ผู้หญิงที่กลายเป็นผู้ชายด้วยคำสาบานพรหมจรรย์ตลอดชีพ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Sworn Virgins | National Geographic




ในเทือกเขาที่ห่างไกลทางภาคเหนือของประเทศแอลเบเนีย
เป็นหมู่บ้านที่มีผู้หญิงอาศัยอยู่และทำตัวเหมือนผู้ชาย
พวกเธอไว้ผมสั้น สวมกางเกงขายาว และมีชื่อผู้ชาย
พวกเธอดื่มสุราและสูบบุหรี่แบบเดียวกับผู้ชาย
พวกเธอพกพาอาวุธปืนและใช้ชีวิตที่ต้องใช้แรงงานหนักแบบผู้ชาย
เช่น คนเลี้ยงแกะ หรือคนขับรถบรรทุก
แต่พวกเธอไม่ได้เป็นผู้หญิงที่แปลงเพศ หรือผู้หญิงที่แต่งกายข้ามเพศ
ผู้หญิงเหล่านี้เลือกที่จะใช้ชีวิตของตนเองที่ไม่ได้แสดงออกทางเพศหญิง
แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการครอบงำที่ถูกกดขี่โดยระบอบปิตาธิปไตย
พวกเธอถูกเรียกว่า พรหมจรรย์สาบาน หรือ Burrnesha

อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิ์ดังกล่าวก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย
และมีต้นทุนชีวิตที่ต้องจ่ายในราคาแพงเช่นกัน
เพราะพรหมจารีสาบานแต่ละคน  จะต้องยีดมั่นในคำมั่นเรื่องเพศ
รักษาพรหมจรรย์และเป็นพรหมจารีตลอดชีวิต
ซึ่งถือว่าเป็นความเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต
ที่ผู้หญิงเหล่านี้ต่างไม่เคยนึกเสียใจเลย
 
ตลอดเวลาที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์
ผู้หญิงในเทือกเขาทางเหนือของแอลเบเนีย
ก็เช่นเดียวกับบริเวณที่อื่น ๆ หลายแห่งของโลก
ที่ผู้หญิงมีสิทธิเพียงไม่กี่อย่าง
พวกเธอไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
เลือกทำงานได้บางประเภท
ไม่สามารถซื้อที่ดิน หรือเข้าไปในสถานที่บางแห่ง
พวกเธอไม่สามารถรับมรดกทรัพย์สิน
ทำธุรกิจ หรือใช้เงินเพื่อสูบบุหรี่ได้
สวมนาฬิกาไม่ได้ หรือแม้กระทั่งสาบานก็ไม่ได้
กฎหมายโบราณและวัฒนธรรมประเพณีทางสังคมเหล่านี้
ที่เรียกว่า Kanun of Leke Dukagjini
ได้รับการเผยแพร่และยอมรับโดยชนเผ่าในภาคเหนือของแอลเบเนีย
มานานกว่าห้าศตวรรษแล้วและภูมิภาคแห่งนี้ก็ยังคงอนุรักษ์เรื่องนี้อยู่

คำบงการKanun ระบุไว้อย่างชัดเจนและอย่างเคร่งครัดว่า
ผู้หญิงเป็นสมบัติของสามีของตนเอง  ควรจัดให้มีการแต่งงาน
และผู้หญิงมีหน้าที่ตั้งครรภ์ เพื่อคลอดลูกหรือต้องแต่งงานตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อผู้หญิงคนหนึ่งได้แต่งงานไปแล้ว เธอจะย้ายออกจากบ้านพ่อแม่
และไปอยู่กับสามีของเธอ เพื่อทำหน้าที่ดูแลสามีและลูก ๆ ของเธอ
และการดูแลรักษาบ้านก็กลายเป็นหน้าที่เฉพาะของเธอเท่านั้น

การสาบานเป็นผู้หญิงพรหมจรรย์ครั้งแรก
เกิดขึ้นจากความจำเป็นทางสังคม
เพราะถ้าหากหัวหน้าครอบครัวผู้ชายตายลง
โดยยังไม่มีทายาทชายหรือหญิงที่ยังไม่แต่งงานในครอบครัว
ที่อาจเข้าไปรับหน้าที่เป็นผู้ชายและเป็นหัวหน้าครอบครัวได้

