สวัสดีครับ วันนี้เนื้อหาดาราศาสตร์ขอเสนอเรื่อง 5 อันดับของ Exoplanet ที่ update สุดในปี 2017 ครับ
Exoplanet 5 ดวงนี้ จัดอันดับโดย The Planetary Habitability Laboratory (PHL) แห่งหอสังเกตการณ์
ดาราศาสตร์ Arecibo Observatory (หอดูดาวอเรซิโบ) แน่นอนว่า 1 ใน 5 อันดับนี้จะต้องมีสมาชิก
แห่งครอบครัวดาวฤกษ์ Trappist-1 รวมอยู่ด้วยแน่นอนครับ ผมจะขอเสนอเรียงตามลำดับความไกลจากโลก .... เชิญอ่านครับ
1. Proxima Centauri b ESI = 0.87
Proxima b นี้ เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ชนิด Red dwarf (แคระแดง)
ที่ชื่อว่า Proxima centauri ห่างจากโลกเพียง 4.2 ปีแสง เท่านั้น ซึ่งเป็นระบบสุริยะที่ใกล้
โลกที่สุดแล้วครับ Proxima b มีมวลประมาณ 1.3 เท่าของโลก โคจรรอบดาวแม่ตัวเองในระยะ
0.05 AU หรือ 7.5 ล้าน กิโลเมตร โดยโคจรครบ 1 รอบทุก ๆ 11.2 วันของโลก การที่วงโคจร
ใกล้แบบนี้เพราะว่าดาวแม่ของมันเป็นดาวแคระแดง มีมวลน้อย ดาวเคราะห์ที่เกิดมาจึงโคจรใกล้มากนั่นเองครับ
ดาวดวงนี้ตรวจพบและประกาศเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2016 โดย European Southern Observatory
ตรวจพบด้วยวิธี Radial velocity ครับ และเนื่องจากมันโคจรอยู่ในเขต Habitable zone จึงคาดว่าอุณหภูมิ
จะอยู่ที่ประมาณ -40 องศา C ครับ
ภาพในจินตนาการของ Proxima b

ขนาดของ Proxima b เทียบกับโลก

ภาพบรรยากาศบนดาวเคราะห์ Proxima b

จากภาพข้างบน จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ตกบนดาวดวงนี้จะมี 3 ดวง เพราะดาวฤกษ์ Proxima centauri นี้
อยู่ในระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง คือ Alpha Centauri a , b และ Proxima centauri ตามภาพครับ
2. Wolf 1061 c ESI = 0.83
Wolf 1061 c เป็นดาวเคราะห์ 1 ในจำนวน 3 ดวงที่โคจรรอบดาวแคระแดง red dwarf Wolf 1061
ห่างจากโลก 13.8 ปีแสง ดาวดวงนี้โคจรอยู่ในเขต habitable zone ในระยะประมาณ 12 ล้าน กิโลเมตรจากดาวแม่
โคจรครบ 1 รอบใน 17.9 วัน และมีขนาดใหญ่กว่าโลกครับ จะเรียกว่า Super earth โดยมันมีขนาดใหญ่
ประมาณ 1.5 เท่าของโลก
ดาวดวงนี้ถูกประกาศการค้นพบเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง European Southern Observatory
ประเทศชิลี (ขององค์กรอวกาศยุโรป : ESO) ได้ตรวจสอบดาวฤกษ์ Wolf 1061 มานานนับ 10 ปีแล้วครับ
จนในปี 2015 ก็ได้ข้อมูลต่าง ๆ จนครบถ้วนจึงประกาศการค้นพบนี้
ภาพในจินตนาการของ Wolf 1061 c

ภาพวงโคจรของ wolf1061 c ใน habitable zone
3. Gliese 667 Cc ESI = 0.84
Gliese 667 Cc เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดง Gliese 667 C ห่างจากโลก 23.62 ปีแสง
ดาวดวงนี้ตรวจพบด้วยวิธี Radail velocity ตัวดาวมีขนาดใหญ่เรียกว่า Super earth โดยมีขนาดประมาณ
1.5 เท่าของโลก มีอุณหภูมิพื้นผิว 4 - 5 องศา C โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 28.2วัน ในระยะห่าง 0.125 AU
