สวัสดีครับ พี่น้องชาวพันทิปทุกท่าน
วันนี้อยากมาแบ่งปันประสบการณ์ตรงของตัวเอง นับจากวันที่ลาออกจากงานมาตอนทำได้เกือบๆ 2 ปี จนถึงวันนี้ ก็รวมแล้วทำมาร่วม 4 ปีนิดๆ เลยขอมาเขียนแบ่งปันเรื่องราวของตัวเอง เผื่อว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจ หรือกระทั่งแนวทางไปต่อยอดสำหรับตัวเองกันได้นะครับ
ผมจะค่อยๆเขียนเล่าไปนะครับ โดยมีหัวข้อคร่าวๆ ตามนี้
1. อะไรทำให้สนใจทำ
2. เริ่มทำแล้วเป็นยังไง
3. จุดเรียนรู้คืออะไร
4. พัฒนาตัวเองยังไง
5. ตั้งเป้าหมาย
6. อุปสรรคที่เจอ
7. ลาออกแล้วทำยังไงต่อ
อาจจะยาวซักนิดนึง แต่อยากให้ค่อยๆอ่าน ค่อยๆติดตามกันไปนะครับ เพราะถ้าเขียนออกมาสั้นๆ คงหาสาระอะไรได้ไม่มาก : )

1. อะไรทำให้สนใจทำ
ก่อนจะเริ่มทำสต็อกผมถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก และมีรับงานรับปริญญาบ้างประปราย รักการถ่ายภาพมากและก็ไฝ่ฝันจะได้เลี้ยงชีวิตด้วยการถ่ายรูป แต่ก็ยังรู้สึกว่าการรับจ้างถ่ายรูปมันไม่เข้ากับชีวิตเรา มีความรู้สึกต้องการอิสระในการคิดและทำงาน มากกว่าการทำงานว่าจ้างตามพิธีการ พอมารู้จักการขายภาพออนไลน์จากเวบ pixpros ก็เริ่มศึกษาพร้อมกับลงมือทำไปด้วย
ตลาดขายภาพออนไลน์ เป็นผลผลิตจาก internet จากการซื้อขายภาพเป็นแผ่นๆ เปลี่ยนเป็นการซื้อภาพดิจิตอลบนเวบไซท์ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตอย่างรวดเร็วและแรงมาก เพราะเป็นการขายไปทั่วโลก ซึ่งขนาดของตลาดมันเทียบไม่ได้เลยกับการเปิดร้านสะดวกซื้อขายของละแวกบ้าน ทำให้ผมตัดสินใจลงมือทำทันที และทำเต็มที่ในทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับสต็อกโฟโต้

อีกมุมหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจงานด้านนี้มากๆ นั่นคือความอิสระทางความคิดและเวลา เราจะสร้างงานด้วยความคิด หรือสไตล์ไหนยังไงก็ได้ ตราบที่มันมีคุณภาพที่ดีพอและเป็นที่ต้องการของตลาด และเราจะใช้เวลาไหนในการทำมันก็ได้ อิสระทางเวลานี่เองที่ทำให้ผมรู้เลย ว่ามันเหมาะมากสำหรับคนที่ยังต้องทำงานประจำอยู่แบบผมในตอนนั้น ผมจึงทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับมัน ตั้งแต่เลิกงาน วันหยุด ทุกเวลาที่ไม่ได้มีธุระใดๆที่สำคัญจำเป็น
และการได้เห็นตัวอย่าง และผลงานของคนที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว มันทำให้ผมบอกตัวเองเลยว่า นี่แหละ คืองานประเภทที่เราตามหา
