บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี
*** ผุดโซลาร์ฟาร์ม 420 MW ใหญ่สุดในอาเซียน-จ่ายไฟปี 62
BGRIM เปิดเผยว่า เตรียมลงนามสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd.พันธมิตรเวียดนาม เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Farm)กำลังผลิต 420 เมกะวัตต์(MW) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และขณะนี้ได้คัดเลือกผู้รับเหมาโครงการและหารือสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศแล้ว คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเชิงพาณิชย์(COD)ได้ภายในมิ.ย.62 ซึ่งจะผลักดันให้สัดส่วนกำลังการผลิตจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30% ใน 5 ปีตามเป้าหมาย
อนึ่ง บริษัท Xuan Cau Co., Ltd. เป็นผู้ประกอบกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, เหมือง, ระบบสื่อสาร และผลิตรถจักรยานยนต์เวสป้า "Vespa" ในประเทศเวียดนาม
*** ศึกษา Energy Storage และ Smart Grid
บริษัทอยู่ระหว่างร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยเพื่อลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา(Solar Rooftop)กำลังผลิต 70 MW ซึ่งปัจจุบันมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ระยะสัญญา 15 - 20 ปี
โดยอยู่ระหว่างการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อศึกษาแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า(Energy Storage) และระบบโครงข่ายอัจฉริยะ(Smart Grid) เพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระแสไฟฟ้า Solar Rooftop
*** จ่ายไฟเพิ่มปีนี้ 445 MW ดันรายได้โตไม่ต่ำ 15%
เตรียมทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปีนี้อีก 445 MW แบ่งเป็น โรงไฟฟ้า SPP 3 แห่ง กำลังผลิตรวม 399 MW โซลาร์ราชการ กำลังการผลิต 31 MW โครงการน้ำแจ กำลังการผลิตไฟฟ้า 15 MW ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีโรงไฟฟ้าที่จ่ายไฟแล้วทั้งหมด 2,091 MW
ซึ่งคาดว่าจะผลักดันรายได้ในปี 61 โตไม่ต่ำกว่า 15% จากปี 60 ที่ 31,924.95 ล้านบาท และเติบโตก้าวกระโดดในปี 62 จากการรับรู้รายได้เข้ามาเต็มปี
***ปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากโครงการโรงไฟฟ้าประเภท SPP กว่า 2,200 MW จากสัญญาที่มีในมือทั้งหมด 2,518 MW และบริษัทจะเน้นขยายธุรกิจพลังงานไปต่างประเทศด้วย
โครงการ SPP ที่บริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. และมีสัญญาซื้อขายกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจาก SPP สามารถขายตรงให้กับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบในรูปแบบของ Distributed Generation Unit ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในรูปแบบของ SPP Power Pool เพื่อรองรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก( EEC)
บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ผนึกพันธมิตร ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 420 เมกะวัตต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน
*** ผุดโซลาร์ฟาร์ม 420 MW ใหญ่สุดในอาเซียน-จ่ายไฟปี 62
BGRIM เปิดเผยว่า เตรียมลงนามสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd.พันธมิตรเวียดนาม เพื่อดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Farm)กำลังผลิต 420 เมกะวัตต์(MW) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และขณะนี้ได้คัดเลือกผู้รับเหมาโครงการและหารือสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศแล้ว คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเชิงพาณิชย์(COD)ได้ภายในมิ.ย.62 ซึ่งจะผลักดันให้สัดส่วนกำลังการผลิตจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30% ใน 5 ปีตามเป้าหมาย
อนึ่ง บริษัท Xuan Cau Co., Ltd. เป็นผู้ประกอบกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, เหมือง, ระบบสื่อสาร และผลิตรถจักรยานยนต์เวสป้า "Vespa" ในประเทศเวียดนาม
*** ศึกษา Energy Storage และ Smart Grid
บริษัทอยู่ระหว่างร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยเพื่อลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา(Solar Rooftop)กำลังผลิต 70 MW ซึ่งปัจจุบันมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ระยะสัญญา 15 - 20 ปี
โดยอยู่ระหว่างการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อศึกษาแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า(Energy Storage) และระบบโครงข่ายอัจฉริยะ(Smart Grid) เพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระแสไฟฟ้า Solar Rooftop
*** จ่ายไฟเพิ่มปีนี้ 445 MW ดันรายได้โตไม่ต่ำ 15%
เตรียมทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปีนี้อีก 445 MW แบ่งเป็น โรงไฟฟ้า SPP 3 แห่ง กำลังผลิตรวม 399 MW โซลาร์ราชการ กำลังการผลิต 31 MW โครงการน้ำแจ กำลังการผลิตไฟฟ้า 15 MW ซึ่งจะทำให้สิ้นปีนี้มีโรงไฟฟ้าที่จ่ายไฟแล้วทั้งหมด 2,091 MW
ซึ่งคาดว่าจะผลักดันรายได้ในปี 61 โตไม่ต่ำกว่า 15% จากปี 60 ที่ 31,924.95 ล้านบาท และเติบโตก้าวกระโดดในปี 62 จากการรับรู้รายได้เข้ามาเต็มปี
***ปัจจุบันมีรายได้หลักมาจากโครงการโรงไฟฟ้าประเภท SPP กว่า 2,200 MW จากสัญญาที่มีในมือทั้งหมด 2,518 MW และบริษัทจะเน้นขยายธุรกิจพลังงานไปต่างประเทศด้วย
โครงการ SPP ที่บริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. และมีสัญญาซื้อขายกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจาก SPP สามารถขายตรงให้กับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบในรูปแบบของ Distributed Generation Unit ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในรูปแบบของ SPP Power Pool เพื่อรองรับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก( EEC)