"ข่าวดี ! ข่าวดี ! มิชชั่นนารีมาแล้วเน้อ !!!" เสียงตะโกนแห่งความยินดีของอินทรที่เปี่ยมด้วยความหวังว่า เจ้าแม้นเมืองและบุตรจะรอดตาย เนื่องจากการมาของมิชชั่นนารี
เจ้าน้อยศุขวงศ์แห่งเชียงพระคำ (เมืองน่าน) ผู้ได้รับการศึกษาจากสิงคโปร์ จึงอาจค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ดี และเข้าใจเรื่องมิชชั่นนารีเป็นอย่างดี
เรื่องจริง เหตุการณ์นี้ตรงกับประวัติศาสตร์อย่างแรงครับ เรื่องเล่าจาก เมืองน่าน (เมืองต้นแบบของเชียงพระคำในละคร) กับงานของมิชชั่นนารีที่นั่น และความสัมพันธ์ของมิชชั่นนารีกับเจ้าผู้ครองนคร
หมอสอนศาสนา ความจริงมิชชั่นนารีส่วนใหญ่ไม่ใช่หมอนะครับ ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสถาบันทางศาสนา (วิทยาลัยพระคริสตธรรม) แล้วออกมาประกาศศาสนาด้วยการสั่งสอน และการแพทย์ ชาวไทยจึงนิยมเรียกท่านว่า "หมอ" (เหมือนที่เราชอบเรียกพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อนามัยว่า หมอ นะครับ)
ข้อถกเถียงระหว่างอินทร (โลกใหม่) และเขียนจันทร์ (โลกเก่า) เรื่องความน่าเชื่อถือของมิชชั่นนารีกับการรักษาโรค ดั่งที่หมอแมคกิลวารีบันทึกว่า "ข้าพเจ้าไม่อาจหันหนีพวกเขาเหล่านั้นที่ไม่อะไรช่วยรักษานอกจากไสยศาสตร์ที่พวกเขาเชื่อกัน"
ที่นันทบุรี (เมืองน่าน) ปรากฏเรื่องราวความเป็นมิตรระหว่างมิชชั่นนารีกับเจ้านายฝ่ายเหนือ
หมอแมคกิลวารี (ศาสนาจารย์ ดร.ดาเนียล แมคกิลวารี) บิดาแห่งคริสตจักรล้านนา เมื่อท่านได้เดินทางสำรวจทั่วเขตลาวเฉียง และมาถึงเมืองน่านก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเจ้าบริรักษ์ (หลานชายของผู้ครองนคร) ท่านถึงกับบันทึกไว้ว่า "เจ้านครน่านเป็นชายสูงอายุที่สง่าน่านับถือ ... และแม้ว่าเมืองนี้เป็นเมืองอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบเก่า ถ้าจะกล่าวถึงการปฏิบัติตามแบบชาวต่างชาติหรือการต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ ข้าพเจ้าก็รักนครแห่งนี้เสียแล้วทันทีที่ได้เห็น และหมายมั่นในใจว่าสักวันจะตั้งสถานีมิชชั่นขึ้นที่นี่"
หมอพีเพลส์ (ศาสนาจารย์ นพ.ซามูเอล พีเพิลส์) เป็นมิชชั่นนารีคนสำคัญที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา และการแพทย์ในเมืองน่าน ท่านมีส่วนในการสร้างโอสถศาลา (โรงพยาบาล) ที่บ้านสวนตาลล่างเมื่อปี ค.ศ. 1895 และเมื่อท่านเสียชีวิตเจ้าผู้ครองนครน่านได้ทรงให้ฝังร่างของท่านไว้ที่สุสานเชิงดอยเขาน้อยซึ่งเป็นการให้เกียรติอย่างสูงแก่ชาวต่างชาติ (ปัจจุบันได้ย้ายร่างของท่านมาฝังที่สุสานคริสตจักรประสิทธิพร จ.น่าน)

บรรยากาศในศาสาย่าแสงคำมา หมอแมคกิลวารีและภรรยา (นางโซเฟีย บรัดเลย์ แมคกิลวารี) กำลังสอนศาสนา และแจกยารักษาโรค โดยโรคที่มักพบในสมัยนั้นได้แก่ มาลาเรีย คอพอก หรือแม้แต่คนที่สังคมประนามว่าเป็น "ผีกะ" (ปอป) ก็อยู่ในความดูแลของมิชชั่นนารี
ภาพจากหอประวัติศาสตร์คริสตจักรที่หนึ่งเชียงใหม่
วาดโดย ครูเสนาะ ชิกรัตน์
