ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์สวรรคตไป ก็ไม่มีการประกาศผู้สืบราชสมบัติที่ชัดเจนอีกเลยครับ และพิจารณาตามหลักฐานแล้วพบว่าไม่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเลยว่ารัชกาลที่ ๓ ตั้งใจถวายราชสมบัติให้รัชกาลที่ ๔
โดยในเวลานั้นมีขั้วอำนาจของเจ้านายที่เป็นพระปิตุลาของรัชกาลที่ ๓ อย่างหม่อมไกรสรซึ่งมีบารมีมากเป็นอันดับสองในแผ่นดิน แต่เมื่อหม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ ก็ยังมีทั้งขั้วของพระเจ้าน้องยาเธออย่างกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ นอกจากนี้มีหลักฐานบางชิ้นที่บ่งชี้ด้วยว่ารัชกาลที่ ๓ ประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระโอรสบางพระองค์รวมไปถึงขั้วของรัชกาลที่ ๔ และพระปิ่นเกล้าซึ่งมีฐานสนับสนุนอยู่มากและมีความเหมาะสมเพราะทรงเป็นเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๒
สันนิษฐานว่าแม้จะปรากฏในหลักฐานหลายชิ้นว่ามีพระราชประสงค์จะให้พระเจ้าลูกยาเธอได้ราชสมบัติ แต่ทรงตระหนักได้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอไม่มีพระบารมีมากเพียงพอ พระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบธรรมสูงก็มีอยู่หลายพระองค์ อาจมีผู้ไม่เห็นชอบจนอาจทำให้เกิดศึกชิงบัลลังก์ระหว่างพระราชวงศ์เหมือนอย่างสมัยกรุงศรีอยุทธยาได้จนแผ่นดินเป็นจลาจล
สอดคล้องกับรายงานของหมอบรัดเลย์ที่ได้อ้างจาก “แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุด” (‘the most reliable quater’) ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎที่ขุนนางสกุลบุนนาคสนับสนุนเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีศักดิ์สูงกว่าพระโอรสและมีพระปรีชาสามารถที่จะรักษาแผ่นดินให้สงบรวมถึงได้รับความสวามิภักดิ์จากประเทศราชทั้งปวง และมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดศึกกลางเมืองจนทำให้ประเทศราชกระด้างกระเดื่องหากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอได้ราชสมบัติ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ทรงเลือกผู้สืบราชสมบัติด้วยพระองค์เอง
สุดท้ายแล้วรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ทรงตัดสินพระทัยในเรื่องรัชทายาทด้วยเกรงว่าทรงเลือกผู้หนึ่งผู้ใดแล้วจะทำให้พระราชวงศ์แตกร้าวฆ่าฟันกันเอง จึงโปรดให้พระราชวงศ์และข้าราชการประชุมเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดเอง (แต่ก็มีพระราชกระแสรับสั่งเหมือนจะชี้นำว่ารัชกาลที่ ๔ เหมาะสมที่สุด) ซึ่งสุดท้ายรัชกาลที่ ๔ ทรงได้รับราชสมบัติเนื่องจากอิทธิพลของขุนนางสกุลบุนนาคซึ่งเป็นใหญ่ในราชสำนักเกื้อหนุน จึงทรงได้ราชสมบัติโดยไม่มีปัญหาประการใดครับ
เรื่องนี้ผมเคยเขียนเป็นบทความละเอียดในชื่อ "พระราชวงศ์ และการสืบราชสมบัติยุคพระนั่งเกล้า" จำนวน ๙ ตอน ลองอ่านเพิ่มเติมได้ครับ
ตอนที่ ๑ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1331079996955467:0
ตอนที่ ๒ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1338380776225389
ตอนที่ ๓ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1343179259078874:0
ตอนที่ ๔ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1346148315448635
ตอนที่ ๕ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1353261388070661
ตอนที่ ๖ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1360247750705358
ตอนที่ ๗ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1364449973618469
ตอนที่ ๘ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1374887672574699
