นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ นายช่างประจำศิลปากร ซึ่งเป็นช่างหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อมงคลเทพมุณีหรือหลวงพ่อสด ที่วัดพระธรรมกาย โฆษณาชวนเชื่อว่าสร้างจากทองคำแท้หนักถึง 1 ตัน
ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับการติดต่อจากวัดเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา โดยพระที่ชื่อหลวงพี่หมู กับศิษย์เก่าของวิทยาลัยช่างศิลป์รายหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับตนมาขอคำแนะนำเรื่องเทคนิคการหล่อ แจ้งว่าเจ้าอาวาสต้องการหล่อรูปเหมือนทองคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ตนจึงแย้งว่าการหล่อรูปเหมือนทองคำขนาดใหญ่นั้นเป็นการสิ้นเปลือง เพราะทองคำมีราคาแพงและใช้จำนวนมาก หลวงพี่หมูกลับตอบว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน ทางวัดขอเพียงความช่วยเหลือและคำแนะนำเท่านั้น ส่วนเรื่องทองคำที่หามานั้นทางวัดจะจัดการเอง ตนจึงตอบตกลงโดยขอหล่อรูปเหมือนจากตะกั่วเพื่อเป็นการทดลองก่อน
“หลังจากตกลงกันแล้ว 2 สัปดาห์ต่อมา
ทางวัดเชิญผมและทีมงาน ซึ่งมีลูกน้องผมไปด้วยกัน 2 คน ไปตัวเปล่า เพราะเห็นว่าทองคำจำนวนมากจึงไม่เอาของส่วนตัวติดไปเลย เมื่อไปถึงวัดมีช่างของวัดหลายคนมาช่วยกันโดยช่างบางรายเป็นพระ และผู้ปฏิบัติธรรมที่มีความรู้ทั้งทางจิตรกรรม ช่างศิลป์ และวิศวกรรมมาควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
ครั้งแรกผมหล่อด้วยตะกั่วหนัก 400 กิโลกรัม (ก.ก.) เมื่อหล่อรูปเหมือนตะกั่วเสร็จแล้วก็กลับมาอีกครั้งเพื่อหล่อพระทองคำ โดยผมกำหนดใช้ทองคำประมาณ 400 ก.ก. และทางวัดบอกว่ามีทองคำ 99.95% จำนวน 600 ก.ก. เตรียมไว้
ทุกขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่ของวัดดูแลอย่างรัดกุม และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคุมเข้มตลอดเวลา” นายบุญส่งกล่าว
นายบุญส่งกล่าวต่อว่า หลังจากตนเบิกทองคำมาแล้วใช้วิธีหลอมทองจำนวน 10 เบ้าหลอม แต่ละเบ้าหลอมมีทองจำนวน 60 ก.ก. ซึ่งใช้ทองไปเพียง 7 เบ้า หรือประมาณ 420 ก.ก. ก็เต็มองค์
ส่วนทองที่เหลืออีก 3 เบ้า ทางวัดตอบว่าจะนำไปหล่อพระพุทธรูปในโอกาสต่อไป
หลังจากเสร็จพิธีแททองหล่อพระในวันดังกล่าวตนไม่เคยไปที่วัดนี้อีกเลย และไม่ทราบมาก่อนว่าทางวัดประชาสัมพันธ์ว่าพระองค์ดังกล่าวมีน้ำหนักถึง 1 ตัน
ครั้งแรกรู้สึกแปลกใจเพราะเท่าที่สอบถามญาติโยมที่ไปทำบุญ หลายรายดูจะไม่ได้มีฐานะร่ำรวยมากมาย แต่สามารถบริจาคได้ถึงคนละ 1-2 ก.ก.