ผู้หญิงก็จะเข้ารับทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวแทน
ผู้หญิงคนนั้น เธอจะใช้คำสาบานที่ไม่สามารถเพิกถอนได้ตลอดชีวิต
โดยต้องสาบานต่อหน้าชาวบ้านสิบสองคน หรือผู้อาวุโสของชนเผ่า
เพื่อปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าครอบครัวต่อไป
และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
เธอก็จะกลายเป็นผู้ชาย  เธอสามารถสวมใส่กางเกง
มีทรัพย์สินของตนเอง  ใช้เวลาใช้ชีวิตแบบผู้ชาย
และมีสิทธิทั้งหมดและสิทธิพิเศษเหมือนกับผู้ชายทุกอย่าง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ผู้หญิงที่กลายเป็นผู้หญิงพรหมจารี
ด้วยการสาบานตนเองก็ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน
บางคนสาบานเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
เพราะไม่ชอบผู้ชายที่ครอบครัวจัดหาให้มาเป็นเจ้าบ่าว
บางคนสาบาน เพราะมีความรังเกียจผู้ชายและปรารถนาที่จะเป็นอิสระเสรี

ในขณะที่หญิงพรหมจารีสาบานแล้ว
อาจจะไม่เคยสัมผัสกับความสุขของความเป็นผู้หญิง
ในการมีคู่ครองตลอดชีวิตหรือการมีบุตร การคลอดบุตร
แต่ความเย้ายวนใจของอิสรภาพและเสรีภาพ
ที่ปราศจากการถูกกดขี่จากการใช้แรงงาน
การใช้แรงงานที่ต้องทำอยู่อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีรายรับ
และการที่ไม่ต้องยอมจำนนต่อผู้ชาย
เรื่องแบบนี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้หญิงหลาย ๆ คน
ที่จะสาบานว่าจะเป็นพรหมจรรย์ตลอดชีวิต

Linda Gusia ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาทางเพศ
จากมหาวิทยาลัย Pristina ใน Kosovo  กล่าวว่า
" การสละสิทธิ์ทางเพศของพวกเธอด้วยการให้คำมั่นว่า
จะยังคงความเป็นหญิงพรหมจารีตลอดชีวิต
คือ หนทางเดียวสำหรับผู้หญิงเหล่านั้นในสังคมที่ผู้ชายครอบงำ
และการได้มีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตสาธารณะ
มันเกี่ยวกับการอยู่รอดในโลกที่ผู้ชายปกครอง "

ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
แอลเบเนียเริ่มมีความคืบหน้ามากในเรื่องสิทธิสตรี
แต่ในหลายภูมิภาคในเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ
ความทันสมัย/การพัฒนาแนวคิดสมัยใหม่ยังไปไม่ถึงมาก

Jill Peters ช่างภาพชาวอเมริกัน ได้เดินทางไปทางเหนือของแอลเบเนีย
เพื่อพบปะและถ่ายรูปผู้หญิงเหล่านี้หลายคน
ซึ่งต่างเป็นตัวแทนของหญิงพรหมจารีที่สาบานตนรุ่นสุดท้ายของประเทศ
ที่ยังหลงเหลืออยู่ประมาณประมาณหนึ่งร้อยคนหรือน้อยกว่า
ขณะที่ความทันสมัยจะค่อย ๆ คืบคลานเข้าไปสู่ชนบทห่างไกลของแอลเบเนีย
ประเพณีนี้ก็จะสิ้นสุดลงไปในที่สุดในไม่ช้านี้


Jill Peters



หมายเหตุ


แอลบาเนียเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ์ออตโตมัน
ทำให้บางส่วนยังเป็นคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ในยุคนั้น
และนับถือศาสนาดั้งเดิมผสมผสานอยู่ในช่วงก่อนหน้านั้น
ทำให้มีการผสมผสานแนวคิดทางศาสนาอิสลามสุดโต่ง
กับขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของชนเผ่าที่ยึดถือกันมา
ที่ให้ผู้ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวและมีอำนาจเต็มที่
และประเพณีดั้งเดิมนี้ยังมีใน Montenegro และ Kosovo บางส่วนด้วย
เพราะเป็นชนเผ่าที่ใช้ภาษาแอลบาเนียร่วมกันในอดีต


เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/Q3U8aC
https://goo.gl/YdXvxH
https://goo.gl/ufCjX7
https://goo.gl/VP3AMj














