ปราสาทรวงข้าว
ประเพณีบุญคูณลาน บายศรีสู่ขวัญข้าว สืบสานตำนานพระแม่โพสพ ของชาววัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ในปีนี้จัดชึ้นระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2561

ซึ่งตามธรรมเนียมประเพณีของอีสานบ้านเฮาหรือ “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” เมื่อถึงเดือนยี่ หรือเดือนสองจะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคงคือ “บุญคูณลาน” ความหมายของคำว่า “คูณลาน” หมายความว่าเพิ่มเข้าให้เป็นทวีคูณ หรือทำให้มากขึ้นนั่นเองส่วนคำว่า “ลาน” คือสถานที่สำหรับนวดข้าว การนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า “คูณลาน” การทำประเพณีบุญคูณลานกำหนดเอาเดือนยี่เป็นเวลาทำ เพราะกำหนดเอาเดือนยี่นี่เองจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนยี่

แต่ประเพณี “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” ของชาววัดเศวตวันวนาราม ถือว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีความโดดเด่นแตกต่างจากประเพณีบุญคูณลานทั่วไป โดยเฉพาะปราสาทรวงข้าวที่เกิดจากแรงงานศรัทธา ถือว่าเป็นศิลปะแห่งศรัทธาในพระแม่โพสพที่ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า และยังเป็นสื่อสะท้อนอันชัดเจนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวิถีวัฒนธรรมไทยของชาวบ้านในเทศบาลตำบลเหนือ จ.กาฬสินธุ์

โดยการจัดสร้างเป็นปราสาทรวงข้าวขนาดใหญ่สูงกว่า 20 เมตร โดยอาศัยแรงงานศรัทธาจากชาวชุมชมร่วมกันสร้างปราสาทและนำมัดรวงข้าวมาประดับตกแต่ง ทุกคนทำด้วยความเต็มใจ เกิดจากความรักสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านอย่างแท้จริง ใช้เวลากว่า 3 เดือนจึงสำเร็จเป็นปราสาทรวงข้าวอันวิจิตรสวยงาม เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบุญคูนลาน เป็นศิลปะแห่งศรัทธาในพระแม่โพสพที่เปี่ยมคุณค่าและหาชมได้ยาก และในเวลากลางคืนก็จะมีการประดับไฟอย่างสวยงานอีกด้วยครับ
[CR] ปราสาทรวงข้าว ประเพณีบุญคูณลาน ของชาววัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ประเพณีบุญคูณลาน บายศรีสู่ขวัญข้าว สืบสานตำนานพระแม่โพสพ ของชาววัดเศวตวันวนาราม บ้านต้อน ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ในปีนี้จัดชึ้นระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2561
ซึ่งตามธรรมเนียมประเพณีของอีสานบ้านเฮาหรือ “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” เมื่อถึงเดือนยี่ หรือเดือนสองจะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคงคือ “บุญคูณลาน” ความหมายของคำว่า “คูณลาน” หมายความว่าเพิ่มเข้าให้เป็นทวีคูณ หรือทำให้มากขึ้นนั่นเองส่วนคำว่า “ลาน” คือสถานที่สำหรับนวดข้าว การนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า “คูณลาน” การทำประเพณีบุญคูณลานกำหนดเอาเดือนยี่เป็นเวลาทำ เพราะกำหนดเอาเดือนยี่นี่เองจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนยี่
แต่ประเพณี “บุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน” ของชาววัดเศวตวันวนาราม ถือว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีความโดดเด่นแตกต่างจากประเพณีบุญคูณลานทั่วไป โดยเฉพาะปราสาทรวงข้าวที่เกิดจากแรงงานศรัทธา ถือว่าเป็นศิลปะแห่งศรัทธาในพระแม่โพสพที่ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า และยังเป็นสื่อสะท้อนอันชัดเจนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวิถีวัฒนธรรมไทยของชาวบ้านในเทศบาลตำบลเหนือ จ.กาฬสินธุ์
โดยการจัดสร้างเป็นปราสาทรวงข้าวขนาดใหญ่สูงกว่า 20 เมตร โดยอาศัยแรงงานศรัทธาจากชาวชุมชมร่วมกันสร้างปราสาทและนำมัดรวงข้าวมาประดับตกแต่ง ทุกคนทำด้วยความเต็มใจ เกิดจากความรักสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านอย่างแท้จริง ใช้เวลากว่า 3 เดือนจึงสำเร็จเป็นปราสาทรวงข้าวอันวิจิตรสวยงาม เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบุญคูนลาน เป็นศิลปะแห่งศรัทธาในพระแม่โพสพที่เปี่ยมคุณค่าและหาชมได้ยาก และในเวลากลางคืนก็จะมีการประดับไฟอย่างสวยงานอีกด้วยครับ