สวัสดีค่ะ
เนื่องจากตอนนี้เป็นหมอที่เรียนเฉพาะทางกำลังจะเรียนจบ จึงได้หาข้อมูลจากรุ่นพี่ๆ เกี่ยวกับที่ทำงานในอนาคต ทั้งรัฐและเอกชน
ทั้งเวลาการทำงานต่อสัปดาห์ ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญที่สุด คงไม่พ้นเรื่องของค่าตอบแทน
ยิ่งฟังมากขึ้น ก็ยิ่งตกผลึก
ซึ่งมันต่างจาก มายาคติ ที่สังคมมีต่ออาชีพของเรามากค่ะ ที่ว่า
“หมอรายได้เดือนละเป็นแสน”
ดังจะแจกแจงตามนี้ค่ะ
1. หมอเป็นอาชีพที่ได้เงินเพิ่มตามชั่วโมงที่ทำ ตามเคสที่ทำเพิ่ม (ขอคิดในกรณีของฟูลไทม์ รพ รัฐนะคะ)
แต่ก่อนที่คุณจะได้ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา คุณต้องทำงานในส่วนของ “เวลาทำการ” ให้เสร็จก่อนค่ะ ซึ่งเยอะมาก
งานในหลายสาขาเฉพาะทาง แทนที่จะสามารถเคลียร์งานส่วนนี้ได้ภายใน 4 โมงเย็นตาม job description ที่เขียนไว้ในกระดาษ
กลับต้องลากยาวไปถึงหกโมง สองทุ่ม หรืออาจดึกกว่านั้น
เลวร้ายที่สุดคือ มีพันธะยาวไปตลอดข้ามคืน ถึงแม้คุณไม่อยู่เวร ก็อาจต้องรับผิดชอบหรือตอบคำถามบางอย่างในเคสที่เป็นของคุณ
เพราะเหตุนี้ หมอหลายคนเลยเลือกที่จะไม่หารายได้เสริม เพราะมันไม่มีแรงหรือเวลาเหลือให้ทำอีกแล้ว
ถามว่า อ้าว แล้วรายได้ที่มาจากการทำเวลาทำการ มันก็เยอะแล้ว เกินแสนแล้ว ใช่หรือไม่
ไม่ใช่ค่ะ ถ้าเป็นหมอของรัฐ สตาร์ทก็หมื่นปลายถึงสองหมื่น ได้ค่าตอบแทน พวกไม่ทำเวช พตส ค่าเวรราชการบ้าง
รวมแล้วส่วนใหญ่หมอรัฐ ทั้งที่จบเฉพาะทาง หรือยังไม่ได้เรียนเฉพาะทาง “ถ้าไม่ทำ part time เพิ่ม” ได้ประมาณหกหมื่นค่ะ
ลบภาพว่าหมอรับเงินแสนไปได้เลยค่ะ เพราะกลุ่มหมอที่ทำงานรัฐ คือประชากรส่วนใหญ่ (general population) ของสังคมหมอ
และเป็นหมอในอุดมคติ (ideal) ของทัศนคติของคนไทย ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องเสียลสละ ทำเอกชน คือการกอบโกย
2. อ้าว แต่เห็นว่าพอไปเรียนเฉพาะทาง จบแล้วกลับมาทำงานก็ได้เงินกันเป็นกอบเป็นกำนี่ เห็นว่าหลายแสนเลยด้วย
หยุดมโนค่ะ
ไม่ทราบว่าคนหลายคนได้รับข้อมูลนี้มาจากไหน แต่การเรียนเฉพาะทางต่อ ก็คือการที่ทำให้หมอคนหนึ่ง เข้าไปทำงานในส่วนที่เฉพาะเจาะจงขึ้น และมักจะทำอย่างอื่นที่เคยทำตอนอินเทิร์น (แพทย์ฝึกหัดไม่ได้แล้ว)
ที่สำคัญ ความสามารถในการทำงานของแต่ละสายเฉพาะทาง มันต่างกันมากเหลือเกิน
ในสายงานที่มี “การทำหัตถการ” ต้องยอมรับว่ามีโอกาสในการทำเงินมากกว่า รวมไปถึงสาขาที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงามต่างๆ ด้วย
