หลังจากรอคอยมา 3 ปีเต็มตั้งแต่ Nikon D810 เปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน ในปี 2557 ... ในที่สุด วันพฤหัสที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา Nikon ในแต่ละประเทศ ได้ประกาศเปิดตัวกล้อง Nikon D850 อย่างเป็นทางการ โดยมีฉายาว่า Hercules จอมพลัง ทำให้ช่างภาพทุกแขนงต่างจับตามองว่า หนึ่งในเรือธงรุ่นใหม่ของ Nikon นี้จะมีศักยภาพทะลุข่าวลือมากน้อยแค่ไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างภาพสาย Landscape (และสาย Stock) ต่างรอคอยที่จะเห็นสเปคเต็มๆ และผล Review ของกล้อง Nikon D850 นี้อย่างใจจดใจจ่อ มีคำถามมากมายถึงศักยภาพที่เหนือกว่า Nikon D810 หรือไม่? ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ใส่เข้ามาใหม่นั้น...คุ้มหรือเปล่าที่จะ upgrade จากรุ่นอื่นๆ ขึ้นมาซื้อ Nikon D850? หลังจากผมได้รับเชิญให้มาร่วมงาน NPS - D850 Debut เมื่อวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคมและได้สัมผัส Nikon D850 ตัวเป็นๆ ในวันเปิดตัวที่ตึก Empire ... ผมมีคำตอบบางอย่างที่ช่วยให้เราเข้าใจเจ้ายักษ์ใหญ่จอมพลัง และตัดสินใจง่ายขึ้นในการ upgrade มาใช้ Nikon D850 ครับ

สรุปแบบสั้นๆ เผื่อใครไม่มีเวลาไปอ่านรายละเอียดด้านล่าง ... Nikon D850 คือกล้องรอบจัด ที่มีศักยภาพสูงมาก ตอบสนองการทำงานได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ให้แก่ช่างภาพ (เกือบ) ทุกแขนงอย่างจริงจัง ทั้ง Landscape, Portrait, Fashion, Documentary, Wildlife, หรือแม้แต่ Sport photography ด้วยสเปคที่อัดมาในระดับมืออาชีพ มีฟังก์ชั่นหลักและเสริมที่เมื่อเข้าไปศึกษาดู ต้องร้องว้าววววววยาวๆ เลย ขนาดที่เมื่อเทียบกับกล้อง Nikon D810 ที่เคยใช้อยู่ ยังพบว่า มีการ Upgrade ไปแบบก้าวกระโดด รายละเอียดมีอย่างไร ไปดูกันในหัวข้อต่อไปเลยครับ
เปรียบเทียบ Nikon D850, D810 และ D5
ตารางที่ 1: Specification หลักๆ ของ D850 เปรียบเทียบกับ D810 และ D5 (สำหรับสาย Landscape)
7 ที่สุดแห่ง Spec. ของ D850 ที่โดนใจสาย Landscape
จากตารางที่ 1 นั้น เป็น Spec. คร่าวๆ ที่สำคัญของ Nikon D850 จริงๆ แล้วมีอีกลักษณะของกล้องอีกหลายอย่างที่ไม่ได้นำมารวมในนี้ แต่แค่นี้ ก็โหดเหลือรับประทานกันแล้วครับ เรามาลองไล่กันดูว่า ในบรรดาข้อมูลยิบยับในตารางนั้น มี Spec. ไหนบ้างที่โดนใจผมบ้าง?