เจ้ามหาพรหม (เจ้าผู้ครองน่าน) ยังเคยเสด็จโรงเรียนหญิงของมิชชั่นนารีเมื่อมีการประชุมมิชชั่นลาว (สยามเหนือ) และทรงร่วมฉายภาพกับเหล่ามิชชั่นนารีกล่าวว่า "จะฉายพระรูปร่วมกับมิชชั่นนารี เพราะเรารักคุณ"
การประชุมมิชชั่นลาวที่เมืองน่าน ถ่ายที่ตึกรังษีเกษม (ปัจจุบันคือหอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา)
ชายและหญิงที่เป็นชาวล้านนามีเพียง 2 ท่านแถวหน้า คือ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระอุปราช) และแม่เจ้าศรีโสภา ทั้ง 2 พระองค์นั่งข้าง ศจ.นพ.ซามูเอล และนางซาร่าห์ พีเพิลส์ มิชชั่นนารีคนสำคัญของเมืองน่าน
มิชชั่นนารีเป็นอีกกลุ่มคนหนึ่งที่ปรากฏในละคร และน่าสนใจว่าอะไรเป็นสาเหตุให้พวกท่านบากบั่นมาทำงานในบ้านเมืองของเรา
3 เดือนจากอเมริกา 15 วันจากกรุงเทพฯสู่เชียงใหม่
ทั้งชีวิตจนฝังร่างบนแผ่นดินไทย สมกับคำกล่าวที่ว่า
"สยามไม่ถูกบีบคั้นลงโทษโดยอำนาจเรือปืนของอังกฤษ และฝรั่งเศสอย่างเช่นจีน แต่ประเทศถูกเปิดโดยมิชชั่นนารี"
เจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
หอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา (ตึกรังษีเกษม) ในปัจจุบัน
ซ้าย : อ.หิรัญ อุทธวงค์ ผู้บุกเบิกและรวบรวมหอประวัติศาสตร์แห่งนี้
ขวา : ผู้เขียน (คุณ Wittawat Thamma จากกลุ่มลักษณะไทย)
อยากเชิญชวนให้มาหอประวัติศาสตร์แห่งนี้ แล้วท่านจะได้สัมผัสเมืองน่าน และเชียงพระคำจากละครอย่างแท้จริง
ปล.ผู้เขียนประทับใจ ผ้าห่มลายตารางหมากรุก ซึ่งเหมือนกับที่เจ้าน้อนศุขวงศ์ และเจ้าแม้นเมืองใช้ที่ีเชียงพระคำมากๆ ครับ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม หนังสือทูตของพระคริสต์กึ่งศตวรรษในหมู่ชนชาวสยามและลาว หนังสือสเตชั่นน่าน หนังสือ Historical Sketch of Protestant Missionsin 1828-1928
แหล่งข้อมูลที่มีชีวิต หอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา (รังษีเกษม)
credit Wittawat Thamma กลุ่ม ลักษณะไทย
https://www.facebook.com/groups/734710249885642/?hc_ref=ARS4O0DiykP66HX7dViWKnTEHsvSJrUB5cZDhDzNTmLLv991jATSBKLiSKn600Bdq9M
[รากนครา] มิชชันนารี วิทยาการทางการแพทย์ กับสังคมล้านนา
เรื่องจริง เหตุการณ์นี้ตรงกับประวัติศาสตร์อย่างแรงครับ เรื่องเล่าจาก เมืองน่าน (เมืองต้นแบบของเชียงพระคำในละคร) กับงานของมิชชั่นนารีที่นั่น และความสัมพันธ์ของมิชชั่นนารีกับเจ้าผู้ครองนคร
หมอสอนศาสนา ความจริงมิชชั่นนารีส่วนใหญ่ไม่ใช่หมอนะครับ ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสถาบันทางศาสนา (วิทยาลัยพระคริสตธรรม) แล้วออกมาประกาศศาสนาด้วยการสั่งสอน และการแพทย์ ชาวไทยจึงนิยมเรียกท่านว่า "หมอ" (เหมือนที่เราชอบเรียกพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อนามัยว่า หมอ นะครับ)
ที่นันทบุรี (เมืองน่าน) ปรากฏเรื่องราวความเป็นมิตรระหว่างมิชชั่นนารีกับเจ้านายฝ่ายเหนือ
