.
.
HYPNOTIC Video
Inside Extreme Forging Factory:
Kihlbergs Stal AB Hammer Forging
.
.
ในช่วงยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความสามารถของค้อนไอน้ำ
มาพร้อมกับความสามารถของพวกมัน
แรงกระแทกที่รุนแรงและหนักแน่น
ทำให้มีผลลัพธ์ที่ก้าวไกลกว่า
อุปกรณ์อื่น ๆ ในยุคนั้นที่ใช้งานกัน
.
.
.
@ SMU Central University Libraries/Flickr
.
.
ค้อนไอน้ำขนาดใหญ่
ที่ติดตั้งกับลูกสูบที่เลื่อนขึ้นลงได้
ได้ช่วยให้คนงานสามารถจัดการ
ทุบตีโลหะชิ้นใหญ่ ๆ ที่ร้อนแดง
ตลอดจนโลหะชิ้นอื่น ๆ ที่ร้อนแดง
ให้ขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการ
ซึ่งส่วนมากมักจะนิยมตีเหล็ก
มากกว่าตีโลหะชนิดอื่น
ผลพวงจากการประดิษฐ์การใช้ไอน้ำ
เป็นแรงผลักดันที่ก้าวไกลมาก
จากแนวคิดของ James Watt
ในปี ค.ศ. 1781
ในครั้งแรกนั้น ยังไม่มีค้อนไอน้ำ
ในปึ 1840
ยุคค้อนไอน้ำมาแล้ว
มันได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
โรงงานตีเหล็กไปอย่างสิ้นเชิง
แบบถอนรากถอนโคน
การทำงานของคนงานแบบในอดีต
ที่การขึ้นรูปโลหะขนาดใหญ่
มักจะใช้การหล่อมากกว่าการตีขึ้นรูป
ซึ่งการตีเหล็ก การขึ้นรูปเหล็ก
ประกอบกับวิธีการชุบเหล็ก
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเหล็ก
มีความเหนียวแน่น/ทนทานกว่าเหล็กหล่อ
.
.
.
.
ค้อนไอน้ำดูเหมือนเป็นเครื่องมือขั้นพื้นฐาน
แต่กลไกและความสามารถค้อนไอน้ำ
กลับมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นนวัตกรรมค่อนข้างใหม่
ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรกเริ่ม
จนกระทั่งถึงยุคที่ทันสมัยในเวลาต่อมา
ค้อนไอน้ำยังครองความทรงพลัง
ในเรื่องอำนาจการทุบตี/กระแทก
ค้อนไอน้ำใช้เพียงหลักการ
แบบติดตั้งหัวค้อนขนาดใหญ่
โดยใช้ลูกสูบที่ทำงานแบบชักขึ้น/ลง
ใช้สำหรับการตีโลหะที่ต้องการ
หัวค้อนไอน้ำส่วนใหญ่
จะถูกยกขึ้นสูงเพียงเล็กน้อย
โดยเครื่องจักรไอน้ำที่ชักขึ้นบนก่อน
แล้วปล่อยลงมาโดยใช้แรงโน้มถ่วง
กระแทกลงไปบนโลหะ
ที่เผาจนร้อนแดงในการตีโลหะ
ตัวค้อนไอน้ำจะมีกลไกที่ยึดติดอยู่กับลูกสูบ
ที่เลื่อนขึ้นลงได้ภายในกระบอกสูบ
มีบางเครื่องเท่านั้น
ที่ค้อนไอน้ำอยู่ติดกับกระบอกสูบ
ที่เลื่อนขึ้นลงตามลูกสูบที่ติดตั้งไว้คงที่
แต่ทั้งสองแบบนี้
ไม่ว่าค้อนไอน้ำจะมีขนาดใหญ่เพียงใด
ก็ใช้หลักการทางเครื่องกลแบบง่าย ๆ
เพื่อสร้างแรงกระแทกขนาดหนักอย่างแรง
กับวัตถุอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เพราะในอดีตใช้แรงคนในการทุบตีโลหะ
คนคงจะไม่สามารถยกหัวค้อนขนาดหนักได้
เพียงคนเดียวหรือหลายคน
.
.
.
@ Popular Science Monthly Volume 38
.
.