[1] สมราคา Hercules ไฟล์ใหญ่ ยิงได้ไว
D810 ให้ไฟล์ขนาดใหญ่ที่ 36 MB ถ้าคิดว่ามันเพียงพอ ... คิดใหม่ได้นะครับ เพราะสื่อทุกวันนี้เริ่มก้าวกระโดดไปมาก พร้อมกับความต้องการไฟล์ภาพที่ใหญ่ขึ้นในฝั่งของลูกค้า ตลอดจนการพิมพ์ภาพที่ไฟล์ขนาดใหญ่ ย่อมให้ความคมชัดมากกว่าไฟล์ภาพขนาดเล็ก และ Nikon D850 ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมการถ่ายภาพด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ 45.4 MB ที่สามารถพิมพ์ภาพขนาด A1 ได้คมชัด และยังเหนือขึ้นไปกับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารและโฆษณา ไม่ใช่แค่ไฟล์ใหญ่ แต่ยังยัด “ความเร็ว” ในการถ่ายภาพมาด้วย ยิงภาพต่อเนื่องได้ 7-9 ภาพ/วินาที ซึ่งเกินพอสำหรับสาย Landscape และน่าจะเหมาะกับช่างภาพ Portrait, Fashion, Macro ต่างๆ เช่นกัน
[2] ตัวประมวลผล EXPEED 5
สรุปง่ายๆ ตัวประมวลผลของ Nikon หรือที่เรียกว่า EXPEED Image/Video processor นั้น คือ “หัวใจหลัก” ของ “การทำงานของกล้อง” ไล่ตั้งแต่การโฟกัส เปิดรับแสง การประมวล และการแสดงภาพดิจิตอล ในแต่ละยุคจะมีการ Upgrade processor นี้ให้สูงขึ้นในกล้องแต่ละรุ่น ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานของกล้อง ตลอดจนการแปลงข้อมูลแสงเป็นข้อมูลดิจิตอลมีความถูกต้องมากขึ้น ทั้งในส่วนของแสง สี รายละเอียด ความคมชัด รวมถึงการจัดการ Noise ที่ดีขึ้นด้วย ... EXPEED ล่าสุดนั้น คือ รุ่นที่ 5 ที่ใช้ในกล้อง Nikon D5, D500 และ Nikon D850 ใหม่นี้ด้วย และเมื่อใช้งานร่วมกับระบบ sensor CMOS แบบ Backside illumination ที่ออกแบบโดย Nikon จึงไม่ต้องแปลกใจหากภาพรวมของไฟล์, Dynamic range, การไล่สีในภาพ, ตลอดจนการจัดการ Noise ที่ iso สูงขึ้นของกล้อง D850 จะเหนือกว่า D810 อย่างแน่นอน
[3] จุดโฟกัส และระบบโฟกัสจาก D5
D850 ถอดความยอดเยี่ยมในการโฟกัส และจุดโฟกัสมาจากรุ่นพี่ Nikon D5 ซึ่งเมื่อเทียบกับ Nikon D810 (ที่มีจุดโฟกัส 51 จุด) จะพบว่า D850 จะครอบคลุมขอบเขตการโฟกัสมากถึง 130% อีกทั้งยังให้ความแม่นยำในการโฟกัสที่ดีขึ้นกว่าเดิม ในสาย Landscape แม้เราอาจใช้ประโยชน์จากจุดโฟกัสไม่เต็มที่เหมือนช่างภาพสายอื่น แต่การ Combo กับ Function อื่นๆ ของ D810 ทั้งการใช้จอสัมผัส เพื่อโฟกัสพร้อมกดชัตเตอร์ ตลอดจนการถ่ายภาพ Auto Focus-stack bracketing จากฉากหน้าถึงฉากหลัง ที่เป็น Function ที่ดีงามใน D850 (ช่วยให้เราถ่ายภาพโดยกำหนดจุดโฟกัสของภาพได้ถึง 300 ใบ ใน 10 ระดับ แถมตั้งช่วงเวลาถ่ายภาพได้ตั้งแต่ 0 - 30 วินาที) พูดได้เลยว่า มันถือเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุปกรณ์ในการถ่ายภาพ Landscape ที่ดีกว่าเดิมมาก นี่ยังไม่รวมการทำงานคู่กับ Live view แบบ Split screen ที่ให้เราวางแผนถ่ายภาพ Focus-stack เพื่อนำภาพที่ได้ไป Blending ต่อในการแต่งภาพในภายหลัง
