ปรกติ หากไปท่องเที่ยวตามประเทศต่างๆ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว ผมมักจะเก็บภาพของฝาท่อระบายน้ำ ในเมืองนั้นๆ
เช่นที่ ญี่ปุ่น หากคุณสังเกต ถนนแถบพระราชวัง ลายฝาท่อระบายน้ำจะเป็นวังและต้นซากุระ
หากเป็นแถบวัด ฝาท่อจะมีลวดลายเป็นวัด และภูเขา
หากเป็นที่คาวาฟูจิโกะ แน่นอน ต้องเป็นรูปฟูจิซัง
ทั้งนี้ ในเมืองอื่นๆแถบยุโรปเอง เท่าที่จำได้ ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
กระผมนั้น นอกจากฝาท่อ ยังมีหัวท่อน้ำดับเพลิง ที่ชอบเก็บภาพมันกลับมาด้วยทุกครั้ง
เพราะแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะต่างกัน
ที่น่าสนใจกว่านั้น จะมี กราฟิตี้ ที่วัยรุ่นมักจะมาประดิษฐ์คำเกร๋ๆ ให้ได้ยิ้มอยู่เสมอ
แต่ฝาท่อที่เมืองไทยนั้น ยังไม่มีความพิถีพิถัน เหมือนสถานที่ท่องเที่ยวในต่างประเทศเท่าไหร่
ผมจึงไม่ค่อยใส่ใจกับฝาท่อ จะมีก็แค่สังเกตุว่า เป็นยี่ห้ออะไร ใครเป็นผู้รับสัมปทาน ในการผลิตฝาท่อแต่ละชุดๆ ซึ่งก็ไม่มีนัยยะสำคัญเท่าไหร่ เพราะกระผมไม่รู้จักโรงงานผลิตด้านนี้เท่าไรนัก
กระผมเอง ก็ได้เปรียบเทียบหมุดคณะราษฯกับฝาท่อระบายน้ำ ในแง่ที่ว่า
1. ผมไม่เคยให้ความสำคัญกับมันมาเลย ในชีวิตนี้ เหมือนๆกับอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเอง หากไม่อยากกิน มนต์ นมสด (ไม่ได้ค่าโฆษณา) ผมก็ไม่เคยคิดจะไปให้ถึงสถานที่นั้น
2. ผมไม่เคยเห็นใคร ให้ความสำคัญกับหมุดนี้ ก่อนที่มันจะหายไป อย่างมาก ก็แค่ระลึกถึง เวลาพูดถึงคณะราษฯ และความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
3.
ผมไม่คิดว่า หากไม่มีหมุดนี้ ประเทศไทย จะไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ แต่กลับกัน เพราะเราได้เปลี่ยนแปลงแล้ว ณ ตอนนั้น จึงมีหมุดนี้ ฉนั้น
การไม่ให้ความสำคัญต่อหมุด ถือว่าไม่ให้ความสำคัญต่อประชาธิปไตย จึงเป็นตรรกที่ผิด
4. หากใครเคยเดินไประลึกถึงคณะราษฯต่อหน้าหมุด แล้วคิดว่า เข้าใจในความเป็นประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง แล้วละก็ ผมอยากพิสูจน์ครับ ด้วยคำถามง่ายๆ
ตั้งแต่วันที่หมุดถูกปัก จนถึงวันนี้ มีวันไหนบ้าง ที่ไทย มี"ความเป็นประชาธิปไตย" ตามเจตนารมย์ของระบอบการปกครอง
และเหมือน หรือแตกต่างจากเจตนารมย์ของคณะราษฎร อย่างไร?
