สวัสดีครับ ผมเป็นคนญี่ปุ่นที่กำลังเรียนภาษาไทยอยู่ครับ
กระทู้ที่จะถามคือเรื่องวรรณยุกต์ครับ
คำว่า เลน อ่านว่า leen (สระเสียงยาว)
คำว่า เล็น อ่านว่า len (สระเสียงสั้น)
คำศัพท์ที่ใช้สระเสียงยาว อย่างเช่น “เ แ อ” ถ้ามีตัวสะกด และใส่ไม้ไต่คู้ สระเสียงยาวจะกลายเป็นสระเสียงสั้นใช่ไหมครับ
อย่างที่รู้ๆกันอยู่ ทั่วๆไป เช่นคำว่า
(เ+ก+็+ง = เก็ง)
ส่วนตอนที่มีรูปวรรณยุกต์ อาทิ
แป้ง แจ้ง (สระเสียงยาว)
เก่ง แบ่ง เข้ม (สระเสียงสั้น)
ทั้ง ๆ ที่โครงสร้างเหมือนกัน แต่เป็นไปได้ทั้งสระเสียงสั้น และ เสียงยาว
ในกรณีนี้ไม่มีวิธีที่จะแยกสระเสียงยาวจากสระเสียงสั้น
ผมเข้าใจนานมาแล้วดังนี้ครับ คือ
"ถ้าคำไหนใส่วรรณยุกต์ก็จะละไม้ไต่คู้ไว้”
ได้แก่ คำศัพท์ที่ออกเป็นเสียงสั้น เดิมทีมีไม้ไต่คู้กับรูปวรรณยุกต์ด้วยกัน แต่ปัจจุบันนี้ไม่เขียนไม้ไต่คู้แล้ว
( เช่น เก็่ง -> เก่ง )
ผมไม่แน่ใจว่าสมัยก่อนเคยเขียนแบบนี้ (เก็่ง) จริงหรือเปล่าครับ แต่เท่าที่รู้นานมาแล้วมีกฎอยู่ว่า "ไม้ไต่คู้กับรูปวรรณยุกต์เขียนด้วยกันไม่ได้ก็เลยใส่แต่วรรณยุกต์ อย่างเช่นในกรณีนี้ ใส่ไม้เอก อย่างเดียว ไม่ใส่ ไม้ไต่คู้ไปด้วยกัน”
วันนี้เจอกับเพื่อนคนไทยคนหนึ่งและเขาบอกว่าน่าจะไม่มีกฎแบบนั้น
คือเหมือนกับว่าที่ไทยไม่ได้สอนว่าคำว่า เก่ง มาจาก การรวมกันของ (เ +ก +็+่+ง)
คำศัพท์อย่าง "เก่ง" ก็คือให้จำไปเลยว่าเป็นสระเสียงสั้น จากการออกเสียง
ผมรู้แล้วครับ ว่าอย่างไรก็ตาม จะรู้ว่าอันไหนเสียงสั้นหรือเสียงยาวต้องจำการออกเสียงของแต่ละคำศัพท์
แต่อยากรู้ครับ ว่ามีกฎนั้น( เก็่ง -> เก่ง ))จริงๆหรือเปล่า
ช่วยแนะนำให้หน่อยได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
ไม้ไต่คู้กับรูปวรรณยุกต์ ใช้ด้วยกันไม่ได้หรือเปล่าครับ
กระทู้ที่จะถามคือเรื่องวรรณยุกต์ครับ
คำว่า เลน อ่านว่า leen (สระเสียงยาว)
คำว่า เล็น อ่านว่า len (สระเสียงสั้น)
คำศัพท์ที่ใช้สระเสียงยาว อย่างเช่น “เ แ อ” ถ้ามีตัวสะกด และใส่ไม้ไต่คู้ สระเสียงยาวจะกลายเป็นสระเสียงสั้นใช่ไหมครับ
อย่างที่รู้ๆกันอยู่ ทั่วๆไป เช่นคำว่า
(เ+ก+็+ง = เก็ง)
ส่วนตอนที่มีรูปวรรณยุกต์ อาทิ
แป้ง แจ้ง (สระเสียงยาว)
เก่ง แบ่ง เข้ม (สระเสียงสั้น)
ทั้ง ๆ ที่โครงสร้างเหมือนกัน แต่เป็นไปได้ทั้งสระเสียงสั้น และ เสียงยาว
ในกรณีนี้ไม่มีวิธีที่จะแยกสระเสียงยาวจากสระเสียงสั้น
ผมเข้าใจนานมาแล้วดังนี้ครับ คือ
"ถ้าคำไหนใส่วรรณยุกต์ก็จะละไม้ไต่คู้ไว้”
ได้แก่ คำศัพท์ที่ออกเป็นเสียงสั้น เดิมทีมีไม้ไต่คู้กับรูปวรรณยุกต์ด้วยกัน แต่ปัจจุบันนี้ไม่เขียนไม้ไต่คู้แล้ว
( เช่น เก็่ง -> เก่ง )
ผมไม่แน่ใจว่าสมัยก่อนเคยเขียนแบบนี้ (เก็่ง) จริงหรือเปล่าครับ แต่เท่าที่รู้นานมาแล้วมีกฎอยู่ว่า "ไม้ไต่คู้กับรูปวรรณยุกต์เขียนด้วยกันไม่ได้ก็เลยใส่แต่วรรณยุกต์ อย่างเช่นในกรณีนี้ ใส่ไม้เอก อย่างเดียว ไม่ใส่ ไม้ไต่คู้ไปด้วยกัน”
วันนี้เจอกับเพื่อนคนไทยคนหนึ่งและเขาบอกว่าน่าจะไม่มีกฎแบบนั้น
คือเหมือนกับว่าที่ไทยไม่ได้สอนว่าคำว่า เก่ง มาจาก การรวมกันของ (เ +ก +็+่+ง)
คำศัพท์อย่าง "เก่ง" ก็คือให้จำไปเลยว่าเป็นสระเสียงสั้น จากการออกเสียง
ผมรู้แล้วครับ ว่าอย่างไรก็ตาม จะรู้ว่าอันไหนเสียงสั้นหรือเสียงยาวต้องจำการออกเสียงของแต่ละคำศัพท์
แต่อยากรู้ครับ ว่ามีกฎนั้น( เก็่ง -> เก่ง ))จริงๆหรือเปล่า
ช่วยแนะนำให้หน่อยได้ไหมครับ ขอบคุณครับ