[4] ความยืดหยุ่นในการทำงานผ่านจอแสดงภาพ สัมผัส + พับ + ปุ่มเรืองแสง
ในที่สุด ... ในที่สุด มันก็มาแล้ววววววว ฟังก์ชั่นที่ผมรอคอยมาตลอด 5 ปีตั้งแต่ก่อน Nikon D810 จะคลอดออกมา นั่นก็คือ จอพับแบบ Full Touch Screen สำหรับกล้อง Semi-Pro ของ Nikon มันโครตสำคัญสำหรับสาย Landscape เลยครับ ที่สำคัญ Nikon D850 นำเสนอจอพับขนาดใหญ่ 3.2 นิ้วที่มีความละเอียดสูง แข็งแรง และยังให้แสงที่สว่างกว่าเดิม มันคือการ Fusion จอพับของ D500 + คุณภาพจอของ D5 กลายร่างเป็นจอพับในรุ่น D850 คราวนี้จะมุมก้ม มุมเงย หรือถ่ายภาพในที่มืดแค่ไหนก็ (น่า) จะเอาอยู่ ... ตลอดเวลาที่ถ่ายภาพดาว / ทางช้างเผือกด้วยกล้อง D810 มาตลอด 3 ปี ... รู้สึกอึดอึดทุกครั้งที่ต้องโฟกัส “ดาว” ผ่าน Live view มันโฟกัสไม่เข้าครับ จอมันแสดงผลได้ไม่ดีนัก แต่นี่ ... D850 คือคำตอบที่รอมานานจริงๆ ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มือหมุนเพื่อบิดเลนส์สุดให้โฟกัสเข้าดาวอีกต่อไป แค่เปิด Live view แล้วหมุนจนเห็น “จุดดาว” คมชัด ... ซัดเปรี้ยง เข้าแน่นอน 😀 และอีกหนึ่งสิ่งที่อิจฉา Nikon D5 มาตลอดคือ ปุ่มเรืองแสงด้านหลัง ... การถ่ายภาพกลางคืนจำเป็นมากๆ บ่อยครั้งที่ใช้ Nikon D810 แล้วต้องควานหาปุ่ม Menu หรือปุ่มอื่นๆ สุดท้ายต้องเปิดไฟฉาย ท่ามกลางความมืดที่เพื่อนๆ คนอื่นถ่ายดาวกันอยู่ Y_Y ขอโทษนะครับ ... แต่มันจะไม่เกิดขึ้นแล้ว เพราะ D850 จัดมาเต็มๆ ทุกปุ่มที่จำเป็นด้วยนะ ชอบมากครับ
[5] มองภาพแบบกว้างและสว่างขึ้นกว่าเดิม
เต็มตาเต็มอารมณ์กับจอพับสุดโหดไปแล้ว คราวนี้สำหรับคนที่ชอบส่องภาพผ่าน Viewfinder กันบ้าง ... แม้จะไม่ EVF แต่ Nikon D850 ได้ Upgrade ตัวเองจากเดิมโดยการใช้ช่องมองภาพแบบ Pentaprism เหมือน Nikon D5 แถมเพิ่มกำลังขยายเป็น 0.75x ซึ่งกลายเป็นกล้องที่มีกำลังขยายสูงที่สุดในสารบบของ Nikon ไปเลย ... เอ ... แล้วไอ้ Pentaprism นี่มันดีกว่าแบบ Tunnel (หรือ Pentamirrors) ของรุ่นก่อนหน้ายังไง? คำตอบก็คือ จริงๆ แล้ว ทั้งสองรุ่นทำงานเหมือนกันในการมองภาพผ่านช่องมองภาพ แต่ Pentaprism จะมีต้นทุนสูงกว่า ที่ให้ความใส สว่างของภาพดีกว่า ซึ่งช่วยในการมองเห็น ตลอดจนการโฟกัส (ด้วยเลนส์มือหมุน) ในที่แสงน้อย นอกจากนี้ ช่องมองภาพแบบ Tunnel (หรือ Pentamirrors) หากออกแบบไม่ดี อาจทำให้เกิดความชื้น มีฝุ่นสะสม และหมองลงเรื่อยๆ ตลอดอายุการใช้งานครับ
[6] วิดีโอ 4k + Timelapse 8k
