
(รูปจาก Motor Sport Park Suvarnabhumi)
(แต่รถกับคนขี่น่ะ จขกท. เองครับ)
สวัสดีครับทุกท่าน รู้สึกจะเป็นธรรมเนียมปกติของผมไปเสียแล้วที่เวลาได้พาหนะใหม่มาครอง ก็มักจะชอบนำเรื่องราวของรถคู่ใจคันใหม่มารีวิวให้ชมกัน เผื่อจะมีคนกำลังสนใจรถรุ่นเดียวกันอยู่แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อดีหรือไม่ บางทีการได้อ่าน user review ของผู้ที่ใช้งานจริงอาจจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
มารอบนี้ ก็ขอเปลี่ยนแนวเป็นรถ Adventure กันบ้างแล้วกัน
ส่วนตัวแล้ว อายุผมยังไม่ถึงเลข 3 เลยด้วยซ้ำ จริงๆก็รู้สึกว่าตัวเองรีบแก่ไปหรือเปล่า ถึงขั้นต้องขยับมาขี่ R1200GS กันเลยทีเดียว
สาเหตุที่แท้จริงแล้วคือ ผมรู้สึกว่าการที่ต้องขี่รถ Supersport ไปเที่ยวไหนมาไหน มันเริ่มไม่สนุกเหมือนแต่ก่อนเสียแล้ว
ด้วยภาระการงานที่มีความรับผิดชอบสูง(ซึ่งมาพร้อมกับ OT ที่ปฏิเสธไม่ได้) ผลที่ตามมาคือ Office symdrome นั่นเอง
เคยคิดหนักถึงขั้นที่ว่าจะเลิกขี่มอไซค์กันเลยทีเดียว แต่พอคิดไปคิดมาแล้วก็เลิกไม่ได้จริงๆ
สุดท้ายเลยมาจบที่ R1200GS เนี้ยแหละ เพราะอยากได้รถ Adventure ที่คิดว่าน่าจะรองรับการขับขี่ได้หลากหลายรูปแบบจริงๆ

(รูปจาก Motor Sport Park Suvarnabhumi)
ว่าแล้ว มาพูดถึงเรื่องรายละเอียดของตัวรถเสียเล็กน้อยก่อนนะครับ

ไฟหน้าของ R1200GS โฉมนี้จะแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
ฝั่งขวาจะเป็นส่วนของ Day Time Light
ฝั่งซ้ายจะเป็นส่วนของไฟหน้า LED ซึ่งจะติดก็ต่อเมื่อ
- กดให้ไฟหน้าเข้าสู่โหมด Auto, ตอนกลางวันติดแต่ไฟ Day light - กลางคืนไฟจะติดทั้ง 2 ฝั่ง
- หากไม่กดให้ไฟหน้าอยู่ใน Auto โหมด, ไฟทั้ง 2 ฝั่งจะติดตลอดเวลาครับ
โดยส่วนตัวผมว่าไฟ LED มีรัศมีการส่องที่กว้างมาก แต่ผมว่าระดับความสูงของไฟต่ำนั้นมันต่ำไปหน่อย ทำให้รัศมีความยาวในการส่องอยู่ที่ระยะประมาณ 6-7 เมตรเท่านั้น (ต้องปรับเล็กน้อยครับ มีตัวปรับแบบหมุนด้วยมือได้ที่หลังชุดไฟหน้าครับ)

ประกับ Hand ฝั่งขวามาพร้อมกับ (ไม่พูดถึงปุ่ม Start นะครับ)
- ปุ่ม Heat grip ที่ปรับความร้อนได้ 2 ระดับ (กดครั้งแรกจะเป็น 100%, กดอีกครั้งจะเป็น 50%, กดอีกครั้งจะปิดการใช้งาน)
- ปุ่ม Power mode ของ R1200GS ไล่ mode ตาม Step ได้ดังนี้
Dynamic = คันเร่งตอบสนองไวที่สุด, รู้สึกว่าลูกสูบจะชักถี่กว่าโหมด Road เล็กน้อย, ระบบ ABS และ Traction control ทำงานในระดับที่น้อยที่สุด, ช่วงล่างจะ Set เป็นระดับ Hard ทันทีเมื่อเข้า Mode นี้ เหมาะสำหรับขี่ในถนนที่สภาพสมบูรณ์ หรือในสนามแข่งที่สุด
Road = คันเร่งตอบสนองไวเกือบ 100%, ระบบ ABS และ Traction control ทำงานไวขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
Rain = คันเร่งจะตอบสนองช้ากว่า 2 โหมดแรก และแน่นอนว่า ABS กับ Traction control จะมีโอกาสทำงานได้ไวขึ้น
Enduro = คันเร่งจะตอบสนองช้ากว่า 2 โหมดแรก, ช่วงล่างจะ Set เป็น Soft ทันที เพราะระบบ ABS และ Traction control ที่ปรับมาให้เหมาะสำหรับลุยทางฝุ่น
โดยส่วนใหญ่ผมจะขี่แต่ Road กับ Dynamic เพราะยังต้องการการตอบสนองของคันเร่งที่แม่นยำแบบคันเร่งสายปกติอยู่
*ตอนที่ขี่รถอยู่ แค่กดปุ่มอย่างเดียวรถจะไม่เปลี่ยน Mode ให้นะครับ ต้องกระแทก Clutch 1 ที (ในตอนที่ปิดคันเร่ง และไม่ใช้เบรกอยู่) รถถึงจะยอมเปลี่ยน Mode ให้ครับ, ก็โปรดใช้ความระมัดระวังด้วย เพราะรถจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วิในการปรับระบบที่เกี่ยวข้องต่างๆให้ทำงานตาม Mode ที่เราเปลี่ยนครับ

ส่วนของประกับซ้ายนั้น ก็จะมี
- บนสุดจะเป็น Cruise control, ดันปุ่ม Off/On ไปด้านขวาเพื่อเปิดใช้, กดที่ปุ่ม RES/SET ไปข้างหน้าเพื่อให้ล๊อคความเร็ว, ตอนต้องการให้เลิกล๊อคความเร็ว จะกดเบรก กำ Clutch หรือดันปุ่ม Off/On มาต่ำแหน่งเดิมก็ได้ครับ
- ปุ่มข้างๆปุ่มไฟฉุกเฉินคือ ปุ่มกดให้ไฟหน้าเข้าสู่โหมดออโต้ครับ
- ปุ่มใหญ่ด้านซ้ายก็เป็นปุ่ม Set/ดู Trip และ info ของรถตามปกติ
- ปุ่มใหญ่ด้านขวาคือปุ่มเปิดปิด ABS และปุ่ม Set ค่าการทำงานของ ช่วงล่างครับ, ระดับของช่วงล่างมี 3 แบบคือ
Hard = ระยะยุบโช๊คจะน้อยที่สุด การยุบ-คลายของโช๊คจะหน่วง เหมาะตอนที่ต้องเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง,ขี่บนถนนที่สภาพสมบูรณ์ หรือขี่สนามครับ
Medium = ระยะยุบโช๊คจะมากกว่า Hard การยุบ-คลายของโช๊คจะมีให้รู้สึกบ้างแต่ไม่เยอะครับ เหมาะแก่การใช้ขับขี่ปกติ และให้ความสบายเล็กน้อย ไม่กระด้างแบบ Hard
Soft = ระยะยุบโช๊คเยอะที่สุด การยุบ-คลายของโช๊คทำงานอย่างชัดเจน เหมาะกับตอนขี่บนถนนที่สภาพไม่ดี หรือตอนที่รถติดเป็นอย่างมาก เพราะหย่อนเอาขาลงพื้นตอนจอดง่าย ขี่ผ่านทางรถไฟ หรือท่อระบายน้ำได้สบายๆ (ไม่ต้องยืนตอนขี่ผ่านยังได้เลยครับ) แต่ไม่เหมาะ หากต้องการพลิกรถเข้าออกโค้งไวๆ หรือต้องการการเร่งออกตัวที่รวดเร็ว เพราะโช๊คยุบมากเกิน (เข้าขั้นย้วยเลยทีเดียวครับ)
ส่วนใหญ่ผมจะใช้ Medium กับ Soft สลับกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพที่ถ้าหากถนนไม่โล่ง หรือเจอท่อระบายน้ำเยอะๆ ผมจะใช้ Soft แทบจะตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ค่าโช๊คของแต่ละระดับออกแบบมาให้ใช้งานตามสถานการณ์ รูปแบบการขับขี่ และสภาพถนนที่ต่างกัน ก็ควรจะเลือกใช้ค่าโช๊คที่เหมาะสมกับการขี่ ณ ช่วงเวลานั้นๆนะครับ
*กดปุ่ม และโช๊คปรับระดับทันที โช๊คจะปรับตัวเองประมาณ 2-3 วิหลังจากที่กดปุ่มไปแล้ว
ส่วนไอ้ตัววงๆที่ด้านซ้ายสุดของประกบซ้ายนั้นคือปุ่มไว้สำหรับควบคุมตัว Navigator ตรงรุ่นจากศูนย์นะครับ
ซึ่งน่าเสียดายที่มันใช้ทำอะไรอย่างอื่นกับรถไม่ได้เลย

แหม มีติดตัวที่ติดตั้ง Navigator มาให้ดูต่างหน้าด้วย
ส่วนด้านขวาล่างถัดไปจากที่ติดตั้ง Navigator ก็จะเป็นปุ่มหมุนเพื่อปรับระดับ Windscreen นะครับ
หน้าร้อนนี่แทบไม่ได้หมุน Windscreen ขึ้นอะ เพราะใช้เมื่อไหร่นี่ เหงื่อฉ่ำเต็มหน้าอก
และ Windscreen ค่อนข้างหลอกตาพอสมควรเมื่อมองผ่าน Windscreen

พูดถึงเรื่องปุ่มมาเยอะแล้ว ขอนำเสนอส่วนล่างของตัวรถกันบ้าง
R1200GS นั้นมาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 สูบนอนขนาด 1170cc
แรงม้ามาเต็มที่ 125 ตัวที่ 7,750 rpm (เป็นย่านที่เครื่องสะท้านมาก และจะสะท้านอย่างยิ่งเมื่อขี่เกิน 180 ไปแล้ว)
ส่วนแรงบิดมาเต็มที่ 125 นิวตั้นเมตรที่ 6,500 rpm (ถ้าไม่บิดหมดปลอก ก็ใช้กันไม่ถึงหรอกพูดเลย)

หนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ R1200GS นั้นมีแรงบิดที่มหาศาลนั้นคือช่องดักลมที่อยู่เหนือแฟริ่งข้าง และหม้อน้ำนั่นเอง

ส่วนไอเสียจะถูกไล่ออกสู่ท่อใบนี้ ซึ่งจะชอบสร้างเสียงปะทุให้ได้ยินอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะในตอนเปิดคันเร่งมาหนักๆแล้วต้อง Drop คันเร่งอย่างรวดเร็ว

Disc คู่ 305mm พร้อม Caliper จาก Brand ดัง เบรกหนึบ สั่งได้ดั่งใจ
ประกบคู่กับล้อหน้า 19 นิ้ว หน้ายาง 120mm

เหนือล้อหน้าขึ้นมา ก็จะพบกับหม้อน้ำ 1 คู่
พร้อมด้วยโช๊คคู่หน้า ขนาด 37mm ที่ไม่มีกลไล หรือสายไฟใดๆต่อไปที่ตัวโช๊คเลย (ผมก้มมองตั้งหลายรอบละ ว่ามันไม่มีสายไฟอะไรไปเชื่อมกับโช๊คหน้าเลย หากข้อมูลผมไม่ถูกด้วย รบกวนท่านใดก็ได้ ช่วยบอกหน่อยครับ ว่ายังไง)
ส่วนตรงกลางระหว่างหม้อน้ำกับโช๊คคู่หน้า ก็จะมีโช๊ตตัวที่ 3 ที่มีสายไฟเชื่อมต่อกับด้านล่างของโช๊คเพื่อให้ตัวโช๊คทำงานสื่อสารร่วมกับรถนั่นเอง

เหนือบังโคลนล้อหน้าก็ยังมีกันสะบัดติดตั้งอยู่ด้วยนะครับ
แต่คิดว่ากันสะบัดตัวนี้น่าจะว่างงานไปอีกนาน ตราบใดที่ Traction Control ยังเปิดใช้งานอยู่นั่นเอง (ถ้าหน้าล้อไม่ไปสะดุดอะไรเข้าน่ะนะครับ)

อีกหนึ่งสาเหตุที่เลือก R1200GS เลยคือ เพลาเนี้ยแหละครับ
มาพร้อมกับ Disc เดี่ยว 276mm และล้อ 17 นิ้ว หน้ายาง 170mm

ทำงานร่วมกับโช๊คเดี่ยวหลังควมคุมด้วยไฟฟ้าจาก Sachs นั่นเอง

ขอทิ้งท้าย Post นี้ด้วยหน้าตาของหน้าปัดรถรุ่นนี้ครับ
ขอไม่อธิบายอะไรเยอะเยาะนะครับ เพราะไม่อยากให้กระทู้นี้เป็นคู่มือแนะนำการใช้รถ
เดี๋ยวเรื่องการใช้งานจะแนะนำกันใน Post ถัดไปครับ
เมื่อย ขอพักก่อน : )
[CR] On Road Review 2016 BMW R1200GS LC (Low suspension)
(รูปจาก Motor Sport Park Suvarnabhumi)
(แต่รถกับคนขี่น่ะ จขกท. เองครับ)
สวัสดีครับทุกท่าน รู้สึกจะเป็นธรรมเนียมปกติของผมไปเสียแล้วที่เวลาได้พาหนะใหม่มาครอง ก็มักจะชอบนำเรื่องราวของรถคู่ใจคันใหม่มารีวิวให้ชมกัน เผื่อจะมีคนกำลังสนใจรถรุ่นเดียวกันอยู่แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อดีหรือไม่ บางทีการได้อ่าน user review ของผู้ที่ใช้งานจริงอาจจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
มารอบนี้ ก็ขอเปลี่ยนแนวเป็นรถ Adventure กันบ้างแล้วกัน
ส่วนตัวแล้ว อายุผมยังไม่ถึงเลข 3 เลยด้วยซ้ำ จริงๆก็รู้สึกว่าตัวเองรีบแก่ไปหรือเปล่า ถึงขั้นต้องขยับมาขี่ R1200GS กันเลยทีเดียว
สาเหตุที่แท้จริงแล้วคือ ผมรู้สึกว่าการที่ต้องขี่รถ Supersport ไปเที่ยวไหนมาไหน มันเริ่มไม่สนุกเหมือนแต่ก่อนเสียแล้ว
ด้วยภาระการงานที่มีความรับผิดชอบสูง(ซึ่งมาพร้อมกับ OT ที่ปฏิเสธไม่ได้) ผลที่ตามมาคือ Office symdrome นั่นเอง
เคยคิดหนักถึงขั้นที่ว่าจะเลิกขี่มอไซค์กันเลยทีเดียว แต่พอคิดไปคิดมาแล้วก็เลิกไม่ได้จริงๆ
สุดท้ายเลยมาจบที่ R1200GS เนี้ยแหละ เพราะอยากได้รถ Adventure ที่คิดว่าน่าจะรองรับการขับขี่ได้หลากหลายรูปแบบจริงๆ
(รูปจาก Motor Sport Park Suvarnabhumi)
ว่าแล้ว มาพูดถึงเรื่องรายละเอียดของตัวรถเสียเล็กน้อยก่อนนะครับ
ไฟหน้าของ R1200GS โฉมนี้จะแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
ฝั่งขวาจะเป็นส่วนของ Day Time Light
ฝั่งซ้ายจะเป็นส่วนของไฟหน้า LED ซึ่งจะติดก็ต่อเมื่อ
- กดให้ไฟหน้าเข้าสู่โหมด Auto, ตอนกลางวันติดแต่ไฟ Day light - กลางคืนไฟจะติดทั้ง 2 ฝั่ง
- หากไม่กดให้ไฟหน้าอยู่ใน Auto โหมด, ไฟทั้ง 2 ฝั่งจะติดตลอดเวลาครับ
โดยส่วนตัวผมว่าไฟ LED มีรัศมีการส่องที่กว้างมาก แต่ผมว่าระดับความสูงของไฟต่ำนั้นมันต่ำไปหน่อย ทำให้รัศมีความยาวในการส่องอยู่ที่ระยะประมาณ 6-7 เมตรเท่านั้น (ต้องปรับเล็กน้อยครับ มีตัวปรับแบบหมุนด้วยมือได้ที่หลังชุดไฟหน้าครับ)
ประกับ Hand ฝั่งขวามาพร้อมกับ (ไม่พูดถึงปุ่ม Start นะครับ)
- ปุ่ม Heat grip ที่ปรับความร้อนได้ 2 ระดับ (กดครั้งแรกจะเป็น 100%, กดอีกครั้งจะเป็น 50%, กดอีกครั้งจะปิดการใช้งาน)
- ปุ่ม Power mode ของ R1200GS ไล่ mode ตาม Step ได้ดังนี้
Dynamic = คันเร่งตอบสนองไวที่สุด, รู้สึกว่าลูกสูบจะชักถี่กว่าโหมด Road เล็กน้อย, ระบบ ABS และ Traction control ทำงานในระดับที่น้อยที่สุด, ช่วงล่างจะ Set เป็นระดับ Hard ทันทีเมื่อเข้า Mode นี้ เหมาะสำหรับขี่ในถนนที่สภาพสมบูรณ์ หรือในสนามแข่งที่สุด
Road = คันเร่งตอบสนองไวเกือบ 100%, ระบบ ABS และ Traction control ทำงานไวขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
Rain = คันเร่งจะตอบสนองช้ากว่า 2 โหมดแรก และแน่นอนว่า ABS กับ Traction control จะมีโอกาสทำงานได้ไวขึ้น
Enduro = คันเร่งจะตอบสนองช้ากว่า 2 โหมดแรก, ช่วงล่างจะ Set เป็น Soft ทันที เพราะระบบ ABS และ Traction control ที่ปรับมาให้เหมาะสำหรับลุยทางฝุ่น
โดยส่วนใหญ่ผมจะขี่แต่ Road กับ Dynamic เพราะยังต้องการการตอบสนองของคันเร่งที่แม่นยำแบบคันเร่งสายปกติอยู่
*ตอนที่ขี่รถอยู่ แค่กดปุ่มอย่างเดียวรถจะไม่เปลี่ยน Mode ให้นะครับ ต้องกระแทก Clutch 1 ที (ในตอนที่ปิดคันเร่ง และไม่ใช้เบรกอยู่) รถถึงจะยอมเปลี่ยน Mode ให้ครับ, ก็โปรดใช้ความระมัดระวังด้วย เพราะรถจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วิในการปรับระบบที่เกี่ยวข้องต่างๆให้ทำงานตาม Mode ที่เราเปลี่ยนครับ
ส่วนของประกับซ้ายนั้น ก็จะมี
- บนสุดจะเป็น Cruise control, ดันปุ่ม Off/On ไปด้านขวาเพื่อเปิดใช้, กดที่ปุ่ม RES/SET ไปข้างหน้าเพื่อให้ล๊อคความเร็ว, ตอนต้องการให้เลิกล๊อคความเร็ว จะกดเบรก กำ Clutch หรือดันปุ่ม Off/On มาต่ำแหน่งเดิมก็ได้ครับ
- ปุ่มข้างๆปุ่มไฟฉุกเฉินคือ ปุ่มกดให้ไฟหน้าเข้าสู่โหมดออโต้ครับ
- ปุ่มใหญ่ด้านซ้ายก็เป็นปุ่ม Set/ดู Trip และ info ของรถตามปกติ
- ปุ่มใหญ่ด้านขวาคือปุ่มเปิดปิด ABS และปุ่ม Set ค่าการทำงานของ ช่วงล่างครับ, ระดับของช่วงล่างมี 3 แบบคือ
Hard = ระยะยุบโช๊คจะน้อยที่สุด การยุบ-คลายของโช๊คจะหน่วง เหมาะตอนที่ต้องเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง,ขี่บนถนนที่สภาพสมบูรณ์ หรือขี่สนามครับ
Medium = ระยะยุบโช๊คจะมากกว่า Hard การยุบ-คลายของโช๊คจะมีให้รู้สึกบ้างแต่ไม่เยอะครับ เหมาะแก่การใช้ขับขี่ปกติ และให้ความสบายเล็กน้อย ไม่กระด้างแบบ Hard
Soft = ระยะยุบโช๊คเยอะที่สุด การยุบ-คลายของโช๊คทำงานอย่างชัดเจน เหมาะกับตอนขี่บนถนนที่สภาพไม่ดี หรือตอนที่รถติดเป็นอย่างมาก เพราะหย่อนเอาขาลงพื้นตอนจอดง่าย ขี่ผ่านทางรถไฟ หรือท่อระบายน้ำได้สบายๆ (ไม่ต้องยืนตอนขี่ผ่านยังได้เลยครับ) แต่ไม่เหมาะ หากต้องการพลิกรถเข้าออกโค้งไวๆ หรือต้องการการเร่งออกตัวที่รวดเร็ว เพราะโช๊คยุบมากเกิน (เข้าขั้นย้วยเลยทีเดียวครับ)
ส่วนใหญ่ผมจะใช้ Medium กับ Soft สลับกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพที่ถ้าหากถนนไม่โล่ง หรือเจอท่อระบายน้ำเยอะๆ ผมจะใช้ Soft แทบจะตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ค่าโช๊คของแต่ละระดับออกแบบมาให้ใช้งานตามสถานการณ์ รูปแบบการขับขี่ และสภาพถนนที่ต่างกัน ก็ควรจะเลือกใช้ค่าโช๊คที่เหมาะสมกับการขี่ ณ ช่วงเวลานั้นๆนะครับ
*กดปุ่ม และโช๊คปรับระดับทันที โช๊คจะปรับตัวเองประมาณ 2-3 วิหลังจากที่กดปุ่มไปแล้ว
ส่วนไอ้ตัววงๆที่ด้านซ้ายสุดของประกบซ้ายนั้นคือปุ่มไว้สำหรับควบคุมตัว Navigator ตรงรุ่นจากศูนย์นะครับ
ซึ่งน่าเสียดายที่มันใช้ทำอะไรอย่างอื่นกับรถไม่ได้เลย
แหม มีติดตัวที่ติดตั้ง Navigator มาให้ดูต่างหน้าด้วย
ส่วนด้านขวาล่างถัดไปจากที่ติดตั้ง Navigator ก็จะเป็นปุ่มหมุนเพื่อปรับระดับ Windscreen นะครับ
หน้าร้อนนี่แทบไม่ได้หมุน Windscreen ขึ้นอะ เพราะใช้เมื่อไหร่นี่ เหงื่อฉ่ำเต็มหน้าอก
และ Windscreen ค่อนข้างหลอกตาพอสมควรเมื่อมองผ่าน Windscreen
พูดถึงเรื่องปุ่มมาเยอะแล้ว ขอนำเสนอส่วนล่างของตัวรถกันบ้าง
R1200GS นั้นมาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 สูบนอนขนาด 1170cc
แรงม้ามาเต็มที่ 125 ตัวที่ 7,750 rpm (เป็นย่านที่เครื่องสะท้านมาก และจะสะท้านอย่างยิ่งเมื่อขี่เกิน 180 ไปแล้ว)
ส่วนแรงบิดมาเต็มที่ 125 นิวตั้นเมตรที่ 6,500 rpm (ถ้าไม่บิดหมดปลอก ก็ใช้กันไม่ถึงหรอกพูดเลย)
หนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ R1200GS นั้นมีแรงบิดที่มหาศาลนั้นคือช่องดักลมที่อยู่เหนือแฟริ่งข้าง และหม้อน้ำนั่นเอง
ส่วนไอเสียจะถูกไล่ออกสู่ท่อใบนี้ ซึ่งจะชอบสร้างเสียงปะทุให้ได้ยินอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะในตอนเปิดคันเร่งมาหนักๆแล้วต้อง Drop คันเร่งอย่างรวดเร็ว
Disc คู่ 305mm พร้อม Caliper จาก Brand ดัง เบรกหนึบ สั่งได้ดั่งใจ
ประกบคู่กับล้อหน้า 19 นิ้ว หน้ายาง 120mm
เหนือล้อหน้าขึ้นมา ก็จะพบกับหม้อน้ำ 1 คู่
พร้อมด้วยโช๊คคู่หน้า ขนาด 37mm ที่ไม่มีกลไล หรือสายไฟใดๆต่อไปที่ตัวโช๊คเลย (ผมก้มมองตั้งหลายรอบละ ว่ามันไม่มีสายไฟอะไรไปเชื่อมกับโช๊คหน้าเลย หากข้อมูลผมไม่ถูกด้วย รบกวนท่านใดก็ได้ ช่วยบอกหน่อยครับ ว่ายังไง)
ส่วนตรงกลางระหว่างหม้อน้ำกับโช๊คคู่หน้า ก็จะมีโช๊ตตัวที่ 3 ที่มีสายไฟเชื่อมต่อกับด้านล่างของโช๊คเพื่อให้ตัวโช๊คทำงานสื่อสารร่วมกับรถนั่นเอง
เหนือบังโคลนล้อหน้าก็ยังมีกันสะบัดติดตั้งอยู่ด้วยนะครับ
แต่คิดว่ากันสะบัดตัวนี้น่าจะว่างงานไปอีกนาน ตราบใดที่ Traction Control ยังเปิดใช้งานอยู่นั่นเอง (ถ้าหน้าล้อไม่ไปสะดุดอะไรเข้าน่ะนะครับ)
อีกหนึ่งสาเหตุที่เลือก R1200GS เลยคือ เพลาเนี้ยแหละครับ
มาพร้อมกับ Disc เดี่ยว 276mm และล้อ 17 นิ้ว หน้ายาง 170mm
ทำงานร่วมกับโช๊คเดี่ยวหลังควมคุมด้วยไฟฟ้าจาก Sachs นั่นเอง
ขอทิ้งท้าย Post นี้ด้วยหน้าตาของหน้าปัดรถรุ่นนี้ครับ
ขอไม่อธิบายอะไรเยอะเยาะนะครับ เพราะไม่อยากให้กระทู้นี้เป็นคู่มือแนะนำการใช้รถ
เดี๋ยวเรื่องการใช้งานจะแนะนำกันใน Post ถัดไปครับ
เมื่อย ขอพักก่อน : )