ถ้ากรีนหมายความถึงสีเขียว และแลนด์คือผืนแผ่นดิน แล้วทำไมอิประเทศที่มีแต่หิมะขาวโพลนแบบนี้ถึงถูกเรียกว่า “กรีนแลนด์” !!! นั่นเป็นหนึ่งในคำถามแรกๆที่เกิดขึ้น เมื่อตอนที่เราเริ่มทำความรู้จักกับประเทศนี้ใหม่ๆ
Erik the red – ไวกิ้งจากนอร์เวย์คือคนที่ค้นพบและตั้งชื่อให้ดินแดนแห่งนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว เอริคไม่ได้ตาบอดสี และก็ไม่ได้เห็นสีขาวเป็นสีเขียว หากแต่เพราะเอริคล่องเรือจากไอซ์แลนด์ขึ้นมาถึงชายฝั่งด้านทิศใต้ของดินแดนแห่งใหม่นี้ในช่วงซัมเมอร์ ช่วงไฮซีซั่น ที่มีทุ่งหญ้าเขียวขจีต่างหากเขาถึงได้เรียกที่นี่ว่า “กรีนแลนด์”
แม้ว่ากรีนแลนด์จะมี 4 ฤดู แต่การท่องเที่ยวในกรีนแลนด์นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักคือฤดูร้อน (summer) กับ ฤดูหนาว (winter) เนื่องจาก ฤดูใบไม้ผลิ (spring) กับฤดูใบไม้ร่วง (autumn) นั้นมีช่วงเวลาที่สั้นมาก จนบางครั้งอาจเหมารวมได้เป็นแค่ฤดูที่มีหิมะ กับฤดูที่ไม่มีหิมะเท่านั้น
ระหว่างพระอาทิตย์เที่ยงคืน ล่องเรือ และhikingในฤดูร้อน กับ แสงเหนือสีเขียวๆและภูเขาหิมะในฤดูหนาว มนุษย์บนเส้นศูนย์สูตรที่สนิทสนมกับคุณพระอาทิตย์เป็นอย่างดีแบบเราจึงขอเลือกไปทำความรู้จักกับอากาศติดลบบ้าง แบบไม่ต้องลังเล
และเพราะเคยนกจากทริปนอร์เวย์มาก่อน ครั้งนี้เราจึงต้องวางแผนการเดินทางอย่างรัดกุม เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่คลาดกับคุณนายออโรร่าเป็นครั้งที่สอง
:: ช่วงเวลาเดินทาง ::
แม้ฤดูหนาวของกรีนแลนด์จะกินเวลายาวถึง 6 เดือน คือตั้งแต่ตุลาคม ไปจนถึง มีนาคม ของปีถัดไป แต่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงมกราคมในเขตขั้วโลกจะเกิดปรากฏการ polar night หรือช่วงเวลาที่มีกลางคืนมากกว่า 24 ชั่วโมง เรียกง่ายๆว่าเป็นช่วงพระอาทิตย์ลาพักร้อนค่ะ
และแม้ว่าการท่องเที่ยวกรีนแลนด์จะโฆษณาชวนเชื่อว่า ณ ช่วงเวลาดังกล่าวท้องฟ้าจะฉาบไปด้วยสีเขียวเข้ม กับแสงระยิบระยับของหมู่ดาว เกล็ดหิมะรอบตัวจะปลิวฟุ้งสะท้อนแสงจันทร์ก่อเกิดบรรยากาศงดงามที่เหมือนอยู่ในความฝัน... แต่!! จะให้เราบินข้ามโลกไปเพื่อนอนดูดาวทั้งวันทั้งคืนไม่ได้!!! ดังนั้นตัวเลือกเราจึงเหลือแคบลงเพียง 4 เดือนเท่านั้น
สุดท้ายเราเลือกเดินทางในช่วงปลายกุมภาต้นมีนา เพื่อรอให้กลางวันยาวมากพอสำหรับทำกิจกรมมอื่นๆ และหิมะมีความหนาพียงพอที่จะนั่งสุนัขลากเลื่อนได้ ไม่เพียงแค่นั้น แต่เรายังดูประฏิทินดวงจันทร์เพื่อให้แน่ใจว่าช่วงที่จะไป เป็นคืนเดือนมืด ป้องกันแสงจันทร์มารบกวนการเต้นระบำของคุณนายออโรร่า ส่วนความแรง ความเข้มของแสงนั้นก็คงต้องไปวัดดวงเอาดาบหน้า เพราะพยากรณ์ส่วนมากจะออกมาเป็นรายสัปดาห์ ทำอะไรไม่ได้ตรงจุดนี้
:: แผนการเดินทาง::
แผนการเดินทางคือสิ่งแรกที่เราต้องเตรียม เพื่อให้พอทราบคร่าวๆว่า เราจะไปที่ไหนบ้าง เวลาทั้งหมดที่เราจะใช้สำหรับการเดินทางในครั้งนี้คือกี่วัน และงบประมาณที่ต้องจัดเตรียมคือเท่าไหร่ เพราะสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา นอกจากงบที่มีจำกัดแล้วนั้นวันหยุดก็ถูกจำกัดเช่นเดียวกัน
www.greenland.com คือตัวช่วยชั้นดีในการปักหมุดการเดินทางในครั้งนี้ รายละเอียดในเว็บไซต์จะบอกเราถึงจุดเด่น สภาพภูมิประเทศ รวมถึง thing to do ในแต่ละเมืองของกรีนแลนด์แบ่งแยกไปตามภาค
