บล.ภัทรฯ-บัวหลวง เป็น ปรึกษาทางการเงิน คงมีความน่าเชื่อถือพอสมควร อีกอย่างบัวหลวงมีพวกกองทุนปัจจัย4 ด้วย
โอสถสภา บริษัทเก่าแก่ก็จริง สินค้ามีหลากหลายก็จริง แต่นึกไม่ออกว่า มีตัวไหนที่โดดเด่น โดดเด้ง ที่จะทำให้กำไรโต มโหฬาร
แล้วก็เป็นสินค้า ที่เขาก็ทำๆกัน ตอนนี้คิดไม่ออก
ถ้าเตรียมไว้เล่น IPO จะลุ้นผลิตภัณฑ์ตัวไหน ครับ
http://www.efinancethai.com/HotNews/hotnewsmain.aspx?name=h_180418h&postdate=2018-04-18%2017:05:32
"โอสถสภา" บริษัทเก่าแก่อายุ 125 ปี สลัดธุรกิจครอบครัว พร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ยื่นไฟลิ่ง ขายหุ้น IPO จำนวน 603.75 ล้านหุ้น นำเงินขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือ เสริมแกร่งธุรกิจ ตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน 2 ราย บล.ภัทรฯ-บัวหลวง
*** ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 603.75 ล้านหุ้น เข้า SET
บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 603,750,000 หุ้น ซึ่งประกอบด้วย (1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 506,750,000 หุ้น (2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Orizon Limited จำนวนไม่เกิน 67,000,000 หุ้น และ (3) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Y Investment Ltd จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20.10 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้น IPO โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม มี บล.ภัทร และ บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
*** ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
"โอสถสภา" ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล และธุรกิจให้บริการผลิตสินค้า บรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่ายสินค้า
บริษัทฯ มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านผู้จัดจำหน่ายของบริษัทฯ โดยตราสินค้าชั้นนำของบริษัทฯ ในต่างประเทศเมื่อพิจารณาจากมูลค่า ได้แก่ เอ็ม-150 ชาร์ค (ในเมียนมาร์) และชาร์คคูลไบท์ ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และเบบี้มายด์ และทเวลฟ์พลัส ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล
โดยตลาดหลักของบริษัทฯ ในต่างประเทศประกอบด้วยเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว และตลาดรอง ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
บริษัทฯ มีโรงงานผลิตสินค้าจำนวน 10 แห่ง ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล โดยโรงงานผลิตของบริษัทฯ ประกอบด้วยโรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม (ทั้งแบบขวดแก้วและกระป๋อง) สามแห่ง โรงงานผลิตขวดแก้วสามแห่ง โรงงานล้างเศษแก้วหนึ่งแห่ง โรงผลิตฉลากผลิตภัณฑ์หนึ่งแห่ง และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลอีกสองแห่ง โดยแห่งหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทของเหลวและอีกแห่งหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ทั้งนี้ โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ มีกำลังการผลิตขวดแก้วสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ มีความได้เปรียบจากขนาดการผลิต และเมื่อประกอบกับการเป็นเจ้าของโรงงานผลิตขวดแก้วและล้างเศษแก้วของตัวเอง (Upstream Integration) บริษัทฯ จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อขวด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการรักษาอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบรรจุขวดแก้ว ยิ่งไปกว่านั้น
ทั้งนี้ ปี 60 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตที่ดำเนินการได้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเท่ากับ 3,595 ล้านขวดต่อปี และ 122 ล้านกระป๋องต่อปี และมีกำลังการผลิตที่ดำเนินการได้สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลเท่ากับ 40,833 ตันต่อปี สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทของเหลว และ 32,667 ตันต่อปีสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้ง และสำหรับปีเดียวกัน บริษัทฯ ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเป็นจำนวน 2,236 ล้านหน่วย และผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลในปริมาณ 22,683 ตัน
*** ชู เอ็ม-150 ผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในไทยปี 60
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทฯ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ภายใต้ตราสินค้าเอ็มเกลือแร่ และกาแฟพร้อมดื่ม ภายใต้ตราสินค้าเอ็ม-เพรสโซ (หรือที่บริษัทฯ เรียกว่าเครื่องดื่ม “Wake Me Up”)
ผลิตภัณฑ์กลุ่มรองของบริษัทฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีการเติมส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะ เช่น ตราสินค้าเอ็ม-150 ลิโพวิตัน-ดี ฉลาม ชาร์คคูลไบท์ และเอ็มเกลือแร่ และเปปทีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีการเติมส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะ เป็นตราสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและครองตลาดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศหลักของบริษัทฯ
จากรายงานของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน มูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วน 54.4% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศสำหรับปี 60 จึงนับได้ว่าบริษัทฯ เป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีก บริษัทฯ เชื่อว่าตราสินค้าชั้นนำของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มเกลือแร่ของบริษัทฯ เป็นตราสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและครองตลาดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศหลักของ
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลของบริษัทฯ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง ตราสินค้าหลักในกลุ่มธุรกิจนี้ ได้แก่ เบบี้มายด์ (ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก) และทเวลฟ์พลัส (ผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง)
*** นำเงินขยายธุรกิจใน-ต่างประเทศ ปรับปรุงการผลิต คืนเงินกู้
วัตถุประสงค์การใช้เงิน เป็นเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า และการดำเนินธุรกิจภายในของบริษัทฯ ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ
*** ปี 60 มีกำไรสุทธิ 2.93 พันลบ. รายได้รวม 2.62 หมื่นลบ.
สำหรับผลประกอบการปี 58-60 บริษัทฯกำไรสุทธิรวม 2,336.0 ล้านบาท 2,980.5 ล้านบาท 2,939.2 ล้านบาท มีรายได้รวม 32,044.2 ล้านบาท 33,003.7 ล้านบาท และ 26,210.7 ล้านบาท
ในปี 60 บริษัทฯ มีรายได้รวมลดลง 6,793.0 ล้านบาท 20.6% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้จากบริการบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนจำนวน 4,252.4 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ เลิกธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าของยูนิชาร์มในปี 60 และการลดลงของยอดขายผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล เนื่องจากบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการปรับหน่วยสินค้า (SKU Rationalization) ของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ในปี 60 รวมถึงการลดลงของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
ด้านกำไรสุทธิปี 60 ลดลงเล็กน้อยเพียง 41.3 ล้านบาท หรือ 1.4% ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 11.2% จากปี 59 ที่ 9% อัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากโครงการปรับหน่วยสินค้าของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล (SKU Rationalization) และมาตรการปรับลดต้นทุนการผลิตโดยรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานก็ได้รับผลกระทบในทางบวกจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารภายหลังจากการปรับโครงสร้างองค์กร และการใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายที่ระมัดระวังมากขึ้น
สิ้นปี 60 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 15,197.6 ล้านบาท หนี้สินรวม 11,758.2 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 3,439.4 ล้านบาท
*** ตระกูล"โอสถานุเคราะห์"ผู้ถือหุ้นใหญ่
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 5 เมษายน 2561 ประกอบด้วย นายนิติ โอสถานุเคราะห์ ถือหุ้น 624,250,000 หุ้น คิดเป็น 25.00% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 20.78% ,Orizon Limited(1)(7) ถือหุ้น 604,148,600 หุ้น คิดเป็น 24.19% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 17.88% นายเพชร โอสถานุเคราะห์ ถือหุ้น 149,735,700 หุ้น คิดเป็น 6.00% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 4.98%
บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40.0 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ หลังหักทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทที่กฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ
*** แผนลงทุนปีนี้และโครงการในอนาคต
บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินโครงการด้านกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายและเพิ่มประสิทธิภาพโดยเน้นในเรื่องผลตอบแทนการลงทุน โดย ณ วันที่ 31 มี.ค.61 บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายจ่ายฝ่ายทุนสำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทให้เริ่มดำเนินการแล้วในปี 61 จำนวนประมาณ 2,668 ล้านบาท และในปี 62 อีกประมาณ 2,613 ล้านบาท
บริษัทกำหนดโครงการหลักตามแผนกลยุทธ์ 4 โครงการ ได้แก่
1.การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมา คาดว่าจะใช้เงินทุนในระยะ 1 ราว 2,000 ล้านบาท จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4/62 ซึ่งในปีนี่จะใช้งบลงทุนราว 569 ล้านบาท และปี 62 ใช้เงินลงทุนราว 1,431 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีแผนจะลงทุนเพิ่มเติมสำหรับระยะที่สองของโครงการดังกล่าว ขึ้นกับอุปสงค์ของตลาดในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทในเมียนมา
2.การเปลี่ยนเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 868 ล้านบาท ซึ่งลงทุนไปในปี 60 เท่ากับ 152 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้ตจะลงทุนอีก 716 ล้านบาท โดยเตาหลอมแก้วใหม่ช่วยให้บริษัทขยายอายุการดำเนินงานโรงงานผลิต ออกไป และปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของสายการผลิตให้ดีขึ้น และทำให้สามารถผลิตขวดแก้วน้ำหนักเบาสำหรับบรรจุเครื่องดื่มอันเป็นการใช้วัตถุดิบให้ได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิต
3.การสร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 1,800 ล้านบาท ในช่วงปี 61 และ 62 เท่ากับ 618 ล้านบาท และ 1,182 ล้านบาทตามลำดับ โดยบริษัทจะปิดเตาหลอมสองเตาในโรงงานสมุทรปราการหลังจากเริ่มดำเนินการเตาหลอมแก้วใหม่นี้ และบริษัทยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
4.การเพิ่มสายการผลิตสินค้าตราซี-วิตใหม่อีก 44 ล้านขวด/ปีในปี 61 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 80 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ในปีนี้จะใช้เงินลงทุนเท่ากับ 80 ล้านบาท (โดยส่วนหนึ่งเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนที่ยกมาจากปี 60)
บริษัทยังมีแผนลงทุนในปีนี้ที่จะใช้เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ 206 ล้านบาท และลงทุน 85 ล้านบาทในการใช้เศษแก้วในกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานผลิตและอาคารสำนักงานของบริษัท 248 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนอื่น ๆ อีก 146 ล้านบาท รวมถึงโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ที่ใช้ในการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และให้ผู้บริโภคทดลองก่อนที่จะมีการผลิตเชิงพาณิชย์
ปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 3,003.75 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 3,003,750,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนชำระแล้วจำนวน 2,497 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,497,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
สินค้าเด่นๆ ของ โอสถสภา คือตัวไหนครับที่น่าลุ้นเติบโตสูง มีตัวไหนที่โดดเด่น โดดเด้งบ้าง
โอสถสภา บริษัทเก่าแก่ก็จริง สินค้ามีหลากหลายก็จริง แต่นึกไม่ออกว่า มีตัวไหนที่โดดเด่น โดดเด้ง ที่จะทำให้กำไรโต มโหฬาร
แล้วก็เป็นสินค้า ที่เขาก็ทำๆกัน ตอนนี้คิดไม่ออก
ถ้าเตรียมไว้เล่น IPO จะลุ้นผลิตภัณฑ์ตัวไหน ครับ
http://www.efinancethai.com/HotNews/hotnewsmain.aspx?name=h_180418h&postdate=2018-04-18%2017:05:32
"โอสถสภา" บริษัทเก่าแก่อายุ 125 ปี สลัดธุรกิจครอบครัว พร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ยื่นไฟลิ่ง ขายหุ้น IPO จำนวน 603.75 ล้านหุ้น นำเงินขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือ เสริมแกร่งธุรกิจ ตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน 2 ราย บล.ภัทรฯ-บัวหลวง
*** ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 603.75 ล้านหุ้น เข้า SET
บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 603,750,000 หุ้น ซึ่งประกอบด้วย (1) หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 506,750,000 หุ้น (2) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Orizon Limited จำนวนไม่เกิน 67,000,000 หุ้น และ (3) หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Y Investment Ltd จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น รวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20.10 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้น IPO โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม มี บล.ภัทร และ บล.บัวหลวง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
*** ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
"โอสถสภา" ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล และธุรกิจให้บริการผลิตสินค้า บรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่ายสินค้า
บริษัทฯ มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านผู้จัดจำหน่ายของบริษัทฯ โดยตราสินค้าชั้นนำของบริษัทฯ ในต่างประเทศเมื่อพิจารณาจากมูลค่า ได้แก่ เอ็ม-150 ชาร์ค (ในเมียนมาร์) และชาร์คคูลไบท์ ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และเบบี้มายด์ และทเวลฟ์พลัส ซึ่งเป็นตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล
โดยตลาดหลักของบริษัทฯ ในต่างประเทศประกอบด้วยเมียนมาร์ กัมพูชา และลาว และตลาดรอง ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