พูดได้ว่า “ถ้าอยากได้” ก็มีศักยภาพพอที่จะไปถึงสิ่งที่แต่ละคนหวังไว้ บ้านหรู คอนโดหรู รถยุโรป ฯลฯ
แต่ในทางกลับกัน อีกหลายสาขาเฉพาะทาง ไม่ได้มีโอกาสดังนั้น
จะเห็นได้ว่า หมอที่เรียนจบเฉพาะทาง กลับมาทำงาน รพ รัฐ กลับได้ค่าตอบแทน “ไม่ต่างจากอินเทิร์น”
เน้นก็คือ หมอเฉพาะทาง รายได้ไม่ถึงแสนค่ะ
เรียกว่า เรียนไป ก็ไม่ได้เพิ่มเงิน แต่จะมีประโยชน์ในแง่การจำกัดความเสี่ยง คือทำงานในย่านที่ตัวเองถนัดและรอบรู้
โอกาสผิดพลาดน้อยกว่าอินเทิร์น ที่ต้องทำทุกอย่าง (ไม่มีใครรู้ได้ทุกอย่างค่ะ) โอกาสพลาดสูง
บางสาขาเลือกที่จะไปอยู่ในจุดที่สบายใจได้ ในพื้นฐานว่าเงินไม่ต่างจากน้องๆ อินเทิร์นเลย (หรือบางที จนกว่าอินเทิร์นด้วยซ้ำ เพราะเวรน้อยกว่า)
ทั้งนี้เส้นกราฟความแตกต่างของรายได้จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อหมอคนนั้นๆ ออกมาทำพาร์ทไทม์เพิ่ม
หมายความว่า ถ้าทำงานในรพ รัฐ อย่างเดียว ไม่ว่าจะสาขาทำเงิน หรือไม่ทำเงิน ก็มักจะได้เงินไม่ค่อยต่างกัน
แต่ถ้านำเรื่องพาร์ทไทม์มาคำนวณด้วย ความแตกต่างจะเห็นผลชัดเจน
ก็ไม่น่าแปลกใจค่ะ เพราะในสาขาบางสาขา ยังไม่ค่อยมีงานให้ทำพาร์ทไทม์ หรือถ้ามี ค่าตอบแทนต่อเคสมันก็น้อยเหลือเกิน
โอกาสมันต่างกันมากค่ะ
3. อ้าว แล้วทำไมหมอไม่ไปเรียนเฉพาะทางสายที่ทำเงินรวยๆ ล่ะ ไปเรียนสายจนๆ ทำไม
ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ ในสังคมค่ะ วิศวกร ก็งานอย่างหนึ่ง ทนาย ก็งานอีกอย่างหนึ่ง
งาน ก็ทำไม่เหมือนกัน ฐานเงินเดือน มีน แม็กซ์ ก็ต่างกัน
ไม่ต่างอะไรกับสายเฉพาะทางของหมอค่ะ เพราะงานในแต่ละสาย มันต่างกันและมีรายละเอียดมาก ไม่สามารถทำแทนกันได้
หมอ med ก็ทำอย่างหนึ่ง จะให้ไปจับมีดผ่าตัด ก็ไม่ได้
หมอศัลย์ ก็อ่านฟิล์มซีทีได้ประมาณนึง อ่านได้คล่องเฉพาะที่เกี่ยวกับฟิลด์ตัวเอง จะให้ไปอ่านทั่วร่างก็ไม่ได้
และแต่ละสาขาก็มี ฐาน มีน แม็กซ์ “ของพาร์ทไทม์ หรือเอกชน” ต่างกัน (เน้นอีกครั้งค่ะ ว่าถ้าทำงานรัฐ “อย่างเดียว” สาขาไหน เงินไม่ค่อยต่างกัน)
คนแต่ละคน ก็มีความถนัดคนละแบบ มีความชอบคนละแบบ จะให้ไปเรียนแต่สายที่ทำเงิน ก็คงไม่ได้
และก็จะเสียสมดุลของความสามารถในการป้อนแพทย์เฉพาะทางไปด้วย สายที่งานหนักก็คงไม่มีคนเรียน ประชาชนก็เดือดร้อนอีก
ถึงได้มีการควบคุม ว่าแต่ละสาขา รับแพทย์กี่คน