บางทีคำว่าประสบความสำเร็จมันก็อาจจะฟังดูนามธรรมสักหน่อย แต่สำหรับผม การประสบความสำเร็จมันมีหลายขั้นด้วยกัน ขั้นต้นๆ คือการเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ เพียงพอไปถึงค่าใช้จ่ายจิปาถะและมีเงินออมเหลือ ซึ่งผมสะท้อนจากเงินเดือน ถ้าเรามีรายได้อื่นเท่าเงินเดือนผมถือว่านั้นประสบความสำเร็จแล้วขั้นหนึ่ง ขั้นเหนือกว่านั้น ก็แล้วแต่ว่าใครจะมองยังไง แต่สำหรับผมคือรายได้หลักแสน ซึ่งบุคคลตัวอย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ก็มีรายได้หลัก 2-3 แสนแล้วในตอนนั้น

2. เริ่มทำแล้วเป็นยังไง
พอตัดสินใจเริ่มทำ หลังจากสมัครแล้ว ด่านแรกที่เจอคือการสอบเพื่อเข้าไปขายภาพในเวบ www.shutterstock.com ผมคัดภาพที่ผมเคยถ่ายๆไว้จากการไปเที่ยวหรือถ่ายเล่นเองในชีวิตประจำวันไปส่งสอบ ส่งไป 10 ใบภาพผมตกถึง 9 ใบ (เงื่อนไขตอนนั้นคือภาพต้องผ่าน 7 ใน 10 ใบ) โดยข้อหาที่ตกล้วนเป็นข้อหาเกี่ยวกับคุณภาพของภาพเราไม่ดีทั้งสิ้น
ความรู้สึกแรกเลยที่ผุดขึ้นมาคือ “มันไม่ง่ายอย่างที่คิดแฮะ”

คำแนะนำที่ผมได้มา คือให้ลืมสิ่งที่เราเคยถ่ายมาให้หมด แล้วตั้งใจถ่ายใหม่สำหรับส่งสต็อกโดยเฉพาะไปเลย คุมคุณภาพให้ดีๆ อย่าไปหวังพึ่งบุญเก่า ผมเลยลงมือถ่ายใหม่หมด รอหนึ่งเดือนส่งไปสอบใหม่ (สมัยนั้นถ้าสอบไม่ผ่านต้องรอเดือนนึงถึงส่งใหม่ได้) ผลที่ออกมาคือภาพผ่าน 6 ใน 10 ใบ โดยที่ตก 2 ใน 4 เป็นความสะเพร่าของผมเอง นั่นคือลืมลบโลโก้บนวัตถุในภาพออก และเลือกหมวดหมู่ให้ภาพผิด
พอผมแก้งานส่งไปรอบที่สามจึงผ่าน
สิ่งต่อมาที่ผมทำ นั่นคือเอาภาพทั้งหมดที่เราเคยถ่ายมาคัด แล้วส่งไปให้เค้าพิจารณา เพราะผมอยากรู้ว่านิสัยการถ่ายภาพของเราที่ผ่านๆมา ที่เราอาจจะมีความภูมิอกภูมิใจในงานของเราลงบน facebook นั้น มันจะเข้าตากรรมการซักแค่ไหน…. ผลคือภาพที่ส่งไปเกือบ 200 ใบ ผ่านอยู่แค่ราวๆ 20 กว่าใบเท่านั้น ทำให้ผมรู้ตัวเลย ว่าฝีมือตัวเองนั้นแย่ขนาดไหน เพราะมาตรฐานที่คนตรวจภาพต้องการนั้น เค้าต้องการแค่ภาพดีพอ ไม่ใช่ภาพดีเทพ ถ้านิสัยการถ่ายภาพที่ผ่านมาของเรามันทำให้เราได้ภาพที่ “ไม่ดีพอ” นั่นคือเราต้องพิจารณาตัวเองใหม่

ผมกลับมาหาเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพใหม่หมด ถ่ายยังไงให้ภาพชัด จัดองค์ประกอบแต่ละแบบเป็นยังไง อ่านฮิสโทแกรม คิดก่อนถ่ายมากๆ และตั้งใจกับการกดชัตเตอร์ทุกใบ และลองผิดลองถูกส่งงานไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อ 4 ปีก่อนนั้น ไม่ได้มีคนพูดถึงงานสต็อกกันเยอะอย่างทุกวันนี้