หมอแมคกิลวารี (ศาสนาจารย์ ดร.ดาเนียล แมคกิลวารี) บิดาแห่งคริสตจักรล้านนา เมื่อท่านได้เดินทางสำรวจทั่วเขตลาวเฉียง และมาถึงเมืองน่านก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากเจ้าบริรักษ์ (หลานชายของผู้ครองนคร) ท่านถึงกับบันทึกไว้ว่า "เจ้านครน่านเป็นชายสูงอายุที่สง่าน่านับถือ ... และแม้ว่าเมืองนี้เป็นเมืองอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบเก่า ถ้าจะกล่าวถึงการปฏิบัติตามแบบชาวต่างชาติหรือการต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ ข้าพเจ้าก็รักนครแห่งนี้เสียแล้วทันทีที่ได้เห็น และหมายมั่นในใจว่าสักวันจะตั้งสถานีมิชชั่นขึ้นที่นี่"
หมอพีเพลส์ (ศาสนาจารย์ นพ.ซามูเอล พีเพิลส์) เป็นมิชชั่นนารีคนสำคัญที่ปฏิบัติงานด้านศาสนา และการแพทย์ในเมืองน่าน ท่านมีส่วนในการสร้างโอสถศาลา (โรงพยาบาล) ที่บ้านสวนตาลล่างเมื่อปี ค.ศ. 1895 และเมื่อท่านเสียชีวิตเจ้าผู้ครองนครน่านได้ทรงให้ฝังร่างของท่านไว้ที่สุสานเชิงดอยเขาน้อยซึ่งเป็นการให้เกียรติอย่างสูงแก่ชาวต่างชาติ (ปัจจุบันได้ย้ายร่างของท่านมาฝังที่สุสานคริสตจักรประสิทธิพร จ.น่าน)
ภาพจากหอประวัติศาสตร์คริสตจักรที่หนึ่งเชียงใหม่
วาดโดย ครูเสนาะ ชิกรัตน์
เจ้ามหาพรหม (เจ้าผู้ครองน่าน) ยังเคยเสด็จโรงเรียนหญิงของมิชชั่นนารีเมื่อมีการประชุมมิชชั่นลาว (สยามเหนือ) และทรงร่วมฉายภาพกับเหล่ามิชชั่นนารีกล่าวว่า "จะฉายพระรูปร่วมกับมิชชั่นนารี เพราะเรารักคุณ"
ชายและหญิงที่เป็นชาวล้านนามีเพียง 2 ท่านแถวหน้า คือ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระอุปราช) และแม่เจ้าศรีโสภา ทั้ง 2 พระองค์นั่งข้าง ศจ.นพ.ซามูเอล และนางซาร่าห์ พีเพิลส์ มิชชั่นนารีคนสำคัญของเมืองน่าน
มิชชั่นนารีเป็นอีกกลุ่มคนหนึ่งที่ปรากฏในละคร และน่าสนใจว่าอะไรเป็นสาเหตุให้พวกท่านบากบั่นมาทำงานในบ้านเมืองของเรา
3 เดือนจากอเมริกา 15 วันจากกรุงเทพฯสู่เชียงใหม่
ทั้งชีวิตจนฝังร่างบนแผ่นดินไทย สมกับคำกล่าวที่ว่า
"สยามไม่ถูกบีบคั้นลงโทษโดยอำนาจเรือปืนของอังกฤษ และฝรั่งเศสอย่างเช่นจีน แต่ประเทศถูกเปิดโดยมิชชั่นนารี"
เจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ซ้าย : อ.หิรัญ อุทธวงค์ ผู้บุกเบิกและรวบรวมหอประวัติศาสตร์แห่งนี้
ขวา : ผู้เขียน (คุณ Wittawat Thamma จากกลุ่มลักษณะไทย)
อยากเชิญชวนให้มาหอประวัติศาสตร์แห่งนี้ แล้วท่านจะได้สัมผัสเมืองน่าน และเชียงพระคำจากละครอย่างแท้จริง
ปล.ผู้เขียนประทับใจ ผ้าห่มลายตารางหมากรุก ซึ่งเหมือนกับที่เจ้าน้อนศุขวงศ์ และเจ้าแม้นเมืองใช้ที่ีเชียงพระคำมากๆ ครับ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม หนังสือทูตของพระคริสต์กึ่งศตวรรษในหมู่ชนชาวสยามและลาว หนังสือสเตชั่นน่าน หนังสือ Historical Sketch of Protestant Missionsin 1828-1928
แหล่งข้อมูลที่มีชีวิต หอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา (รังษีเกษม)
credit Wittawat Thamma กลุ่ม ลักษณะไทย
https://www.facebook.com/groups/734710249885642/?hc_ref=ARS4O0DiykP66HX7dViWKnTEHsvSJrUB5cZDhDzNTmLLv991jATSBKLiSKn600Bdq9M