ที่มา https://goo.gl/ufCjX7





ที่มา https://goo.gl/Ek7ZKq



เรื่องเล่าไร้สาระ


สตรีไทยเคยมีอำนาจและบทบาทสูงยิ่งในอดีตกาล
ตามจดหมายเหตุของชาวต่างชาติ อาจจะพอได้ภาพคร่าว ๆ

พงศาวดารจีนหงเฉียวบุ๋นเที่ยนทง
ยุคราชวงศ์หมิงตรงกับยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
กล่าวถึงสตรีในเสียมหลอก๊ก/สยามไว้ว่า
“ การใช้จ่ายเงินทองนั้นสุดแต่ผู้หญิง
ด้วยผู้หญิงมีสติปัญญา ชายผู้เป็นสามีต้องเชื่อฟัง ”

จดหมายเหตุลาลูแบร์ ในสมัยพระนารายณ์ กล่าวไว้ว่า
“ ฝ่ายชายนั้นต้องไปเข้าเดือนรับราชการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 เดือนในปีหนึ่ง
ทุก ๆ ปีนั้น ก็เป็นหน้าที่ของภรรยามารดาและลูกเต้าจะเลี้ยงตัวเอง
หนำซ้ำยังต้องส่งเสบียงเลี้ยงคนที่ไปเข้าเดือนอีกด้วย
และเมื่อรับราชการกลับมาบ้านแล้ว
ก็เป็นธรรมดามักมิใคร่รู้จักจะทำการงานอย่างไร
ผู้หญิงดอกเป็นตัวถากไร่ไถนา ซื้อขายสินค้าในเมือง ”

จิตร ภูมิศักดิ์ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า
ระบบไพร่มีขึ้นเพื่อทำลายขุมกำลังฝ่ายอำมาตย์
ไม่ให้รวมศูนย์อำนาจ/กำลังพลจำนวนมากได้
และทำให้เกิดจารีตประเพณี ชายไทยขี้เกียจ/ไม่ชอบทำงาน
เพราะการถูกเกณฑ์แรงงานปีละหกเดือน
บางครั้งก็เกณฑ์เดือนเว้นเดือน จะทำอะไรก็ไม่ต่อเนื่อง
หรือแม้ว่าจะไม่ถูกเกณฑ์ก็ต้องส่งส่วยที่มีปริมาณไม่แน่นอนตลอดเวลา
ทำให้ผู้ชายบางคนยอมขายตนเป็นทาสไปเลยดีกว่าถูกเกณฑ์เป็นไพร่
เพราะได้รับยกเว้นการเกณฑ์ไพร่/มีข้าวปลาอาหารที่พักคุ้มกะลาหัว



ส่วนสิทธิของสตรีในการเลือกแต่งงานกับผู้ชายนั้น
ถือว่าไม่น้อยเลย อีกทั้งจะหย่าเมื่อไรก็หย่าได้
ดังปรากฎในพระธรรมนูญกฎหมายว่า
“ ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า
ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้ ”

ในยุคเดียวกันของฝั่งชาวตะวันตก ตะวันออกกลาง และตะวันออกไกลนั้น
ภรรยาเป็นสิทธิ์ขาดของสามี จะยกให้ใครหรือขายใครก็ได้ มิพักพูดถึงการหย่าร้างเลย

สิทธิและบทบาทของสตรีไทยเริ่มลดลง
หลังจากการชำระกฎหมายตราสามดวงในรัฃกาลที่ 1
และการปรับเปลี่ยนสยามให้เป็นแบบตะวันตก
และรับจารีตนิยมแบบวิคตอเรียน-เอ็ดเวิร์ดเดียนมาหลังรัชกาลที่ 4

จนกระทั่งการอภิวัตน์ปี 2475 ที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง
ได้ให้สิทธิเลือกตั้งแก่สตรีเทียบเท่าบุรุษ ซึ่งมีก่อนหลายชาติมาก
แต่ก็ยังคงกฎหมายชายไทยมีเมียมากได้และหย่าเมียได้เพียงฝ่ายเดียว
เพิ่งจะแก้ไขในภายหลังจากการประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลักษณะครอบครัว มรดก ก็อีกหลายปีหลังจากนั้น
และมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วางบรรทัดฐานไว้
ยอมรับการสมรสที่มีขึ้นก่อนหน้านี้