ไม่ต้องกลัวตกยุคอีกต่อไป วิดีโอ 4k แบบ fullframe (ไม่ Crop ภาพ) พร้อมเสริฟ์ใน Nikon D850 ให้เราได้บันทึกวิดีโอเพื่อดูใน Device ใหม่ๆ ได้อย่างคมชัด นอกจากนี้ สำหรับคอ Landscape ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ Timelapse ต้องไม่พลาดการบันทึก Timelapse แบบ 8k ที่สามารถจบหลังกล้อง (note: รอการ Review เพิ่มเติม) หรือจะมาจบเองหลังคอม (โดยการยิงภาพแบบ Interval timer shooting) ซึ่งเราอาจถ่าย Interval พร้อมกำหนด EV Auto bracketing ได้พร้อมกัน เช่น ให้แต่ละครั้งยิง 2 ใบ คือ Normal และ +3 stops (หรือจะสั่งให้เก็บ 2-5 ใบ แต่ละใบบันทึกแสงต่างกันได้ตั้งแต่ 0.3 - 3 stops) โดยปรับการวัดแสงให้เป็น Highlight priority พร้อมลด EV ลง -0.7EV เพื่อนำภาพที่ได้ไปทำ Timelapse แบบ HDR ต่อไป ... ที่น่าสนใจก็คือ Nikon D850 ยังสามารถปรับ Mode การถ่ายไปใช้ Electronic shutter ที่เงียบ และถ่ายภาพได้นิ่งกว่าเดิม เนื่องจากไม่มีการลั่นชัตเตอร์กลไก (Mechnical shutter) อันเป็นสาเหตุของภาพสั่นไหวนั่นเอง นอกจากนี้ การถ่ายภาพ Interval timer shooting ยังสามารถใช้ Mode A หรือ P เพื่อเปิดรับแสงในลักษณะ Day to Night หรือ Night to Day ได้ง่ายขึ้นด้วย180K-pixel RGB sensor แบบใหม่ที่ไวต่อแสง แม้ในที่มีแสงน้อยถึง EV -3!! (หรือเทียบเท่าการถ่ายภาพในเวลากลางคืนที่ได้รับแสงจากพระจันทร์เต็มดวง หากมืดกว่านี้ เช่น EV -4 คือ เวลากลางคืนที่มีแสงจากพระจันทร์ครึ่งดวง ไล่ไปถึง EV -6 คือ แสงในเวลากลางคืนที่มีเฉพาะแสงจากดวงดาวเท่านั้น) ทำให้การปรับค่าแสงอัตโนมัติในกล้องจากมืดไปสว่าง หรือจากสว่างไปมืดแบบอัตโนมัติได้ดีขึ้น (Smooth)
[7] สมบุกสมบันกว่าเดิม
สองประเด็นสำคัญคือ หนึ่ง : การออกแบบ Battery ใหม่ที่ให้พลังงานมากกว่าเดิม เมื่อทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผล EXPEED 5 แล้วจะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และใช้กล้องได้ยาวนานขึ้น และ สอง : การไม่มีแฟรช Pop-up หัวกล้อง ซึ่งตรงนี้มีช่างภาพจำนวนมากบ่นเสียดาย ไม่น่าตัดทิ้ง แต่สำหรับผม มันโครตโดนใจ! น่าจะเอาออกไปตั้งแต่ Nikon D800/e เมื่อ 5 ปีก่อนโน่นแล้ว แถมมาทำไม เกะกะ ไม่ค่อยได้ใช้งาน แถมที่สำคัญ เวลาไปลุยน้ำ ลุยฝน ไอ้แฟรช Pop-up นี่หล่ะที่น้ำจะซึมเข้าไปก่อน น้ำฝนพอว่าแต่น้ำทะเลนี่สิ ตัวดีเลย ทิ้งไว้สักพักถ้าไม่รีบเช็ดออก “ขี้เกลือ” ขาวๆ ก็เริ่มเกาะตามหัวน๊อต และสุดท้ายก็เปิดแฟรช Pop-up ไม่ขึ้น ... เอาออกไปนี่ ทำให้ Nikon D850 ลุยได้สมบุกสมบันกว่าเดิมครับ
สรุปเลยหล่ะกัน
เพราะ กล้อง คือ ส่วนสำคัญงานอดิเรกที่ผมรัก ... เพราะ กล้อง คือ เครื่องมือในการถ่ายภาพเพื่อเก็บความทรงจำที่ดีในชีวิตของผม ... เพราะ กล้อง คือ อุปกรณ์ในการทำมาหาเงินเข้ามาในชีวิต ... และ ... เพราะ การซื้อกล้อง คือ การลงทุน ที่จะให้ผลตอบแทนกลับมาอย่างอนันต์ หากไม่เดือดร้อนเงินทอง ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ไม่ต้องไปโกหกแฟนว่ากล้องใหม่ราคาไม่กี่บาท ... ซื้อเถอะครับ แล้วถือยาวๆ ได้อีกนานนนนนน และถ้าเพื่อนๆ อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ... รู้สึกว่า Nikon D850 นั้นเกินเอื้อม และอาจมีข้อจำกัดและภาระอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถจัด Nikon D850 ได้ในตอนนี้ ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า กล้องรุ่นอื่นๆ ของ Nikon ไม่ว่าจะเป็น Nikon D750, D800/e โดยเฉพาะอย่างยิ่ง D810 ที่เริ่มมีมือสอง สภาพดี ราคาไม่แรง ปล่อยกันมากมาย ซึ่งถือเป็นกล้องครูของผมเลยเพราะใช้มันมาร่วม 3 ปี ให้งาน ให้เงินผมมามาก ... ก็ขอให้ลองพิจารณาจัดรุ่นอื่นๆ ที่ว่ามานี้ แล้วรอสักพัก ค่อยสอย D850 ในภายหลัง ... รับรองได้ว่า เพื่อนๆ ไม่เสียใจแน่นอนครับ
แรกประทับใจ Nikon D850: I am the different maker
สรุปแบบสั้นๆ เผื่อใครไม่มีเวลาไปอ่านรายละเอียดด้านล่าง ... Nikon D850 คือกล้องรอบจัด ที่มีศักยภาพสูงมาก ตอบสนองการทำงานได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ให้แก่ช่างภาพ (เกือบ) ทุกแขนงอย่างจริงจัง ทั้ง Landscape, Portrait, Fashion, Documentary, Wildlife, หรือแม้แต่ Sport photography ด้วยสเปคที่อัดมาในระดับมืออาชีพ มีฟังก์ชั่นหลักและเสริมที่เมื่อเข้าไปศึกษาดู ต้องร้องว้าววววววยาวๆ เลย ขนาดที่เมื่อเทียบกับกล้อง Nikon D810 ที่เคยใช้อยู่ ยังพบว่า มีการ Upgrade ไปแบบก้าวกระโดด รายละเอียดมีอย่างไร ไปดูกันในหัวข้อต่อไปเลยครับ
เปรียบเทียบ Nikon D850, D810 และ D5
ตารางที่ 1: Specification หลักๆ ของ D850 เปรียบเทียบกับ D810 และ D5 (สำหรับสาย Landscape)
7 ที่สุดแห่ง Spec. ของ D850 ที่โดนใจสาย Landscape
จากตารางที่ 1 นั้น เป็น Spec. คร่าวๆ ที่สำคัญของ Nikon D850 จริงๆ แล้วมีอีกลักษณะของกล้องอีกหลายอย่างที่ไม่ได้นำมารวมในนี้ แต่แค่นี้ ก็โหดเหลือรับประทานกันแล้วครับ เรามาลองไล่กันดูว่า ในบรรดาข้อมูลยิบยับในตารางนั้น มี Spec. ไหนบ้างที่โดนใจผมบ้าง?
[1] สมราคา Hercules ไฟล์ใหญ่ ยิงได้ไว
D810 ให้ไฟล์ขนาดใหญ่ที่ 36 MB ถ้าคิดว่ามันเพียงพอ ... คิดใหม่ได้นะครับ เพราะสื่อทุกวันนี้เริ่มก้าวกระโดดไปมาก พร้อมกับความต้องการไฟล์ภาพที่ใหญ่ขึ้นในฝั่งของลูกค้า ตลอดจนการพิมพ์ภาพที่ไฟล์ขนาดใหญ่ ย่อมให้ความคมชัดมากกว่าไฟล์ภาพขนาดเล็ก และ Nikon D850 ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมการถ่ายภาพด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ 45.4 MB ที่สามารถพิมพ์ภาพขนาด A1 ได้คมชัด และยังเหนือขึ้นไปกับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารและโฆษณา ไม่ใช่แค่ไฟล์ใหญ่ แต่ยังยัด “ความเร็ว” ในการถ่ายภาพมาด้วย ยิงภาพต่อเนื่องได้ 7-9 ภาพ/วินาที ซึ่งเกินพอสำหรับสาย Landscape และน่าจะเหมาะกับช่างภาพ Portrait, Fashion, Macro ต่างๆ เช่นกัน