ผมใช้เวลา 3-4 เดือนอยู่กับการหยิบเอาของใกล้ตัวมาถ่าย ฝึกพื้นฐาน เรียนรู้ไปเรื่อยๆ และถ่ายแทบทุกอย่างที่คิดว่าจะขายได้ ซึ่งภาพส่วนมาก บอกเลยว่าขายแทบไม่ได้ งานที่ขายได้ มักเป็นงานที่มีเนื้อหาเฉพาะตัว และมีเรื่องราวในภาพมากกว่าภาพวัตถุทั่วๆไปที่ไม่มีเนื้อหาอะไร

ภาพเซทแรกๆ ที่ผมลองถ่ายส่งแล้วขายได้ คือภาพเซทที่ผมเข้าไปขอร้านขายไม้ที่ถนนสายไม้ ถ่ายภาพในโกดังเก็บไม้เค้า (ทุกวันนี้ยังรู้สึกขอบคุณอาซ้อเจ้าของร้านที่อนุญาตให้ผมเข้าไปถ่าย ทั้งที่ตัวเองเดินเข้าไปขอเค้าดุ่ยๆแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเลย) ภาพเซทนี้ทำให้ผมเริ่มกระตุกความคิดเรื่องการถ่ายภาพเป็นเซท และภาพที่มีเนื้อหาเฉพาะตัว
ผมมองทุกอย่างเป็นความท้าทาย อยากรู้อยากลองไปซะทุกอย่าง ว่าถ้าถ่ายไอ้นี่ไปส่งแล้วจะขายได้มั้ย แล้วนั่นจะขายได้มั้ย อ่าวส่งไม่ผ่าน ทำยังไงให้มันผ่าน ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ การส่งงานไปแล้วตั้งคำถาม หาเหตุ หาผล ผมพบว่า 90% ของงานที่ส่งไปแล้วไม่ผ่าน ข้อผิดพลาดมักเกิดที่ตัวเรา และคิดได้กับตัวเองว่า การไปโทษคนตรวจหรือโทษเวบ มันไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับเราเลย แต่เราต่างหาก ที่ควรคิดว่าทำยังไงจะแก้ปัญหานี้ได้ที่ตัวเราเอง

3. จุดเรียนรู้คืออะไร
พอผมมองย้อนกลับไป การเรียนรู้เกิดมากที่สุด เมื่อเราไม่ได้สนใจยอดขายเป็นอย่างแรก แต่สนใจการถ่ายภาพให้มาก นั่นคือ ถ้าเราเอาแต่คิดว่าจะขายจะขายอยู่ถ่ายเดียว โดยที่เราไม่ได้มีพื้นฐานการถ่ายภาพที่ดีพอ มันง่ายมากที่ภาพเราจะไม่ได้คุณภาพ เพราะไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพอย่างเพียงพอ คล้ายๆกับการเห็นคนวาดสีน้ำมันเป็นภาพทะเลขายได้เป็นล้าน เราเลยจะวาดมาขายมั่ง โดยไม่ได้เรียน หรือฝึกฝนอะไรเกี่ยวกับการวาดภาพเลย
ในวันที่การถ่ายภาพเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย กล้องราคาถูกลงจนใครก็เป็นเจ้าของได้ แค่เอาตาส่อง นิ้วกดก็ได้ภาพมาแล้ว ความอัตโนมัติของกล้องทำให้หลายคนลืมสนใจเรียนรู้การถ่ายภาพ แค่ถ่ายภาพติด ก็คิดจะมาขายเลยโดยที่ไม่ได้เข้าใจ มันทำให้หลายๆคนดูแสงไม่เป็น เลือกแสงในการถ่ายไม่ถูก ไหนจะยังเรื่องสี เรื่องการควบคุมกล้อง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละสถานการณ์ องศาของเลนส์ที่มีผลต่อภาพและการรับรู้ ฯลฯ