เราเริ่มจากการเลือก 1 เมืองในแต่ละภาคออกมาเพื่อพิจารณารายละเอียด ความน่าสนใจ และความเป็นไปได้ในการเดินทาง
Kangerlussuaq จาก Arctic Circle คือที่แรกที่เราพิจารณา เพราะที่นี่คือฮับการบินของกรีนแลนด์ คือเมืองแรกที่จะเปิดประตูต้อนรับเราหากเราบินมาจากโคเปนเฮเกน และยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเมืองต่างๆอีกด้วย แถมที่นี่ยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่อากาศดีที่สุด ท้องฟ้าจะสดใสประมาณ 300 วันต่อปี จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเฝ้าดูแสงเหนือ
Nuuk คือเมืองหลวง คือเมืองที่มีชีวิตชีวาที่สุดในกรีนแลนด์ เป็นเมืองที่มีทั้งความเจริญและธรรมชาติอยู่รวมกัน มีสนามบินนานาชาติที่รองรับเที่ยวบินตรงจากไอซ์แลนด์ และสามารถบินต่อไปยังเมืองอื่นๆเช่นเดียวกับ Kangerlussuaq (แคงเกอร์ลุสซัก)
Ilulissat (อิลูลิสเซท) คือเมืองท่องเที่ยวจากทางตะวันตกของกรีนแลนด์ที่ถูกยกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก จุดเด่นของที่นี่คือ iceberg หรือภูเขาน้ำแข็ง ที่เกิดจาก Ilulissat Icefjord (อิลูลิเซท ไอซ์ฟยอร์ด) ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งที่ไหลเร็วที่สุดในโลก
เราตัดเมืองจากทางใต้ของกรีนแลนด์ออกไปเนื่องจาก thing to do ที่เค้าแนะนำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงหน้าร้อน
โดยปกติการเดินทางระหว่างเมืองในกรีนแลนด์จะไปได้จากทางเรือและเครื่องบิน แต่สำหรับหน้าหนาว ทะเลบางส่วนจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้เราต้องเดินทางโดยเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น ซื่งราคาค่าตั๋วนั้นก็เรียกได้ว่าแพงเลยทีเดียว
ถ้าเลือกมากรีนแลนด์จากทางโคเปนเฮเกนเราต้องใช้บริการของแอร์กรีนแลนด์ลำแดงๆ แต่ถ้ามาจากทางไอซ์แลนด์สามารถเลือกใช้บริการได้จากทั้งแอร์กรีนแลน์และแอร์ไอซ์แลนด์ และเพราะทริปนี้เราตั้งธงไว้ที่กรีนแลนด์เท่านั้นดังนั้นเราจึงเลือกบินเข้าจากทางโคเปนเฮเกนเพื่อประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ไฟล์ทบินจากกรุงเทพไปโคเปนเฮเกนมีทั้งบินตรงฟูลเซอร์วิสโดยการบินไทย และโลคอสโดยนอร์วีเจี้ยนแอร์ ถ้าแบบแวะต่อเครื่องก็มีให้เลือกมากมายจากสายตะวันออกกลาง โดยช่วงราคาจะอยู่ประมาณ 16,000 – 35,000 บาท
และเนื่องจากทุกไฟล์ทจากโคเปนเฮเกนจะต้องมาลงที่แคงเกอร์ลุสสวกก่อนที่จะต่อไปยังเมืองอื่นๆ เราจึงใช้วิธีต่อเครื่องแบบข้ามวันเพื่อให้แวะเที่ยวที่นี่ได้โดยไม่เสียค่าตั๋วเครื่องบินเพิ่ม โดยค่าตั๋วเครื่องบินจากโคเปนเฮเกนไปยังอิลูลิเซทแบบแวะเที่ยวแคงเกอร์ลุสสวก มีราคาประมาณ 30,000 บาท ปาดเงื่อ!! และถ้ารวมกับตั๋วเครื่องบินไปกลับระหว่างอิลูลิเซท-นุค อีกกว่า 25,000 บาท ก็จะเป็น.....ชิบบ!!! ห้าหมื่นห้า!! ยังไม่รวมค่ากินค่าอยู่แบบนี้ไม่น่าจะไหว
เรากลับมาหาข้อมูลใหม่เปรียบเทียบระหว่าง อิลูลิเซท กับนุค เพราะแคงเกอร์ลุสสวกถูกจัดเป็นทางผ่านไปแล้ว สุดท้ายอิลูลิเซทเฉือนชนะไปด้วยแอคทิวิตี้ที่มีให้เลือกมากกว่า ไม่ว่าจะลงเรือ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ขี่สโนว์โมบิล หรือแม้แต่นั่งสุนัขลากเลื่อน ครบได้ในที่เดียว
ลาก่อนนุค หวังว่าสักวันเราคงจะมีโอกาสพบกัน T T
:: วีซ่า ::
กรีนแลนด์มีฐานะเป็นดินแดนที่ปกครองตนเองของเดนมาร์ก....ไม่งงใช่มะ???