[2] ตัวประมวลผล EXPEED 5
สรุปง่ายๆ ตัวประมวลผลของ Nikon หรือที่เรียกว่า EXPEED Image/Video processor นั้น คือ “หัวใจหลัก” ของ “การทำงานของกล้อง” ไล่ตั้งแต่การโฟกัส เปิดรับแสง การประมวล และการแสดงภาพดิจิตอล ในแต่ละยุคจะมีการ Upgrade processor นี้ให้สูงขึ้นในกล้องแต่ละรุ่น ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานของกล้อง ตลอดจนการแปลงข้อมูลแสงเป็นข้อมูลดิจิตอลมีความถูกต้องมากขึ้น ทั้งในส่วนของแสง สี รายละเอียด ความคมชัด รวมถึงการจัดการ Noise ที่ดีขึ้นด้วย ... EXPEED ล่าสุดนั้น คือ รุ่นที่ 5 ที่ใช้ในกล้อง Nikon D5, D500 และ Nikon D850 ใหม่นี้ด้วย และเมื่อใช้งานร่วมกับระบบ sensor CMOS แบบ Backside illumination ที่ออกแบบโดย Nikon จึงไม่ต้องแปลกใจหากภาพรวมของไฟล์, Dynamic range, การไล่สีในภาพ, ตลอดจนการจัดการ Noise ที่ iso สูงขึ้นของกล้อง D850 จะเหนือกว่า D810 อย่างแน่นอน
[3] จุดโฟกัส และระบบโฟกัสจาก D5
D850 ถอดความยอดเยี่ยมในการโฟกัส และจุดโฟกัสมาจากรุ่นพี่ Nikon D5 ซึ่งเมื่อเทียบกับ Nikon D810 (ที่มีจุดโฟกัส 51 จุด) จะพบว่า D850 จะครอบคลุมขอบเขตการโฟกัสมากถึง 130% อีกทั้งยังให้ความแม่นยำในการโฟกัสที่ดีขึ้นกว่าเดิม ในสาย Landscape แม้เราอาจใช้ประโยชน์จากจุดโฟกัสไม่เต็มที่เหมือนช่างภาพสายอื่น แต่การ Combo กับ Function อื่นๆ ของ D810 ทั้งการใช้จอสัมผัส เพื่อโฟกัสพร้อมกดชัตเตอร์ ตลอดจนการถ่ายภาพ Auto Focus-stack bracketing จากฉากหน้าถึงฉากหลัง ที่เป็น Function ที่ดีงามใน D850 (ช่วยให้เราถ่ายภาพโดยกำหนดจุดโฟกัสของภาพได้ถึง 300 ใบ ใน 10 ระดับ แถมตั้งช่วงเวลาถ่ายภาพได้ตั้งแต่ 0 - 30 วินาที) พูดได้เลยว่า มันถือเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุปกรณ์ในการถ่ายภาพ Landscape ที่ดีกว่าเดิมมาก นี่ยังไม่รวมการทำงานคู่กับ Live view แบบ Split screen ที่ให้เราวางแผนถ่ายภาพ Focus-stack เพื่อนำภาพที่ได้ไป Blending ต่อในการแต่งภาพในภายหลัง
[4] ความยืดหยุ่นในการทำงานผ่านจอแสดงภาพ สัมผัส + พับ + ปุ่มเรืองแสง
ในที่สุด ... ในที่สุด มันก็มาแล้ววววววว ฟังก์ชั่นที่ผมรอคอยมาตลอด 5 ปีตั้งแต่ก่อน Nikon D810 จะคลอดออกมา นั่นก็คือ จอพับแบบ Full Touch Screen สำหรับกล้อง Semi-Pro ของ Nikon มันโครตสำคัญสำหรับสาย Landscape เลยครับ ที่สำคัญ Nikon D850 นำเสนอจอพับขนาดใหญ่ 3.2 นิ้วที่มีความละเอียดสูง แข็งแรง และยังให้แสงที่สว่างกว่าเดิม มันคือการ Fusion จอพับของ D500 + คุณภาพจอของ D5 กลายร่างเป็นจอพับในรุ่น D850 คราวนี้จะมุมก้ม มุมเงย หรือถ่ายภาพในที่มืดแค่ไหนก็ (น่า) จะเอาอยู่ ... ตลอดเวลาที่ถ่ายภาพดาว / ทางช้างเผือกด้วยกล้อง