กลไกทั้งหมดของค้อนไอน้ำ
ทำงานด้วยการใช้พลังงาน
ในรูปไอน้ำแรงดันสูง
แปลงเป็นรูปเชิงเส้นในลูกสูบ
ซึ่งทำให้ยกหัวค้อนขึ้น
ในระยะทางที่ออกแบบไว้
ตามความยาวของลูกสูบที่กักเก็บพลังงาน
ที่มีศักยภาพไว้ในมวลกระบอกสูบ
พลังงานที่มีศักยภาพนี้
ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์
โดยการปลดปล่อยหัวค้อน
ให้ลงมาทุบโลหะด้วยแรงโน้มถ่วง
จะกระแทกลงบนโลหะที่ร้อนแดงไปมา
ได้หลาย ๆ ครั้ง จนได้รูปแบบที่ต้องการ
และวางแผนไว้ว่าจะต้องการแบบใด
ในปี 1891
ค้อนไอน้ำที่สร้างขึ้นสามารถส่งแรงกระแทก
ตีเหล็กได้ถึง 125 ตันในแต่ละครั้ง
เทียบเท่ากับฝูงช้างป่าแอฟริกัน 41 ตัว
รวมตัวกันเข้าชนพร้อม ๆ กันทีเดียว
.
.
.
@ James Nasmyth
edited by Samuel Smiles
.
.
ในระบบค้อนไอน้ำมีกลไกการตีเหล็ก
แบบหัวค้อนอันเดียวหรือหัวค้อนสองอัน
ค้อนไอน้ำที่ใช้งานได้เพียงหัวค้อนอันเดียว
จะถูกยกขึ้นโดยแรงดันของไอน้ำในกระบอกสูบ
แล้วปล่อยให้ตกลงมาโดยแรงโน้มถ่วงโลก
ค้อนไอน้ำแบบสองหัวค้อนก็ใช้พลังไอน้ำ
เพื่อเพิ่มแรงกระแทกลงมาของหัวค้อน
น้ำหนักของหัวค้อนเหล่านี้
อาจมีตั้งแต่ 500 - 50,000 ปอนด์
หรือ 225 -22,500 กิโลกรัม
โดยปกติโลหะที่ร้อนแดง
ที่จะถูกตีจะวางไว้บนทั่งขนาดใหญ่
เพื่อให้คนงานสามารถทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ/ปลอดภัยเวลาทำงาน
กลไกการทำงานของหัวค้อนไอน้ำ
จะต้องมีการกระแทก
และกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่อง
และมีกำลังแรงสูงมาก ๆ
ในการใช้กำลังเหล่านี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
สร้างแรงเค้นให้กับผิวโลหะ
ของหัวค้อนมากยิ่งขึ้น
เมื่อพิจารณาถึงแรงกระแทก
จากโลหะร้อนแดงที่ถูกทุบตี
เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้
หัวค้อนส่วนใหญ่จะถูกทำขึ้นจากชิ้นส่วน
ที่วิศวกรได้ออกแบบหัวค้อนไว้ล่วงหน้าแล้ว
ให้ง่ายต่อการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วน
ในกรณีที่ชำรุดต้องซ่อมแซม
ด้วยการเปลี่ยนหัวค้อนที่ใช้สลักยึดติดไว้
การใช้ค้อนไอน้ำต้องทำงาน
ภายในพื้นที่ที่กำหนดไว้
เพราะน้ำหนักของเครื่องจักรกลส่วนหนึ่ง
กับความหนัก/ความร้อนแดงของโลหะ
ที่จะถูกตี/กระแทกอย่างต่อเนื่อง
จากหัวค้อนที่ลงมากระแทก
พื้นผิวโลหะที่ร้อนแดง
ในขณะเดียวกันคนงาน
จะต้องสามารถเคลื่อนย้าย
แบบพิมพ์(โลหะที่ต้องการจะตี)
ได้สะดวก/ง่ายขึ้นในแต่ละครั้ง
การตีของค้อนไอน้ำ
แบบหัวค้อนอันเดียวหรือหัวค้อนแบบสองอัน
ทำเพื่อกระจายแรงเค้นออกไป
ให้มากที่สุดบนผิวโลหะที่ทุบตี
ในพื้นที่ของโรงงานที่มีการติดตั้งค้อนไอน้ำ
คอนกรีตที่มีความแข็งแรงสูงมาก
จะถูกเทลงให้ลึกกว่าฐานอาคารโดยรอบ
เพื่อให้ดูดซับแรงกระแทกให้ลดลงได้
แม้ว่าจะได้ผลเพียงเล็กน้อยก็ตาม
เพราะในโรงงานที่ติดตั้งค้อนไอน้ำขนาดใหญ่
จะสั่นสะเทือนเลือนลั่น
จากการทุบตีของค้อนไอน้ำทุกครั้ง
.