คือเค้ามีนายกรัฐมนตรีเป็นของตัวเอง ปกครองตัวเองได้แต่ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของเดนมาร์กค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องขอวีซ่าผ่านสถานฑูตเดนมาร์ก โดยจะได้มาเป็นเชงเก้นวีซ่าที่ระบุว่า “valid for Greenland” และที่สำคัญต้องขอวีซ่าแบบ multiple เนื่องจากกรีนแลนด์ไม่ได้อยู่ใน EU ดังนั้นถ้าได้ single มา ออกจากเดนมาร์กมาแล้วจะจบเห่ทันที กลับเข้าไปต่อเครื่องเพื่อกลับบ้านไม่ได้ทันทีค่ะ
การขอวีซ่าต้องดำเนินการผ่านสำนักงาน VFS ที่ตึกเทรนดี้แถวนานา ซึ่งไปกี่ทีก็มีความงงงวยกับการที่ตึกให้เราจอดรถชั้น 5 แต่ปิดลิฟท์ไม่ให้เปิดที่ชั้น 5 ต้องเลือกเดินขึ้นบันไดหนีไฟต่อไปชั้น 8 หรือลงบันไดเลื่อนมาชั้น 1 แล้วค่อยต่อลิฟท์ไปที่ชั้น 8 อีกที
เอกสารก็ใช้พาสปอร์ตเล่มปัจจุบัน, สำเนาพาสปอร์ตทุกหน้าของเล่มปัจจุบัน,พาสปอร์ตเล่มเก่า(ถ้ามี)และสำเนาเช่นเดียวกัน, ประกันการเดินทางที่มีวงเงินคลอบคลุม 1,500,000 บาท, เอกสารทางการเงิน ซึ่งระบุมาว่าต้องมีอย่างน้อยห้าหมื่นบาทสำหรับ 90 วัน แต่เอาจริงใส่ไปเถอะหกหลักเพื่อความอุ่นใจ, ใบรับรองการทำงาน, ใบเปลี่ยนชื่อถ้ามี, แผนการเดินทาง, ใบจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน, รถไฟ, หรือเรือที่สองคล้องกับแผนการเดินทาง โดยมีข้อแนะนำว่าอย่าซื้อตั๋วก่อนได้วีซ่า
อ้อ...เอกสารทางการเงินไม่จำเป็นต้องขอ statement ให้เปลืองเงินนะคะ สามารถใช้แบบออนไลน์ได้ ถ้าแบบฟอร์มออนไลน์นั้นมีการแสดงเลขที่บัญชี และชื่อเจ้าของบัญชีอย่างชัดเจน เราใช้ online statement ของ TMB
สามารถขอวีซ่าได้ล่วงหน้าสามเดือนก่อนวันเดินทาง และใช้เวลาประมาณ 15 วันในการพิจารณา ตอนที่เราขอ 8 วันทำการก็ได้วีซ่ามานอนกอดเรียบร้อยค่ะ
:: หลุมพลาง ::
สิ่งแรกที่เราทำหลังจากได้วีซ่ามาคือ การจองตั๋วเครื่องบิน โคเปนเฮเกน – อิลูลิเซท เนื่องจากตั๋วเครื่องบินของแอร์กรีนแลนด์มีแต่จะแพงขึ้นๆ รีบไว้ได้เป็นดี แต่ขนาดว่าเฝ้าราคามาตลอดสุดท้ายยังมาตกหลุมพลางเข้าจนได้ การซื้อตั๋วทำได้โดยซื้อตรงจาก airgreenland.com ค่ะ
ไฟล์ทจากโคเปนเฮเกน ไปกรีนแลนด์ จะมีบินเพียงแค่ วันละ 1 ไฟล์ท และไฟล์ทที่จะต่อไปอิลูลิเซทก็ไม่ได้มีบินทุกวัน โดยจะบินเฉพาะ จ/อ/พฤ/ศ เท่านั้น เราเลือกที่จะบินวันพฤหัสเพื่อให้มีไฟล์ทวันศุกร์เป็นสแปร์ในกรณีที่อาจเกิดการดีเลย์ หรืออะไรต่างๆที่ไม่คาดคิด เพื่อป้องกันไม่ให้แผนที่เราวางมาต้องพังไปทั้งหมด
โดยราคาที่เราดูไว้คือ ขาไป 2,267 DKK และขากลับ 3,291 DKK ในขณะที่เรากดเลือกไฟล์ทขาไปแล้ว และกำลังกดเลือกไฟล์ทขากลับนั้นก็พลันรู้สึกได้ว่ามีเขาน้อยๆกำลังงอกขึ้นมาบนหัว..... เพราะทันทีที่เรากดเลือกขากลับ ราคาขาไปที่เราเลือกไว้แล้วนั้นก็ดีดขึ้นไปที่ 2,919 DKK โดยไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ มาเอะใจก็ตอนได้รับยอดที่ตัดบัตร เนื่องจากเราคำนวนไว้ในทีแรกว่าราคาตั๋วมันจะประมาณสองหมื่นเก้ากว่าๆ แต่กลับโดนตัดไปสามหมื่นสองกว่าๆ เลยกลับมาลองกดเลือกดูอีกครั้งถึงได้เห็นการดีดตัวของราคาตั๋วที่ดีดขึ้นมาต่อหน้าต่อตา แต่ๆๆๆๆๆๆ ที่เจ็บกว่านั้นคือ เมื่อลองทำการแยกจองเป็นสองบุ๊คกิ้งคือ แยกขาไปและขากลับพบว่าราคาไม่ได้ดีดขึ้นแต่อย่างได้ เจ็บปวดชะมัด!!