D810 มาตลอด 3 ปี ... รู้สึกอึดอึดทุกครั้งที่ต้องโฟกัส “ดาว” ผ่าน Live view มันโฟกัสไม่เข้าครับ จอมันแสดงผลได้ไม่ดีนัก แต่นี่ ... D850 คือคำตอบที่รอมานานจริงๆ ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มือหมุนเพื่อบิดเลนส์สุดให้โฟกัสเข้าดาวอีกต่อไป แค่เปิด Live view แล้วหมุนจนเห็น “จุดดาว” คมชัด ... ซัดเปรี้ยง เข้าแน่นอน 😀 และอีกหนึ่งสิ่งที่อิจฉา Nikon D5 มาตลอดคือ ปุ่มเรืองแสงด้านหลัง ... การถ่ายภาพกลางคืนจำเป็นมากๆ บ่อยครั้งที่ใช้ Nikon D810 แล้วต้องควานหาปุ่ม Menu หรือปุ่มอื่นๆ สุดท้ายต้องเปิดไฟฉาย ท่ามกลางความมืดที่เพื่อนๆ คนอื่นถ่ายดาวกันอยู่ Y_Y ขอโทษนะครับ ... แต่มันจะไม่เกิดขึ้นแล้ว เพราะ D850 จัดมาเต็มๆ ทุกปุ่มที่จำเป็นด้วยนะ ชอบมากครับ
[5] มองภาพแบบกว้างและสว่างขึ้นกว่าเดิม
เต็มตาเต็มอารมณ์กับจอพับสุดโหดไปแล้ว คราวนี้สำหรับคนที่ชอบส่องภาพผ่าน Viewfinder กันบ้าง ... แม้จะไม่ EVF แต่ Nikon D850 ได้ Upgrade ตัวเองจากเดิมโดยการใช้ช่องมองภาพแบบ Pentaprism เหมือน Nikon D5 แถมเพิ่มกำลังขยายเป็น 0.75x ซึ่งกลายเป็นกล้องที่มีกำลังขยายสูงที่สุดในสารบบของ Nikon ไปเลย ... เอ ... แล้วไอ้ Pentaprism นี่มันดีกว่าแบบ Tunnel (หรือ Pentamirrors) ของรุ่นก่อนหน้ายังไง? คำตอบก็คือ จริงๆ แล้ว ทั้งสองรุ่นทำงานเหมือนกันในการมองภาพผ่านช่องมองภาพ แต่ Pentaprism จะมีต้นทุนสูงกว่า ที่ให้ความใส สว่างของภาพดีกว่า ซึ่งช่วยในการมองเห็น ตลอดจนการโฟกัส (ด้วยเลนส์มือหมุน) ในที่แสงน้อย นอกจากนี้ ช่องมองภาพแบบ Tunnel (หรือ Pentamirrors) หากออกแบบไม่ดี อาจทำให้เกิดความชื้น มีฝุ่นสะสม และหมองลงเรื่อยๆ ตลอดอายุการใช้งานครับ
[6] วิดีโอ 4k + Timelapse 8k
ไม่ต้องกลัวตกยุคอีกต่อไป วิดีโอ 4k แบบ fullframe (ไม่ Crop ภาพ) พร้อมเสริฟ์ใน Nikon D850 ให้เราได้บันทึกวิดีโอเพื่อดูใน Device ใหม่ๆ ได้อย่างคมชัด นอกจากนี้ สำหรับคอ Landscape ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ Timelapse ต้องไม่พลาดการบันทึก Timelapse แบบ 8k ที่สามารถจบหลังกล้อง (note: รอการ Review เพิ่มเติม) หรือจะมาจบเองหลังคอม (โดยการยิงภาพแบบ Interval timer shooting) ซึ่งเราอาจถ่าย Interval พร้อมกำหนด EV Auto bracketing ได้พร้อมกัน เช่น ให้แต่ละครั้งยิง 2 ใบ คือ Normal และ +3 stops (หรือจะสั่งให้เก็บ 2-5 ใบ แต่ละใบบันทึกแสงต่างกันได้ตั้งแต่ 0.3 - 3 stops) โดยปรับการวัดแสงให้เป็น Highlight priority พร้อมลด EV ลง -0.7EV เพื่อนำภาพที่ได้ไปทำ Timelapse แบบ HDR ต่อไป ... ที่น่าสนใจก็คือ Nikon D850 ยังสามารถปรับ Mode การถ่ายไปใช้ Electronic shutter ที่เงียบ และถ่ายภาพได้นิ่งกว่าเดิม เนื่องจากไม่มีการลั่นชัตเตอร์กลไก (Mechnical