.
.
@F.A. Brockhaus, Berlin und Wien
.
.
.
Final shift for the Fritz steam hammer 1911
@
https://goo.gl/YU6gC2
.
.
ค้อนไอน้ำแบบฟริตซ์ (Fritz steam hammer)
คือ หนึ่งในยุคแรกที่ใช้ชื่อจากช่างเครื่องจักรกล
ซึ่งท้าท้ายว่าค้อนไอน้ำของเขามีความถูกต้อง
แม่นยำสูงกว่าการใช้ค้อนด้วยมือในแบบอดีต
จักรพรรดิวิลเลียม กษัตริย์แห่งปรัสเซีย
จึงได้ตรัสว่าพระองค์จะวางเดิมพัน
ด้วยนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์
ด้วยการวางเรียงรายอยู่บนหน้าทั่ง
แล้วให้เขาใช้ค้อนไอน้ำทำงาน
โดยต้องไม่ทำลายนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์
Fritz สามารถทำงานเสร็จสิ้นได้
โดยนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์ไม่เป็นอันตราย
จึงได้รับพระราชทานรางวัลจากการนี้
ไม่ว่าเรื่องนี้จะจริงหรือไม่ก็ตามแต่
ช่างเครื่องกลและผู้ผลิตจำนวนมากในยุคนั้น
ต่างมีความต้องการค้อนยักษ์ขนาดมหึมา
ในปี 1877
ค้อนไอน้ำ Creusot ถูกสร้างขึ้นมา
ในเมืองอุตสาหกรรมขนาดเล็กของฝรั่งเศส
ค้อนอันนี้มีความสามารถ
ในการส่งมอบแรงกระแทกได้ถึง 100 ตัน
ในยุคนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก
ในปี 1891
Bethlehem Iron บริษัทเหล็กอเมริกัน
ได้ขอซื้อสิทธิบัตรสำหรับค้อนไอน้ำ
แล้วทำการขยายการออกแบบ
ให้มีแรงกระแทกได้ถึง 125 ตัน
ในช่วงปลายยุค 1800
การใช้เครื่องค้อนไอน้ำขนาดใหญ่ถึงขีดสูงสุด
พวกมันทำหน้าที่ในการตีและการเจาะโลหะ
ให้ได้รูปแบบที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ
สำหรับงานทางด้านโลหะหนักชนิดต่าง ๆ
มีการขึ้นรูปชิ้นส่วนต่าง ๆ
ที่มีความแข็งแรงสูงได้อย่างแม่นยำ
งานโลหะมักทำมาจากกระบวนการ
โดยคนงานเพียงคนเดียวในโรงงาน
และทำให้เกิดกำลังการผลิตขนาดใหญ่ได้
ในช่วงปี 1900
ค้อนไอน้ำเริ่มค่อย ๆ กลายเป็นของล้าสมัย
เพราะถูกแทนที่ด้วยแรงกดไฮดรอลิกและเชิงกล
ที่สามารถออกแรงแรงได้อย่างสม่ำเสมอ
และควบคุมได้มากขึ้นกว่าเดิม
ค้อนไอน้ำจำนวนมาก
รวมถึงค้อนไอน้ำ Creusot
ที่มีชื่อเสียงของปี ค.ศ. 1877
ได้กลายเป็นอนุสาวรีย์ประจำเมือง
กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของชาวเมือง
แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลง
ในการใช้ประโยชน์สำหรับเครื่องขนาดใหญ่
แต่ระบบค้อนไอน้ำในทุกวันนี้
ยังคงมีการใช้งานบางอย่างอยู่
วิศวกรยังใช้ระบบดั้งเดิมของค้อนไอน้ำ
เพื่อตอกเสาเข็มลงไปในพื้นดินทำฐานราก
หรือการใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ
ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้
ทั้งยังมีการประยุกต์ใช้งานค้อนไอน้ำ
ด้วยการผลิตหัวเจาะเคลื่อนที่ระบบไฮโดรลิค
ที่ใช้หลักการจากความสามารถของค้อนไอน้ำ
ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
.
.

.
.
ค้อนไอน้ำ
.
