9 ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย

ปัจจุบัน นักโบราณชีววิทยา ได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในประเทศไทยถึง 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์
ชนิดใหม่ สกุลใหม่ของโลก 9 ชนิด และได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของบุคคลหรือสถานที่ที่ขุดพบ ดังนี้


1 ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ( Phuwiangosaurus sirindhornae )

เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 15-20 เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยายแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวาย พระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2 สยามโมไทรันนัส  อีสานเอนซิส ( Siamotyrannus isanensis )

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วย 2 ขาหน้ามีขนาดเล็ก ในยุค ครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ

3 สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami)

สยามโมดอน นิ่มงามอิ : ไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด สกุลใหม่ ชนิดใหม่ของโลก จากประเทศไทย โดยอ้างอิงจาก กระดูก กรามบน (maxilla) ที่ได้มาจากเหมืองหิน บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา อยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียส ตอนต้น นอกจากกระดูกกรามบนแล้ว ยังพบฟัน และ ชิ้นส่วนกระโหลก ที่เป็นของไดโนเสาร์ชนิดนี้อีกด้วย ที่มาของชื่อชนิด  Siamodon มาจาก Siam ชื่อเดิมของประเทศไทย odous เป็นภาษากรีก แปลว่า ฟัน โดยสะกดเป็น  odon เพื่อเน้นความคล้าย คลึงกันกับ Iguanodon ที่มีของชื่อสกุล nimngamiเพื่อให้เป็นเกียรติกับนายวิทยา  นิ่มงาม ที่มอบตัวอย่างให้เพื่อการศึกษา  จากการศึกษาพบว่า สยามโมดอน นิ่มงามอิ จัดอยู่ในกลุ่มอิกัวโนดอนที่มีวิวัฒนาการสูง สายพันธุ์ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์พวกโปรบัคโตรซอรัสการค้นพบไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนที่มีวิวัฒนาการสูงที่มีความหลากหลายในยุคครีเตเชียสตอนต้อนของภูมิภาคเอเชียนั้นอาจกล่าวได้ว่า ไดโนเสาร์กลุ่มนี้ได้ปรากฏขึ้น ครั้งแรกในเอเชียก่อนที่จะมีการกระจายตัวไปยังภูมิภาคอื่นๆของโลก

4  สยามโมซอรัส สุธีธรนี  (Siamosaurus  suteethorni)

สยามโมซอรัส สุธีธรนิ : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 7 เมตร มีฟันที่มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ กินพืชและกินสัตว์น้ำจำพวกปลาเป็นอาหาร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ผู้มีส่วนสำคัญในการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

5 ซิตตะโกซอรัส  สัตยารักษ์คิ  (Psittacosaurus sattayaraki)

ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี : เป็นไดโนเสาร์พวกที่มีสะโพกแบบนก สกุลเดียวกับที่พบในจีนแต่เป็นชนิดใหม่ เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืชขนาดเล็กอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 100 ล้านปี ความยาวประมาณ 1 เมตร โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติ แก่ นายนเรศ  สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ

6 กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus khonkaenensis)

กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส : เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบใน ชั้นหินหมวดหินเสาขัวที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี

7 อีสานโนซอรัส  อรรถวิภัชน์ชี (Isanosaurus  attavipatchi)

อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ : เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิก ตอนปลาย ประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ 13-15 เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา  อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

8  สิรินธรน่า โคราชเอนซิส (Sirindhorna khoratensis)

สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ไดโนเสาร์สกุลใหม่ และ ชนิดใหม่ของโลกโดยชื่อสกุล"สิรินธร" เป็นพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงสนพระทัยส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ อายุประมาณ 115 ล้านปีก่อน ระบบนิเวศเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง โดยอิกัวโนดอนต์สิรินธรน่า มีความแตกต่างจากอิกัวโนดอนต์ 2 สกุล ที่พบในโคราชมาก่อน คือสกุลราชสีมาซอรัส และสยามโมดอน เช่น มีขากรรไกรล่างที่มีอัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงน้อยกว่าราชสีมาซอรัส หรือมีขากรรไกรบนทรงต่ำหรือลาดเอียงมากกว่าสยามโมดอน

ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีกระดูกสะโพกแบบนก โดยมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ยาวกว่า 6 เมตร สูงระดับสะโพก 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 1 พันกิโลกรัม หรือ 1 ตัน ต่างจากไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอด หรือพวกคอยาวหางยาวขนาดใหญ่แบบสัตว์เลื้อยคลาน ชื่อภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน ที่พบในจ.กาฬสินธุ์และขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ไดโนเสาร์ในกลุ่มอิกัวโนดอนต์นี้ พบมากกว่า 60 สกุล เพราะมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมานับ 100 ล้านปี และพบกระจายทั่วโลก ลักษณะเด่นมีฟันคล้ายฟันอีกัวน่า แต่มีขนาดใหญ่กว่ากันมาก ไม่มีฟันในส่วนหน้าของขากรรไกรบน-ล่าง แต่มีจงอยปาก ที่เป็นกระดูกแข็งแทน ขาหลังแข็งแรง ใหญ่และยาวกว่าขาหน้า จึงเป็นไดโนเสาร์ที่วิ่งได้เร็วด้วย 2 เท้า แต่เวลาเดินหรือแทะเล็มกินใบไม้ยอดไม้ระดับต่ำจะเดินด้วย 4 เท้า

จนถึงขณะนี้ โคราชมีไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ 3 สกุล มากที่สุดในอาเซียน คือสกุลสิรินธรน่า ราชสีมาซอรัส และสยามโมดอน และยังมีโอกาสพบไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เนื่องจากค้นพบฟอสซิลจำนวนมาก โดยอยู่ระหว่างงานวิจัยของสถาบันที่เกี่ยวข้อง ด้วยศักยภาพด้านทรัพยากรฟอสซิลไดโนเสาร์ระดับอาเซียนกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง, ปักธงชัย, สีคิ้ว และด่านขุนทด ซึ่งมีทำเลที่ตั้งเปรียบเสมือนประตูสู่อาณาจักรไดโนเสาร์อีสานและอาเซียน

9 ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus suranareae)

เป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสะโพกแบบนก (ออร์นิโธพอด) กลุ่มเดียวกับอิกัวโนดอน พบกรามล่างซ้าย ในชั้นหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ซึ่งอยู่ในสมัยแอปเทียน (Aptian) ยุคครีเทเชียสตอนต้น หรืออายุประมาณ 100 ล้านปีก่อน แหล่งที่พบคือบริเวณสระน้ำของหมู่บ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การค้นพบนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟูกูอิ[2] ประเทศญี่ปุ่น คณะผู้วิจัยได้ให้ชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า "ราชสีมาซอรัส" ตามชื่อแบบสั้นของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ และให้ชื่อเฉพาะชนิดพันธุ์ว่า "สุรนารีเอ" ตามชื่อของท้าวสุรนารี วีรสตรีของจังหวัดนครราชสีมา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไดโนเสาร์นี้ ไม่ได้วิจัยโดย นักไดโนเสาร์ (Dinosaurologist) โดยตรง

ขอบคุณข้อมูลจาก ด้วยนะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่