หรือ 18.7 ล้าน กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นดาวดวงที่รับแสงแและพลังงานจากดาวแม่ได้ใกล้เคียงโลกที่สุดครับ
Gliese 667 Cc ถูกประกาศการค้นพบโดย European Southern Observatory ในวันที่ 21 พฤจิกายน 2011
ภาพแถบการโคจรของ Gliese 667 Cc

ภาพในจินตนาการของพื้นผิวดาว Gliese 667 Cc

จากภาพข้างบน จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ตกบนดาวดวงนี้จะมี 3 ดวง เพราะดาวฤกษ์ Gliese 667 c นี้
อยู่ในระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง คือ Gliese 667 a , b และ c ตามภาพครับ
4. Trappist-1 e ESI = 0.86
Trappist-1 e เป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์
TRAPPIST-1 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภท Ultra-cool dwarf
อายุประมาณ 1 พันล้านปี ดาวฤกษ์ประเภท Ultra-cool dwarf คือ ดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำมาก อุณหภูมิพื้นผิว
สูงไม่เกิน 2,500 องศา C เป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำเกินกว่าจะเป็นดาวฤกษ์ทั่วไปครับ ระบบดาวดวงนี้ห่างจากโลก
ประมาณ 40 ปีแสง อยู่ในทิศทางราศีกุมภ์ (Aquarius) ชื่อ TRAPPIST-1 นี้ มีที่มาจากอุปกรณ์ที่ใช้ค้นพบเธอครับ
คือเป็นชื่อของสถานีกล้องโทรทรรศน์แบบ remote ที่ชื่อว่า TRAPPIST ย่อมาจาก ......
Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope อยู่ที่ Chile .... จึงตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า TRAPPIST-1
ภาพของดาวฤกษ์ Ultra-cool dwarf "Trappist-1" (ขนาดจริงเทียบกับดวงอาทิตย์)

ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงนี้ จะมีอยู่ 3 ดวงคือ Trappist-1 e , f และ g ที่อยู่ใน habitable zone
Trappist-1 e มีขนาดประมาณเท่าโลกพอดีครับ มีมวล = 0.62 ของโลก มีอุณหภูมิพื้นผิงประมาณ -20 องศา C
โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 6.1 วัน และมีระยะห่างจากดาวแม่เพียง 3.14 ล้าน กิโลเมตร
ภาพดาว Trappist-1 e (ภาพในจินตนาการ)
5. Kepler-442b ESI = 0.84
Kepler-442b เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ Kepler-442 ห่างจากโลก 1,120 ปีแสง
ดาวดวงนี้ค้นพบโดยโครงการ kepler spacecratf ด้วยวิธี Transit ประกาศการค้นพบ
อย่างเป็นทางการเมื่อ 6 มกราคม 2015
Kepler-442b เป็นดาวเคราะห์ประเภท Super earth มีขนาดประมาณ 1.43 เท่าของโลก มีมวลประมาณ
2.34 เท่าของโลก อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ในช่วง ติดลบ 30 - 40 องศา C โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 112.3 วัน
ในระยะห่างประมาณ 70 ล้าน กิโลเมตร
ขนาดของ Kepler-442b เทียบกับโลก
จากข้อมูล Exoplanet ทั้งหมดที่เสนอมา จะมีคำย่ออันหนึ่ง คือ
ESI ครับ
ESI ย่อมาจาก Earth Similarity Index หรือชื่อไทยคือ "ดัชนีความคล้ายคลึงกับโลก"
ค่า ESI นี้จะพิจารณาจาก ขนาด - ความหนาแน่น - ความโน้มถ่วง - อุณหภูมิพื้นผิว
