เครื่องสำอาง ปลอม? ตรวจสอบเลข อย. ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ จากเว็บ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ปลอมไม่ปลอม เบื้องต้น ตรวจได้ที่นี่เลยค่ะ
วิธีตรวจสอบเลข อย. จากเว็บไซต์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ให้ไปที่นี่

http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx

อย. คือ อะไร


อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์)โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพทีปลอดภัยและสมประโยชน์

เครื่องหมาย อย. ที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิตการสุขาภิบาลโรงงานการบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


กฎหมายให้ความสำคัญต่อการให้ผู้ผลิตแสดง ข้อมูลซึ่งผู้บริโภคควรต้องทราบระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์ที่สุด ดังนั้นผู้บริโภคทุกคนจึงควรให้ความใส่ใจต่อการอ่านและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ที่ระบุบนฉลาก สำหรับผู้บริโภคที่เคยพิจารณา เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยพิจารณาเฉพาะเครื่องหมาย อย. ก็ควรหันมาใส่ใจอ่านข้อมูลอื่นบนฉลากประกอบการตัดสินใจซื้อด้วย เพราะจะทำให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคที่พบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งข้อมูลมาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 7354-5 หรือ สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.หมายเลขโทรศัพท์ 1556
เตรดิต : https://www.thaibio.com/อย. คือ อะไร

พวกที่ชอบ โฆษณาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และทำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยออกมาขาย เราจะรู้ทันได้ยังไง

คุณรู้หรือไม่? ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์  อาหารเสริม แบบไหนปลอดภัยและถูกกฎหมาย

เราจะรู้ได้ยังไง ดูตรงไหน ว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหาร/ยา/เครื่องสำอาง/เครื่องมือแพทย์) แบบไหนถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย / ปลอดภัยหรือไม่

หาคำตอบได้ในเล่มนี้เลยครับ

โหลดฟรีจ้า • จับตายโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
http://www.consumerthai.org/phocadownload/book/Adfood_book.pdf

ที่มา: https://www.facebook.com/fanemouth

เจอโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บรรยายสรรพคุณเกินจริง ด้วยความหวังดี แจ้งเตือนไปว่า โฆษณาเกินจริงผิดกฎหมาย ให้เอาโฆษณาออกเถิด

แหม แหม !!!! มีถามกลับ
" ผิดกฎมหายยังไงไม่ทราบ "

งั้นก็ รับทราบไว้ให้พร้อมหน้า พร้อมตา ทั่วโลกออนไลน์เลยนะ

- มันผิดกฎหมาย พรบ.อาหาร

นี่ยังไม่รวมกฎหมายฉบับอื่น
มีอีก มีอีก

- พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560 มาตรา 14 (1)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ega.or.th/…/file_ce8c32197b28a5d438136a3bd8252b…

- พรบ.ขายตรงและตลาดแบบตรง
ดาวนโหลด พรบ. คลิก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/053/80.PDF

แถมท้าย กระทรวงพาณิชย์ฝากบอกนักขายออนไลน์ - ขายของไม่แสดงราคา มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ด้วยนะ

ที่มา : https://www.blognone.com/node/91098

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่