HYPNOTIC Video
Inside Extreme Forging Factory:
Kihlbergs Stal AB Hammer Forging
.
ในช่วงยุคเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความสามารถของค้อนไอน้ำ
มาพร้อมกับความสามารถของพวกมัน
แรงกระแทกที่รุนแรงและหนักแน่น
ทำให้มีผลลัพธ์ที่ก้าวไกลกว่า
อุปกรณ์อื่น ๆ ในยุคนั้นที่ใช้งานกัน
.
.
@ SMU Central University Libraries/Flickr
.
ค้อนไอน้ำขนาดใหญ่
ที่ติดตั้งกับลูกสูบที่เลื่อนขึ้นลงได้
ได้ช่วยให้คนงานสามารถจัดการ
ทุบตีโลหะชิ้นใหญ่ ๆ ที่ร้อนแดง
ตลอดจนโลหะชิ้นอื่น ๆ ที่ร้อนแดง
ให้ขึ้นรูปได้ตามที่ต้องการ
ซึ่งส่วนมากมักจะนิยมตีเหล็ก
มากกว่าตีโลหะชนิดอื่น
ผลพวงจากการประดิษฐ์การใช้ไอน้ำ
เป็นแรงผลักดันที่ก้าวไกลมาก
จากแนวคิดของ James Watt
ในปี ค.ศ. 1781
ในครั้งแรกนั้น ยังไม่มีค้อนไอน้ำ
ในปึ 1840
ยุคค้อนไอน้ำมาแล้ว
มันได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
โรงงานตีเหล็กไปอย่างสิ้นเชิง
แบบถอนรากถอนโคน
การทำงานของคนงานแบบในอดีต
ที่การขึ้นรูปโลหะขนาดใหญ่
มักจะใช้การหล่อมากกว่าการตีขึ้นรูป
ซึ่งการตีเหล็ก การขึ้นรูปเหล็ก
ประกอบกับวิธีการชุบเหล็ก
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเหล็ก
มีความเหนียวแน่น/ทนทานกว่าเหล็กหล่อ
.
.
ค้อนไอน้ำดูเหมือนเป็นเครื่องมือขั้นพื้นฐาน
แต่กลไกและความสามารถค้อนไอน้ำ
กลับมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นนวัตกรรมค่อนข้างใหม่
ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรกเริ่ม
จนกระทั่งถึงยุคที่ทันสมัยในเวลาต่อมา
ค้อนไอน้ำยังครองความทรงพลัง
ในเรื่องอำนาจการทุบตี/กระแทก
ค้อนไอน้ำใช้เพียงหลักการ
แบบติดตั้งหัวค้อนขนาดใหญ่
โดยใช้ลูกสูบที่ทำงานแบบชักขึ้น/ลง
ใช้สำหรับการตีโลหะที่ต้องการ
หัวค้อนไอน้ำส่วนใหญ่
จะถูกยกขึ้นสูงเพียงเล็กน้อย
โดยเครื่องจักรไอน้ำที่ชักขึ้นบนก่อน
แล้วปล่อยลงมาโดยใช้แรงโน้มถ่วง
กระแทกลงไปบนโลหะ
ที่เผาจนร้อนแดงในการตีโลหะ
ตัวค้อนไอน้ำจะมีกลไกที่ยึดติดอยู่กับลูกสูบ
ที่เลื่อนขึ้นลงได้ภายในกระบอกสูบ
มีบางเครื่องเท่านั้น
ที่ค้อนไอน้ำอยู่ติดกับกระบอกสูบ
ที่เลื่อนขึ้นลงตามลูกสูบที่ติดตั้งไว้คงที่
แต่ทั้งสองแบบนี้
ไม่ว่าค้อนไอน้ำจะมีขนาดใหญ่เพียงใด
ก็ใช้หลักการทางเครื่องกลแบบง่าย ๆ
เพื่อสร้างแรงกระแทกขนาดหนักอย่างแรง
กับวัตถุอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เพราะในอดีตใช้แรงคนในการทุบตีโลหะ
คนคงจะไม่สามารถยกหัวค้อนขนาดหนักได้
เพียงคนเดียวหรือหลายคน
.
.
@ Popular Science Monthly Volume 38
.
.