:: สีแดงแรงฤทธิ์ ::
หนึ่งในโมเม้นท์ที่รอคอยในทริปนี้ ก็คือการได้นั่งเจ้าเครื่องบินสีแดงแรงฤทธิ์ของแอร์กรีนแลนด์นี่แหละ โดยจาก โคเปนเฮเปนเฮเกนไปแคงเกอร์ลุสซักนั้น จะบินด้วยแอร์บัส A330-200 ใช้เวลาบินประมาณ 4 ชั่วโมง
เนื่องจากเครื่องที่ใช้บินก็มีอายุอานามมากอยู่ (19 ปี ) อุปกรณ์เพื่อความบันเทิงภายในเครื่องก็เลยออกจะตกยุคไปอยู่บ้าง หน้าจอทีวีขนาดเล็กจิ๋วที่นอกจากจะแสดงการ์ตูนสาธิตความปลอดภัยบนเครื่องบินแล้ว ยังมีรายการตลกให้ชมระหว่างไฟล์ท
ก่อนเสริฟอาหารจะมีขนมเพรสเซลกรอบๆเค็มๆ แจกให้หนึ่งถุง กับเครื่องดื่มที่จะดื่มอะไรบ้างในไฟล์ทนั้นให้ขอไว้เลยทีเดียว ตอนแรกเราขอแค่น้ำเปล่าคุณลุงสจ๊วตตัวใหญ่แต่หน้าตาใจดีก็ถามกลับมาว่า แล้วตอนจะทานข้าวล่ะจะดื่มอะไร เราเลยเลือกโค้กกับน้ำแข็ง นึกว่าจะมาเสริฟอีกครั้งพร้อมข้าวแต่ป่าวค่ะ คุณลุงแกวางทั้งน้ำเปล่าและโค้กพร้อมแก้วอีกสองใบไว้ให้เลย หันดูคนอื่นๆก็มีเครื่องดื่มมากกว่าหนึ่งชนิดอยู่ตรงหน้าเช่นเดียวกัน
อาหารหลักของไฟล์ทนี้มีตัวเลือกแค่จะกินหรือไม่กินนะคะ เพราะมีมาให้เมนูเดียว เป็นข้าวสวยกับสตูหมูรึเนื้อก็ไม่รู้แยกไม่ออก โดยมีถั่วลันเตากับแครอทเป็นเครื่องเคียง รสชาติโดยรวมแม้จะเค็มไปนิดแต่อร่อยดีค่ะ แล้วก็มีขนมปังแครอทก้อนโตพร้อมชีสและเนยกับบราวนี่อีกหนึ่งชิ้นมาในถาด ถ้ากินหมดทุกอย่างคงจุกแน่ๆ เราชิมขนมปังไปนิดกับเก็บบราวนี่ลงกระเป๋าเผื่อไว้ตอนไม่มีอะไรกิน
++++ Winter Greenland ++++ .....มันก็จะขาวหน่อยๆ
ถ้ากรีนหมายความถึงสีเขียว และแลนด์คือผืนแผ่นดิน แล้วทำไมอิประเทศที่มีแต่หิมะขาวโพลนแบบนี้ถึงถูกเรียกว่า “กรีนแลนด์” !!! นั่นเป็นหนึ่งในคำถามแรกๆที่เกิดขึ้น เมื่อตอนที่เราเริ่มทำความรู้จักกับประเทศนี้ใหม่ๆ
Erik the red – ไวกิ้งจากนอร์เวย์คือคนที่ค้นพบและตั้งชื่อให้ดินแดนแห่งนี้เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว เอริคไม่ได้ตาบอดสี และก็ไม่ได้เห็นสีขาวเป็นสีเขียว หากแต่เพราะเอริคล่องเรือจากไอซ์แลนด์ขึ้นมาถึงชายฝั่งด้านทิศใต้ของดินแดนแห่งใหม่นี้ในช่วงซัมเมอร์ ช่วงไฮซีซั่น ที่มีทุ่งหญ้าเขียวขจีต่างหากเขาถึงได้เรียกที่นี่ว่า “กรีนแลนด์”
แม้ว่ากรีนแลนด์จะมี 4 ฤดู แต่การท่องเที่ยวในกรีนแลนด์นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักคือฤดูร้อน (summer) กับ ฤดูหนาว (winter) เนื่องจาก ฤดูใบไม้ผลิ (spring) กับฤดูใบไม้ร่วง (autumn) นั้นมีช่วงเวลาที่สั้นมาก จนบางครั้งอาจเหมารวมได้เป็นแค่ฤดูที่มีหิมะ กับฤดูที่ไม่มีหิมะเท่านั้น
