สวัสดีครับ

วันนี้ขอเสนอเนื้อหาดาราศาสตร์ เรื่อง ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย
OSIRIS-REx ครับ
ยานลำนี้คือยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยลำล่าสุด หลังจากโครงการยาน Rosetta-Philea ของ ESA
ได้ประสพความสำเร็จในการลงจอดบนดาวหาง 67P/Churyumov–Gerasimenko เมื่อ 12 พฤษจิกายน 2014 ไปแล้ว
ยาน OSIRIS-REx เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยของ NASA ครับ ซึ่งเป็นลำที่สองที่ได้มีการสร้างมาเพื่อให้มี
Sample return ด้วย
โดยยานลำแรกคือ Stardust ซึ่งได้เก็บ sample return จากดาวหาง 81P/Wild กลับมายังโลกด้วยความสำเร็จเมื่อ มกราคม ปี 2006 ครับ
OSIRIS-REx ย่อมาจาก
The Origins, Spectral Interpretation, Resource Identification,
Security, Regolith Explorer ภารกิจหลักคือโคจรติดตามดาวเคราะห์น้อย
101955 Bennu
หรืออีกชื่อคือ
1999 RQ36 ยาน OSIRIS-REx ถูกส่งขึ้นวงโคจรไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016
และยานจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการตั้งวิถีโคจรเพื่อเข้าประกบติดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ
ภาพจำลองของยานสำรวจ OSIRIS-REX กำลัง ยื่นแขน เก็บ Sample จากดาวเคราะห์น้อย Bennu
Bennu (101955 Bennu , 1999 RQ36) คือ ดาวเคราะห์น้อยประเภท C (C-type asteroid)
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนส่วนใหญ่ ตรวจพบไปเมื่อปี 1999 โน่นแล้วครับ มีขนาดใหญ่ 492 เมตร
โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใน 437 วัน Bennu ได้รับการคัดเลือกจากดาวเคราะห์น้อยมากถึง 500,000 ดวง
เพราะมันมีคุณสมบัติที่เหมาะในการสำรวจเก็บตัวอย่างครับ เนื่องจากวงโคจรใกล้ วิ่งเร็วพอเหมาะ
ทำให้สร้างวิถีโคจรในการประกบติดได้ไม่ยากครับ นี่คือภาพสัณฐานของ Bennu จากการสำรวจ
ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์ Arecibo Observatory
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Bennu_shape_model.gif
.... กลับมาที่การตั้งวิถีโคจรของยาน OSIRIS-REx ครับ เมื่อยานถูกปล่อยขึ้นอวกาศไปเมื่อ กันยายน 2016 แล้ว
ยานจะต้องปรับวิถีโคจรประมาณ 2 ปี การโคจรของยานก็คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนโลกนั่นเอง แต่วิ่งเร็วล้ำหน้าโลก
ไปเล็กน้อยเนืองจากได้แรงส่งจากจรวดครับ .... และเมื่อวัน
ศุกร์ 22 กันยายน ที่ผ่านมานี้ ยานได้อาศัยโลก
กระทำ Gravity assist เพื่อเพิ่มความเร็วในการตามตูดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ ในคลิปล่างนี้ ... จะเป็น
Trajectory ตั้งแต่แรกสุดที่ยานปล่อยออกจากโลก และที่วินาทีที่ 30 ก็คือการใช้โลกเป็น Gravity assist
เพื่อวิ่งตามตูด Bennu
จากในวรรคบนที่กล่าวใว้ว่า ยานจะต้องใช้เวลา 2 ปี ในการเดินทางตามตูด Bennu .... เมื่อยานเดินทาง
ได้ทันดาวเคราะห์น้อย Bennu ในเดือนกันยายน 2018 แล้ว .... ณ จุดนั้น ยานจะวิ่งเทียบข้าง Bennu
ในระยะห่าง 5 กิโลเมตร และจะใช้เวลาต่อจากนั้นอีกมากถึง
505 วัน ในการสำรวจพื้นผิว Bennu
ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพในย่านแสงต่าง ๆ Surface mapping เพื่อให้ทีมงานบนโลกได้
เลือก บริเวณที่ต้องการ
จะเก็บ sample กลับมาครับ และหลังจากเก็บ sample มาแล้ว ยานจะ ดีด sample return capsule กลับโลกใน
กรกฏาคม 2020
และ capsule จะเดินทางถึงโลกใน
