เชียงใหม่ ... วัดท่าจำปี วัดครูบาดวงดีศิษย์ครูบาศรีวิชัย





วัดท่าจำปีเป็นวัดเก่าแก่หนึ่งในล้านนา ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อใด
ประกาศตั้งเป็นวัดจากทางราชการ เมื่อปีพ.ศ. 2419
ในวัดมีกุฏิ โบสถ์ และวิหาร





ตั้งอยู่ที่ท่าน้ำสู่แม่น้ำวาง ... เดาว่าที่ท่าน้ำเดิมคงมีต้นจำปี





ด้านขวาของวัดเป็นถนนไปต่อ
และขวามือของถนนเป็นบริเวณวัดท่าจำปีด้วย





เล่ากันว่า
มีพระพุทธเจ้าและสาวก 1,000 รูป จะเสด็จธุดงค์ผ่าน
ชาวบ้านจึงเตรียมขันโตกใส่สำรับข้าว จำนวน 1,000 ขันโตก เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและสาวก
จึงได้ชื่อบ้าน ทุ่งขันโตก เพี้ยนเป็น ทุ่งสะโตก





ครั้งแรกมาวัดนี้เพราะขณะขับรถผ่านถนนเลี่ยงเมืองหางดงและสันป่าตองเห็นเจดีย์สวยอยู่ไกล ๆ
จึงขับรถแวะเข้ามา จึงทราบว่าเป็นวัดของครูบาดวงดี
เป็นเจดีย์ห้ายอด มีน้ำ และกำแพงแก้วล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส





หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท
ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี เมื่อวันที่ 26 เดือนเมษายน พ.ศ. 2449
ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

เมื่อหลวงปู่อายุได้ 11 ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย
ที่ทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักบริเวณ ณ วัดพระธาตุหริภุญไชย
ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ

ครูบาศรีวิชัยท่านได้บอกพ่อแม่ครูบาว่า
กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน

ครูบาดวงดีบรรพชาเป็นสามเณร ได้มาอยู่ที่วัดพระสิงห์ เชียงใหม่
ช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศริวิชัยในงานก่อสร้างต่างๆ
เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่ออายุได้ 28 ปี ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆ เช่นบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ
ถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ
บรรดาลูกศิษย์ของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง

พ.ศ. 2480-2481 ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิด
ได้เดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี
หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จ ท่านก็กลับมาวัดท่าจำปี

ครูบา มรณภาพเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สิริรวมอายุ 104 ปี พรรษา 83





พิพิธภัณฑ์ครูบาดวงดี





หลังคาสีส้มขวามือ เป็นวิหารท่านครูบาดวงดี





วันที่ไปประตูเข้าสู่เจดีย์ปิด
เลี้ยงนก เลี้ยงกา แทน





การรักษาศีล 5 เป็นการปฏิบัติทางกาย เป็นการทำความดีทำให้ร่างกายบริสุทธิ์
การภาวนา เป็นการปฏิบัติใจ แน่วแน่อยู่ที่ใดที่หนึ่งคือการทำสมาธิ เกิดปัญญา ทำให้ใจบริสุทธิ์

เวลาเรามีทุกข์ หรือสุข
แม้กายเราจะอยู่นิ่ง แต่ใจกลับกระโดดโลดเต้นไปตามกระแส
นอนไม่หลับแม้จะสุข มัวแต่ปลื้ม
นอนไม่หลับแม้จะทุกข์ มัวแต่หดหู่
จึงต้องกำหนดจิตไม่ให้ไปไหน โดยการภาวนา

ในช่วงโน้นที่ทำบล็อกเรื่องนี้ อยู่ในช่วงแห่งความโศกเศร้า
เพื่อนได้ส่ง 10 to Zen มาให้
ขอปิดท้ายด้วย เรื่องนี้





1. Let go of comparing.
ละเสียซึ่งการเปรียบเทียบ

2. Let go of competing.
ละเสียซึ่งการแข่งขัน

3. Let go of judgments.
ละเสียซึ่งการตัดสินสิ่งต่าง ๆ

4. let go of anger.
ละเสียซึ่งความโกรธ

5. Let go of regrets.
ละเสียซึ่งความเสียใจทั้งหลาย

6 Let go of worrying.
ละเสียซึ่งความกังวล

7. Let go of blame.
ละเสียซึ่งการตำหนิติเตียน

8. Let go of guilt.
ละเสียซึ่งความรู้สึกผิด


9. Let go of fear.
ละเสียซึ่งความกลัว

10. Have a proper belly laugh at least once a day (esp.if it's about your inability to let go of any or all of the above).
มีการหัวเราะเขย่าพุงที่ถูกต้องอย่างน้อยวันละครั้ง (โดยเฉพาะหากไร้ความสามารถที่จะละเสียซึ่งบางเรื่องหรือทั้งหมดข้างบนที่กล่าวมา)

เรื่องราวทั้งหลายนั้นมีอยู่ เกิดขึ้น
เพียงแต่เราจะคว้ามากวนอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง หรือไม่
หาก ... ผ่านมา ก็ให้ ผ่านไป อย่าไปยึดมันเอาไว้ เขย่าพุงเสีย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่