จากความคิดเห็นของคุณ
สมาชิกหมายเลข 3613662/ ความคิดเห็นที่ 6
ถามว่าต่างกับภูทับเบิกตรงไหนครับ??
เมื่อเขาห้ามขายดันขาย เขาก็ยึดคืนแค่นั้นเอง
ผมเพิ่งได้อ่านความคิดเห็นนั้นเมื่อวาน แต่ติดที่กำลังเดินทาง และไม่สะดวกโพสด้วยมือถือ
จึงขอโอกาส ตั้งกระทู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในข้อความข้างต้น ของคุณสมาชิกหมายเลข 3613662 นะครับ
เรื่องภูทับเบิกนั้น มีสถานะเป็นนิคม ตามที่ทราบกัน ส่วนข้อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับนิคมเป็นอย่างไร รบกวนหาอ่านตามสะดวกครับ
เรื่องเขายายเที่ยง
ตามความเห็นของผม ผมถือว่าเป็นความ"บกพร่อง"ของอัยการ ที่สั่งไม่ฟ้อง "เพราะขาดเจตนา"
ที่ว่าขาดเจตนา อัยการก็ไม่บอกว่าเจตนาอะไร นอกจาก"ขาดเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา"
แค่นี้ สั้นๆ แต่ไม่สุดๆ
เรื่องแรก ในการตีความข้อกฎหมายว่า "ขาดเจตนา" นั้น สมควรที่อัยการจะให้อำนาจศาลท่านใช้ดุลพินิจ
เพราะคำว่าขาดเจตนาในความผิดทางอาญานั้น เป็นการพิจารณาตีความโดยกฎหมาย ซึ่ง "ไม่ใช่หน้าที่ของอัยการ"
เรื่องที่สอง แม้ที่ดินแปลงปัญหาจะถูกครอบครองโดยถูกกฎหมายก็ตาม
แต่กฎเกณฑ์ในการครอบครองระบุไว้ชัดเจน "ให้ครอบครอง แต่ไม่ให้สิทธิ์"
"เมื่อนายเบ้าไม่ยึดถือทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทเพื่อตนต่อไป
นายเบ้าจึงไม่มีสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367"
นายนพดลนั้นก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
เพราะสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองระหว่างนายเบ้าและนายนพดลตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
เนื่องจาก มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
พล.อ.สุรยุทธ ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายเบ้า จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองตามกฎเกณฑ์เช่นกัน
เรื่องที่สาม พล.อ.สุรยุทธ ไม่รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จริงหรือ?
เวลาเราจะซื้ออสังหาริมทรัพย์สักที เราคงต้องเช็คแล้วเช็คอีก ตรวจสอบประวัติผู้ขาย และประวัติที่ดินหรือบ้านช่องที่เราจะซื้อนั้นอย่างดี
เพื่อไม่ให้มีปัญหาว่าไปซื้อที่ ที่จะก่อปัญหาแก่เราในอนาคต
เช่น เป็นที่ดินติดจำนอง เป็นที่อันอาจถูกรอนสิทธิ มีสิทธิเหนือผืนดิน ติดทางจำเป็น หรือมีผู้ครอบครองปรปักษ์ไปแล้ว ฯลฯ
กว่าเราจะยอมซื้อยอมจ่าย และยิ่งถ้าเป็นที่ดินสวยๆ ในต่างจังหวัด ที่ไม่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนด
แต่เป็นเอกสารอื่น เช่น น.ส.3 ก. หรือเอกสารที่ไม่ได้แสดงสิทธิ์ เช่น ภ.บ.ท.5
เราจะไม่ตรวจสอบหรือสงสัยในสิทธิการครอบครองในที่ดินอันเราจะต้องจ่ายเงินซื้อเลยหรือ ?
แต่ที่ผมเห็นว่า ไม่ถูกต้องที่สุด คืออัยการ
ผมถือว่า ได้ก้าวล่วงเข้าไปพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดและเรื่ององค์ประกอบแห่งความผิด
ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันควรจะเป็นหน้าที่ของ “ศาลยุติธรรม" เท่านั้น
ที่สำคัญ....................
คนที่อยู่ตีนเขาถูกฟ้องหมด เพราะรู้ว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่คนที่ขึ้นไปอยู่บนยอดเขากลับไม่รู้
ทั้งหมดคือความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น
ท่านใดมีความเห็นแย้ง หรือมีข้อคิดเห็นอื่นในทางหนึ่งทางใด
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ
ภูทับเบิก VS เขายายเที่ยง - ความแตกต่าง - คืนแล้วจบ จริงหรือ?
