GULF ควักกำไร 5 พันกว่าล้าน จ่ายปันผล..อู่ฟู่ขนาดนี้ มาส่องดูดีกว่า ว่าเค้าทำธุรกิจอะไรกันบ้าง !!
การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับ GULF ไปเสียแล้ว ล่าสุดคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ก็ยังคว้าอันดับที่ 161 .ในการจัดอันดับเศรษฐีโลกปี 65 จากนิตยสารฟอร์บส์ จากทรัพทย์สินรวม 1.18 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 345,000 ล้านบาท
กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ควักกำไรกว่า 5,162 ล้านบาท อนุมัติจ่ายปันผล สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จากกำไรสุทธิและกำไรสะสม ในจำนวน 0.44 บาทต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,162 ล้านบาท หรือคิดเป็น 87.8% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่กำหนดไว้
เห็นแล้วก็ว้าวววว กำไรมากมายขนาดนี้ เค้าทำอะไร เรียกบ้านๆ คือ เค้ารวยมาจากไหน?
มาดูกันดีกว่าว่า GULF เค้าดำเนินการธุรกิจ หรือลงทุนทำอะไรบ้าง
ที่เห็นหลักๆ เลยจะเป็นกลุ่มธุรกิจในรูปแบบพลังงาน ซึ่งแบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจหลักของ GULF ได้แก่
😮 1.ธุรกิจผลิตไฟฟ้า
กัลฟ์ นับเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของไทย โดยผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดเล็ก ผลิตและจำหน่ายในปริมาณ 70-80%
😮 2.ธุรกิจก๊าซ
ในส่วนของธุรกิจก๊าซ ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลักๆ ได้แก่
1) ธุรกิจจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายใต้บริษัท Gulf LNG เป็นการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับโรงฟ้า SPP ในเครือ 19 โรง รวม 300,000 ตันต่อปี
2) ธุรกิจสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายใต้บริษัท Gulf MTP ซึ่งได้รับสิทธิพัฒนาและดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ในจังหวัดระยอง และได้รับสิทธิในการออกแบบ ก่อสร้าง และประกอบกิจการท่าเทียบเรือก๊าซ และสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว โดยรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวได้ถึง 10.8 ล้านตันต่อปี
3) ธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ เป็นการเข้าไปถือหุ้น 40% ในบริษัท PTT NGD เพื่อลงทุนในการก่อสร้างระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้ลูกค้าอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และระยอง นอกจากนี้ยังได้ถือหุ้นผ่านกิจการร่วมค้า Gulf WHA MT อีก 35% เพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ 2 โครงการ เพื่อให้จำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
😮 3.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
ในส่วนของโครงการในประเทศ เป็นการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป 4 แห่ง ในชลบุรีและระยอง รวมถึงโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กในสงขลา มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 25 เมกะวัตต์
ขณะที่ในต่างประเทศ ได้ถือหุ้นโดยตรงในโซลาร์ฟาร์มและฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งในเวียดนาม กำลังการผลิตรวม 246.8 เมกะวัตต์ และเข้าถือหุ้น 50% ในโครงการ Borkum Riffgrund II ประเทศเยอรมนี กำลังการผลิตรวม 464.8 เมกะวัตต์
😮 4.ธุรกิจพลังงานน้ำ
อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนลุ่มแม่น้ำโขงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามกรอบความร่วมมือ (MOU) ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทย กับ สปป.ลาว
😮 5.โครงสร้างพื้นฐาน
ในปี 2562 กัลฟ์ เริ่มลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั่วประเทศ รวมถึงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ในส่วนการก่อสร้างสถานีขนส่ง LNG, การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 (อาคาร F) ในส่วนการก่อสร้าง การเดินเครื่อง และการบำรุงรักษาท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์, ยาวนานกินระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ ที่จะจัดจัดหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
⭐ นอกเหนือจากนั้นยังมีธุรกิจโครงสารสาธารณูปโภคภายในประเทศใหญ่ๆ อีกหลายโครงการเลยทีเดียว
เริ่มที่
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) โครงการบริการเดินรถและซ่อมบำรุงมอเตอร์เวย์ระหว่างเมือง บางใหญ่ - กาญจนบุรี (M81) ในส่วนงานออกแบบและก่อสร้างงานระบบ รวมถึงบริการเดินเครื่อง บำรุงรักษา ระยะสัมปทาน 30 ปี
⭐ ยังมีโครงการร่วมทุนเพื่อลงทุนและดำเนินงานระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบทำความเย็นสำหรับโครงการ One Bangkok ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
⭐นักลงทุน ยังงัยก็คงมีการลงทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง ในอีกหลายๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น
การลงทุนด้านการสื่อสาร ที่ไป GULF ไปลงทุนร่วมกับ INTUCH จนขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 42.25% พร้อมกับส่งทีมเข้าไปนั่งเป็นกรรมการบริหาร แถมมีแผนเล็งขายไฟฟ้าผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์มให้ลูกค้า ADVANC หรือลูกค้า AIS ที่จะขานรับนโยบายเปิดเสรีภายในประเทศในอนาคต
⭐อีกทั้งยังเดินหน้าลุย
ธุรกิจการเงินดิจิทัล โดย GULF ยังมีการจับมือกลุ่ม Binance ศึกษาร่วมลงทุนธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ ลองตลาดใหม่อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในหลายๆ ธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนครั้งเดียวแบบมหาศาล มีสัมปทานยาวนาน และอีกอย่างคือการลงทุนแบบร่วมหรือรวมกิจการ ซึ่งง่ายโดยที่ไม่ต้องเริ่มลงทุนใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น เดี๋ยวมารอลุ้นกันในปีนี้ว่า GULF จะมีการลงทุนร่วม หรือจัดตั้งลงทุนในธุรกิจในด้านใดๆ ใหม่ขึ้นอีกหรือไม่
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก :
https://thestandard.co/gulf-and-intuch-plan-sell-electricity-through-digital-platform-to-advanc-customers/
https://www.bangkokbiznews.com/business/933692
https://www.prachachat.net/finance/news-907929
https://mgronline.com/infographic/detail/9650000033357
GULF ควักกำไร 5 พันกว่าล้าน จ่ายปันผล..อู่ฟู่ขนาดนี้ มาส่องดูดีกว่า ว่าเค้าทำธุรกิจอะไรกันบ้าง !!
การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับ GULF ไปเสียแล้ว ล่าสุดคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ก็ยังคว้าอันดับที่ 161 .ในการจัดอันดับเศรษฐีโลกปี 65 จากนิตยสารฟอร์บส์ จากทรัพทย์สินรวม 1.18 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 345,000 ล้านบาท
เห็นแล้วก็ว้าวววว กำไรมากมายขนาดนี้ เค้าทำอะไร เรียกบ้านๆ คือ เค้ารวยมาจากไหน?