โชคดีที่ผมโตมากับกลุ่มก้อนที่ให้ความสำคัญกับความเข้าใจในพื้นฐานการถ่ายภาพมาก ทำให้พอเรามีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีอยู่บ้าง ก็ทำให้เราเกิดความเข้าใจและก้าวไปได้เร็ว

จริงๆแล้ว การเรียนรู้มันเกิดขึ้นได้จากทั้งภาพที่ตก และภาพที่ผ่าน โดยเฉพาะงานที่ขายได้ขายดี จะทำให้เราเรียนรู้เยอะที่สุด ภาพที่ตก เราจะรู้ว่าจุดบกพร่องของภาพเราคืออะไรมันจึงมีค่ามากกว่าภาพผ่าน เวลาภาพผ่านมันเหมือนมีคนบอกเราว่า ภาพดีใช้ได้ละ แต่เราจะไม่ได้รู้ว่าจุดบกพร่องคืออะไร ขณะที่ภาพตกจะโดนชี้จุดบกพร่องในงานเราเพื่อนำกลับมาพัฒนา
ส่วนภาพที่ขายได้ขายดี จะเป็นสิ่งที่เราสนใจมากๆ เพราะมันคือเป้าหมายของการทำงาน แต่ในเบื้องลึก เรามีแนวโน้มที่จะสร้างแต่งานที่คิดว่าขายได้ งานที่คิดว่าจะขายไม่ได้ก็ย่อมที่จะไม่มีใครอยากทำ แต่การทำสต็อกในช่วงแรกๆ จะเป็นการทำแบบทำไปงงไป เพราะยังมองไม่ค่อยออกยังไม่ค่อยจะเข้าใจว่าภาพแบบไหนจะขายได้ ผมในตอนนั้นจึงอยู่กับการลองผิดลองถูก พอมีงานที่ขายได้ดีขึ้นมา ผมก็กลับมาศึกษาและวิจัยอย่างหนัก ว่าทำไมภาพนั้นจึงขายดี วิเคราะห์คัดแยกองค์ประกอบออกมา แล้วเอาหลักการนี้ไปใช้ในการสร้างงานต่อๆมา

ขออนุญาต ไปต่อที่คอมเม้นนะครับ เพราะดูเหมือนจะมีพื้นที่ไม่พอครับ
Share ประสบการณ์ ตั้งแต่เริ่มต้น จนลาออกมาทำ Stock photo full time
วันนี้อยากมาแบ่งปันประสบการณ์ตรงของตัวเอง นับจากวันที่ลาออกจากงานมาตอนทำได้เกือบๆ 2 ปี จนถึงวันนี้ ก็รวมแล้วทำมาร่วม 4 ปีนิดๆ เลยขอมาเขียนแบ่งปันเรื่องราวของตัวเอง เผื่อว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจ หรือกระทั่งแนวทางไปต่อยอดสำหรับตัวเองกันได้นะครับ
ผมจะค่อยๆเขียนเล่าไปนะครับ โดยมีหัวข้อคร่าวๆ ตามนี้
1. อะไรทำให้สนใจทำ
2. เริ่มทำแล้วเป็นยังไง
3. จุดเรียนรู้คืออะไร
4. พัฒนาตัวเองยังไง
5. ตั้งเป้าหมาย
6. อุปสรรคที่เจอ
7. ลาออกแล้วทำยังไงต่อ
อาจจะยาวซักนิดนึง แต่อยากให้ค่อยๆอ่าน ค่อยๆติดตามกันไปนะครับ เพราะถ้าเขียนออกมาสั้นๆ คงหาสาระอะไรได้ไม่มาก : )
1. อะไรทำให้สนใจทำ
ก่อนจะเริ่มทำสต็อกผมถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก และมีรับงานรับปริญญาบ้างประปราย รักการถ่ายภาพมากและก็ไฝ่ฝันจะได้เลี้ยงชีวิตด้วยการถ่ายรูป แต่ก็ยังรู้สึกว่าการรับจ้างถ่ายรูปมันไม่เข้ากับชีวิตเรา มีความรู้สึกต้องการอิสระในการคิดและทำงาน มากกว่าการทำงานว่าจ้างตามพิธีการ พอมารู้จักการขายภาพออนไลน์จากเวบ pixpros ก็เริ่มศึกษาพร้อมกับลงมือทำไปด้วย
