>>> ผมว่าคนเรียนครูเขาไม่ได้กลัวคนเก่ง แต่เขาคิดว่าคนเรียนเก่งกำลังเอาเปรียบเขา

/:: ผมว่าครูเขาไม่ได้กลัวคนเก่งนะครับ ได้คนเก่งก็ดีครับ จะได้ช่วยพัฒนาประเทศ
แต่ครูเขาแค่คิดว่ากำลังโดยเอาเปรียบ เขาเรียน 4 ปี ฝึกสอน 1 ปี รวม 5 ปี
ใน 1 ปีที่คนเรียนครู  ตอนฝึกสอนไม่ได้ตังค์ซักบาท ทำงานทุกอย่าง เป็นทั้งธุรการ พัสดุ ภารโรง  ดูแลนักเรียน  ทำเกรดนักเรียน สอนนักเรียน    เขาเรียนครบ 5 ปี ถึงจะได้มีสิทธิ์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อไปสอบ

>>แต่นโยบายใหม่กลับรับคนที่ไม่ฝึกสอนเลย จบป.ตรี 4 ปี  ถ้าสอบได้ ก็ให้ไปอบรมทีหลังได้ หรือสอบเทียบเอา
นี่หละครับ จุดที่มันเอาเปรียบ คนที่เรียนครูโดยตรง   เพราะึคนเหล่านี้ ยังไม่เคยฝึกสอนจริง ทำงานโรงเรียนจริง

>> ตัวผมคนนึงนะครับ  เรียน ปริญญาตรีมา จบบริหารธุรกิจ สาขา การจัดการมา เรียน 4 ปีนี่ละครับ  พอเรียนจบมาแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่   ผมจึงได้ไปอบรมหลักสูตร ป.บัณฑิต ที่ราชภัฎ (ตอนนี้ ป.บัณฑิตเปิดให้ทุกคนที่จบปริญญาตรีทุกใบ มีสิทธิ์สมัครอบรมหลักสูตรครูได้) ผมใช้เวลา 1 ปีครึ่งจึงอบรมครบทั้ง 9 หลักสูตร   จากนั้นจึงมีสิทธิ์ขอใบประกอบวีชาชีพครูได้  รวมแล้วผมก็ใช้เวลา 5 ปีกว่าๆเหมือนกันจึงมีสิทธิ์ตรงนี้ ผมยังคิดๆ ในใจเหมือนกันเราทำแบบนี้ เหมือนเราเอาเปรียบคนเรียนครูทางอ้อมเลย   แต่ในเมื่อมีโอกาส ผมลองดูก็ไม่เสียหาย เผื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของเรา และเผื่อเราได้เป็นครูที่ดีได้

แต่นโยบายที่ กระทรวงศึกษาธิการออกมาล่าสุด  ให้คน จบปริญญาตรีสาขาไหนก็ได้ ที่วุฒิตรงกับวิชาเอกนั้นๆ  สามารถสมัครได้เลยโดยไม่ใช้ใบประกอบวิชาชีพ  แถมนโยบายกระทรวงบอกว่า ถ้าคนเหล่านี้สอบได้ กระทรวงจะประสานคุรุสภา ขอหลักฐานให้คนเหล่านี้มีใบประกอบวิชาชีพโดยเร็ว  มันไม่แฟร์เลยนะครับตรงนี้ ....

>>ถ้างั้นเอางี้ไหมครับ  ไหนๆก็แก้กฎหมายไปละ ช่วงที่ยังไม่มีทีใบประกอบให้คนที่สอบได้ แล้วไม่มีใบประกอบวีชาชีพ ให้ทำงานโดยที่ไม่รับเงินเดือน หรือไม่ให้บรรจุ ให้เป็นลูกจ้างไปก่อน ให้เขาทำจนกว่าพวกเขาจะมีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้น ถึงจะได้รับเงินหรือบรรจุ จะได้วินๆ กันไป...<>>>
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่