ว่าค่า parameter เหล่านั้นใกล้เคียงโลกเพียงใด ค่าของโลกคือ 1.00 ดาวเคราะห์ที่มีค่า ESI
ใกล้เคียง 1.00 มากที่สุด ก็คือมีสภาพที่ดีสุดในการอยู่อาศัยครับ
และจากข้อมูล Exoplanet ทั้ง 5 ดวงที่เสนอมา ท่านจะเห็นว่าทุกดวงจะโคจรรอบดาวแม่ในระยะใกล้มากครับ
เป็นเพราะว่าดาวฤกษ์แม่ (Host star) เหล่านั้นเป็นดาวแคระแดงที่มีมวลต่ำ แรงโน้มถ่วงน้อย เมื่อกำเนิด
ระบบสุริยะจึงมีแผ่นจานมวลสารทีอยู่ใกล้กับตัวเอง ทำให้กำเนิดเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใกล้มากครับ
ดังนั้น ..... ทุกดวงที่กล่าวมา 5 ตัวอย่างข้างบนนี้ จึงมีสภาพ Tidally Lock คือหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวแม่ตลอดเวลา
เหมือนดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก ดังนั้นทุกดวงจะมีสภาพที่ด้านหนึ่งสว่างตลอดกาล และอีกด้านมืด-เย็น
ตลอดกาลครับ ดังนั้น หากจะต้องไปอยู่บนดาวดวงนี้ ก็จะต้องอยู่ในพื้นที่ ที่เรียกว่า Terminator line มันคือรอยต่อ
ระหว่างกลางวัน-กลางคืน ซึ่งที่จุดนั้นจะมีอุณหภูมิที่พอดี ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไปครับ
สรุปแล้ว การอาศัยบนดาวแบบนี้ จะไม่มี Sunset Sunrise จะมีแต่แสงสว่างและอุณหภูมิคงที่ตลอดครับ
ภาพของ Terminator line
สวัสดีครับ

ข้อมูลทั้งหมด แปลมาจาก
http://phl.upr.edu/projects/habitable-exoplanets-catalog
และ หลายหน้าของ Wikipedia ครับ
ติดตามเกร็ดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และ ดาราศาสตร์จากผมได้ที่
Website :
http://navy007.net/heroproject/
Facebook :
https://www.facebook.com/getgred
อันดับ TOP 5 ของ Exoplanet ที่มีการ confirm แล้วจาก Planetary Habitability Laboratory
Exoplanet 5 ดวงนี้ จัดอันดับโดย The Planetary Habitability Laboratory (PHL) แห่งหอสังเกตการณ์
ดาราศาสตร์ Arecibo Observatory (หอดูดาวอเรซิโบ) แน่นอนว่า 1 ใน 5 อันดับนี้จะต้องมีสมาชิก
แห่งครอบครัวดาวฤกษ์ Trappist-1 รวมอยู่ด้วยแน่นอนครับ ผมจะขอเสนอเรียงตามลำดับความไกลจากโลก .... เชิญอ่านครับ
1. Proxima Centauri b ESI = 0.87
Proxima b นี้ เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ชนิด Red dwarf (แคระแดง)
ที่ชื่อว่า Proxima centauri ห่างจากโลกเพียง 4.2 ปีแสง เท่านั้น ซึ่งเป็นระบบสุริยะที่ใกล้
โลกที่สุดแล้วครับ Proxima b มีมวลประมาณ 1.3 เท่าของโลก โคจรรอบดาวแม่ตัวเองในระยะ
0.05 AU หรือ 7.5 ล้าน กิโลเมตร โดยโคจรครบ 1 รอบทุก ๆ 11.2 วันของโลก การที่วงโคจร
ใกล้แบบนี้เพราะว่าดาวแม่ของมันเป็นดาวแคระแดง มีมวลน้อย ดาวเคราะห์ที่เกิดมาจึงโคจรใกล้มากนั่นเองครับ
ดาวดวงนี้ตรวจพบและประกาศเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2016 โดย European Southern Observatory
ตรวจพบด้วยวิธี Radial velocity ครับ และเนื่องจากมันโคจรอยู่ในเขต Habitable zone จึงคาดว่าอุณหภูมิ
จะอยู่ที่ประมาณ -40 องศา C ครับ
