คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ตรง "เอาไจยช้วย" เนี่ย อยากเรียนถามว่า ทราบได้อย่างไรว่า "ช้วย" ของโกษาปาน ไม่ได้อ่านเหมือน "ช่วย" ในปัจจุบัน
ถ้าสมมุติว่า สมัยอยุธยา ผันแบบ
ชวย = ชวย (ปัจจุบัน)
ช่วย = ฉ่วย (ปัจจุบัน)
ช้วย = ช่วย (ปัจจุบัน)
ถ้าสมมุติว่า สมัยอยุธยา ผันแบบ
ชวย = ชวย (ปัจจุบัน)
ช่วย = ฉ่วย (ปัจจุบัน)
ช้วย = ช่วย (ปัจจุบัน)
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
โขน
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์
เอาอะไรมาอ้างว่า สำเนียงสุพรรณ หรือ สำเนียงเจรจาโขน เป็นสำเนียงหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ?
เราขอแย้งด้วยหลักฐานที่มีระบุเอาไว้ชัดๆตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พม่ากวาดต้อนผู้คนในกรุงศรีอยุธยาไปเกือบจะหมด เหลือไว้รั้งพระนครแค่ 2 หมื่นได้มั้ง ประชากรส่วนใหญ่กรุงศรีอยุธยาในช่วงหลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา ได้มาจากการกวาดต้อนหัวเมืองเหนือ หัวเมืองมอญ เขมร และจีนเข้ามาทั้งนั้น นั่นคือ หลังจากรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา แทบจะหาคนกรุงรุ่นดั้งเดิมไม่ได้แล้ว แล้วเรายังจะสามารถสรุปแบบกำปั้นทุบดินว่า สำเนียงโขนเป็นสำเนียงหลวงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาได้อีกหรือ แน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ใช่สำเนียงที่เกิดการควบรวมระหว่าง ไทย ลาว มอญ เขมร ในขณะนั้น ไม่ทราบว่าท่านเหล่านั้นหรือท่านทั้งหลายที่เห็นด้วยความคิดเรื่องสำเนียงเจรจาโขนนี้ พอจะตอบข้อสงสัยเราได้บ้างไหม
แล้วที่บอกว่าสำเนียงรัตนโกสินทร์เนี่ย ผสมสำเนียงจีน สำเนียงเจ๊ก เนี่ย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆรึเปล่า เรามีเพื่อนที่พ่อแม่เค้า จี๊นจีน คือ พูดภาษาไทยยังไม่ชัด ใช้อั๊ว ใช้ลื้อ ม่ายล่าย อะไรประมาณนี้ ถามว่าเพื่อนเรามีสำเนียงผสมระหว่างพ่อแม่เค้า กับสำเนียงไทยรึเปล่า คำตอบคือ ไม่ เค้าก็พูดชัดถ้อยชัดคำดี แล้วเอาตรรกะอะไรมาคิดว่า สำเนียงกรุงเทพฯปัจจุบันเป็นสำเนียงผสม
โดยส่วนตัวคิดว่าเราอย่าหลงเชื่อนักวิชาการอย่างหัวปักหัวปำ เช่น กรณีที่บอกว่า สำเนียงสุพรรณหรือสำเนียงแบบเจรจาโขน เป็นสำเนียงหลวงของราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ถามว่าท่านเหล่านั้นได้คิดรอบคอบหรือยัง มีหลักฐานเพียงพอในการมารองรับหรือไม่ เท่าที่เห็นก็เพียงแต่นั่งยันนอนยันว่าถูกเฉยๆ พอพูดบ่อยๆเข้า พูดซ้ำๆ ออกสื่อบ่อยๆ กลายเป็นน่าเชื่อถือ กลายเป็นเรื่องจริงไปซะอย่างนั้น