กลไกทั้งหมดของค้อนไอน้ำ
ทำงานด้วยการใช้พลังงาน
ในรูปไอน้ำแรงดันสูง
แปลงเป็นรูปเชิงเส้นในลูกสูบ
ซึ่งทำให้ยกหัวค้อนขึ้น
ในระยะทางที่ออกแบบไว้
ตามความยาวของลูกสูบที่กักเก็บพลังงาน
ที่มีศักยภาพไว้ในมวลกระบอกสูบ
พลังงานที่มีศักยภาพนี้
ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์
โดยการปลดปล่อยหัวค้อน
ให้ลงมาทุบโลหะด้วยแรงโน้มถ่วง
จะกระแทกลงบนโลหะที่ร้อนแดงไปมา
ได้หลาย ๆ ครั้ง จนได้รูปแบบที่ต้องการ
และวางแผนไว้ว่าจะต้องการแบบใด
ในปี 1891
ค้อนไอน้ำที่สร้างขึ้นสามารถส่งแรงกระแทก
ตีเหล็กได้ถึง 125 ตันในแต่ละครั้ง
เทียบเท่ากับฝูงช้างป่าแอฟริกัน 41 ตัว
รวมตัวกันเข้าชนพร้อม ๆ กันทีเดียว
.
.
@ James Nasmyth
edited by Samuel Smiles
.
.
ในระบบค้อนไอน้ำมีกลไกการตีเหล็ก
แบบหัวค้อนอันเดียวหรือหัวค้อนสองอัน
ค้อนไอน้ำที่ใช้งานได้เพียงหัวค้อนอันเดียว
จะถูกยกขึ้นโดยแรงดันของไอน้ำในกระบอกสูบ
แล้วปล่อยให้ตกลงมาโดยแรงโน้มถ่วงโลก
ค้อนไอน้ำแบบสองหัวค้อนก็ใช้พลังไอน้ำ
เพื่อเพิ่มแรงกระแทกลงมาของหัวค้อน
น้ำหนักของหัวค้อนเหล่านี้
อาจมีตั้งแต่ 500 - 50,000 ปอนด์
หรือ 225 -22,500 กิโลกรัม
โดยปกติโลหะที่ร้อนแดง
ที่จะถูกตีจะวางไว้บนทั่งขนาดใหญ่
เพื่อให้คนงานสามารถทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ/ปลอดภัยเวลาทำงาน
กลไกการทำงานของหัวค้อนไอน้ำ
จะต้องมีการกระแทก
และกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่อง
และมีกำลังแรงสูงมาก ๆ
ในการใช้กำลังเหล่านี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
สร้างแรงเค้นให้กับผิวโลหะ
ของหัวค้อนมากยิ่งขึ้น
เมื่อพิจารณาถึงแรงกระแทก
จากโลหะร้อนแดงที่ถูกทุบตี
เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้
หัวค้อนส่วนใหญ่จะถูกทำขึ้นจากชิ้นส่วน
ที่วิศวกรได้ออกแบบหัวค้อนไว้ล่วงหน้าแล้ว
ให้ง่ายต่อการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วน
ในกรณีที่ชำรุดต้องซ่อมแซม
ด้วยการเปลี่ยนหัวค้อนที่ใช้สลักยึดติดไว้
การใช้ค้อนไอน้ำต้องทำงาน
ภายในพื้นที่ที่กำหนดไว้
เพราะน้ำหนักของเครื่องจักรกลส่วนหนึ่ง
กับความหนัก/ความร้อนแดงของโลหะ
ที่จะถูกตี/กระแทกอย่างต่อเนื่อง
จากหัวค้อนที่ลงมากระแทก
พื้นผิวโลหะที่ร้อนแดง
ในขณะเดียวกันคนงาน
จะต้องสามารถเคลื่อนย้าย
แบบพิมพ์(โลหะที่ต้องการจะตี)
ได้สะดวก/ง่ายขึ้นในแต่ละครั้ง
การตีของค้อนไอน้ำ
แบบหัวค้อนอันเดียวหรือหัวค้อนแบบสองอัน
ทำเพื่อกระจายแรงเค้นออกไป
ให้มากที่สุดบนผิวโลหะที่ทุบตี
ในพื้นที่ของโรงงานที่มีการติดตั้งค้อนไอน้ำ
คอนกรีตที่มีความแข็งแรงสูงมาก
จะถูกเทลงให้ลึกกว่าฐานอาคารโดยรอบ
เพื่อให้ดูดซับแรงกระแทกให้ลดลงได้
แม้ว่าจะได้ผลเพียงเล็กน้อยก็ตาม
เพราะในโรงงานที่ติดตั้งค้อนไอน้ำขนาดใหญ่
จะสั่นสะเทือนเลือนลั่น
จากการทุบตีของค้อนไอน้ำทุกครั้ง
.