ผมเห็นคนตัดพ้อต่อว่า คนที่เปรียบหมุดกับฝาท่อว่า ไม่เคยเห็นความสำคัญของฝาท่อ
ฝาท่อมีความสำคัญอย่างโน้นอย่างนี้ อ่านแล้วน้ำตาแทบไหล อยากลงไปกราบฝาท่อเลยครับ
ผมก็เลยอยากมาบอกว่า ผมเห็นและสังเกตุฝาท่อครับ แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญถึงขนาดต้องเก็บรักษา หรือทะนุบำรุงไม่ให้เสื่อมสภาพอะไรแบบนั้น
สุดท้ายนี้ การขโมยของสาธารณะเป็นเรื่องผิดกฏหมาย โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นสมบัติของทางราชการ
ก็เหมือนกับฝาท่อ ที่เคยมีคนขโมยไปขายเป็นเศษเหล็ก มีความผิดอาญาด้วย ไม่ใช่ใครจะยักยอกเป็นสมบัติส่วนตัวได้
หรือการไม่ขโมย แต่ทำลาย เหมือนเด็กมือบอลที่เขียน กราฟิตี้ บนหัวฉีดน้ำดับเพลิง ก็มีความผิด แต่โทษอาจไม่ถึงติดคุก
และการทำหมุดปลอม ก็ไม่สามารถทำให้ความน่าเชื่อถือของคณะราษฎรหมดไป และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้
เพราะ ปวศ ได้ถูกจารึกไว้แล้ว
จะมีก็แค่เสียดาย ที่ของเก่าหายไป
แต่ของใหม่นั้น ก็ไม่มีค่าอะไรให้ระลึกถึง
จะระลึกก็เพียงแค่
หมุด ก็เหมือนประชาธิปไตยของเรา
ที่เห็น ที่รู้ว่ามีอยู่ แต่ปกป้องและคุ้มครองกันไว้ไม่ได้ จะด้วยอะไรก็แล้วแต่
สุดท้าย ก็ถูกสับเปลี่ยน และคนที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ต้องมานั่งเกาหัวแกร่กๆว่า
เออ ทำใหม่ทั้งที จะทำแบบเนี่ยอะนะ!!!
ประชาชนหน้าใส
สงสัยคงทำให้แป้งศรีจันทร์ รึเปล่า
เห็นกำลังฮิตกัน

ขอบคุณหมุดที่หายไป ทำให้บางคนสำนึกในบุญคุณของฝาท่อระบายน้ำ
เช่นที่ ญี่ปุ่น หากคุณสังเกต ถนนแถบพระราชวัง ลายฝาท่อระบายน้ำจะเป็นวังและต้นซากุระ
หากเป็นแถบวัด ฝาท่อจะมีลวดลายเป็นวัด และภูเขา
หากเป็นที่คาวาฟูจิโกะ แน่นอน ต้องเป็นรูปฟูจิซัง
ทั้งนี้ ในเมืองอื่นๆแถบยุโรปเอง เท่าที่จำได้ ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน
กระผมนั้น นอกจากฝาท่อ ยังมีหัวท่อน้ำดับเพลิง ที่ชอบเก็บภาพมันกลับมาด้วยทุกครั้ง
เพราะแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะต่างกัน
ที่น่าสนใจกว่านั้น จะมี กราฟิตี้ ที่วัยรุ่นมักจะมาประดิษฐ์คำเกร๋ๆ ให้ได้ยิ้มอยู่เสมอ
แต่ฝาท่อที่เมืองไทยนั้น ยังไม่มีความพิถีพิถัน เหมือนสถานที่ท่องเที่ยวในต่างประเทศเท่าไหร่
ผมจึงไม่ค่อยใส่ใจกับฝาท่อ จะมีก็แค่สังเกตุว่า เป็นยี่ห้ออะไร ใครเป็นผู้รับสัมปทาน ในการผลิตฝาท่อแต่ละชุดๆ ซึ่งก็ไม่มีนัยยะสำคัญเท่าไหร่ เพราะกระผมไม่รู้จักโรงงานผลิตด้านนี้เท่าไรนัก
กระผมเอง ก็ได้เปรียบเทียบหมุดคณะราษฯกับฝาท่อระบายน้ำ ในแง่ที่ว่า
