตเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2569 มูลค่าทางเศรษฐกิจ จะโตขึ้นจาก 2.2 ล้านล้านบาทในปี 2559 เป็น 7.5 ล้านล้านบาท
ในปี 2569 รายได้ต่อหัวของประชากร จาก 0.6 ล้านบาทต่อปีในปี 2559 เป็น 1.7 ล้านบาทต่อปีในปี 2569
นอกจากนี้ ธุรกิจในพื้นที่จะได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ
มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 แสนอัตราต่อปี
แรงงานผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ โตขึ้น 2 เท่าตัว
นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 140%
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยจะโตขึ้น 50% จากปี 2560
โรงพยาบาล
ค้าปลีกค้าส่ง
บันเทิง
โลจิสติกส์
โรงแรม
และร้านอาหารก็จะโตตามไปด้วย
รายได้ที่จะเข้าประเทศไทย เมื่อคิดจากแหล่งรายได้การท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว จำนวนนักท่องเที่ยว จะเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า จาก 29.89 ล้านคน เป็น 46.72 ล้านคน รายได้ เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า จาก 285,572 ล้านบาท เป็น 508,590 ล้านบาท โดยมีการยกระดับ การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงทางทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและชุมชน สวนผลไม้วิถีชีวิตชาวบ้าน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงศูนย์การประชุมและนิทรรศการ
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภายใต้การดูแลของ อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ที่จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นด้าน E-commerce สานพลังประชารัฐ D3 แอปเดียวสำหรับนักท่องเที่ยว การจองโรงแรม ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก ให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงการบริการและสินค้า สามารถที่จะนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูล Big Data นำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงการพัฒนาบุคลากร ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชนต้นแบบ ศูนย์ประสานพัฒนากำลังคนอาชีวะ สร้างบุคลากรระดับสูง 10 อุตสาหกรรมหลัก โครงการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติให้มีคุณภาพไปในอีกระดับ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
ศูนย์ซ่อมบำรุงทางอากาศ
ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3
ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3
รถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ
ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
กระจายไปยังเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลอีอีซี เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยโครงการส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการร่วมลงทุนเพื่อให้โครงการต่างๆมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีมาตรฐาน
ภาพเหล่านี้คือภาพที่เศรษฐกิจของประเทศจะได้รับผลเชิงบวกจากอีอีซีอย่างมหาศาลที่ไม่เฉพาะภาคตะวันออกเท่านั้น แต่จะได้รับอานิสงส์ทั่วประเทศ ทุกพื้นที่ของประเทศไทย
หมัดเหล็ก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้