ก็ไม่ต้องแปลกใจค่ะ ว่าทำไมคนไปสมัครสาขา “ทำเงิน” มันถึงมากมาย แข่งกันดุเดือดมาก
ก็คงไม่ต่างจากสายอาชีพอื่น ที่แย่งกันเข้าบริษัทใหญ่ๆ เพื่อโอกาสความก้าวหน้าในอนาคตค่ะ
ทุกอย่างคือการแข่งกัน
4. อ่านมาถึงจุดนี้ คงจะพอเห็นภาพแล้วนะคะ ว่าหมอรัฐ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมหมอ คืออาชีพหนึ่ง ซึ่งมี “การันตี” รายได้ ในระดับที่สูงกว่า “มีน” ของอาชีพทั่วไป
คือ หกหมื่นบาทต่อเดือน
โดยจะมี variation ขึ้นตามสาขาที่เรียน การเลือกที่จะทำพาร์ทไทม์ หรือไม่ทำ และโอกาสและความคุ้มค่าในการทำพาร์ทไทม์ของแต่ละสาขา ต่างกันเช่นใด
อ้าว แล้วหมอเอกชนล่ะ หมอเอกชน (ฟูลไทม์) ได้เงินหลายแสนเลยนะ
หมอเอกชนฟูลไทม์ เป็นสิ่งที่สามารถพูดได้ค่ะ ว่าได้รายได้เกินแสนต่อเดือน และน่าจะเป็นภาพที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าหมอเป็นด้วย
คือภาพของหมอในกาวน์ขาวยาวๆ อยู่ในตึกรพ สูงๆ แอร์เย็นๆ สภาพแวดล้อมสะอาดสะอ้าน พูดจาครับๆ ค่ะๆ
แต่อนิจจา นั่นคือประชากรส่วนที่น้อยกว่าของสังคมหมอค่ะ
เพราะฉะนั้น รายได้ของหมอเอกชน ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของวิชาชีพหมอได้ค่ะ ไม่ว่าจะเอามาเป็นมีน โหมด หรือมีเดียน
ขอให้ลบภาพว่า หมอทุกคนได้เงินแสน ทิ้งไปค่ะ
หมอทุกคนขับรถยุโรป ลืมไปค่ะ
หมอทุกคนมีคอนโดรถไฟฟ้าผ่าน หยุดมโนค่ะ
และเน้นย้ำอีกครั้ง ทุกอย่างมีที่มาที่ไปค่ะ คนที่จะได้ไปทำฟูลไทม์เอกชน ก็ต้องมีโปรไฟล์ที่ดี ต้องทำตัวให้เป็นที่ต้องการของตลาด
ไม่ต่างอะไรกับสายอาชีพอื่น ก็ต้องทำโปรไฟล์ตัวเองให้ดี เกรดต้องได้ มีประสบการณ์ มีการพัฒนาตัวเอง
มีความอดทน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ
ฟังแบบนี้แล้ว มันก็คือ core value เหมือนๆ กันในการประกอบอาชีพอื่น
แล้วมันแตกต่างอะไรกับ career path ของการทำอาชีพอื่นล่ะคะ
ใจความแล้ว ไม่แตกต่างเลยค่ะ เพราะฉะนั้น ขอให้เลิกค่านิยมซะทีว่า อยากรวยให้มาเรียนหมอ
กลับไปบอกลูกๆ หลานๆ คุณว่า ทำอะไร ก็ทำให้ดี รักในอาชีพ พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
รายได้และตำแหน่งของคุณ ก็จะก้าวไปข้างหน้า เหมือนกับอาชีพหมอ ซึ่งมี variation ของรายได้เช่นกัน
แม้ว่า มีนของอาชีพหมอ จะการันตีว่าไม่อดตาย แต่ max มันไม่ต่างค่ะ