ระหว่างพระอาทิตย์เที่ยงคืน ล่องเรือ และhikingในฤดูร้อน กับ แสงเหนือสีเขียวๆและภูเขาหิมะในฤดูหนาว มนุษย์บนเส้นศูนย์สูตรที่สนิทสนมกับคุณพระอาทิตย์เป็นอย่างดีแบบเราจึงขอเลือกไปทำความรู้จักกับอากาศติดลบบ้าง แบบไม่ต้องลังเล
และเพราะเคยนกจากทริปนอร์เวย์มาก่อน ครั้งนี้เราจึงต้องวางแผนการเดินทางอย่างรัดกุม เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่คลาดกับคุณนายออโรร่าเป็นครั้งที่สอง
:: ช่วงเวลาเดินทาง ::
แม้ฤดูหนาวของกรีนแลนด์จะกินเวลายาวถึง 6 เดือน คือตั้งแต่ตุลาคม ไปจนถึง มีนาคม ของปีถัดไป แต่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงมกราคมในเขตขั้วโลกจะเกิดปรากฏการ polar night หรือช่วงเวลาที่มีกลางคืนมากกว่า 24 ชั่วโมง เรียกง่ายๆว่าเป็นช่วงพระอาทิตย์ลาพักร้อนค่ะ
และแม้ว่าการท่องเที่ยวกรีนแลนด์จะโฆษณาชวนเชื่อว่า ณ ช่วงเวลาดังกล่าวท้องฟ้าจะฉาบไปด้วยสีเขียวเข้ม กับแสงระยิบระยับของหมู่ดาว เกล็ดหิมะรอบตัวจะปลิวฟุ้งสะท้อนแสงจันทร์ก่อเกิดบรรยากาศงดงามที่เหมือนอยู่ในความฝัน... แต่!! จะให้เราบินข้ามโลกไปเพื่อนอนดูดาวทั้งวันทั้งคืนไม่ได้!!! ดังนั้นตัวเลือกเราจึงเหลือแคบลงเพียง 4 เดือนเท่านั้น
สุดท้ายเราเลือกเดินทางในช่วงปลายกุมภาต้นมีนา เพื่อรอให้กลางวันยาวมากพอสำหรับทำกิจกรมมอื่นๆ และหิมะมีความหนาพียงพอที่จะนั่งสุนัขลากเลื่อนได้ ไม่เพียงแค่นั้น แต่เรายังดูประฏิทินดวงจันทร์เพื่อให้แน่ใจว่าช่วงที่จะไป เป็นคืนเดือนมืด ป้องกันแสงจันทร์มารบกวนการเต้นระบำของคุณนายออโรร่า ส่วนความแรง ความเข้มของแสงนั้นก็คงต้องไปวัดดวงเอาดาบหน้า เพราะพยากรณ์ส่วนมากจะออกมาเป็นรายสัปดาห์ ทำอะไรไม่ได้ตรงจุดนี้
:: แผนการเดินทาง::
แผนการเดินทางคือสิ่งแรกที่เราต้องเตรียม เพื่อให้พอทราบคร่าวๆว่า เราจะไปที่ไหนบ้าง เวลาทั้งหมดที่เราจะใช้สำหรับการเดินทางในครั้งนี้คือกี่วัน และงบประมาณที่ต้องจัดเตรียมคือเท่าไหร่ เพราะสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา นอกจากงบที่มีจำกัดแล้วนั้นวันหยุดก็ถูกจำกัดเช่นเดียวกัน
www.greenland.com คือตัวช่วยชั้นดีในการปักหมุดการเดินทางในครั้งนี้ รายละเอียดในเว็บไซต์จะบอกเราถึงจุดเด่น สภาพภูมิประเทศ รวมถึง thing to do ในแต่ละเมืองของกรีนแลนด์แบ่งแยกไปตามภาค
เราเริ่มจากการเลือก 1 เมืองในแต่ละภาคออกมาเพื่อพิจารณารายละเอียด ความน่าสนใจ และความเป็นไปได้ในการเดินทาง
Kangerlussuaq จาก Arctic Circle คือที่แรกที่เราพิจารณา เพราะที่นี่คือฮับการบินของกรีนแลนด์ คือเมืองแรกที่จะเปิดประตูต้อนรับเราหากเราบินมาจากโคเปนเฮเกน และยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเมืองต่างๆอีกด้วย แถมที่นี่ยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่อากาศดีที่สุด ท้องฟ้าจะสดใสประมาณ 300 วันต่อปี จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการเฝ้าดูแสงเหนือ