ตลาดขายภาพออนไลน์ เป็นผลผลิตจาก internet จากการซื้อขายภาพเป็นแผ่นๆ เปลี่ยนเป็นการซื้อภาพดิจิตอลบนเวบไซท์ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตอย่างรวดเร็วและแรงมาก เพราะเป็นการขายไปทั่วโลก ซึ่งขนาดของตลาดมันเทียบไม่ได้เลยกับการเปิดร้านสะดวกซื้อขายของละแวกบ้าน ทำให้ผมตัดสินใจลงมือทำทันที และทำเต็มที่ในทุกๆอย่างที่เกี่ยวกับสต็อกโฟโต้
อีกมุมหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจงานด้านนี้มากๆ นั่นคือความอิสระทางความคิดและเวลา เราจะสร้างงานด้วยความคิด หรือสไตล์ไหนยังไงก็ได้ ตราบที่มันมีคุณภาพที่ดีพอและเป็นที่ต้องการของตลาด และเราจะใช้เวลาไหนในการทำมันก็ได้ อิสระทางเวลานี่เองที่ทำให้ผมรู้เลย ว่ามันเหมาะมากสำหรับคนที่ยังต้องทำงานประจำอยู่แบบผมในตอนนั้น ผมจึงทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับมัน ตั้งแต่เลิกงาน วันหยุด ทุกเวลาที่ไม่ได้มีธุระใดๆที่สำคัญจำเป็น
และการได้เห็นตัวอย่าง และผลงานของคนที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว มันทำให้ผมบอกตัวเองเลยว่า นี่แหละ คืองานประเภทที่เราตามหา
บางทีคำว่าประสบความสำเร็จมันก็อาจจะฟังดูนามธรรมสักหน่อย แต่สำหรับผม การประสบความสำเร็จมันมีหลายขั้นด้วยกัน ขั้นต้นๆ คือการเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ เพียงพอไปถึงค่าใช้จ่ายจิปาถะและมีเงินออมเหลือ ซึ่งผมสะท้อนจากเงินเดือน ถ้าเรามีรายได้อื่นเท่าเงินเดือนผมถือว่านั้นประสบความสำเร็จแล้วขั้นหนึ่ง ขั้นเหนือกว่านั้น ก็แล้วแต่ว่าใครจะมองยังไง แต่สำหรับผมคือรายได้หลักแสน ซึ่งบุคคลตัวอย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ก็มีรายได้หลัก 2-3 แสนแล้วในตอนนั้น
2. เริ่มทำแล้วเป็นยังไง
พอตัดสินใจเริ่มทำ หลังจากสมัครแล้ว ด่านแรกที่เจอคือการสอบเพื่อเข้าไปขายภาพในเวบ www.shutterstock.com ผมคัดภาพที่ผมเคยถ่ายๆไว้จากการไปเที่ยวหรือถ่ายเล่นเองในชีวิตประจำวันไปส่งสอบ ส่งไป 10 ใบภาพผมตกถึง 9 ใบ (เงื่อนไขตอนนั้นคือภาพต้องผ่าน 7 ใน 10 ใบ) โดยข้อหาที่ตกล้วนเป็นข้อหาเกี่ยวกับคุณภาพของภาพเราไม่ดีทั้งสิ้น
ความรู้สึกแรกเลยที่ผุดขึ้นมาคือ “มันไม่ง่ายอย่างที่คิดแฮะ”