มีข้อสังเกตว่า ถ้าเด็กคนหนึ่งมีความสามารถเพียงพอที่จะสอบเข้าคณะแพทย์ได้ ก็แปลว่าคนคนนั้นสามารถเข้าได้ทุกคณะ และจะไปอยู่ในจุดที่สูงมากของสายอาชีพนั้นๆ (อันนี้ยังมีหลายปัจจัยนอกเหนือจากการเรียนหรือการทำคะแนน แต่คะแนนก็พอบอกอะไรได้หลายอย่างค่ะ)
เราเห็นเพื่อนแพทย์หลายคน ที่ตอนสอบเข้าหมอ คราวอายุ 18 หลายคนมีความสามารถด้านอื่นสูงมากๆ เช่น โอลิมปิคเลข หรือฟิสิกส์ JLPT1 เปียโนที่สูงกว่าเกรดแปด ฯลฯ พอเข้ามาเรียน ก็ไม่ได้ใข้ความสามารถส่วนนั้น
หลายคนอยากไปเรียนคณะอื่นด้วยซ้ำแต่ต้องมาเรียนหมอ ก็อดเสียดายแทนไม่ได้ค่ะ
กระทู้นี้พูดเรื่องค่าตอบแทน เรื่องเงิน กับอาชีพหมอ
ขออภัยค่ะหากอ่านแล้วรู้สึกว่าทำไมหมอเห็นแก่เงิน นี่เป็นความเห็นของเราคนเดียวค่ะ
เราแค่อยากให้มองหมอเหมือนเป็นอาชีพหนึ่งในสังคม เป็นฆราวาส เป็นอาชีพทางโลก
ต้องพูดเรื่องค่าตอบแทนได้ค่ะ และต้องมีที่มาที่ไป
ไม่ชอบค่ะถ้าจะต้องยกเรื่องความเสียสละ เพื่อมาบิดเบือนกลไกตลาดที่ควรจะเป็น
ความเสียสละควรจะมีในทุกๆ อาชีพในระดับที่เท่ากันค่ะ บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ภาพของนักบุญที่เสียสละ
เพราะเราก็อยู่ในสังคม เรามีความอยาก มีกิเลส เราก็อยากขับรถดีๆ กินอาหารดีๆ
มีลูกก็อยากให้เรียนโรงเรียนดีๆ ไม่ต่างจากอาชีพอื่นค่ะ
ถ้าไม่ชอบ ก็ขออภัยค่ะ
มายาคติ ทำอาชีพหมอ = รับเงินแสน
เนื่องจากตอนนี้เป็นหมอที่เรียนเฉพาะทางกำลังจะเรียนจบ จึงได้หาข้อมูลจากรุ่นพี่ๆ เกี่ยวกับที่ทำงานในอนาคต ทั้งรัฐและเอกชน
ทั้งเวลาการทำงานต่อสัปดาห์ ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญที่สุด คงไม่พ้นเรื่องของค่าตอบแทน
ยิ่งฟังมากขึ้น ก็ยิ่งตกผลึก
ซึ่งมันต่างจาก มายาคติ ที่สังคมมีต่ออาชีพของเรามากค่ะ ที่ว่า
“หมอรายได้เดือนละเป็นแสน”
ดังจะแจกแจงตามนี้ค่ะ
1. หมอเป็นอาชีพที่ได้เงินเพิ่มตามชั่วโมงที่ทำ ตามเคสที่ทำเพิ่ม (ขอคิดในกรณีของฟูลไทม์ รพ รัฐนะคะ)
แต่ก่อนที่คุณจะได้ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมา คุณต้องทำงานในส่วนของ “เวลาทำการ” ให้เสร็จก่อนค่ะ ซึ่งเยอะมาก
งานในหลายสาขาเฉพาะทาง แทนที่จะสามารถเคลียร์งานส่วนนี้ได้ภายใน 4 โมงเย็นตาม job description ที่เขียนไว้ในกระดาษ
กลับต้องลากยาวไปถึงหกโมง สองทุ่ม หรืออาจดึกกว่านั้น
เลวร้ายที่สุดคือ มีพันธะยาวไปตลอดข้ามคืน ถึงแม้คุณไม่อยู่เวร ก็อาจต้องรับผิดชอบหรือตอบคำถามบางอย่างในเคสที่เป็นของคุณ
เพราะเหตุนี้ หมอหลายคนเลยเลือกที่จะไม่หารายได้เสริม เพราะมันไม่มีแรงหรือเวลาเหลือให้ทำอีกแล้ว
ถามว่า อ้าว แล้วรายได้ที่มาจากการทำเวลาทำการ มันก็เยอะแล้ว เกินแสนแล้ว ใช่หรือไม่
ไม่ใช่ค่ะ ถ้าเป็นหมอของรัฐ สตาร์ทก็หมื่นปลายถึงสองหมื่น ได้ค่าตอบแทน พวกไม่ทำเวช พตส ค่าเวรราชการบ้าง
รวมแล้วส่วนใหญ่หมอรัฐ ทั้งที่จบเฉพาะทาง หรือยังไม่ได้เรียนเฉพาะทาง “ถ้าไม่ทำ part time เพิ่ม” ได้ประมาณหกหมื่นค่ะ
ลบภาพว่าหมอรับเงินแสนไปได้เลยค่ะ เพราะกลุ่มหมอที่ทำงานรัฐ คือประชากรส่วนใหญ่ (general population) ของสังคมหมอ
และเป็นหมอในอุดมคติ (ideal) ของทัศนคติของคนไทย ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องเสียลสละ ทำเอกชน คือการกอบโกย
2. อ้าว แต่เห็นว่าพอไปเรียนเฉพาะทาง จบแล้วกลับมาทำงานก็ได้เงินกันเป็นกอบเป็นกำนี่ เห็นว่าหลายแสนเลยด้วย
หยุดมโนค่ะ
ไม่ทราบว่าคนหลายคนได้รับข้อมูลนี้มาจากไหน แต่การเรียนเฉพาะทางต่อ ก็คือการที่ทำให้หมอคนหนึ่ง เข้าไปทำงานในส่วนที่เฉพาะเจาะจงขึ้น และมักจะทำอย่างอื่นที่เคยทำตอนอินเทิร์น (แพทย์ฝึกหัดไม่ได้แล้ว)
ที่สำคัญ ความสามารถในการทำงานของแต่ละสายเฉพาะทาง มันต่างกันมากเหลือเกิน
ในสายงานที่มี “การทำหัตถการ” ต้องยอมรับว่ามีโอกาสในการทำเงินมากกว่า รวมไปถึงสาขาที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงามต่างๆ ด้วย
พูดได้ว่า “ถ้าอยากได้” ก็มีศักยภาพพอที่จะไปถึงสิ่งที่แต่ละคนหวังไว้ บ้านหรู คอนโดหรู รถยุโรป ฯลฯ
แต่ในทางกลับกัน อีกหลายสาขาเฉพาะทาง ไม่ได้มีโอกาสดังนั้น
จะเห็นได้ว่า หมอที่เรียนจบเฉพาะทาง กลับมาทำงาน รพ รัฐ กลับได้ค่าตอบแทน “ไม่ต่างจากอินเทิร์น”
เน้นก็คือ หมอเฉพาะทาง รายได้ไม่ถึงแสนค่ะ
เรียกว่า เรียนไป ก็ไม่ได้เพิ่มเงิน แต่จะมีประโยชน์ในแง่การจำกัดความเสี่ยง คือทำงานในย่านที่ตัวเองถนัดและรอบรู้
โอกาสผิดพลาดน้อยกว่าอินเทิร์น ที่ต้องทำทุกอย่าง (ไม่มีใครรู้ได้ทุกอย่างค่ะ) โอกาสพลาดสูง
บางสาขาเลือกที่จะไปอยู่ในจุดที่สบายใจได้ ในพื้นฐานว่าเงินไม่ต่างจากน้องๆ อินเทิร์นเลย (หรือบางที จนกว่าอินเทิร์นด้วยซ้ำ เพราะเวรน้อยกว่า)
ทั้งนี้เส้นกราฟความแตกต่างของรายได้จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อหมอคนนั้นๆ ออกมาทำพาร์ทไทม์เพิ่ม
หมายความว่า ถ้าทำงานในรพ รัฐ อย่างเดียว ไม่ว่าจะสาขาทำเงิน หรือไม่ทำเงิน ก็มักจะได้เงินไม่ค่อยต่างกัน
แต่ถ้านำเรื่องพาร์ทไทม์มาคำนวณด้วย ความแตกต่างจะเห็นผลชัดเจน