Nuuk คือเมืองหลวง คือเมืองที่มีชีวิตชีวาที่สุดในกรีนแลนด์ เป็นเมืองที่มีทั้งความเจริญและธรรมชาติอยู่รวมกัน มีสนามบินนานาชาติที่รองรับเที่ยวบินตรงจากไอซ์แลนด์ และสามารถบินต่อไปยังเมืองอื่นๆเช่นเดียวกับ Kangerlussuaq (แคงเกอร์ลุสซัก)
Ilulissat (อิลูลิสเซท) คือเมืองท่องเที่ยวจากทางตะวันตกของกรีนแลนด์ที่ถูกยกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก จุดเด่นของที่นี่คือ iceberg หรือภูเขาน้ำแข็ง ที่เกิดจาก Ilulissat Icefjord (อิลูลิเซท ไอซ์ฟยอร์ด) ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งที่ไหลเร็วที่สุดในโลก
เราตัดเมืองจากทางใต้ของกรีนแลนด์ออกไปเนื่องจาก thing to do ที่เค้าแนะนำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงหน้าร้อน
โดยปกติการเดินทางระหว่างเมืองในกรีนแลนด์จะไปได้จากทางเรือและเครื่องบิน แต่สำหรับหน้าหนาว ทะเลบางส่วนจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้เราต้องเดินทางโดยเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น ซื่งราคาค่าตั๋วนั้นก็เรียกได้ว่าแพงเลยทีเดียว
ถ้าเลือกมากรีนแลนด์จากทางโคเปนเฮเกนเราต้องใช้บริการของแอร์กรีนแลนด์ลำแดงๆ แต่ถ้ามาจากทางไอซ์แลนด์สามารถเลือกใช้บริการได้จากทั้งแอร์กรีนแลน์และแอร์ไอซ์แลนด์ และเพราะทริปนี้เราตั้งธงไว้ที่กรีนแลนด์เท่านั้นดังนั้นเราจึงเลือกบินเข้าจากทางโคเปนเฮเกนเพื่อประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ไฟล์ทบินจากกรุงเทพไปโคเปนเฮเกนมีทั้งบินตรงฟูลเซอร์วิสโดยการบินไทย และโลคอสโดยนอร์วีเจี้ยนแอร์ ถ้าแบบแวะต่อเครื่องก็มีให้เลือกมากมายจากสายตะวันออกกลาง โดยช่วงราคาจะอยู่ประมาณ 16,000 – 35,000 บาท
และเนื่องจากทุกไฟล์ทจากโคเปนเฮเกนจะต้องมาลงที่แคงเกอร์ลุสสวกก่อนที่จะต่อไปยังเมืองอื่นๆ เราจึงใช้วิธีต่อเครื่องแบบข้ามวันเพื่อให้แวะเที่ยวที่นี่ได้โดยไม่เสียค่าตั๋วเครื่องบินเพิ่ม โดยค่าตั๋วเครื่องบินจากโคเปนเฮเกนไปยังอิลูลิเซทแบบแวะเที่ยวแคงเกอร์ลุสสวก มีราคาประมาณ 30,000 บาท ปาดเงื่อ!! และถ้ารวมกับตั๋วเครื่องบินไปกลับระหว่างอิลูลิเซท-นุค อีกกว่า 25,000 บาท ก็จะเป็น.....ชิบบ!!! ห้าหมื่นห้า!! ยังไม่รวมค่ากินค่าอยู่แบบนี้ไม่น่าจะไหว
เรากลับมาหาข้อมูลใหม่เปรียบเทียบระหว่าง อิลูลิเซท กับนุค เพราะแคงเกอร์ลุสสวกถูกจัดเป็นทางผ่านไปแล้ว สุดท้ายอิลูลิเซทเฉือนชนะไปด้วยแอคทิวิตี้ที่มีให้เลือกมากกว่า ไม่ว่าจะลงเรือ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ขี่สโนว์โมบิล หรือแม้แต่นั่งสุนัขลากเลื่อน ครบได้ในที่เดียว
ลาก่อนนุค หวังว่าสักวันเราคงจะมีโอกาสพบกัน T T
:: วีซ่า ::
กรีนแลนด์มีฐานะเป็นดินแดนที่ปกครองตนเองของเดนมาร์ก....ไม่งงใช่มะ???