คำแนะนำที่ผมได้มา คือให้ลืมสิ่งที่เราเคยถ่ายมาให้หมด แล้วตั้งใจถ่ายใหม่สำหรับส่งสต็อกโดยเฉพาะไปเลย คุมคุณภาพให้ดีๆ อย่าไปหวังพึ่งบุญเก่า ผมเลยลงมือถ่ายใหม่หมด รอหนึ่งเดือนส่งไปสอบใหม่ (สมัยนั้นถ้าสอบไม่ผ่านต้องรอเดือนนึงถึงส่งใหม่ได้) ผลที่ออกมาคือภาพผ่าน 6 ใน 10 ใบ โดยที่ตก 2 ใน 4 เป็นความสะเพร่าของผมเอง นั่นคือลืมลบโลโก้บนวัตถุในภาพออก และเลือกหมวดหมู่ให้ภาพผิด
พอผมแก้งานส่งไปรอบที่สามจึงผ่าน
สิ่งต่อมาที่ผมทำ นั่นคือเอาภาพทั้งหมดที่เราเคยถ่ายมาคัด แล้วส่งไปให้เค้าพิจารณา เพราะผมอยากรู้ว่านิสัยการถ่ายภาพของเราที่ผ่านๆมา ที่เราอาจจะมีความภูมิอกภูมิใจในงานของเราลงบน facebook นั้น มันจะเข้าตากรรมการซักแค่ไหน…. ผลคือภาพที่ส่งไปเกือบ 200 ใบ ผ่านอยู่แค่ราวๆ 20 กว่าใบเท่านั้น ทำให้ผมรู้ตัวเลย ว่าฝีมือตัวเองนั้นแย่ขนาดไหน เพราะมาตรฐานที่คนตรวจภาพต้องการนั้น เค้าต้องการแค่ภาพดีพอ ไม่ใช่ภาพดีเทพ ถ้านิสัยการถ่ายภาพที่ผ่านมาของเรามันทำให้เราได้ภาพที่ “ไม่ดีพอ” นั่นคือเราต้องพิจารณาตัวเองใหม่
ผมกลับมาหาเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพใหม่หมด ถ่ายยังไงให้ภาพชัด จัดองค์ประกอบแต่ละแบบเป็นยังไง อ่านฮิสโทแกรม คิดก่อนถ่ายมากๆ และตั้งใจกับการกดชัตเตอร์ทุกใบ และลองผิดลองถูกส่งงานไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อ 4 ปีก่อนนั้น ไม่ได้มีคนพูดถึงงานสต็อกกันเยอะอย่างทุกวันนี้
ผมใช้เวลา 3-4 เดือนอยู่กับการหยิบเอาของใกล้ตัวมาถ่าย ฝึกพื้นฐาน เรียนรู้ไปเรื่อยๆ และถ่ายแทบทุกอย่างที่คิดว่าจะขายได้ ซึ่งภาพส่วนมาก บอกเลยว่าขายแทบไม่ได้ งานที่ขายได้ มักเป็นงานที่มีเนื้อหาเฉพาะตัว และมีเรื่องราวในภาพมากกว่าภาพวัตถุทั่วๆไปที่ไม่มีเนื้อหาอะไร
ภาพเซทแรกๆ ที่ผมลองถ่ายส่งแล้วขายได้ คือภาพเซทที่ผมเข้าไปขอร้านขายไม้ที่ถนนสายไม้ ถ่ายภาพในโกดังเก็บไม้เค้า (ทุกวันนี้ยังรู้สึกขอบคุณอาซ้อเจ้าของร้านที่อนุญาตให้ผมเข้าไปถ่าย ทั้งที่ตัวเองเดินเข้าไปขอเค้าดุ่ยๆแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเลย) ภาพเซทนี้ทำให้ผมเริ่มกระตุกความคิดเรื่องการถ่ายภาพเป็นเซท และภาพที่มีเนื้อหาเฉพาะตัว
ผมมองทุกอย่างเป็นความท้าทาย อยากรู้อยากลองไปซะทุกอย่าง ว่าถ้าถ่ายไอ้นี่ไปส่งแล้วจะขายได้มั้ย แล้วนั่นจะขายได้มั้ย อ่าวส่งไม่ผ่าน ทำยังไงให้มันผ่าน ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ การส่งงานไปแล้วตั้งคำถาม หาเหตุ หาผล ผมพบว่า 90% ของงานที่ส่งไปแล้วไม่ผ่าน ข้อผิดพลาดมักเกิดที่ตัวเรา และคิดได้กับตัวเองว่า การไปโทษคนตรวจหรือโทษเวบ มันไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับเราเลย แต่เราต่างหาก ที่ควรคิดว่าทำยังไงจะแก้ปัญหานี้ได้ที่ตัวเราเอง