อนึ่ง ผู้หญิงเคยเป็นใหญ่ในยุคบรรพกาล ก่อนศาสนาพุทธเข้ามาครอบงำ
โดยจะนับญาติจากฝ่ายแม่มากกว่าฝ่ายพ่อ
โดยมีร่องรอยจากคำว่า แม่น้ำ แม่ทัพ แม่ย่านาง
เจ้าบ่าว/ผู้บ่าว คือ คนที่มารับใช้ฝ่ายหญิงเหมือนบ่าวไพร่
ต้องมาทำไร่ไถนาล่าสัตว์อยู่กินในบ้านฝ่ายหญิง
ต้องทำตนให้เป็นที่พอใจ ถ้าผู้หญิงไม่พอใจหย่าได้หาสามีใหม่ได้เลย
ทั้งนี้ยังมีร่องรอยในแถบชาวไทยใหญ่/ชนบทภาคเหนือยุคอดีต

ผู้หญิงที่เป็นใหญ่ในอดีตคือ พระนางจามเทวี
ต้นกำเนิด/ตำนานพระเครื่องที่โด่งดังของไทยคือ
พระรอด หนึ่งในเบญจภาคีราคาแพงในไทย
ตามตำนานพระนางทำลายมนตราของเจ้าชายโกสัมพี
บางคนว่า น่าจะเป็นอาณาจักรมอญในยุคนั้น
เจ้าชายหวังจะครอบครองและแย่งชิงนำพระนางไปเป็นภริยา
พระนางใช้เล่ห์กลมารยาหญิงร้อยเล่มเกวียน
หลอกให้ฝ่ายศัตรูดื่มน้ำที่มีส่วนผสมระดูของพระนาง
(ในสามก๊ก/นวนิยายกำลังภายใน
มักจะมีตอนที่ปราบนักพรตอิทธิฤทธิ์/จอมขมังเวทย์
ก็จะใช้ผ้าซับระดูผู้หญิง เลือดหมูตัวเมีย เลือดหมาตัวเมีย
สาดใส่ฝ่ายศัตรูที่หมายหัวไว้ นัยว่ามนตร์คาถาจะเสื่อมสิ้นหายไป)
บางตำนานก็ว่า พระนางมอบจีบพลูหมากที่รอดใต้ระหว่างขาช่วงพระนางมีระดู
แล้วมอบให้เจ้าชายกินทำให้มนตราเสื่อมลงหมดฤทธิ์ขลัง

ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช อดีตนายตำรวจมือปราบ
เจ้าพิธีกรรมปลุกเสกจตุคามรามเทพ
เป็นศิษย์หลวงพ่อทองวัดเขาอ้อ
สำนักตักศิลาไสยเวทย์ภาคใต้
ท่านเคยเอากระสุนปืนชุบผ้าเช็ดระดูผู้หญิง
ยิงใส่จอมโจรขมังเวทย์ภาคกลางรายหนึ่ง
ได้ผลคือตายและท่านตัดหัวกะโหลกมัน
ทำที่เขี่ยบุหรี่มีนัยปรามโจร

ชาวยิวก็จะถือเอาเชื้อสายยิวจากแม่เป็นหลักก่อน
เพราะแรบไบนักบวชรู้ดีว่า ถ้าสืบสายเลือดยิวทางพ่อแล้ว
มีโอกาสสิ้นชาติสิ้นเผ่าพันธุ์ เพราะสงครามในอดีตกาลนั้น
มักจะฆ่าผู้ชายทิ้ง/จับตอนเป็นยูนุค/จับเป็นทาส
โอกาสที่จะขยายเผ่าพันธุ์จึงน้อยกว่าผู้หญิง
ชาวยิวจึงอบรมสั่งสอนผู้หญิงให้สืบทอด
และรักษาภาษา/มรดกวัฒนธรรมยิว
เพื่อถ่ายทอด/ส่งต่อความเป็นยิวให้กับลูกหลาน
ดังนั้น ในอิสราเอลจึงจะเห็นหน้าตาชาวยิวแปลก ๆ
เช่น เหมือนฝรั่ง เหมือนจีน เหมือนแขก เหมือนคนผิวดำ เป็นต้น


ข้อมูลเพิ่มเติม  http://bit.ly/2G3XYbM
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่