ซีเรียสเรื่องวิธีเก็บเงินกันไปทำไมครับ ทำไมไม่โฟกัสเรื่องหาเพิ่ม

สืบเนื่องจากกระทู้วิธีเก็บเงินรูปแบบต่างๆซึ่งมีอยู่มากมาย

ถ้าเราพิจารณาสมการง่ายๆ  :   รายได้ - รายจ่าย = เหลือเก็บ

ทำไมผมเห็นคนชอบไปโฟกัสเรื่องลดรายจ่ายกันจัง อาทิเช่นได้แบงค์นู้นแบงค์นี้ต้องเก็บ
แบงค์ใหม่ต้องเก็บ  ได้เหรียญ5 เหรียญ10 ต้องเก็บ , เงินเดือนออกต้องแยกใส่บัญชีออมทรัพย์อีกบัญชี
ต้องแพคเงินใส่ถุงไว้ใช้สำหรับวันนี้วันนั้น  , แยกเงินใส่บัตรใบนั้นใบนี้ วิธีการเหล่านี้มันดูไม่มี productivity เลยครับ

1) เงินมันก็วนในอ่าง ก็แค่ตัดจากที่กินใช้ มากลายมาเป็นเงินเก็บ มันเหมือนกับว่าเรากำลังเฉือนเนื้อตัวเองตอนนี้มาออมสำหรับตอนแก่
สมมติว่าวันนี้ผมเหลือเงิน 70 บาทเป็นแบงค์50กับ20 (แบงค์50 ต้องเก็บ) หรือ  วันนี้ผมใช้เงินไป280 จากเป้าหมายไม่เกิน300/วัน
แล้วทะลึ่งผมอยากกินกาแฟAmazon ขึ้นมา แต่การตั้งเงื่อนไขพวกนี้ทำให้ผมไม่สามารถกินได้
ต้องเปลี่ยนมากิน 3in1 เพื่อให้บรรลุเป้าเงินออมกับค่าใช้จ่ายรายวัน  , หรือสมมติใช้วิธีหักดิบจับยัดเข้าบัญชีฝากประจำหลังเงินออกทุกเดือน
แต่เกิดเดือนนี้ต้องใช้เยอะหน่อย เราก็จะท่องไม่กินไม่ใช้ๆๆ แบบนี้ใช่ไหมครับ , นี่มันเป็นการลดคุณภาพชีวิตนะครับ

2) ลองคิดดูว่าถ้าในกระปุกออมสินเรามีเงินซัก 1-20,000 บาท(ซึ่งเราไม่รู้ว่ามีเท่าไหร่)
แล้วเราก็ตั้งกฏว่าเราไม่หยิบใช้  , แสดงว่าคนที่ออมจะต้องเพิ่มปริมาณเงินสดสำรองในบัญชีต่อเดือนให้มากขึ้น
เพื่อให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในเดือนนั้นๆ  ในทางกลับกันถ้าแทนที่เราจะใส่กระปุกออมสิน แต่เราฝากเงินนั้นเข้าไปในบัญชีหมุนเวียนปรกติ
มันน่าจะทำให้เราเห็นตัวเลขเงินสดสำรองในบัญชีมากขึ้น  และกล้าแบ่งเงินส่วนเกินไปออมในรูปแบบที่ได้รับผลตอบแทน
ซึ่งจะเกิด productivity กับตัวผู้ออมเอง , ติ๊ต่างว่าเอาไปเล่นแชร์ละกัน แบบนี้ไม่ดีกว่าหรือครับ

ป.ล. อีกประเด็นนึงที่ชาวสีลมชอบมาตอบด้วยประโยคสุด classic ที่ว่า .....หาได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าเหลือเท่าไหร่...
จริงๆจากประโยคนี้
ถ้ามีมนุษย์เงินเดือนNo.1 หาได้เดือนละ100,000 แต่เหลือออมเดือนละ20,000
กับมนุษย์เงินเดือนNo.2หาได้เดือนละ50,000 แต่เหลือออมเดือนละ30,000
ด้วยเงื่อนไขแบบนี้ คนแบบหลังนี่น่าชืนชมกว่าจริงๆหรอครับ
ผมว่าถ้าเรามองลึกไปถึงรายละเอียดจริงๆ ผมว่าคุณภาพชีวิตคนแรกดีกว่ามากมายเลยนะครับ

ซีเรียสเรื่องออมเงินกันจังครับ ทำไมไม่โฟกัสเรื่องหาเพิ่ม

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 73
จขกท.คิดผิดทางหลายเรื่องนะ
ถ้าเริ่มที่คิดผิด มันจะผิดต่อไปเรื่อยๆ
แล้วที่สำคัญจขกท.เชื่อมั่นว่าตัวเองคิดถูก  อันนี้อันตราย
ดูรูปนะครับ



1. จขกท.เชื่อว่า  รายได้ - รายจ่าย = เหลือเก็บ
อันนี้ผิดเลย
ที่ถูกคือ รายได้ - เงินออม = รายจ่าย


2. จขกท.เชื่อว่าหาเงินเพิ่มได้ผลผลิตมากกว่าออมเงิน
อันนี้ผิดอย่างแรง  เพราะมันต้องแยกกัน
ระหว่างเงินออมตามจำเป็นที่ไม่ต้องเอาออกมาใช้ กับ เงินออม surplus ที่ต้องนำมาเป็นต้นทุนในการลงทุน "ให้เงินเติบโต"
ฉะนั้นพอจขกท.ฟันธงว่า เงินออม = no productivity ก็เลยไปต่อไม่ได้แล้วไง จบเห่


