ได้อ่านข่าว
ภาพยนตร์‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ฉายไม่ได้- ศาลปกครองยกฟ้อง จากที่นี่
http://www.komchadluek.net/news/regional/291556
คำวินิจฉัยในคดีนี้ที่ศาลปกครองชั้นต้น ว่าไว้อย่างน่าสนใจ ความตอนหนึ่งว่า
"
แม้ว่าในการผลิตหรือสร้างภาพยนตร์จะถือเป็นการประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่รัฐธรรมนูญรับรองให้ผู้ประกอบอาชีพมีสิทธิและเสรีภาพในการผลิตหรือสร้างภาพยนตร์ก็ตาม แต่สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวยังต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามที่กฎหมายกำหนด"
ทำให้ย้อนกลับมาคิดถึง "
กฎกติกาการสมัคร-แข่งขันจากงานดูหนังมาราธอน120ชม." ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
ที่ทางผู้จัดงาน ระบุว่า "ผู้จัดงานสามารถปฏิเสธไม่รับสมัคร หรือยกเลิกการรับสมัครสำหรับผู้สมัครซึ่ง
ไม่อ่านและตกลงยอมรับในกติกาของงานและกติกาการแข่งขัน โดยไม่คืนเงินค่าสมัคร นอกจากนี้ยังสงวนสิทธิในการพิจารณาการรับสมัครในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปด้วย"
เกิดคำถามขึ้นในใจอีกครั้ง ทำไมทางผู้จัดงานถึงพยายาม
ตีกรอบผู้สมัคร-ผู้เข้าแข่งขันให้ต้อง "
อ่านและตกลงยอมรับ"
ด้วยความอยากรู้อยากเข้าใจเลยต้องขอพึ่ง คุณครูGoogle เพื่อค้นหาอ่าน จนมาเจอชุดข้อสอบของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้อธิบายความเรื่อง "หลักความยินยอม" ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า
แนวคิด
1. หลักความยินยอม (volenti non fit injuria) หมายความว่า
เมื่อให้ความยินยอมแล้วย่อมไม่ถือว่ามีความเสียหายหรือ
ความยินยอมของผู้เสียหายทําให้ไม่เป็นละเมิดเนื่องจากการละเมิดเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายและเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเมื่อถือว่าไม่มีความเสียหายการกระทํานั้นจึงไม่เป็นละเมิดผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทําที่ตนให้ความยินยอม
2. อย่างไรก็ตามการจะนําหลักดังกล่าวมา
ใช้ยกเว้นให้การกระทําที่ผิดกฎหมายเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่าจะนํามาใช้ยกเว้นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งใด
หากกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเฉพาะตัวผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายย่อมให้ความยินยอมต่อการกระทํานั้นได้แต่ถ้าวัตถุประสงค์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคือสังคมหรือประชาชนด้วยแล้วย่อมไม่สามารถนําความยินยอมของผู้เสียหายเพียงคนเดียวมาทําให้การกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้จึงไม่อาจใช้หลักความยินยอมกับการกระทําที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ดังนั้น เมื่อเก็บมาคิด-วิเคราะห์ให้ถ้วนถี่อีกครั้ง "ความตกลงหรือความยินยอม" ที่ทางผู้จัดงานกำหนดขึ้น หากเป็นความเสียหาย-ละเมิดที่เกิดขึ้นเฉพาะกับตัวผู้สมัคร-ผู้เข้าแข่งขันที่ "เซ็นชื่อในเอกสารยอมรับกฎกติกาการแข่งขัน" ทางผู้จัดงานสามารถนำ "หลักความยินยอม" มาใช้ได้ แต่ถ้าเป็น
ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสําหรับการกระทําที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจะนํามาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้
แต่.. แต่.. การให้ทุกความยินยอมย่อมต้องมี "
เงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอม" ผมขอยกมาเฉพาะบางข้อ ดังนี้
(3) การให้ความยินยอมต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยความสมัครใจ ปราศจากการทํากลฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือสําคัญผิด
(5) ความยินยอมต้องไม่มีเงื่อนไข
ฉะนั้น ความที่ว่า "
ผู้จัดงานสามารถปฏิเสธไม่รับสมัคร หรือยกเลิกการรับสมัครสำหรับผู้สมัครซึ่งไม่อ่านและตกลงยอมรับในกติกาของงานและกติกาการแข่งขัน โดยไม่คืนเงินค่าสมัคร นอกจากนี้ยังสงวนสิทธิในการพิจารณาการรับสมัครในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปด้วย"
เข้า "
เงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอม" หรือไม่ อย่างไร
:Urlที่ค้นหาอ่าน:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/Ex%2040701-3.pdf