ตอนที่ ๙ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1379542072109259:0
โดยในเวลานั้นมีขั้วอำนาจของเจ้านายที่เป็นพระปิตุลาของรัชกาลที่ ๓ อย่างหม่อมไกรสรซึ่งมีบารมีมากเป็นอันดับสองในแผ่นดิน แต่เมื่อหม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ ก็ยังมีทั้งขั้วของพระเจ้าน้องยาเธออย่างกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ นอกจากนี้มีหลักฐานบางชิ้นที่บ่งชี้ด้วยว่ารัชกาลที่ ๓ ประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระโอรสบางพระองค์รวมไปถึงขั้วของรัชกาลที่ ๔ และพระปิ่นเกล้าซึ่งมีฐานสนับสนุนอยู่มากและมีความเหมาะสมเพราะทรงเป็นเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๒
สันนิษฐานว่าแม้จะปรากฏในหลักฐานหลายชิ้นว่ามีพระราชประสงค์จะให้พระเจ้าลูกยาเธอได้ราชสมบัติ แต่ทรงตระหนักได้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอไม่มีพระบารมีมากเพียงพอ พระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบธรรมสูงก็มีอยู่หลายพระองค์ อาจมีผู้ไม่เห็นชอบจนอาจทำให้เกิดศึกชิงบัลลังก์ระหว่างพระราชวงศ์เหมือนอย่างสมัยกรุงศรีอยุทธยาได้จนแผ่นดินเป็นจลาจล
สอดคล้องกับรายงานของหมอบรัดเลย์ที่ได้อ้างจาก “แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุด” (‘the most reliable quater’) ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎที่ขุนนางสกุลบุนนาคสนับสนุนเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีศักดิ์สูงกว่าพระโอรสและมีพระปรีชาสามารถที่จะรักษาแผ่นดินให้สงบรวมถึงได้รับความสวามิภักดิ์จากประเทศราชทั้งปวง และมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดศึกกลางเมืองจนทำให้ประเทศราชกระด้างกระเดื่องหากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอได้ราชสมบัติ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ไม่ทรงเลือกผู้สืบราชสมบัติด้วยพระองค์เอง
สุดท้ายแล้วรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ทรงตัดสินพระทัยในเรื่องรัชทายาทด้วยเกรงว่าทรงเลือกผู้หนึ่งผู้ใดแล้วจะทำให้พระราชวงศ์แตกร้าวฆ่าฟันกันเอง จึงโปรดให้พระราชวงศ์และข้าราชการประชุมเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดเอง (แต่ก็มีพระราชกระแสรับสั่งเหมือนจะชี้นำว่ารัชกาลที่ ๔ เหมาะสมที่สุด) ซึ่งสุดท้ายรัชกาลที่ ๔ ทรงได้รับราชสมบัติเนื่องจากอิทธิพลของขุนนางสกุลบุนนาคซึ่งเป็นใหญ่ในราชสำนักเกื้อหนุน จึงทรงได้ราชสมบัติโดยไม่มีปัญหาประการใดครับ
เรื่องนี้ผมเคยเขียนเป็นบทความละเอียดในชื่อ "พระราชวงศ์ และการสืบราชสมบัติยุคพระนั่งเกล้า" จำนวน ๙ ตอน ลองอ่านเพิ่มเติมได้ครับ
ตอนที่ ๑ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1331079996955467:0
ตอนที่ ๒ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1338380776225389
ตอนที่ ๓ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1343179259078874:0
ตอนที่ ๔ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1346148315448635
ตอนที่ ๕ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1353261388070661
ตอนที่ ๖ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1360247750705358
ตอนที่ ๗ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1364449973618469
ตอนที่ ๘ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1374887672574699
ตอนที่ ๙ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1379542072109259:0
แสดงความคิดเห็น
การสืบราชสมบัติต่อจากรัชกาลที่ 3