มาดูกันดีกว่าว่า GULF เค้าดำเนินการธุรกิจ หรือลงทุนทำอะไรบ้าง
ที่เห็นหลักๆ เลยจะเป็นกลุ่มธุรกิจในรูปแบบพลังงาน ซึ่งแบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจหลักของ GULF ได้แก่
😮 2.ธุรกิจก๊าซ
ในส่วนของธุรกิจก๊าซ ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลักๆ ได้แก่
1) ธุรกิจจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายใต้บริษัท Gulf LNG เป็นการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับโรงฟ้า SPP ในเครือ 19 โรง รวม 300,000 ตันต่อปี
2) ธุรกิจสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ภายใต้บริษัท Gulf MTP ซึ่งได้รับสิทธิพัฒนาและดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ในจังหวัดระยอง และได้รับสิทธิในการออกแบบ ก่อสร้าง และประกอบกิจการท่าเทียบเรือก๊าซ และสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว โดยรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวได้ถึง 10.8 ล้านตันต่อปี
3) ธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ เป็นการเข้าไปถือหุ้น 40% ในบริษัท PTT NGD เพื่อลงทุนในการก่อสร้างระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้ลูกค้าอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และระยอง นอกจากนี้ยังได้ถือหุ้นผ่านกิจการร่วมค้า Gulf WHA MT อีก 35% เพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ 2 โครงการ เพื่อให้จำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
😮 3.ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
ในส่วนของโครงการในประเทศ เป็นการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป 4 แห่ง ในชลบุรีและระยอง รวมถึงโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กในสงขลา มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 25 เมกะวัตต์
ขณะที่ในต่างประเทศ ได้ถือหุ้นโดยตรงในโซลาร์ฟาร์มและฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งในเวียดนาม กำลังการผลิตรวม 246.8 เมกะวัตต์ และเข้าถือหุ้น 50% ในโครงการ Borkum Riffgrund II ประเทศเยอรมนี กำลังการผลิตรวม 464.8 เมกะวัตต์
😮 4.ธุรกิจพลังงานน้ำ
อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนลุ่มแม่น้ำโขงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามกรอบความร่วมมือ (MOU) ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทย กับ สปป.ลาว
😮 5.โครงสร้างพื้นฐาน
ในปี 2562 กัลฟ์ เริ่มลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั่วประเทศ รวมถึงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ในส่วนการก่อสร้างสถานีขนส่ง LNG, การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 (อาคาร F) ในส่วนการก่อสร้าง การเดินเครื่อง และการบำรุงรักษาท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์, ยาวนานกินระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ ที่จะจัดจัดหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
เริ่มที่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) โครงการบริการเดินรถและซ่อมบำรุงมอเตอร์เวย์ระหว่างเมือง บางใหญ่ - กาญจนบุรี (M81) ในส่วนงานออกแบบและก่อสร้างงานระบบ รวมถึงบริการเดินเครื่อง บำรุงรักษา ระยะสัมปทาน 30 ปี
⭐ ยังมีโครงการร่วมทุนเพื่อลงทุนและดำเนินงานระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบทำความเย็นสำหรับโครงการ One Bangkok ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
⭐นักลงทุน ยังงัยก็คงมีการลงทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง ในอีกหลายๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านการสื่อสาร ที่ไป GULF ไปลงทุนร่วมกับ INTUCH จนขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 42.25% พร้อมกับส่งทีมเข้าไปนั่งเป็นกรรมการบริหาร แถมมีแผนเล็งขายไฟฟ้าผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์มให้ลูกค้า ADVANC หรือลูกค้า AIS ที่จะขานรับนโยบายเปิดเสรีภายในประเทศในอนาคต
⭐อีกทั้งยังเดินหน้าลุยธุรกิจการเงินดิจิทัล โดย GULF ยังมีการจับมือกลุ่ม Binance ศึกษาร่วมลงทุนธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในต่างประเทศ ลองตลาดใหม่อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในหลายๆ ธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนครั้งเดียวแบบมหาศาล มีสัมปทานยาวนาน และอีกอย่างคือการลงทุนแบบร่วมหรือรวมกิจการ ซึ่งง่ายโดยที่ไม่ต้องเริ่มลงทุนใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น เดี๋ยวมารอลุ้นกันในปีนี้ว่า GULF จะมีการลงทุนร่วม หรือจัดตั้งลงทุนในธุรกิจในด้านใดๆ ใหม่ขึ้นอีกหรือไม่
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก :
https://thestandard.co/gulf-and-intuch-plan-sell-electricity-through-digital-platform-to-advanc-customers/
https://www.bangkokbiznews.com/business/933692
https://www.prachachat.net/finance/news-907929
https://mgronline.com/infographic/detail/9650000033357