“ผมไม่อยากโกหก เพราะผมไม่มีลับลมคมในและผลประโยชน์ใดๆกับวัด เมื่อสื่อมวลชต้องการข้อเท็จจริงผมก็ต้องเปิดเผย
เนื่องจากการหล่อพระหลวงพ่อทองคำขนาดใหญ่นี้ ผมต้องบันทึกลงจดหมายเหตุของช่างว่าสร้างเมื่อใด ขั้นตอนอย่างไร จะโกหกว่ามีน้ำนหักทองคำ 1 ตันจริงไม่ได้ เพราะรูปหล่อนี้มีลักษณะที่กลวง หนาประมาณ 3.0 – 4.0 มิลลิเมตรเท่านั้น ไม่ใช่องค์เต็ม หากเทให้เต็มองค์ต้องใช้ทองคำหนักถึง 3 ตัน ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่จำเป็น” นายบุญส่งกล่าว
https://thaidhammakaya.wordpress.com/2015/03/06/gold/
ช่างหล่อแฉ ‘หลวงพ่อสดทองคำ 1 ตัน’ ของจริงหนักแค่ 420 ก.ก. หวั่นกลัวผิดศีล 5 จึงยอมเปิดความจริง ไม่ต้องร่วมขบวนโกหก
ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับการติดต่อจากวัดเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา โดยพระที่ชื่อหลวงพี่หมู กับศิษย์เก่าของวิทยาลัยช่างศิลป์รายหนึ่งซึ่งคุ้นเคยกับตนมาขอคำแนะนำเรื่องเทคนิคการหล่อ แจ้งว่าเจ้าอาวาสต้องการหล่อรูปเหมือนทองคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ตนจึงแย้งว่าการหล่อรูปเหมือนทองคำขนาดใหญ่นั้นเป็นการสิ้นเปลือง เพราะทองคำมีราคาแพงและใช้จำนวนมาก หลวงพี่หมูกลับตอบว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน ทางวัดขอเพียงความช่วยเหลือและคำแนะนำเท่านั้น ส่วนเรื่องทองคำที่หามานั้นทางวัดจะจัดการเอง ตนจึงตอบตกลงโดยขอหล่อรูปเหมือนจากตะกั่วเพื่อเป็นการทดลองก่อน
“หลังจากตกลงกันแล้ว 2 สัปดาห์ต่อมา
ทางวัดเชิญผมและทีมงาน ซึ่งมีลูกน้องผมไปด้วยกัน 2 คน ไปตัวเปล่า เพราะเห็นว่าทองคำจำนวนมากจึงไม่เอาของส่วนตัวติดไปเลย เมื่อไปถึงวัดมีช่างของวัดหลายคนมาช่วยกันโดยช่างบางรายเป็นพระ และผู้ปฏิบัติธรรมที่มีความรู้ทั้งทางจิตรกรรม ช่างศิลป์ และวิศวกรรมมาควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
ครั้งแรกผมหล่อด้วยตะกั่วหนัก 400 กิโลกรัม (ก.ก.) เมื่อหล่อรูปเหมือนตะกั่วเสร็จแล้วก็กลับมาอีกครั้งเพื่อหล่อพระทองคำ โดยผมกำหนดใช้ทองคำประมาณ 400 ก.ก. และทางวัดบอกว่ามีทองคำ 99.95% จำนวน 600 ก.ก. เตรียมไว้
ทุกขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่ของวัดดูแลอย่างรัดกุม และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคุมเข้มตลอดเวลา” นายบุญส่งกล่าว
นายบุญส่งกล่าวต่อว่า หลังจากตนเบิกทองคำมาแล้วใช้วิธีหลอมทองจำนวน 10 เบ้าหลอม แต่ละเบ้าหลอมมีทองจำนวน 60 ก.ก. ซึ่งใช้ทองไปเพียง 7 เบ้า หรือประมาณ 420 ก.ก. ก็เต็มองค์
ส่วนทองที่เหลืออีก 3 เบ้า ทางวัดตอบว่าจะนำไปหล่อพระพุทธรูปในโอกาสต่อไป
หลังจากเสร็จพิธีแททองหล่อพระในวันดังกล่าวตนไม่เคยไปที่วัดนี้อีกเลย และไม่ทราบมาก่อนว่าทางวัดประชาสัมพันธ์ว่าพระองค์ดังกล่าวมีน้ำหนักถึง 1 ตัน
ครั้งแรกรู้สึกแปลกใจเพราะเท่าที่สอบถามญาติโยมที่ไปทำบุญ หลายรายดูจะไม่ได้มีฐานะร่ำรวยมากมาย แต่สามารถบริจาคได้ถึงคนละ 1-2 ก.ก.
“ผมไม่อยากโกหก เพราะผมไม่มีลับลมคมในและผลประโยชน์ใดๆกับวัด เมื่อสื่อมวลชต้องการข้อเท็จจริงผมก็ต้องเปิดเผย
เนื่องจากการหล่อพระหลวงพ่อทองคำขนาดใหญ่นี้ ผมต้องบันทึกลงจดหมายเหตุของช่างว่าสร้างเมื่อใด ขั้นตอนอย่างไร จะโกหกว่ามีน้ำนหักทองคำ 1 ตันจริงไม่ได้ เพราะรูปหล่อนี้มีลักษณะที่กลวง หนาประมาณ 3.0 – 4.0 มิลลิเมตรเท่านั้น ไม่ใช่องค์เต็ม หากเทให้เต็มองค์ต้องใช้ทองคำหนักถึง 3 ตัน ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่จำเป็น” นายบุญส่งกล่าว
https://thaidhammakaya.wordpress.com/2015/03/06/gold/