ทำไมวัฏจักรข้าวโพดถึงได้เติบโตในน่าน

ข้าวโพดเป็นพืชวันสั้น ปลูกในสภาพวันยาวจะใช้เวลาในการออกดอกและแก่ยาวขึ้นและมีจำนวนใบเพิ่มขึ้น แม้ว่าข้าวโพดเป็นพืชที่มีความสามารถปรับตัวได้กว้าง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิระหว่าง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด สำหรับการงอกอยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส ขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ (สูงราว 15 เซนติเมตร) ข้าวโพดสามารถทนทานต่ออากาศหนาวเย็นได้ดี แต่เมื่อโตขึ้นจะไม่ทนทานต่อสภาพอากาศดังกล่าว ข้าวโพดเป็นพืชที่ต้องการไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกข้าวโพดควรมี pH ระหว่าง 5.5-8

     ช่วงฤดูที่เหมาะกับการปลูกข้าวโพด สำหรับในประเทศไทยการปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดไร่ปลูกแบบอาศัยน้ำฝนซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปลูกและการให้ผลผลิตของข้าวโพดจึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนที่ตกตลอดฤดูปลูก สำหรับเขตชลประทาน สามารถปลูกข้าวโพด ได้ตลอดปี โดยทั่วไปการปลูกต้นฤดูฝน (เมษายน – พฤษภาคม) มักจะได้ผลผลิตดีกว่า ไม่มีโรคราน้ำค้างระบาดและปัญหาวัชพืช น้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน (กรกฎาคม – สิงหาคม) แต่มีข้อเสียคือ ในระยะเก็บเกี่ยวจะมีฝนชุก ทำให้ข้าวโพดชื้น จะเกิดปัญหา สารอะฟลาทอกซิน เพราะตากข้าวโพดไม่แห้ง แต่ปลูกปลายฤดูฝน จะมีปัญหาเตรียมดินไม่สะดวก เพราะฝนชุกและโรคต้นกล้าเน่า

     ทำไมวัฏจักรข้าวโพดถึงได้เติบโตในน่าน ก่อนที่ชาวบ้านจะมาปลูกข้าวโพด ก็ได้ทำมาหลายอาชีพแล้ว อย่างเช่น ปลูกต้นไม้ยืนต้น แต่ถูกเจ้าหน้าที่ทำลายก่อนเก็บเกี่ยว เสียหายค่อนข้างสูง เพราะใช้ต้นทุนสูง ปลูกต้นไม้อื่นๆ พืชไม้ผล ที่ใช้น้ำเยอะๆ ก็รอวันฝนตก ช่วงฝนไม่ตกตามฤดูกาลก็สร้างความเสียหายอีก หากจะบอกว่าข้าวโพดมีที่จังหวัดน่านที่เดียว ก็คงจะไม่ถูกซะทีเดียว เพราะยังมีหลายพื้นที่ หลายจังหวัดที่ยังยึดอาชีพนี้อยู่ เพียงแต่ พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดน่านเป็นภูเขาสูงล้อมรอบ ไม่มีพื้นที่ราบ ในการเพราะปลูก ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเริ่มมีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเข้าไปปลูกข้าวโพดกันบนเขา, ทำลาย และเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

     เคยได้ลองถามชาวบ้านว่าปลูกข้าวโพดนี่มันรวยไหม ทำไมไม่ทำอาชีพอื่น จะได้ไม่เจอปัญหาว่าเราบุกรุกพื้นที่ป่า โดยเสียงส่วนใหญ่หลายๆคนที่พูดเหมือนกันว่า แล้วจะให้ไปทำอะไร ไม่อยากย้ายไปไหน บ้านก็อยู่มาตั้ง 40-50 ปีแล้ว และมันไม่มีอาชีพอื่นให้ทำ ไม่มีน้ำ ก็เลยต้องปลูกข้าวโพด ชาวบ้านก็อยู่ที่นี่ มาตั้ง 40-50 ปีแล้ว จะให้ย้ายไปอยู่ที่อื่นก็เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะที่นี่คือบ้านของเขา และเป็นพืชเพียงชนิดเดียวที่ ชาวบ้านสามารถทำการเกษตรได้ ไม่ต้องการน้ำมาก และการดูแลก็ไม่ยุ่งยาก อีกอย่างคือได้ผลผลิตเร็ว ถามว่าทำแล้วรวยเลยไหม ก็คงไม่ แค่พอสร้างรายได้มีกินมีใช้ บางครั้งราคาข้าวโพดต่อกิโล ถูกมาก แค่กิโลละ 4-5 บาท แต่ก็ยังต้องทำเพราะถ้าไม่ทำก็ไม่มีเงินในการเลี้ยงชีพ หลายๆข้อสงสัย หลายๆปัญหายังคงหาข้อสรุปไม่ได้ ก็ยังคงตั้งคำถามกันเหมือนเดิม

ถ้าชาวบ้านจังหวัดน่านไม่ปลูกข้าวโพดแล้วจะให้ทำอะไร..??


     จริงๆสิ่งที่เกษตรกรต้องการมากที่สุดคือแหล่งน้ำ เพราะถ้ามีเขาจะสามารถทำอะไรได้หลายอย่างตลอดทั้งปี แต่เนื่องจากส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่ป่า เพราะฉะนั้นจะสร้างสิ่งก่อสร้างถาวรไม่ได้ ตามกฎหมาย ก็เป็นภาพที่ขัดแย้งกันที่รัฐคิดว่าการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำให้จะทำให้ชาวบ้านขยายพื้นที่เพาะปลูกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น ในขณะที่ชาวบ้านมองว่าถ้ามีแหล่งน้ำเขาก็ไม่ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูกหรอก เพราะเขามีน้ำ จะปลูกอะไรก็ได้ตลอดปี ไม่ใช่ปลูกได้ปีละครั้งอย่างปัจจุบัน

ผมอยากจะให้ทุกคนเข้าใจคนน่านมากขึ้น จริงๆแล้วถ้าหากมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ คนน่านก็คงอยากเปลี่ยนอาชีพเหมือนกัน เพราะการปลูกข้าวโพดมันไม่ได้เงินมากมายมหาศาลขนาดนั้น บางคนทุกอย่างก็ต้องกู้เงินมา ซื้อเมล็ดที่ใช้ในการเพาะปลูก รวมถึงปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง และยังได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกด้วย..

หากมีใครมีข้อเสนอแนะหรือไอเดียดีๆก็มาแชร์กันได้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่