อยากได้บุญที่ถูกต้อง ทำบุญง่ายๆ ทุกวัน เพื่อเพิ่มบารมี เข้าสู่นิพพาน

ทำบุญสละความอยาก และความตระหนี่ ด้วยการทำบุญวันละ ๑บาท วันไหนไม่ได้ผ่านหน้าวัดก็เก็บไว้บนหิ่งพระ เวลาจะควักเงินออกมาก็ภาวนาคาถาไปด้วย อะไรก็ได้
อย่างแรกเลยได้ทั้งบารมี ทาน สัจจะต้องทำทุกวัน

ต่อไปรู้สึกว่าทำน้อย เราก็ขนดินขนทรายเข้าวัดวันละกำมือ วันไหนไม่ได้ไปก็เก็บไว้ในถุง รวมๆกัน แล้วเอาไปทีเดียว เวลากำขี้ดินก็ภาวนา
ตั้งใจให้ทานแบบนี้จะเป็นสมาธิอานิสงค์ทานจะสูง
ที่กล่าวมาทั้งหมดอย่าลืม ตอนสละทรัพย์ให้แก่พุทธศาสนาให้อธิฐานว่า..ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าทำบัดนี้เป็นใจให้เข้านิพพานด้วยเทอญฯ
ตั้งใจทำแบบนี้ทุกๆวัน สม่ำเสมอ
ผมขอบอกว่าคนนั้น.......เป็นคนรวย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
พระพุทธองค์ตรัสว่า  การสาดน้ำล้างภาชนะลงไปในบ่อน้ำครำ  ด้วยเจตนาที่จะให้สัตว์
ที่อาศัยอยู่ในที่เหล่านั้นได้รับความสุข  ก็ยังมีอานิสงส์ไม่น้อย  จะป่วยกล่าวไปไยกับการให้ทาน
ในผู้มีศีล  หรือในบุคคลหมู่มากที่ประพฤติปฏิบัติตรง  ทั้งโดยเจาะจงและไม่เจาะจง

      ใน  ทักขิณาวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงจำแนกอานิสงส์
ของทานที่ให้โดยเจาะจงและไม่เจาะจงไว้ตามลำดับขั้น ถึง ๒๑ ประเภท  คือ

    ๑.  ให้ทานแก่ดิรัจฉาน  มีอานิสงส์ร้อยชาติ  คือ  ให้อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  และปฏิภาณ  
ถึง  ๑๐๐  ชาติ
    ๒.  ให้ทานแก่ปุถุชนทุศีล  มีอานิสงส์พันชาติ
    ๓.  ให้ทานแก่ปุถุชนผู้มีศีล  มีอานิสงส์แสนชาติ
    ๔.  ให้ทานแก่ปุถุชนผู้ปราศจากความยินดีในกาม  นอกพุทธศาสนา  อย่างพวกนักบวชหรือฤาษี
ที่ได้ฌานเป็นต้น  แม้ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา  ก็ยังมีอานิสงส์ถึงแสนโกฏิชาติ


ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html#1


สรุปรวมความว่า  ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก  ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิด
ที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์  แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก  เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้

    ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก  ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย  มีอานิสงส์
มากด้วย  เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

    ฉะนั้นคำว่า  "อานิสงส์มาก"  ในที่นี้  จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง  ไม่ต้องเกิดอีก

    จริงอยู่  การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น  มีความสุขมาก  เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็น
ทิพย์  ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น  แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า  กามคุณนั้นเป็นของเลว  เป็น
ของชาวบ้าน  เป็นของชวนให้หลงใหล  เป็นของมีสุขน้อย  แต่มีโทษมาก  เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรง
แสดงธรรม  คือ  อนุปุพพิกถา  แก่คฤหัสถ์  จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย  ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิด
เพลินในกาม  คือ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  อันน่าใคร่  น่าพอใจ  ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้  ผู้ที่จะล่วง
ทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม  ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น

    ด้วยเหตุนั้น  ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต  ขัดเกลาจิตให้อ่อน  ให้ควรแก่การเจริญสมถะและ
วิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก  จึงเป็นทานที่มีผลมาก  และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่
กล่าวว่ามีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม  ก้าว
ล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก

    พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน  ก็ทรงแสดงให้
พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง  ๓  ประการ  คือ  ประโยชน์ในโลกนี้  ประโยชน์ในโลกหน้า  และประ
โยชน์อย่างยิ่ง  คือ  มรรค  ผล  นิพพาน  ด้วยเหตุนี้  จึงควรทำใจให้เลื่อมใส  บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์
ทั้ง  ๓  ประการ  จึงจะได้ชื่อว่า  ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง

    ควรหรือไม่  ที่เราจะทำทานชนิดที่มีผลมาก  มีอานิสงส์มาก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทางแห่งความดี : ความสำคัญของใจ
http://pantip.com/topic/30532106/comment26

วันนั้น พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยอันงามของมหาบาลแล้ว ทรงหลั่งพระธรรมเทศนามุ่งมหาบาลเป็นสำคัญ ทรงเทศนาอนุปุพพิกถา 5 คือ

1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม

++++++++++++++++++++++++++++++++

อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเป็นอานิสงส์สูงสุด
http://pantip.com/topic/33737761/comment5

๖. อานิสงส์ที่ได้รับจากการเลี้ยงอาหารแก่พระอรหันตบุคคลร้อยองค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเลี้ยงอาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๗. อานิสงส์ที่ได้รับจากการเลี้ยงอาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยองค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเลี้ยงอาหารแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวและครั้งเดียวไม่ได้
๘.  อานิสงส์ที่ได้รับจากการเลี้ยงอาหารแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเลี้ยงอาหารแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย  มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขไม่ได้
๙.  อานิสงส์ที่ได้รับจากการเลี้ยงอาหารแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย  มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสร้างวิหารถวายแก่ภิกษุสงฆ์ที่อยู่ทั่วทั้ง ๔ ทิศ หรือ ๘ ทิศ (จตุทิสาสังฆิกวิหารทาน) ไม่ได้
๑๐.  อานิสงส์ที่ได้รับจากการสร้างจตุทิสาสังฆิกวิหารทานนั้น   ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสมาทานไตรสรณคมน์ไม่ได้
๑๑.  อานิสงส์ที่ได้รับจากไตรสรณคมน์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์นั้นไม่ได้
๑๒.  อานิสงส์ที่ได้รับจากการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการแผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวไม่ได้
๑๓.  อานิสงส์ที่ได้รับจากการแผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วคราวนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเพียงชั่วคราวไม่ได้
                เท่าที่บรรยายถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เป็นลำดับมานี้จะเห็นได้ว่าอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเป็นอานิสงส์ที่สูงสุด ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวถึงการเจริญเป็นเวลานานๆ แม้แต่จะเจริญเพียงหนึ่งวันหรือหนึ่งชั่วโมงก็ยังนับว่าได้อานิสงส์มากอยู่แล้ว  ถ้าได้เจริญเป็นเวลานานๆนั้น ก็ย่อมได้รับอานิสงส์มากขึ้นไปจนหาประมาณไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่