3. จุดเรียนรู้คืออะไร
พอผมมองย้อนกลับไป การเรียนรู้เกิดมากที่สุด เมื่อเราไม่ได้สนใจยอดขายเป็นอย่างแรก แต่สนใจการถ่ายภาพให้มาก นั่นคือ ถ้าเราเอาแต่คิดว่าจะขายจะขายอยู่ถ่ายเดียว โดยที่เราไม่ได้มีพื้นฐานการถ่ายภาพที่ดีพอ มันง่ายมากที่ภาพเราจะไม่ได้คุณภาพ เพราะไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพอย่างเพียงพอ คล้ายๆกับการเห็นคนวาดสีน้ำมันเป็นภาพทะเลขายได้เป็นล้าน เราเลยจะวาดมาขายมั่ง โดยไม่ได้เรียน หรือฝึกฝนอะไรเกี่ยวกับการวาดภาพเลย
ในวันที่การถ่ายภาพเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย กล้องราคาถูกลงจนใครก็เป็นเจ้าของได้ แค่เอาตาส่อง นิ้วกดก็ได้ภาพมาแล้ว ความอัตโนมัติของกล้องทำให้หลายคนลืมสนใจเรียนรู้การถ่ายภาพ แค่ถ่ายภาพติด ก็คิดจะมาขายเลยโดยที่ไม่ได้เข้าใจ มันทำให้หลายๆคนดูแสงไม่เป็น เลือกแสงในการถ่ายไม่ถูก ไหนจะยังเรื่องสี เรื่องการควบคุมกล้อง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละสถานการณ์ องศาของเลนส์ที่มีผลต่อภาพและการรับรู้ ฯลฯ
โชคดีที่ผมโตมากับกลุ่มก้อนที่ให้ความสำคัญกับความเข้าใจในพื้นฐานการถ่ายภาพมาก ทำให้พอเรามีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีอยู่บ้าง ก็ทำให้เราเกิดความเข้าใจและก้าวไปได้เร็ว
จริงๆแล้ว การเรียนรู้มันเกิดขึ้นได้จากทั้งภาพที่ตก และภาพที่ผ่าน โดยเฉพาะงานที่ขายได้ขายดี จะทำให้เราเรียนรู้เยอะที่สุด ภาพที่ตก เราจะรู้ว่าจุดบกพร่องของภาพเราคืออะไรมันจึงมีค่ามากกว่าภาพผ่าน เวลาภาพผ่านมันเหมือนมีคนบอกเราว่า ภาพดีใช้ได้ละ แต่เราจะไม่ได้รู้ว่าจุดบกพร่องคืออะไร ขณะที่ภาพตกจะโดนชี้จุดบกพร่องในงานเราเพื่อนำกลับมาพัฒนา
ส่วนภาพที่ขายได้ขายดี จะเป็นสิ่งที่เราสนใจมากๆ เพราะมันคือเป้าหมายของการทำงาน แต่ในเบื้องลึก เรามีแนวโน้มที่จะสร้างแต่งานที่คิดว่าขายได้ งานที่คิดว่าจะขายไม่ได้ก็ย่อมที่จะไม่มีใครอยากทำ แต่การทำสต็อกในช่วงแรกๆ จะเป็นการทำแบบทำไปงงไป เพราะยังมองไม่ค่อยออกยังไม่ค่อยจะเข้าใจว่าภาพแบบไหนจะขายได้ ผมในตอนนั้นจึงอยู่กับการลองผิดลองถูก พอมีงานที่ขายได้ดีขึ้นมา ผมก็กลับมาศึกษาและวิจัยอย่างหนัก ว่าทำไมภาพนั้นจึงขายดี วิเคราะห์คัดแยกองค์ประกอบออกมา แล้วเอาหลักการนี้ไปใช้ในการสร้างงานต่อๆมา
ขออนุญาต ไปต่อที่คอมเม้นนะครับ เพราะดูเหมือนจะมีพื้นที่ไม่พอครับ