ภาพในจินตนาการของ Proxima b
ขนาดของ Proxima b เทียบกับโลก
ภาพบรรยากาศบนดาวเคราะห์ Proxima b
จากภาพข้างบน จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ตกบนดาวดวงนี้จะมี 3 ดวง เพราะดาวฤกษ์ Proxima centauri นี้
อยู่ในระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง คือ Alpha Centauri a , b และ Proxima centauri ตามภาพครับ
2. Wolf 1061 c ESI = 0.83
Wolf 1061 c เป็นดาวเคราะห์ 1 ในจำนวน 3 ดวงที่โคจรรอบดาวแคระแดง red dwarf Wolf 1061
ห่างจากโลก 13.8 ปีแสง ดาวดวงนี้โคจรอยู่ในเขต habitable zone ในระยะประมาณ 12 ล้าน กิโลเมตรจากดาวแม่
โคจรครบ 1 รอบใน 17.9 วัน และมีขนาดใหญ่กว่าโลกครับ จะเรียกว่า Super earth โดยมันมีขนาดใหญ่
ประมาณ 1.5 เท่าของโลก
ดาวดวงนี้ถูกประกาศการค้นพบเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง European Southern Observatory
ประเทศชิลี (ขององค์กรอวกาศยุโรป : ESO) ได้ตรวจสอบดาวฤกษ์ Wolf 1061 มานานนับ 10 ปีแล้วครับ
จนในปี 2015 ก็ได้ข้อมูลต่าง ๆ จนครบถ้วนจึงประกาศการค้นพบนี้
ภาพในจินตนาการของ Wolf 1061 c
ภาพวงโคจรของ wolf1061 c ใน habitable zone
3. Gliese 667 Cc ESI = 0.84
Gliese 667 Cc เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดง Gliese 667 C ห่างจากโลก 23.62 ปีแสง
ดาวดวงนี้ตรวจพบด้วยวิธี Radail velocity ตัวดาวมีขนาดใหญ่เรียกว่า Super earth โดยมีขนาดประมาณ
1.5 เท่าของโลก มีอุณหภูมิพื้นผิว 4 - 5 องศา C โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 28.2วัน ในระยะห่าง 0.125 AU
หรือ 18.7 ล้าน กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นดาวดวงที่รับแสงแและพลังงานจากดาวแม่ได้ใกล้เคียงโลกที่สุดครับ
Gliese 667 Cc ถูกประกาศการค้นพบโดย European Southern Observatory ในวันที่ 21 พฤจิกายน 2011
ภาพแถบการโคจรของ Gliese 667 Cc
ภาพในจินตนาการของพื้นผิวดาว Gliese 667 Cc
จากภาพข้างบน จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ตกบนดาวดวงนี้จะมี 3 ดวง เพราะดาวฤกษ์ Gliese 667 c นี้
อยู่ในระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง คือ Gliese 667 a , b และ c ตามภาพครับ
4. Trappist-1 e ESI = 0.86
Trappist-1 e เป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ TRAPPIST-1 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภท Ultra-cool dwarf
อายุประมาณ 1 พันล้านปี ดาวฤกษ์ประเภท Ultra-cool dwarf คือ ดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำมาก อุณหภูมิพื้นผิว
สูงไม่เกิน 2,500 องศา C เป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำเกินกว่าจะเป็นดาวฤกษ์ทั่วไปครับ ระบบดาวดวงนี้ห่างจากโลก
ประมาณ 40 ปีแสง อยู่ในทิศทางราศีกุมภ์ (Aquarius) ชื่อ TRAPPIST-1 นี้ มีที่มาจากอุปกรณ์ที่ใช้ค้นพบเธอครับ
คือเป็นชื่อของสถานีกล้องโทรทรรศน์แบบ remote ที่ชื่อว่า TRAPPIST ย่อมาจาก ......
Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope อยู่ที่ Chile .... จึงตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า TRAPPIST-1
ภาพของดาวฤกษ์ Ultra-cool dwarf "Trappist-1" (ขนาดจริงเทียบกับดวงอาทิตย์)
ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงนี้ จะมีอยู่ 3 ดวงคือ Trappist-1 e , f และ g ที่อยู่ใน habitable zone
Trappist-1 e มีขนาดประมาณเท่าโลกพอดีครับ มีมวล = 0.62 ของโลก มีอุณหภูมิพื้นผิงประมาณ -20 องศา C
โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 6.1 วัน และมีระยะห่างจากดาวแม่เพียง 3.14 ล้าน กิโลเมตร
ภาพดาว Trappist-1 e (ภาพในจินตนาการ)
5. Kepler-442b ESI = 0.84
Kepler-442b เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ Kepler-442 ห่างจากโลก 1,120 ปีแสง
ดาวดวงนี้ค้นพบโดยโครงการ kepler spacecratf ด้วยวิธี Transit ประกาศการค้นพบ
อย่างเป็นทางการเมื่อ 6 มกราคม 2015
Kepler-442b เป็นดาวเคราะห์ประเภท Super earth มีขนาดประมาณ 1.43 เท่าของโลก มีมวลประมาณ
2.34 เท่าของโลก อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ในช่วง ติดลบ 30 - 40 องศา C โคจรรอบดาวแม่ทุก ๆ 112.3 วัน
ในระยะห่างประมาณ 70 ล้าน กิโลเมตร
ขนาดของ Kepler-442b เทียบกับโลก
จากข้อมูล Exoplanet ทั้งหมดที่เสนอมา จะมีคำย่ออันหนึ่ง คือ ESI ครับ
ESI ย่อมาจาก Earth Similarity Index หรือชื่อไทยคือ "ดัชนีความคล้ายคลึงกับโลก"
ค่า ESI นี้จะพิจารณาจาก ขนาด - ความหนาแน่น - ความโน้มถ่วง - อุณหภูมิพื้นผิว
ว่าค่า parameter เหล่านั้นใกล้เคียงโลกเพียงใด ค่าของโลกคือ 1.00 ดาวเคราะห์ที่มีค่า ESI
ใกล้เคียง 1.00 มากที่สุด ก็คือมีสภาพที่ดีสุดในการอยู่อาศัยครับ
และจากข้อมูล Exoplanet ทั้ง 5 ดวงที่เสนอมา ท่านจะเห็นว่าทุกดวงจะโคจรรอบดาวแม่ในระยะใกล้มากครับ
เป็นเพราะว่าดาวฤกษ์แม่ (Host star) เหล่านั้นเป็นดาวแคระแดงที่มีมวลต่ำ แรงโน้มถ่วงน้อย เมื่อกำเนิด
ระบบสุริยะจึงมีแผ่นจานมวลสารทีอยู่ใกล้กับตัวเอง ทำให้กำเนิดเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใกล้มากครับ
ดังนั้น ..... ทุกดวงที่กล่าวมา 5 ตัวอย่างข้างบนนี้ จึงมีสภาพ Tidally Lock คือหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวแม่ตลอดเวลา
เหมือนดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลก ดังนั้นทุกดวงจะมีสภาพที่ด้านหนึ่งสว่างตลอดกาล และอีกด้านมืด-เย็น
ตลอดกาลครับ ดังนั้น หากจะต้องไปอยู่บนดาวดวงนี้ ก็จะต้องอยู่ในพื้นที่ ที่เรียกว่า Terminator line มันคือรอยต่อ
ระหว่างกลางวัน-กลางคืน ซึ่งที่จุดนั้นจะมีอุณหภูมิที่พอดี ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไปครับ
สรุปแล้ว การอาศัยบนดาวแบบนี้ จะไม่มี Sunset Sunrise จะมีแต่แสงสว่างและอุณหภูมิคงที่ตลอดครับ
ภาพของ Terminator line
สวัสดีครับ
ข้อมูลทั้งหมด แปลมาจาก http://phl.upr.edu/projects/habitable-exoplanets-catalog
และ หลายหน้าของ Wikipedia ครับ
ติดตามเกร็ดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และ ดาราศาสตร์จากผมได้ที่
Website : http://navy007.net/heroproject/
Facebook : https://www.facebook.com/getgred