คือเค้ามีนายกรัฐมนตรีเป็นของตัวเอง ปกครองตัวเองได้แต่ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของเดนมาร์กค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องขอวีซ่าผ่านสถานฑูตเดนมาร์ก โดยจะได้มาเป็นเชงเก้นวีซ่าที่ระบุว่า “valid for Greenland” และที่สำคัญต้องขอวีซ่าแบบ multiple เนื่องจากกรีนแลนด์ไม่ได้อยู่ใน EU ดังนั้นถ้าได้ single มา ออกจากเดนมาร์กมาแล้วจะจบเห่ทันที กลับเข้าไปต่อเครื่องเพื่อกลับบ้านไม่ได้ทันทีค่ะ
การขอวีซ่าต้องดำเนินการผ่านสำนักงาน VFS ที่ตึกเทรนดี้แถวนานา ซึ่งไปกี่ทีก็มีความงงงวยกับการที่ตึกให้เราจอดรถชั้น 5 แต่ปิดลิฟท์ไม่ให้เปิดที่ชั้น 5 ต้องเลือกเดินขึ้นบันไดหนีไฟต่อไปชั้น 8 หรือลงบันไดเลื่อนมาชั้น 1 แล้วค่อยต่อลิฟท์ไปที่ชั้น 8 อีกที
เอกสารก็ใช้พาสปอร์ตเล่มปัจจุบัน, สำเนาพาสปอร์ตทุกหน้าของเล่มปัจจุบัน,พาสปอร์ตเล่มเก่า(ถ้ามี)และสำเนาเช่นเดียวกัน, ประกันการเดินทางที่มีวงเงินคลอบคลุม 1,500,000 บาท, เอกสารทางการเงิน ซึ่งระบุมาว่าต้องมีอย่างน้อยห้าหมื่นบาทสำหรับ 90 วัน แต่เอาจริงใส่ไปเถอะหกหลักเพื่อความอุ่นใจ, ใบรับรองการทำงาน, ใบเปลี่ยนชื่อถ้ามี, แผนการเดินทาง, ใบจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน, รถไฟ, หรือเรือที่สองคล้องกับแผนการเดินทาง โดยมีข้อแนะนำว่าอย่าซื้อตั๋วก่อนได้วีซ่า
อ้อ...เอกสารทางการเงินไม่จำเป็นต้องขอ statement ให้เปลืองเงินนะคะ สามารถใช้แบบออนไลน์ได้ ถ้าแบบฟอร์มออนไลน์นั้นมีการแสดงเลขที่บัญชี และชื่อเจ้าของบัญชีอย่างชัดเจน เราใช้ online statement ของ TMB
สามารถขอวีซ่าได้ล่วงหน้าสามเดือนก่อนวันเดินทาง และใช้เวลาประมาณ 15 วันในการพิจารณา ตอนที่เราขอ 8 วันทำการก็ได้วีซ่ามานอนกอดเรียบร้อยค่ะ
:: หลุมพลาง ::
สิ่งแรกที่เราทำหลังจากได้วีซ่ามาคือ การจองตั๋วเครื่องบิน โคเปนเฮเกน – อิลูลิเซท เนื่องจากตั๋วเครื่องบินของแอร์กรีนแลนด์มีแต่จะแพงขึ้นๆ รีบไว้ได้เป็นดี แต่ขนาดว่าเฝ้าราคามาตลอดสุดท้ายยังมาตกหลุมพลางเข้าจนได้ การซื้อตั๋วทำได้โดยซื้อตรงจาก airgreenland.com ค่ะ
ไฟล์ทจากโคเปนเฮเกน ไปกรีนแลนด์ จะมีบินเพียงแค่ วันละ 1 ไฟล์ท และไฟล์ทที่จะต่อไปอิลูลิเซทก็ไม่ได้มีบินทุกวัน โดยจะบินเฉพาะ จ/อ/พฤ/ศ เท่านั้น เราเลือกที่จะบินวันพฤหัสเพื่อให้มีไฟล์ทวันศุกร์เป็นสแปร์ในกรณีที่อาจเกิดการดีเลย์ หรืออะไรต่างๆที่ไม่คาดคิด เพื่อป้องกันไม่ให้แผนที่เราวางมาต้องพังไปทั้งหมด