shutter) อันเป็นสาเหตุของภาพสั่นไหวนั่นเอง นอกจากนี้ การถ่ายภาพ Interval timer shooting ยังสามารถใช้ Mode A หรือ P เพื่อเปิดรับแสงในลักษณะ Day to Night หรือ Night to Day ได้ง่ายขึ้นด้วย180K-pixel RGB sensor แบบใหม่ที่ไวต่อแสง แม้ในที่มีแสงน้อยถึง EV -3!! (หรือเทียบเท่าการถ่ายภาพในเวลากลางคืนที่ได้รับแสงจากพระจันทร์เต็มดวง หากมืดกว่านี้ เช่น EV -4 คือ เวลากลางคืนที่มีแสงจากพระจันทร์ครึ่งดวง ไล่ไปถึง EV -6 คือ แสงในเวลากลางคืนที่มีเฉพาะแสงจากดวงดาวเท่านั้น) ทำให้การปรับค่าแสงอัตโนมัติในกล้องจากมืดไปสว่าง หรือจากสว่างไปมืดแบบอัตโนมัติได้ดีขึ้น (Smooth)
[7] สมบุกสมบันกว่าเดิม
สองประเด็นสำคัญคือ หนึ่ง : การออกแบบ Battery ใหม่ที่ให้พลังงานมากกว่าเดิม เมื่อทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผล EXPEED 5 แล้วจะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และใช้กล้องได้ยาวนานขึ้น และ สอง : การไม่มีแฟรช Pop-up หัวกล้อง ซึ่งตรงนี้มีช่างภาพจำนวนมากบ่นเสียดาย ไม่น่าตัดทิ้ง แต่สำหรับผม มันโครตโดนใจ! น่าจะเอาออกไปตั้งแต่ Nikon D800/e เมื่อ 5 ปีก่อนโน่นแล้ว แถมมาทำไม เกะกะ ไม่ค่อยได้ใช้งาน แถมที่สำคัญ เวลาไปลุยน้ำ ลุยฝน ไอ้แฟรช Pop-up นี่หล่ะที่น้ำจะซึมเข้าไปก่อน น้ำฝนพอว่าแต่น้ำทะเลนี่สิ ตัวดีเลย ทิ้งไว้สักพักถ้าไม่รีบเช็ดออก “ขี้เกลือ” ขาวๆ ก็เริ่มเกาะตามหัวน๊อต และสุดท้ายก็เปิดแฟรช Pop-up ไม่ขึ้น ... เอาออกไปนี่ ทำให้ Nikon D850 ลุยได้สมบุกสมบันกว่าเดิมครับ
สรุปเลยหล่ะกัน
เพราะ กล้อง คือ ส่วนสำคัญงานอดิเรกที่ผมรัก ... เพราะ กล้อง คือ เครื่องมือในการถ่ายภาพเพื่อเก็บความทรงจำที่ดีในชีวิตของผม ... เพราะ กล้อง คือ อุปกรณ์ในการทำมาหาเงินเข้ามาในชีวิต ... และ ... เพราะ การซื้อกล้อง คือ การลงทุน ที่จะให้ผลตอบแทนกลับมาอย่างอนันต์ หากไม่เดือดร้อนเงินทอง ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ไม่ต้องไปโกหกแฟนว่ากล้องใหม่ราคาไม่กี่บาท ... ซื้อเถอะครับ แล้วถือยาวๆ ได้อีกนานนนนนน และถ้าเพื่อนๆ อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ... รู้สึกว่า Nikon D850 นั้นเกินเอื้อม และอาจมีข้อจำกัดและภาระอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถจัด Nikon D850 ได้ในตอนนี้ ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า กล้องรุ่นอื่นๆ ของ Nikon ไม่ว่าจะเป็น Nikon D750, D800/e โดยเฉพาะอย่างยิ่ง D810 ที่เริ่มมีมือสอง สภาพดี ราคาไม่แรง ปล่อยกันมากมาย ซึ่งถือเป็นกล้องครูของผมเลยเพราะใช้มันมาร่วม 3 ปี ให้งาน ให้เงินผมมามาก ... ก็ขอให้ลองพิจารณาจัดรุ่นอื่นๆ ที่ว่ามานี้ แล้วรอสักพัก ค่อยสอย D850 ในภายหลัง ... รับรองได้ว่า เพื่อนๆ ไม่เสียใจแน่นอนครับ