1. ผมไม่เคยให้ความสำคัญกับมันมาเลย ในชีวิตนี้ เหมือนๆกับอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเอง หากไม่อยากกิน มนต์ นมสด (ไม่ได้ค่าโฆษณา) ผมก็ไม่เคยคิดจะไปให้ถึงสถานที่นั้น
2. ผมไม่เคยเห็นใคร ให้ความสำคัญกับหมุดนี้ ก่อนที่มันจะหายไป อย่างมาก ก็แค่ระลึกถึง เวลาพูดถึงคณะราษฯ และความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
3. ผมไม่คิดว่า หากไม่มีหมุดนี้ ประเทศไทย จะไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยได้ แต่กลับกัน เพราะเราได้เปลี่ยนแปลงแล้ว ณ ตอนนั้น จึงมีหมุดนี้ ฉนั้น การไม่ให้ความสำคัญต่อหมุด ถือว่าไม่ให้ความสำคัญต่อประชาธิปไตย จึงเป็นตรรกที่ผิด
4. หากใครเคยเดินไประลึกถึงคณะราษฯต่อหน้าหมุด แล้วคิดว่า เข้าใจในความเป็นประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง แล้วละก็ ผมอยากพิสูจน์ครับ ด้วยคำถามง่ายๆ ตั้งแต่วันที่หมุดถูกปัก จนถึงวันนี้ มีวันไหนบ้าง ที่ไทย มี"ความเป็นประชาธิปไตย" ตามเจตนารมย์ของระบอบการปกครอง
และเหมือน หรือแตกต่างจากเจตนารมย์ของคณะราษฎร อย่างไร?
ผมเห็นคนตัดพ้อต่อว่า คนที่เปรียบหมุดกับฝาท่อว่า ไม่เคยเห็นความสำคัญของฝาท่อ
ฝาท่อมีความสำคัญอย่างโน้นอย่างนี้ อ่านแล้วน้ำตาแทบไหล อยากลงไปกราบฝาท่อเลยครับ
ผมก็เลยอยากมาบอกว่า ผมเห็นและสังเกตุฝาท่อครับ แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญถึงขนาดต้องเก็บรักษา หรือทะนุบำรุงไม่ให้เสื่อมสภาพอะไรแบบนั้น
สุดท้ายนี้ การขโมยของสาธารณะเป็นเรื่องผิดกฏหมาย โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นสมบัติของทางราชการ
ก็เหมือนกับฝาท่อ ที่เคยมีคนขโมยไปขายเป็นเศษเหล็ก มีความผิดอาญาด้วย ไม่ใช่ใครจะยักยอกเป็นสมบัติส่วนตัวได้
หรือการไม่ขโมย แต่ทำลาย เหมือนเด็กมือบอลที่เขียน กราฟิตี้ บนหัวฉีดน้ำดับเพลิง ก็มีความผิด แต่โทษอาจไม่ถึงติดคุก
และการทำหมุดปลอม ก็ไม่สามารถทำให้ความน่าเชื่อถือของคณะราษฎรหมดไป และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้
เพราะ ปวศ ได้ถูกจารึกไว้แล้ว
จะมีก็แค่เสียดาย ที่ของเก่าหายไป
แต่ของใหม่นั้น ก็ไม่มีค่าอะไรให้ระลึกถึง
จะระลึกก็เพียงแค่
หมุด ก็เหมือนประชาธิปไตยของเรา
ที่เห็น ที่รู้ว่ามีอยู่ แต่ปกป้องและคุ้มครองกันไว้ไม่ได้ จะด้วยอะไรก็แล้วแต่
สุดท้าย ก็ถูกสับเปลี่ยน และคนที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ต้องมานั่งเกาหัวแกร่กๆว่า
เออ ทำใหม่ทั้งที จะทำแบบเนี่ยอะนะ!!!
ประชาชนหน้าใส
สงสัยคงทำให้แป้งศรีจันทร์ รึเปล่า
เห็นกำลังฮิตกัน