บริษัทฯ มีโรงงานผลิตสินค้าจำนวน 10 แห่ง ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล โดยโรงงานผลิตของบริษัทฯ ประกอบด้วยโรงงานผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม (ทั้งแบบขวดแก้วและกระป๋อง) สามแห่ง โรงงานผลิตขวดแก้วสามแห่ง โรงงานล้างเศษแก้วหนึ่งแห่ง โรงผลิตฉลากผลิตภัณฑ์หนึ่งแห่ง และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลอีกสองแห่ง โดยแห่งหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทของเหลวและอีกแห่งหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง ทั้งนี้ โรงงานผลิตขวดแก้วของบริษัทฯ มีกำลังการผลิตขวดแก้วสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ มีความได้เปรียบจากขนาดการผลิต และเมื่อประกอบกับการเป็นเจ้าของโรงงานผลิตขวดแก้วและล้างเศษแก้วของตัวเอง (Upstream Integration) บริษัทฯ จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อขวด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการรักษาอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบรรจุขวดแก้ว ยิ่งไปกว่านั้น
ทั้งนี้ ปี 60 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตที่ดำเนินการได้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเท่ากับ 3,595 ล้านขวดต่อปี และ 122 ล้านกระป๋องต่อปี และมีกำลังการผลิตที่ดำเนินการได้สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลเท่ากับ 40,833 ตันต่อปี สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทของเหลว และ 32,667 ตันต่อปีสำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลประเภทแป้ง และสำหรับปีเดียวกัน บริษัทฯ ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเป็นจำนวน 2,236 ล้านหน่วย และผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลในปริมาณ 22,683 ตัน
*** ชู เอ็ม-150 ผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในไทยปี 60
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทฯ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ภายใต้ตราสินค้าเอ็มเกลือแร่ และกาแฟพร้อมดื่ม ภายใต้ตราสินค้าเอ็ม-เพรสโซ (หรือที่บริษัทฯ เรียกว่าเครื่องดื่ม “Wake Me Up”)
ผลิตภัณฑ์กลุ่มรองของบริษัทฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีการเติมส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะ เช่น ตราสินค้าเอ็ม-150 ลิโพวิตัน-ดี ฉลาม ชาร์คคูลไบท์ และเอ็มเกลือแร่ และเปปทีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีการเติมส่วนผสมเพื่อให้ได้คุณสมบัติเฉพาะ เป็นตราสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและครองตลาดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศหลักของบริษัทฯ
จากรายงานของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน มูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังของบริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วน 54.4% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกของเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศสำหรับปี 60 จึงนับได้ว่าบริษัทฯ เป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศไทย เมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดค้าปลีก บริษัทฯ เชื่อว่าตราสินค้าชั้นนำของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มเกลือแร่ของบริษัทฯ เป็นตราสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและครองตลาดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศหลักของ
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลของบริษัทฯ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง ตราสินค้าหลักในกลุ่มธุรกิจนี้ ได้แก่ เบบี้มายด์ (ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก) และทเวลฟ์พลัส (ผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้หญิง)
*** นำเงินขยายธุรกิจใน-ต่างประเทศ ปรับปรุงการผลิต คืนเงินกู้
วัตถุประสงค์การใช้เงิน เป็นเงินทุนสำหรับการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า การปรับปรุงประสิทธิภาพสินค้า และการดำเนินธุรกิจภายในของบริษัทฯ ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ
*** ปี 60 มีกำไรสุทธิ 2.93 พันลบ. รายได้รวม 2.62 หมื่นลบ.
สำหรับผลประกอบการปี 58-60 บริษัทฯกำไรสุทธิรวม 2,336.0 ล้านบาท 2,980.5 ล้านบาท 2,939.2 ล้านบาท มีรายได้รวม 32,044.2 ล้านบาท 33,003.7 ล้านบาท และ 26,210.7 ล้านบาท
ในปี 60 บริษัทฯ มีรายได้รวมลดลง 6,793.0 ล้านบาท 20.6% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้จากบริการบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนจำนวน 4,252.4 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ เลิกธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าของยูนิชาร์มในปี 60 และการลดลงของยอดขายผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล เนื่องจากบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการปรับหน่วยสินค้า (SKU Rationalization) ของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ในปี 60 รวมถึงการลดลงของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
ด้านกำไรสุทธิปี 60 ลดลงเล็กน้อยเพียง 41.3 ล้านบาท หรือ 1.4% ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 11.2% จากปี 59 ที่ 9% อัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากโครงการปรับหน่วยสินค้าของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล (SKU Rationalization) และมาตรการปรับลดต้นทุนการผลิตโดยรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานก็ได้รับผลกระทบในทางบวกจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารภายหลังจากการปรับโครงสร้างองค์กร และการใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขายที่ระมัดระวังมากขึ้น
สิ้นปี 60 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 15,197.6 ล้านบาท หนี้สินรวม 11,758.2 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 3,439.4 ล้านบาท
*** ตระกูล"โอสถานุเคราะห์"ผู้ถือหุ้นใหญ่
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 5 เมษายน 2561 ประกอบด้วย นายนิติ โอสถานุเคราะห์ ถือหุ้น 624,250,000 หุ้น คิดเป็น 25.00% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 20.78% ,Orizon Limited(1)(7) ถือหุ้น 604,148,600 หุ้น คิดเป็น 24.19% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 17.88% นายเพชร โอสถานุเคราะห์ ถือหุ้น 149,735,700 หุ้น คิดเป็น 6.00% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 4.98%
บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40.0 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ หลังหักทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทที่กฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ
*** แผนลงทุนปีนี้และโครงการในอนาคต
บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินโครงการด้านกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายและเพิ่มประสิทธิภาพโดยเน้นในเรื่องผลตอบแทนการลงทุน โดย ณ วันที่ 31 มี.ค.61 บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายจ่ายฝ่ายทุนสำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทให้เริ่มดำเนินการแล้วในปี 61 จำนวนประมาณ 2,668 ล้านบาท และในปี 62 อีกประมาณ 2,613 ล้านบาท
บริษัทกำหนดโครงการหลักตามแผนกลยุทธ์ 4 โครงการ ได้แก่
1.การก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ในเมียนมา คาดว่าจะใช้เงินทุนในระยะ 1 ราว 2,000 ล้านบาท จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4/62 ซึ่งในปีนี่จะใช้งบลงทุนราว 569 ล้านบาท และปี 62 ใช้เงินลงทุนราว 1,431 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีแผนจะลงทุนเพิ่มเติมสำหรับระยะที่สองของโครงการดังกล่าว ขึ้นกับอุปสงค์ของตลาดในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มของบริษัทในเมียนมา
2.การเปลี่ยนเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 868 ล้านบาท ซึ่งลงทุนไปในปี 60 เท่ากับ 152 ล้านบาท และคาดว่าในปีนี้ตจะลงทุนอีก 716 ล้านบาท โดยเตาหลอมแก้วใหม่ช่วยให้บริษัทขยายอายุการดำเนินงานโรงงานผลิต ออกไป และปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของสายการผลิตให้ดีขึ้น และทำให้สามารถผลิตขวดแก้วน้ำหนักเบาสำหรับบรรจุเครื่องดื่มอันเป็นการใช้วัตถุดิบให้ได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิต
3.การสร้างเตาหลอมแก้วใหม่ที่โรงงานผลิตขวดแก้วในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 1,800 ล้านบาท ในช่วงปี 61 และ 62 เท่ากับ 618 ล้านบาท และ 1,182 ล้านบาทตามลำดับ โดยบริษัทจะปิดเตาหลอมสองเตาในโรงงานสมุทรปราการหลังจากเริ่มดำเนินการเตาหลอมแก้วใหม่นี้ และบริษัทยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
4.การเพิ่มสายการผลิตสินค้าตราซี-วิตใหม่อีก 44 ล้านขวด/ปีในปี 61 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 80 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ในปีนี้จะใช้เงินลงทุนเท่ากับ 80 ล้านบาท (โดยส่วนหนึ่งเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนที่ยกมาจากปี 60)
บริษัทยังมีแผนลงทุนในปีนี้ที่จะใช้เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ 206 ล้านบาท และลงทุน 85 ล้านบาทในการใช้เศษแก้วในกระบวนการผลิตขวดแก้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานผลิตและอาคารสำนักงานของบริษัท 248 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนอื่น ๆ อีก 146 ล้านบาท รวมถึงโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ที่ใช้ในการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และให้ผู้บริโภคทดลองก่อนที่จะมีการผลิตเชิงพาณิชย์
ปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 3,003.75 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 3,003,750,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนชำระแล้วจำนวน 2,497 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,497,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท