เกาหลีเหนือไม่ควรมี คิม คนต่อไป

รูปภาพนี้นำมาจาก http://www.atimes.com/article/memo-kim-north-korea-doesnt-need-another-kim/: (เรียงจากซ้ายไปขวา) คิม อิล-ซ็อง, คิม จ็อง-อิล, คิม จ็อง-อึน

ในเวลานี้ข่าวต่างประเทศที่มักสร้างกระแสได้ไม่เว้นวัน คือ ข่าวความวุ่นวายของการเมืองในสหรัฐอเมริกาภายใต้การบริหารประเทศของทรมป์ โดยเฉพาะ นับแต่แกก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกรา ที่ผ่านมา เพราะหลังจากนั้นแกก็ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับมาใช้บังคับภายในประเทศ รวมถึงการข่มขู่ชูคอว่าจะตอบโต้ประเทศนั้น องค์การนี้ถ้ายังไม่ยุติการกระทำใดๆ ที่เป็นการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจต่ออเมริกา ที่มันเรียกเสียงวิจารณ์ได้อื้ออึง ก็เพราะมันมักจะเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการกีดกันเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ ถึงแม้คำสั่งบางฉบับ จะถูกยับยั้งโดยศาลก็ตามที แต่มันก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีที่สุดโต่งอย่างมาก และสร้างความขัดแย้งได้มากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์เมกายุคใหม่

ส่วนตำแหน่งรองชนะเลิศด้านความถี่ของการเป็นข่าวในหน้าหนึ่ง ผมยกให้เกาหลีเหนือครับ เพราะหลังจากทรัมป์สาบานตนเข้ารับตำแหน่งไม่นากนัก ท่านผู้นำก็ร่วมฉลองการรับตำแหน่งใหม่ของทรัมป์กะเขาด้วย โดยการสั่งยิงขีปนาวุธโป้งป้าง ตูมตามไปตกในทะเลญี่ปุ่นหลายลูก หลังจากนั้น ก็ถูกประณามโดยนานาประเทศ แต่แกก็ไม่สนครับ แกก็ยังชอบประกาศสงครามกับปลาในทะเลเช่นเดิม ด้านสหรัฐก็ขู่ฟ่อๆ ว่าจะขึ้นบัญชีดำให้เกาหลีเหนือเป็นรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย ขนาดพี่จีนโดยท่าน สี ยังส่ายหัวรัวๆ ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือกะเขาด้วย

ฉะนั้น น่าสนใจนะครับว่าชะตากรรมของเกาหลีเหนือจะเป็นยังไงต่อไป รัฐเผด็จการแบบสืบทอดนี้จะอยู่ได้ตลอดไปหรือไม่ เมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรีต่างประเทศเมกาที่อยู่ในระหว่างการเยือนกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกก็ประกาศว่า “ไอไม่กลัวเกาหลีหรอก และการใช้กำลังทางทหารก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ไอกำลังพิจารณาด้วย” ไม่ค่อยได้ยินมาก่อนนะครับ คำพูดว่า “ใช้กำลังทางทหาร” ตรงๆ แบบนี้ต่อกรณีเกาหลีเหนือของอเมริกา แต่แกก็เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศละครับ มันไม่ค่อยตรงสายเท่าไหร่ จะเอาคำพูดของแกมาเป็นประเด็นมากมันก็ไม่ถูก

กระทู้ก่อนหน้าที่ผมตั้งไว้ครับ https://pantip.com/topic/35729406 / https://pantip.com/topic/36244427 สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ท่านใดสนใจก็เข้าไปอ่านได้

กระทู้นี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจครับ ถ้ามีจุดไหนที่ผมเข้าใจผิด จนทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลที่ผิดพลาดของผู้อ่านหรือไม่ตรงกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ ก็ช่วยแจ้งได้ครับ ผมจะแก้ไขทันที

คาบสมุทรเกาหลีเป็นดินแดนเจ๊กลากไปยุ่นลากมาครับ เคยตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ตั้งแต่ 109 ปี ก่อนคริสตกาล แต่บางช่วงก็ถูกปกครองโดยราชวงศ์เกาหลีเอง สับเปลี่ยนกันเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์ชิง ซึ่งถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนที่มีอิทธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลี ราชวงศ์นี้สิ้นสุดอำนาจในปี 1911 นับเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองจีนด้วย

เกาหลีหรือเดิมคือ แมนจูเรียได้รับอิสรภาพหลังจากญี่ปุ่นสามารถทำสงครามเอาชนะจีนได้ในปี 1895 ผลของสงครามทำให้เกิดสนธิสัญญาโมะโนะเซะกิ ซึ่งมีข้อหนึ่งระบุว่า จีนต้องยอมรับในอิสรภาพของแมนจูเรีย

หลังได้รับอิสรภาพมีชาติตะวันตกหลายชาติพยายามเข้าไปเกี่ยวดองหนองยุ่งกับแมนจูเรียครับ เพราะเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยถ่านหิน รวมถึงตั้งอยู่ในเขตน้ำอุ่น มีท่าเรือที่สามารถใช้งานได้ทั้งปี ซึ่งหนึ่งในประเทศที่ต้องการเข้าไปตักตวงผลประโยชน์ในแมนจูเรีย คือ รัสเซียที่ในห้วงช่วงเวลานั้นได้ส่งทหารเข้าไปในแมนจูเรียแล้ว แต่ญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนทัพออกจากแมนจูเรีย แรกเริ่มทั้งสองประเทศใช้วิธีเจรจากัน แต่เจรจากันไปมาอยู่หลายคำรบไม่คืบหน้า กอปรกับญี่ปุ่นประเมินแล้วว่ารัสเซียคงไม่ยอมออกไปจากแมนจูเรียง่ายๆ ญี่ปุ่นจึงเลือกใช้กำลังทางทหาร  รบกันอยู่ปีแปดเดือน ผลคือ ญี่ปุ่นชนะในปี 1905 ทำให้รัสเซียต้องยอมรับว่าเกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของญี่ปุ่น

หลังสงครามครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้สิทธิ์เช่าทางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ และผลประโยชน์อื่นๆ ทางเศรษฐกิจ  ต่อมาญี่ปุ่นมีความต้องการมากขึ้น โดยหวังที่จะเข้ายึดครองแมนจูเรียแบบเบ็ดเสร็จ  มีการวางแผนโดยกองทัพญี่ปุ่นเพื่อใส่ร้ายจีน ซึ่งแผนการดังกล่าว คือ การก่อวินาศกรรมรางรถไฟของญี่ปุ่นในแมนจูเรียทั้งนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการส่งทหารเข้ารุกรานแมนจูเรีย

ปี 1930 รางรถไฟที่กองทัพญี่ปุ่นยึดครองอยู่เกิดการระเบิดขึ้น หลังจากนั้น ญี่ปุ่นได้ส่งทหารรุกรานแมนจูเรีย เรียกสงครามนี้ว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ผลคือ ญี่ปุ่นชนะ และได้ยึดครองแมนจูเรียแบบเบ็ดเสร็จ มีการจัดตั้งรัฐบาลแมนจูกัวขึ้น แต่ไม่ได้รับการรับรองจากสันนิบาตชาติ หลังจากนั้น เกิดเหตุจลาจลขึ้นหลายครั้งในจีนเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น จนเป็นเหตุให้กองทัพญี่ปุ่นต้องเข้ารุกรานจีนอีกครั้งในปี 1937 ทั้งสองรบกันอยู่จนถึงปี 1945 สงครามนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นแพ้จึงต้องถอนทัพออกจากแมนจูกัว ซึ่งในขณะนั้นถูกญี่ปุ่นปกครองในฐานะดินแดนอาณานิคม หลัจากนั้นฝ่ายผู้ชนะได้บรรลุข้อตกลงว่าด้วยการแบ่งเกาหลีกัน โดยกำหนดให้พื้นที่ตลอดแนวเส้นขนานที่ 38 เป็นพรมแดนแบ่งสองเกาหลี และให้สองเกาหลีตกอยู่ในภาวะทรัสตีเป็นเวลา 5 ปี จากนั้นให้เป็นเอกราช สหภาพโซเวียตได้เกาหลีตอนเหนือ ส่วนสหรัฐอเมริกาได้เกาหลีตอนใต้ และให้สองเกาหลีมีระบอบการปกครองตามประเทศแม่

สาตาลินซึ่งปกครองโซเวียตอยู่ในเวลานั้น ได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับ คิม อิล-ซ็อง โดยผู้แนะนำ คือ ลาฟเรนตี เบเรีย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เขากำลังสรรหาบุคคลเพื่อมาปกครองเกาหลีตอนเหนืออยู่พอดี หลังจากตรวจสอบโปรไฟล์อยู่ไม่นาน เขาก็อนุมัติให้ คิม อิล-ซ็อง ปกครองเกาหลีเหนือภายใต้การกำกับดูแลของเขา จากนั้นกันยายน 1945 คิมก็เดินทางกลับเกาหลีเหนือเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด

เกาหลีเหนือฉายแววของผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์อย่างเห็นได้ชัด ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ลุกลามมาถึงเกาหลีตอนใต้ กอปรกับเกิดเหตุการณ์จลาจลในเกาหลีตอนใต้ โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย การจลาจลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสหรัฐอเมริกาต้องประกาศกฎอัยการศึก จากนั้นเดือนพฤศจิกายน 1948 สหรัฐอเมริกาก็ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นภายใต้การคุ้มครองของสหประชาชาติ จากนั้นสหประชาชาติก็ได้ให้ความเห็นชอบให้รัฐบาลโซลซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีอำนาจปกครองทั่วคาบสมุทรเกาหลี แต่สหภาพโซเวียตไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว ต่อมารัฐบาลโซลซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลี หลังจากนั้นสหภาพโซเวียตก็ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี และคิม ก็จัดตั้งกองทัพประชาชนเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

ค ศ 1948-1949 หลังจากสหรัฐอเมริกาจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีใต้และสหภาพโซเวียตจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีเหนือแล้ว ทั้งสองมหาอำนาจก็ถอนตัวออกไปจากคาบสมุทรเกาหลี

นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง  เล็งเห็นว่ากองกำลังทหารของฝ่ายเกาหลีใต้นั้นอ่อนแอแย่นัก เมื่อปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา เขาจึงแจ้งสตาลินว่าจะส่งทหารบุกเกาหลีใต้เพื่อรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ สตาลินเห็นด้วย เพราะเขาเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ถอนทหารออกไปหมดแล้วคงไม่กลับมาช่วยเกาหลีใต้ คิมได้แจ้งเรื่องนี้ต่อจีนเหมือนกันครับ แต่จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงยังลังเลที่จะให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือ เนื่องจาก เขามีความเชื่อว่า สหรัฐอเมริกาจะต้องกลับมาช่วยเกาหลีใต้อย่างแน่นอน

มีการลุกล้ำเส้นขนานที่ 38 อยู่เนืองๆ จนบานปลายเป็นสงครามในเดือนมิถุนายน 1950 เมื่อ คิม อิล-ซ็อง สั่งกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และสามารถยึดนครโซลไว้ได้ จากนั้น UNSC ได้ผ่านมติว่าด้วยการประณามการรุกรานของเกาหลีเหนือต่อเกาหลีใต้ และยังเห็นชอบให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังผสมในนามของสหประชาชาติเข้าต่อต้านการรุกรานของเกาหลีเหนือ ไทยเราก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งทหารไปช่วยเกาหลีใต้ด้วย ส่วนสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี แฮร์รี ทรูแมน ก็ได้อนุมัติให้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้เหมือนกัน สำหรับสาเหตุที่สหภาพโซเวียตไม่ใช้สิทธิ์ Veto มติ UNSC เป็นเพราะชั้นเชิงทางการทูตของเมกาล้วนๆ ครับ กล่าวคือ ในช่วงเวลานั้นมีการวิ่งเต้นทางการทูตของสหรัฐอย่างหนักเพื่อล็อบบี้สตาลิน วันลงมติ ทูตสหภาพโซเวียตประจำ UN คือ Yakov Malik ได้ร่วมรับประทานอาหารมื้อเที่ยงกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN และทูตสหรัฐอเมริกาประจำ UN เมื่อเจ้าหน้าที่ UN ถาม Malik ว่ายูจะเข้าร่วมโหวตมตินี้มั้ย Malik ก็ส่ายหัวรัวๆ ซึ่งผู้ที่ออกใบสั่งให้เขาทำแบบนั้นก็คงเป็นสตาลินแน่นอน ส่วนจีนตอนนั้นไม่มีสิทธิ์มีเสียงใน UNSC ครับ เพราะถูกคว่ำบาตรอยู่ เนื่องจากประธานเหมาเป็นพวกคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจจากเจียง ไค เช็ก ในปี 1949 ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ชาติตะวันตกให้การสนับสนุนอยู่

หลังจากกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรถูกส่งเข้าช่วยเกาหลีใต้ ก็สามารถเอาชนะกองทัพเกาหลีเหนือได้ และสามารถยึดโซลคืนได้ด้วย ทำให้กองทัพเกาหลีเหนือต้องล่าถอยกลับไปทางเหนือข้ามเส้นขนานที่ 38

สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังที่จะรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นประเทศเดียวภายใต้การปกครองของรัฐบาลโซล จึงตัดสินใจยกพลขึ้นเหนือข้ามเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม หมายมั่นจะยึดนครเปียงยางให้ได้ กองทัพประชาชนเกาหลีไม่สามารถต้านทานการรุกของสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติได้ ถูกตีจนแตกกระเจิง เปียงยางแตก ส่งผลให้ คิม อิล-ซ็อง ต้องหลบหนีจากเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐประชาชนจีน กองทัพสหรัฐอเมริกายกทัพตามมาหมายจะกำจัดคิมให้ได้ ไล่ตามกันมาจนถึงแม่น้ำยาลู  สาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของประธานเหมาเห็นว่ากองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรบุกข้ามเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงนำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยเกาหลีเหนือแบบที่กองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้ถูกตีกลับจนต้องล่าถอยลงมาอยู่ใต้เส้นขนานที่ 38 จากนั้น กองทัพทั้งสองฝ่ายเจรจากันจนสามารถบรรลุข้อตกลงสงบศึกได้ในเดือนกรกฎาคม 1953 จากข้อตกลงดังกล่าวทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำหนดให้มีเขตปลอดทหารความกว้างสี่กิโลเมตรตลอดแนวชายแดนของเกาหลีเหนือ-ใต้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่