ก็ไม่น่าแปลกใจค่ะ เพราะในสาขาบางสาขา ยังไม่ค่อยมีงานให้ทำพาร์ทไทม์ หรือถ้ามี ค่าตอบแทนต่อเคสมันก็น้อยเหลือเกิน
โอกาสมันต่างกันมากค่ะ
3. อ้าว แล้วทำไมหมอไม่ไปเรียนเฉพาะทางสายที่ทำเงินรวยๆ ล่ะ ไปเรียนสายจนๆ ทำไม
ก็เหมือนอาชีพอื่นๆ ในสังคมค่ะ วิศวกร ก็งานอย่างหนึ่ง ทนาย ก็งานอีกอย่างหนึ่ง
งาน ก็ทำไม่เหมือนกัน ฐานเงินเดือน มีน แม็กซ์ ก็ต่างกัน
ไม่ต่างอะไรกับสายเฉพาะทางของหมอค่ะ เพราะงานในแต่ละสาย มันต่างกันและมีรายละเอียดมาก ไม่สามารถทำแทนกันได้
หมอ med ก็ทำอย่างหนึ่ง จะให้ไปจับมีดผ่าตัด ก็ไม่ได้
หมอศัลย์ ก็อ่านฟิล์มซีทีได้ประมาณนึง อ่านได้คล่องเฉพาะที่เกี่ยวกับฟิลด์ตัวเอง จะให้ไปอ่านทั่วร่างก็ไม่ได้
และแต่ละสาขาก็มี ฐาน มีน แม็กซ์ “ของพาร์ทไทม์ หรือเอกชน” ต่างกัน (เน้นอีกครั้งค่ะ ว่าถ้าทำงานรัฐ “อย่างเดียว” สาขาไหน เงินไม่ค่อยต่างกัน)
คนแต่ละคน ก็มีความถนัดคนละแบบ มีความชอบคนละแบบ จะให้ไปเรียนแต่สายที่ทำเงิน ก็คงไม่ได้
และก็จะเสียสมดุลของความสามารถในการป้อนแพทย์เฉพาะทางไปด้วย สายที่งานหนักก็คงไม่มีคนเรียน ประชาชนก็เดือดร้อนอีก
ถึงได้มีการควบคุม ว่าแต่ละสาขา รับแพทย์กี่คน
ก็ไม่ต้องแปลกใจค่ะ ว่าทำไมคนไปสมัครสาขา “ทำเงิน” มันถึงมากมาย แข่งกันดุเดือดมาก
ก็คงไม่ต่างจากสายอาชีพอื่น ที่แย่งกันเข้าบริษัทใหญ่ๆ เพื่อโอกาสความก้าวหน้าในอนาคตค่ะ
ทุกอย่างคือการแข่งกัน
4. อ่านมาถึงจุดนี้ คงจะพอเห็นภาพแล้วนะคะ ว่าหมอรัฐ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมหมอ คืออาชีพหนึ่ง ซึ่งมี “การันตี” รายได้ ในระดับที่สูงกว่า “มีน” ของอาชีพทั่วไป
คือ หกหมื่นบาทต่อเดือน
โดยจะมี variation ขึ้นตามสาขาที่เรียน การเลือกที่จะทำพาร์ทไทม์ หรือไม่ทำ และโอกาสและความคุ้มค่าในการทำพาร์ทไทม์ของแต่ละสาขา ต่างกันเช่นใด
อ้าว แล้วหมอเอกชนล่ะ หมอเอกชน (ฟูลไทม์) ได้เงินหลายแสนเลยนะ
หมอเอกชนฟูลไทม์ เป็นสิ่งที่สามารถพูดได้ค่ะ ว่าได้รายได้เกินแสนต่อเดือน และน่าจะเป็นภาพที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคิดว่าหมอเป็นด้วย
คือภาพของหมอในกาวน์ขาวยาวๆ อยู่ในตึกรพ สูงๆ แอร์เย็นๆ สภาพแวดล้อมสะอาดสะอ้าน พูดจาครับๆ ค่ะๆ
แต่อนิจจา นั่นคือประชากรส่วนที่น้อยกว่าของสังคมหมอค่ะ
เพราะฉะนั้น รายได้ของหมอเอกชน ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนของวิชาชีพหมอได้ค่ะ ไม่ว่าจะเอามาเป็นมีน โหมด หรือมีเดียน