กันยายน 2023 โดยจะเข้าสู่บรรยากาศโลกและตกลงมา ณ Landing site
ที่
Utah Test and Training Range (UTTR) ซึ่งเป็นบริเวณที่ทาง NASA ใช้เป็นจุด re-entry ของ
ภารกิจอวกาศต่าง ๆ เสมอครับ
Sample return
sample reuturn นี้ คือสิ่งพิเศษในภารกิจสำรวจวัตถุอวกาศประเภท ดาวหาง ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย
โครงการอวกาศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มี sample return มานานมากแล้วตั้งแต่สมัย Apollo ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่าง
โดยคนขุดเอง เก็บเอง แต่กรณีของยาน OSIRIS-REX นี้ เป็น Unmann mission ซึ่งยานจะต้องเก็บตัวอย่างเองครับ
ยานจะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์ควบคุมบนโลก และ
ยื่นแขน ออกไปเก็บตัวอย่างบนพื้นผิวของ
ดาวเคราะห์น้อย Bennu และนำไปเก็บใว้ใน sample return capsule และส่ง capsule นั้นกลับโลก
ลักษณะของ sample return capsule ของยาน OSIRIS-REx นี้ ก็เหมือนกับในภาพล่างนี้ครับ
(ในภาพนี้เป็น capsule ของยาน Stardust ซึ่งยาน OSIRIS-REx จะใช้รุ่นเดียวกัน)
ภาพนี้คือรายชื่อโครงการยานสำรวจแบบ Robotic ที่มีการ sample return
ติดตามตำแหน่งของยาน OSIRUS-REX ได้ที่นี่ครับ
https://www.asteroidmission.org/where-is-the-spacecraft
สำหรับภารกิจต่อไปของ NASA คือ ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย Lucy and Psyche
ซึ่งจะส่งขึ้นอวกาศในปี 2021 ครับ แต่ผมเคยตั้งกระทู้ใว้แล้ว เชิญอ่านต่อได้เลยครับ
https://pantip.com/topic/36121873
จบแล้ว สวัสดีครับ
เนื้อหา แปล / เรียบเรียงจาก
-
https://www.nasa.gov/osiris-rex
-
https://en.wikipedia.org/wiki/OSIRIS-REx
:: กระทู้ดาราศาสตร์ :: ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย OSIRIS-REx
ยานลำนี้คือยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยลำล่าสุด หลังจากโครงการยาน Rosetta-Philea ของ ESA
ได้ประสพความสำเร็จในการลงจอดบนดาวหาง 67P/Churyumov–Gerasimenko เมื่อ 12 พฤษจิกายน 2014 ไปแล้ว
ยาน OSIRIS-REx เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยของ NASA ครับ ซึ่งเป็นลำที่สองที่ได้มีการสร้างมาเพื่อให้มี Sample return ด้วย
โดยยานลำแรกคือ Stardust ซึ่งได้เก็บ sample return จากดาวหาง 81P/Wild กลับมายังโลกด้วยความสำเร็จเมื่อ มกราคม ปี 2006 ครับ
OSIRIS-REx ย่อมาจาก The Origins, Spectral Interpretation, Resource Identification,
Security, Regolith Explorer ภารกิจหลักคือโคจรติดตามดาวเคราะห์น้อย 101955 Bennu
หรืออีกชื่อคือ 1999 RQ36 ยาน OSIRIS-REx ถูกส่งขึ้นวงโคจรไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2016
และยานจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในการตั้งวิถีโคจรเพื่อเข้าประกบติดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ
ภาพจำลองของยานสำรวจ OSIRIS-REX กำลัง ยื่นแขน เก็บ Sample จากดาวเคราะห์น้อย Bennu
Bennu (101955 Bennu , 1999 RQ36) คือ ดาวเคราะห์น้อยประเภท C (C-type asteroid)
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนส่วนใหญ่ ตรวจพบไปเมื่อปี 1999 โน่นแล้วครับ มีขนาดใหญ่ 492 เมตร
โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใน 437 วัน Bennu ได้รับการคัดเลือกจากดาวเคราะห์น้อยมากถึง 500,000 ดวง