ถามว่าต่างกับภูทับเบิกตรงไหนครับ??
เมื่อเขาห้ามขายดันขาย เขาก็ยึดคืนแค่นั้นเอง
ผมเพิ่งได้อ่านความคิดเห็นนั้นเมื่อวาน แต่ติดที่กำลังเดินทาง และไม่สะดวกโพสด้วยมือถือ
จึงขอโอกาส ตั้งกระทู้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในข้อความข้างต้น ของคุณสมาชิกหมายเลข 3613662 นะครับ
เรื่องภูทับเบิกนั้น มีสถานะเป็นนิคม ตามที่ทราบกัน ส่วนข้อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับนิคมเป็นอย่างไร รบกวนหาอ่านตามสะดวกครับ
เรื่องเขายายเที่ยง ตามความเห็นของผม ผมถือว่าเป็นความ"บกพร่อง"ของอัยการ ที่สั่งไม่ฟ้อง "เพราะขาดเจตนา"
ที่ว่าขาดเจตนา อัยการก็ไม่บอกว่าเจตนาอะไร นอกจาก"ขาดเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา"
แค่นี้ สั้นๆ แต่ไม่สุดๆ
เรื่องแรก ในการตีความข้อกฎหมายว่า "ขาดเจตนา" นั้น สมควรที่อัยการจะให้อำนาจศาลท่านใช้ดุลพินิจ
เพราะคำว่าขาดเจตนาในความผิดทางอาญานั้น เป็นการพิจารณาตีความโดยกฎหมาย ซึ่ง "ไม่ใช่หน้าที่ของอัยการ"
เรื่องที่สอง แม้ที่ดินแปลงปัญหาจะถูกครอบครองโดยถูกกฎหมายก็ตาม
แต่กฎเกณฑ์ในการครอบครองระบุไว้ชัดเจน "ให้ครอบครอง แต่ไม่ให้สิทธิ์"
"เมื่อนายเบ้าไม่ยึดถือทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทเพื่อตนต่อไป
นายเบ้าจึงไม่มีสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367"
นายนพดลนั้นก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
เพราะสัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองระหว่างนายเบ้าและนายนพดลตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
เนื่องจาก มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
พล.อ.สุรยุทธ ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายเบ้า จึงไม่มีสิทธิ์ครอบครองตามกฎเกณฑ์เช่นกัน
เรื่องที่สาม พล.อ.สุรยุทธ ไม่รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จริงหรือ?
เวลาเราจะซื้ออสังหาริมทรัพย์สักที เราคงต้องเช็คแล้วเช็คอีก ตรวจสอบประวัติผู้ขาย และประวัติที่ดินหรือบ้านช่องที่เราจะซื้อนั้นอย่างดี
เพื่อไม่ให้มีปัญหาว่าไปซื้อที่ ที่จะก่อปัญหาแก่เราในอนาคต
เช่น เป็นที่ดินติดจำนอง เป็นที่อันอาจถูกรอนสิทธิ มีสิทธิเหนือผืนดิน ติดทางจำเป็น หรือมีผู้ครอบครองปรปักษ์ไปแล้ว ฯลฯ
กว่าเราจะยอมซื้อยอมจ่าย และยิ่งถ้าเป็นที่ดินสวยๆ ในต่างจังหวัด ที่ไม่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนด
แต่เป็นเอกสารอื่น เช่น น.ส.3 ก. หรือเอกสารที่ไม่ได้แสดงสิทธิ์ เช่น ภ.บ.ท.5
เราจะไม่ตรวจสอบหรือสงสัยในสิทธิการครอบครองในที่ดินอันเราจะต้องจ่ายเงินซื้อเลยหรือ ?
แต่ที่ผมเห็นว่า ไม่ถูกต้องที่สุด คืออัยการ
ผมถือว่า ได้ก้าวล่วงเข้าไปพิจารณาถึงเจตนาในการกระทำความผิดและเรื่ององค์ประกอบแห่งความผิด
ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันควรจะเป็นหน้าที่ของ “ศาลยุติธรรม" เท่านั้น
ที่สำคัญ....................
คนที่อยู่ตีนเขาถูกฟ้องหมด เพราะรู้ว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่คนที่ขึ้นไปอยู่บนยอดเขากลับไม่รู้
ทั้งหมดคือความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น
ท่านใดมีความเห็นแย้ง หรือมีข้อคิดเห็นอื่นในทางหนึ่งทางใด
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