ขอให้ลบภาพว่า หมอทุกคนได้เงินแสน ทิ้งไปค่ะ
หมอทุกคนขับรถยุโรป ลืมไปค่ะ
หมอทุกคนมีคอนโดรถไฟฟ้าผ่าน หยุดมโนค่ะ
และเน้นย้ำอีกครั้ง ทุกอย่างมีที่มาที่ไปค่ะ คนที่จะได้ไปทำฟูลไทม์เอกชน ก็ต้องมีโปรไฟล์ที่ดี ต้องทำตัวให้เป็นที่ต้องการของตลาด
ไม่ต่างอะไรกับสายอาชีพอื่น ก็ต้องทำโปรไฟล์ตัวเองให้ดี เกรดต้องได้ มีประสบการณ์ มีการพัฒนาตัวเอง
มีความอดทน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ
ฟังแบบนี้แล้ว มันก็คือ core value เหมือนๆ กันในการประกอบอาชีพอื่น
แล้วมันแตกต่างอะไรกับ career path ของการทำอาชีพอื่นล่ะคะ
ใจความแล้ว ไม่แตกต่างเลยค่ะ เพราะฉะนั้น ขอให้เลิกค่านิยมซะทีว่า อยากรวยให้มาเรียนหมอ
กลับไปบอกลูกๆ หลานๆ คุณว่า ทำอะไร ก็ทำให้ดี รักในอาชีพ พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
รายได้และตำแหน่งของคุณ ก็จะก้าวไปข้างหน้า เหมือนกับอาชีพหมอ ซึ่งมี variation ของรายได้เช่นกัน
แม้ว่า มีนของอาชีพหมอ จะการันตีว่าไม่อดตาย แต่ max มันไม่ต่างค่ะ
มีข้อสังเกตว่า ถ้าเด็กคนหนึ่งมีความสามารถเพียงพอที่จะสอบเข้าคณะแพทย์ได้ ก็แปลว่าคนคนนั้นสามารถเข้าได้ทุกคณะ และจะไปอยู่ในจุดที่สูงมากของสายอาชีพนั้นๆ (อันนี้ยังมีหลายปัจจัยนอกเหนือจากการเรียนหรือการทำคะแนน แต่คะแนนก็พอบอกอะไรได้หลายอย่างค่ะ)
เราเห็นเพื่อนแพทย์หลายคน ที่ตอนสอบเข้าหมอ คราวอายุ 18 หลายคนมีความสามารถด้านอื่นสูงมากๆ เช่น โอลิมปิคเลข หรือฟิสิกส์ JLPT1 เปียโนที่สูงกว่าเกรดแปด ฯลฯ พอเข้ามาเรียน ก็ไม่ได้ใข้ความสามารถส่วนนั้น
หลายคนอยากไปเรียนคณะอื่นด้วยซ้ำแต่ต้องมาเรียนหมอ ก็อดเสียดายแทนไม่ได้ค่ะ
กระทู้นี้พูดเรื่องค่าตอบแทน เรื่องเงิน กับอาชีพหมอ
ขออภัยค่ะหากอ่านแล้วรู้สึกว่าทำไมหมอเห็นแก่เงิน นี่เป็นความเห็นของเราคนเดียวค่ะ
เราแค่อยากให้มองหมอเหมือนเป็นอาชีพหนึ่งในสังคม เป็นฆราวาส เป็นอาชีพทางโลก
ต้องพูดเรื่องค่าตอบแทนได้ค่ะ และต้องมีที่มาที่ไป
ไม่ชอบค่ะถ้าจะต้องยกเรื่องความเสียสละ เพื่อมาบิดเบือนกลไกตลาดที่ควรจะเป็น
ความเสียสละควรจะมีในทุกๆ อาชีพในระดับที่เท่ากันค่ะ บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ภาพของนักบุญที่เสียสละ
เพราะเราก็อยู่ในสังคม เรามีความอยาก มีกิเลส เราก็อยากขับรถดีๆ กินอาหารดีๆ
มีลูกก็อยากให้เรียนโรงเรียนดีๆ ไม่ต่างจากอาชีพอื่นค่ะ
ถ้าไม่ชอบ ก็ขออภัยค่ะ