เพราะมันมีคุณสมบัติที่เหมาะในการสำรวจเก็บตัวอย่างครับ เนื่องจากวงโคจรใกล้ วิ่งเร็วพอเหมาะ
ทำให้สร้างวิถีโคจรในการประกบติดได้ไม่ยากครับ นี่คือภาพสัณฐานของ Bennu จากการสำรวจ
ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์ Arecibo Observatory
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Bennu_shape_model.gif
.... กลับมาที่การตั้งวิถีโคจรของยาน OSIRIS-REx ครับ เมื่อยานถูกปล่อยขึ้นอวกาศไปเมื่อ กันยายน 2016 แล้ว
ยานจะต้องปรับวิถีโคจรประมาณ 2 ปี การโคจรของยานก็คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนโลกนั่นเอง แต่วิ่งเร็วล้ำหน้าโลก
ไปเล็กน้อยเนืองจากได้แรงส่งจากจรวดครับ .... และเมื่อวันศุกร์ 22 กันยายน ที่ผ่านมานี้ ยานได้อาศัยโลก
กระทำ Gravity assist เพื่อเพิ่มความเร็วในการตามตูดดาวเคราะห์น้อย Bennu ครับ ในคลิปล่างนี้ ... จะเป็น
Trajectory ตั้งแต่แรกสุดที่ยานปล่อยออกจากโลก และที่วินาทีที่ 30 ก็คือการใช้โลกเป็น Gravity assist
เพื่อวิ่งตามตูด Bennu
จากในวรรคบนที่กล่าวใว้ว่า ยานจะต้องใช้เวลา 2 ปี ในการเดินทางตามตูด Bennu .... เมื่อยานเดินทาง
ได้ทันดาวเคราะห์น้อย Bennu ในเดือนกันยายน 2018 แล้ว .... ณ จุดนั้น ยานจะวิ่งเทียบข้าง Bennu
ในระยะห่าง 5 กิโลเมตร และจะใช้เวลาต่อจากนั้นอีกมากถึง 505 วัน ในการสำรวจพื้นผิว Bennu
ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพในย่านแสงต่าง ๆ Surface mapping เพื่อให้ทีมงานบนโลกได้ เลือก บริเวณที่ต้องการ
จะเก็บ sample กลับมาครับ และหลังจากเก็บ sample มาแล้ว ยานจะ ดีด sample return capsule กลับโลกใน กรกฏาคม 2020
และ capsule จะเดินทางถึงโลกใน กันยายน 2023 โดยจะเข้าสู่บรรยากาศโลกและตกลงมา ณ Landing site
ที่ Utah Test and Training Range (UTTR) ซึ่งเป็นบริเวณที่ทาง NASA ใช้เป็นจุด re-entry ของ
ภารกิจอวกาศต่าง ๆ เสมอครับ
Sample return
sample reuturn นี้ คือสิ่งพิเศษในภารกิจสำรวจวัตถุอวกาศประเภท ดาวหาง ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย
โครงการอวกาศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มี sample return มานานมากแล้วตั้งแต่สมัย Apollo ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่าง
โดยคนขุดเอง เก็บเอง แต่กรณีของยาน OSIRIS-REX นี้ เป็น Unmann mission ซึ่งยานจะต้องเก็บตัวอย่างเองครับ
ยานจะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์ควบคุมบนโลก และ ยื่นแขน ออกไปเก็บตัวอย่างบนพื้นผิวของ
ดาวเคราะห์น้อย Bennu และนำไปเก็บใว้ใน sample return capsule และส่ง capsule นั้นกลับโลก
ลักษณะของ sample return capsule ของยาน OSIRIS-REx นี้ ก็เหมือนกับในภาพล่างนี้ครับ
(ในภาพนี้เป็น capsule ของยาน Stardust ซึ่งยาน OSIRIS-REx จะใช้รุ่นเดียวกัน)
ภาพนี้คือรายชื่อโครงการยานสำรวจแบบ Robotic ที่มีการ sample return
ติดตามตำแหน่งของยาน OSIRUS-REX ได้ที่นี่ครับ
https://www.asteroidmission.org/where-is-the-spacecraft
สำหรับภารกิจต่อไปของ NASA คือ ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย Lucy and Psyche
ซึ่งจะส่งขึ้นอวกาศในปี 2021 ครับ แต่ผมเคยตั้งกระทู้ใว้แล้ว เชิญอ่านต่อได้เลยครับ
https://pantip.com/topic/36121873
จบแล้ว สวัสดีครับ
เนื้อหา แปล / เรียบเรียงจาก
- https://www.nasa.gov/osiris-rex
- https://en.wikipedia.org/wiki/OSIRIS-REx