http://moviemarathon.majorcineplex.com/movie_marathon/rule
เมื่อ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’บนแผ่นดินไทย แล้วจะมีใครต้องตายฟรี⁉️ ที่งานดู🎦มาราธอน120ชม. เพราะหลักความยินยอม ยินยอม ฤาพี่‼️
คำวินิจฉัยในคดีนี้ที่ศาลปกครองชั้นต้น ว่าไว้อย่างน่าสนใจ ความตอนหนึ่งว่า
"แม้ว่าในการผลิตหรือสร้างภาพยนตร์จะถือเป็นการประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่รัฐธรรมนูญรับรองให้ผู้ประกอบอาชีพมีสิทธิและเสรีภาพในการผลิตหรือสร้างภาพยนตร์ก็ตาม แต่สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวยังต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามที่กฎหมายกำหนด"
ทำให้ย้อนกลับมาคิดถึง "กฎกติกาการสมัคร-แข่งขันจากงานดูหนังมาราธอน120ชม." ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
ที่ทางผู้จัดงาน ระบุว่า "ผู้จัดงานสามารถปฏิเสธไม่รับสมัคร หรือยกเลิกการรับสมัครสำหรับผู้สมัครซึ่งไม่อ่านและตกลงยอมรับในกติกาของงานและกติกาการแข่งขัน โดยไม่คืนเงินค่าสมัคร นอกจากนี้ยังสงวนสิทธิในการพิจารณาการรับสมัครในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปด้วย"
เกิดคำถามขึ้นในใจอีกครั้ง ทำไมทางผู้จัดงานถึงพยายามตีกรอบผู้สมัคร-ผู้เข้าแข่งขันให้ต้อง "อ่านและตกลงยอมรับ"
ด้วยความอยากรู้อยากเข้าใจเลยต้องขอพึ่ง คุณครูGoogle เพื่อค้นหาอ่าน จนมาเจอชุดข้อสอบของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้อธิบายความเรื่อง "หลักความยินยอม" ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า
แนวคิด
1. หลักความยินยอม (volenti non fit injuria) หมายความว่าเมื่อให้ความยินยอมแล้วย่อมไม่ถือว่ามีความเสียหายหรือความยินยอมของผู้เสียหายทําให้ไม่เป็นละเมิดเนื่องจากการละเมิดเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายและเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเมื่อถือว่าไม่มีความเสียหายการกระทํานั้นจึงไม่เป็นละเมิดผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทําที่ตนให้ความยินยอม
2. อย่างไรก็ตามการจะนําหลักดังกล่าวมาใช้ยกเว้นให้การกระทําที่ผิดกฎหมายเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่าจะนํามาใช้ยกเว้นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งใด หากกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเฉพาะตัวผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายย่อมให้ความยินยอมต่อการกระทํานั้นได้แต่ถ้าวัตถุประสงค์ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคือสังคมหรือประชาชนด้วยแล้วย่อมไม่สามารถนําความยินยอมของผู้เสียหายเพียงคนเดียวมาทําให้การกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้จึงไม่อาจใช้หลักความยินยอมกับการกระทําที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ดังนั้น เมื่อเก็บมาคิด-วิเคราะห์ให้ถ้วนถี่อีกครั้ง "ความตกลงหรือความยินยอม" ที่ทางผู้จัดงานกำหนดขึ้น หากเป็นความเสียหาย-ละเมิดที่เกิดขึ้นเฉพาะกับตัวผู้สมัคร-ผู้เข้าแข่งขันที่ "เซ็นชื่อในเอกสารยอมรับกฎกติกาการแข่งขัน" ทางผู้จัดงานสามารถนำ "หลักความยินยอม" มาใช้ได้ แต่ถ้าเป็นความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสําหรับการกระทําที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจะนํามาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้
แต่.. แต่.. การให้ทุกความยินยอมย่อมต้องมี "เงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอม" ผมขอยกมาเฉพาะบางข้อ ดังนี้
(3) การให้ความยินยอมต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยความสมัครใจ ปราศจากการทํากลฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือสําคัญผิด
(5) ความยินยอมต้องไม่มีเงื่อนไข
ฉะนั้น ความที่ว่า "ผู้จัดงานสามารถปฏิเสธไม่รับสมัคร หรือยกเลิกการรับสมัครสำหรับผู้สมัครซึ่งไม่อ่านและตกลงยอมรับในกติกาของงานและกติกาการแข่งขัน โดยไม่คืนเงินค่าสมัคร นอกจากนี้ยังสงวนสิทธิในการพิจารณาการรับสมัครในกิจกรรมครั้งต่อๆ ไปด้วย"
เข้า "เงื่อนไขความสมบูรณ์ของความยินยอม" หรือไม่ อย่างไร
:Urlที่ค้นหาอ่าน:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้