โดยราคาที่เราดูไว้คือ ขาไป 2,267 DKK และขากลับ 3,291 DKK ในขณะที่เรากดเลือกไฟล์ทขาไปแล้ว และกำลังกดเลือกไฟล์ทขากลับนั้นก็พลันรู้สึกได้ว่ามีเขาน้อยๆกำลังงอกขึ้นมาบนหัว..... เพราะทันทีที่เรากดเลือกขากลับ ราคาขาไปที่เราเลือกไว้แล้วนั้นก็ดีดขึ้นไปที่ 2,919 DKK โดยไม่มีการแจ้งเตือนใดๆ มาเอะใจก็ตอนได้รับยอดที่ตัดบัตร เนื่องจากเราคำนวนไว้ในทีแรกว่าราคาตั๋วมันจะประมาณสองหมื่นเก้ากว่าๆ แต่กลับโดนตัดไปสามหมื่นสองกว่าๆ เลยกลับมาลองกดเลือกดูอีกครั้งถึงได้เห็นการดีดตัวของราคาตั๋วที่ดีดขึ้นมาต่อหน้าต่อตา แต่ๆๆๆๆๆๆ ที่เจ็บกว่านั้นคือ เมื่อลองทำการแยกจองเป็นสองบุ๊คกิ้งคือ แยกขาไปและขากลับพบว่าราคาไม่ได้ดีดขึ้นแต่อย่างได้ เจ็บปวดชะมัด!!
:: สีแดงแรงฤทธิ์ ::
หนึ่งในโมเม้นท์ที่รอคอยในทริปนี้ ก็คือการได้นั่งเจ้าเครื่องบินสีแดงแรงฤทธิ์ของแอร์กรีนแลนด์นี่แหละ โดยจาก โคเปนเฮเปนเฮเกนไปแคงเกอร์ลุสซักนั้น จะบินด้วยแอร์บัส A330-200 ใช้เวลาบินประมาณ 4 ชั่วโมง
เนื่องจากเครื่องที่ใช้บินก็มีอายุอานามมากอยู่ (19 ปี ) อุปกรณ์เพื่อความบันเทิงภายในเครื่องก็เลยออกจะตกยุคไปอยู่บ้าง หน้าจอทีวีขนาดเล็กจิ๋วที่นอกจากจะแสดงการ์ตูนสาธิตความปลอดภัยบนเครื่องบินแล้ว ยังมีรายการตลกให้ชมระหว่างไฟล์ท
ก่อนเสริฟอาหารจะมีขนมเพรสเซลกรอบๆเค็มๆ แจกให้หนึ่งถุง กับเครื่องดื่มที่จะดื่มอะไรบ้างในไฟล์ทนั้นให้ขอไว้เลยทีเดียว ตอนแรกเราขอแค่น้ำเปล่าคุณลุงสจ๊วตตัวใหญ่แต่หน้าตาใจดีก็ถามกลับมาว่า แล้วตอนจะทานข้าวล่ะจะดื่มอะไร เราเลยเลือกโค้กกับน้ำแข็ง นึกว่าจะมาเสริฟอีกครั้งพร้อมข้าวแต่ป่าวค่ะ คุณลุงแกวางทั้งน้ำเปล่าและโค้กพร้อมแก้วอีกสองใบไว้ให้เลย หันดูคนอื่นๆก็มีเครื่องดื่มมากกว่าหนึ่งชนิดอยู่ตรงหน้าเช่นเดียวกัน
อาหารหลักของไฟล์ทนี้มีตัวเลือกแค่จะกินหรือไม่กินนะคะ เพราะมีมาให้เมนูเดียว เป็นข้าวสวยกับสตูหมูรึเนื้อก็ไม่รู้แยกไม่ออก โดยมีถั่วลันเตากับแครอทเป็นเครื่องเคียง รสชาติโดยรวมแม้จะเค็มไปนิดแต่อร่อยดีค่ะ แล้วก็มีขนมปังแครอทก้อนโตพร้อมชีสและเนยกับบราวนี่อีกหนึ่งชิ้นมาในถาด ถ้ากินหมดทุกอย่างคงจุกแน่ๆ เราชิมขนมปังไปนิดกับเก็บบราวนี่ลงกระเป๋าเผื่อไว้ตอนไม่มีอะไรกิน