3. จขกท.เชื่อว่า "การออมคือการอด ทำให้คุณภาพชีวิตไม่ดี" "มีความสุขตอนนี้ดีกว่าจะไปคิดถึงเกษียณ"
ผมนี่ผ่านการกินอาหารฝรั่งเศสมื้อละเป็นหมื่น  ยิ่งกว่าคุณกินสตาร์บัคส์อีก
ผมกินฟัวกราส์ กินออรองฌ์ดั๊ก เป่าฮื้อ เป็ดปักกิ่ง กินน้ำแร่เปอริเย่เหยาะน้ำ lemon ทุกมื้อก็เคยมาแล้ว  (ไม่เคยกินอย่างเดียวคือเห็ดทรัฟเฟิล)
กับทุกวันยังชีพด้วยไข่ดาวกรอบๆกินกับข้าวสวยราดน้ำปลาพริกมาแล้ว
ขอบอกว่า การเชื่อว่าต้องกิน+ใช้ของแพง = คุณภาพชีวิตที่ดี นี่คือกับดักเด็ก GEN Y เลย
ฉะนั้น ถ้าจขกท.ยังมี mindset แบบนี้ มันจะคุยกันยาก  อธิบายจนคอแตกจขกท.ก็ไม่เข้าใจ

*หมายเหตุ : หลักการเงินเขาให้ฟุ่มเฟือยได้ครับ คือไม่เกิน 10% ของรายได้*
แต่เด็กรุ่นจขกท.คิดว่า เงินฉันหามาได้ฉันต้องเอารายได้ทั้งหมดไปทำให้คุณภาพชีวิตฉันดี
อันนี้เป็น mindset ล้มละลายเลย


4. จขกท.เน้นการหาเพิ่ม
ก็ขอบอกว่าจขกท.ยังเด็ก ยังไม่เคยผ่านหายนะต้มยำกุ้ง และอาจไม่สำเหนียกตอนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
ว่ากำลังที่จะหามันมี แต่มันหาไม่ได้จริงๆ  คนมันล้มกันทั้งทวีป ไม่ใช่ทั้งประเทศด้วยนะ
ฉะนั้น ความสามารถในการออมต้องมีก่อนความสามารถหาเงินเพิ่ม

ไม่งั้น จขกท.จะเจอวิกฤตเกษียณแบบที่หลายคนเจอตอนนี้คือ
"เกษียณไม่ได้ ต้องทำงานหาเงินจน 75-80 เพราะไม่มีเงินพอเลี้ยงชีพ"



และหลักการเงินจะสอนเลยว่า  
คนนิสัยออมเก่ง + หาเงินเก่ง = พยัคฆ์ติดปีก
ถ้าหาเงินไม่เก่ง แต่ออมเก่ง = ไม่มีวันยากจน
ถ้าหาเงินเก่ง ออมไม่เก่ง = หายนะ


ถามว่าเพราอะไร? หาเงินเก่งมากทำไมหายนะ
ให้กลับไปดูรูปด้านบนอีกครั้ง


น้ำประปามันยังมีวันหยุดไหลเลย  บ้านคุณก็ต้องมีแทงก์น้ำรองไว้
ไฟฟ้ายังมีดับ คุณก็ต้องมีแบต มีไฟฉาย มีเทียนเตรียมไว้




สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
พ่อตาผมมักจะสอนว่าหาเก่งสู้เก็บเก่งไม่ได้
ดังนั้นคนรุ่นพ่อมักจะซื้ออะไรเป็นเงินสด อย่างบ้านหลังละหลายล้าน รถคนละล้าน ส่งลูกเรียนหกคนจบเมืองนอก ก็ไม่เคยต้องกู้ เทียบกับเด็กสมัยนี้เที่ยวเกาหลี เที่ยวญี่ปุ่น เที่ยวบาหลี บางทีไปเอธิโอเปีย แต่หนี้ กยศไม่มีปัญญาจ่าย
สมการความมั่งคั่งมันคงต่างกันมังครับ
รายได้ - เงินออม = รายจ่าย
คนรวยแห่งบาบิโลนเคยกล่าวไว้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมว่าเค้าซีเรียสเรื่องออมเงินก็ดีแล้วหนิครับ
เพียงแต่ก็แนะนำเพิ่มเติมเรื่องหาเพิ่มด้วย ก็ยิ่งดีใหญ่ หาเพิ่มด้วย เก็บเพิ่มด้วย
และจะให้ดีมากขึ้นไปอีก คือแบ่งเอาเงินออมมาลงทุนด้วย

น้องผม ก็หาเงินได้เพิ่มขึ้น อย่างที่จขกท.บอก แต่ทุกวันนี้มีหนี้มากกว่าเก่า เพราะใช้รถแพงขึ้น กินหรูขึ้น  เงินเดือนไม่พอใช้เหมือนเดิม
เพราะมีเพิ่ม ก็ใช้เพิ่ม เพราะไม่ซีเรียสเรื่องออมเงินงัยครับ

ที่จขกท.ยกตัวอย่าง คนแรกปัจจุบันอาจมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า  แต่คนที่สอง บั้นปลายแล้วอาจมีชีวิตที่ดีกว่าก็ได้
ก็จากเงินออมที่เค้าเก็บมามากกว่า

ไม่ควรบอกให้โฟกัสเรื่องใดเรื่องนึง แล้วละเลยเรื่องนึงไป ที่จริงสำคัญหมด ทั้งเงินเข้าและเงินออกครับ
รวมถึงจังหวะการเข้าออกของเงินด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่