.
@F.A. Brockhaus, Berlin und Wien
.
.
.
Final shift for the Fritz steam hammer 1911
@ https://goo.gl/YU6gC2
.
ค้อนไอน้ำแบบฟริตซ์ (Fritz steam hammer)
คือ หนึ่งในยุคแรกที่ใช้ชื่อจากช่างเครื่องจักรกล
ซึ่งท้าท้ายว่าค้อนไอน้ำของเขามีความถูกต้อง
แม่นยำสูงกว่าการใช้ค้อนด้วยมือในแบบอดีต
จักรพรรดิวิลเลียม กษัตริย์แห่งปรัสเซีย
จึงได้ตรัสว่าพระองค์จะวางเดิมพัน
ด้วยนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์
ด้วยการวางเรียงรายอยู่บนหน้าทั่ง
แล้วให้เขาใช้ค้อนไอน้ำทำงาน
โดยต้องไม่ทำลายนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์
Fritz สามารถทำงานเสร็จสิ้นได้
โดยนาฬิกาฝังเพชรของพระองค์ไม่เป็นอันตราย
จึงได้รับพระราชทานรางวัลจากการนี้
ไม่ว่าเรื่องนี้จะจริงหรือไม่ก็ตามแต่
ช่างเครื่องกลและผู้ผลิตจำนวนมากในยุคนั้น
ต่างมีความต้องการค้อนยักษ์ขนาดมหึมา
ในปี 1877
ค้อนไอน้ำ Creusot ถูกสร้างขึ้นมา
ในเมืองอุตสาหกรรมขนาดเล็กของฝรั่งเศส
ค้อนอันนี้มีความสามารถ
ในการส่งมอบแรงกระแทกได้ถึง 100 ตัน
ในยุคนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก
ในปี 1891
Bethlehem Iron บริษัทเหล็กอเมริกัน
ได้ขอซื้อสิทธิบัตรสำหรับค้อนไอน้ำ
แล้วทำการขยายการออกแบบ
ให้มีแรงกระแทกได้ถึง 125 ตัน
ในช่วงปลายยุค 1800
การใช้เครื่องค้อนไอน้ำขนาดใหญ่ถึงขีดสูงสุด
พวกมันทำหน้าที่ในการตีและการเจาะโลหะ
ให้ได้รูปแบบที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ
สำหรับงานทางด้านโลหะหนักชนิดต่าง ๆ
มีการขึ้นรูปชิ้นส่วนต่าง ๆ
ที่มีความแข็งแรงสูงได้อย่างแม่นยำ
งานโลหะมักทำมาจากกระบวนการ
โดยคนงานเพียงคนเดียวในโรงงาน
และทำให้เกิดกำลังการผลิตขนาดใหญ่ได้
ในช่วงปี 1900
ค้อนไอน้ำเริ่มค่อย ๆ กลายเป็นของล้าสมัย
เพราะถูกแทนที่ด้วยแรงกดไฮดรอลิกและเชิงกล
ที่สามารถออกแรงแรงได้อย่างสม่ำเสมอ
และควบคุมได้มากขึ้นกว่าเดิม
ค้อนไอน้ำจำนวนมาก
รวมถึงค้อนไอน้ำ Creusot
ที่มีชื่อเสียงของปี ค.ศ. 1877
ได้กลายเป็นอนุสาวรีย์ประจำเมือง
กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของชาวเมือง
แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลง
ในการใช้ประโยชน์สำหรับเครื่องขนาดใหญ่
แต่ระบบค้อนไอน้ำในทุกวันนี้
ยังคงมีการใช้งานบางอย่างอยู่
วิศวกรยังใช้ระบบดั้งเดิมของค้อนไอน้ำ
เพื่อตอกเสาเข็มลงไปในพื้นดินทำฐานราก
หรือการใช้งานในสถานที่ต่าง ๆ
ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้
ทั้งยังมีการประยุกต์ใช้งานค้อนไอน้ำ
ด้วยการผลิตหัวเจาะเคลื่อนที่ระบบไฮโดรลิค
ที่ใช้หลักการจากความสามารถของค้อนไอน้ำ
ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
.
.