ถ้าเกิดเงินในคลังรัฐบาลหมดขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

แล้วมันเคยมีเคสตัวอย่างแบบนี้ที่ประเทศอื่นบ้างรึเปล่า? แล้วเขาแก้กันยังไง
(หรือว่าเหมือน Simcity เงินหมดก็กดสูตร )

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ก็ต้องไปกู้เขามาเหมือน  สมัยถูกโจมตีค่าเงินบาท  แล้วต้องไปกู้ IMF แล้วต้องถูก  เขามาควบคุม
การใช้จ่ายเงิน  และคุณทักษิณ  มาบริหารประเทศ   จนใช้หนี้หมด  ก่อนกำหนด  จำกันได้ไหม พาพันอยากรู้

สาวแว่น
ความคิดเห็นที่ 30
ผมว่าเราต้องทำความเข้าใจอีกนิดนะ เงินคงคลัง นั้นคือเงินของรัฐบาล
ที่เหลือใช้ในระยะต่างๆ จากรายได้ต่างๆ จากเงินงบประมาณแผ่นดิน
ซึ่งเงินงบประมาณแผ่นดินส่วนหนึ่งก็มาจากเงินกู้ ที่ทำงบประมาณขาดดุลแต่ละปีด้วย
ซึ่งเหลือแล้วจึงนำมากองเก็บไว้ ในส่วนนี้ เราจึงเรียกว่าเงินคงคลัง ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่าย หรือบริหารสภาพ
คล่องในอนาคตได้ แต่ที่ผมและหลายคนสังสัย เพราะรัฐบาลต้องการให้เงินคงคลังลดลงเอง
เพราะเงินคงคลังที่เหลือนั้นมาจากการทำงบประมาณขาดดุลซึ่งมาจากการกู้(ภายใน)
แต่ละปี เมื่อกู้มากองไว้ ก็ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ว่าทำไมรัฐก็ยังทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มอยู่ทุกปี? (ซึ่งเราก็ต้อง
ติดตามในนโยบายคลังปี ต่อๆไป ว่าถ้าตั้งใจให้เงินคงคลังลดลง แล้วจะกู้ลดลงด้วยมั้ย)
ตรงนี้แหละ ที่หลายๆคนสงสัย ซึ่งโดยหลักการแล้วการกู้ ปัจจุบันก็ยังสามารถทำได้สบายๆอยู่แล้ว
แต่ประเด็นที่สงสัย ยังกู้มากเหมือนเดิม แต่ทำไมเงินก้นถุงของรัฐกลับลดลงแบบมีนัยยะ รัฐใช้เงินเก่ง?  ซึ่งการใช้เงินโปร่งใสหรือไม่
คงต้องช่วยกันตรวจสอบแล้วกันครับ ซึ่งตัวเลขเงินคงคลังล่าสุดน่าจะเหลือราว = 7 หมื่นล้านบาท

แล้วถ้าเงินคงคลังหมด แล้วรัฐจะเอารายได้จากใหนมาบริหาร?
ก็รายได้จากภาษีต่างๆ กิจการภาครัฐ สัญญาสัมปทานต่างๆ
ที่รัฐเก็บได้ในแต่ละปี อย่างปีนี้รัฐมีรายได้เข้ามา = 2.4 ล้านๆ บาท (อันนี้คือรายได้ประจำ)

และในแต่ละปี รัฐก็มีกิจการ การบริหารราชการแผ่นดินต่างๆ ที่รัฐต้องจ่ายประจำ
อย่างเช่น งบซ่อม สร้าง สิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ อุดหนุนประชาชน และสวัสดิการต่างๆของ ปชช.
กิจการรัฐ รวมถึงอุดหนุน ส่งเสริมกิจการภาคเอกชน รวมถึงเงินเดือนพนักงานภาครัฐด้วย
ซึ่งในแต่ละปี รัฐต้องจ่ายในส่วนนี้ มักจะขยายเพดานไปไดเรื่อยๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ
ซึ่งปี 2560 ภาครัฐมีรายจ่ายอยู่ที่ = 2.9 ล้านๆ บาท

บางคนยังสงสัย ในเมื่อภาครัฐมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ แล้วรัฐเอาจากใหนมาเพิ่ม ซึ่งรัฐก็จะหารายได้เพิ่มจาก
การออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารอื่น หรือทำสัญญากู้ทั้งจากเงินในประเทศ
(เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ) และเงินจากนอกประเทศ อย่าง ธนาคารโลก(World bank) ธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB)
และองค์การความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่น(JICA) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งในปัจจุบัน
หนี้สาธารณะ ของไทยอยู่ที่ 43% และเงินกู้ส่วนใหญ่มาจากเงินภายในประเทศมากกว่า 90%
ซึ่งถ้าสมมติปีนี้รัฐมีรายได้ตัวเลขกลมๆ = 2.5 ล้านๆบาท แต่มีรายจ่ายภาครัฐ = 2.9 ล้านๆบาท
เท่ากับปีนี้ภาครัฐจะขาดดุลงบประมาณ 4 แสนล้านบาท เพราะฉะนั้นการที่ภาครัฐจะกู้ รัฐจะต้อง
คำนึงถึง สภาพเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ และ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (ซึ่งเป็นเงินที่หมุนอยู่ในระบบของเรา เทียบได้กับเงินถุงแดงใน ร.3)
หรือแหล่งเงินทุนต่างชาติอื่นๆ เป็นต้น

** : เงินคงคลัง = เงินก้นถุงของรัฐบาล
** : เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ = เงินของ(ใน)ประเทศ

ปัจจุบันหนี้สาธารณะ ของไทยราว 5.9 ล้านๆบาท (43%ต่อ GDP) และมีเงินทุนสำรองราว 6.3 ล้านๆบาท

ชึ่งหากเทียบกับนานาชาติ

หนี้สาธารณะ % ต่อ GDP




เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ


ผิดพลาดประการใดขอ อภัยครับ
ความคิดเห็นที่ 54
มองเงินคงคลังอย่างเดียว ก็เถียงกันบ้างแถกันบ้าง

แต่ถ้าผมจะบอกว่า ตอนยิ่งลักษณ์อยู่ รัฐบาลมีเงินคงคลัง 5 แสนล้านบาท  และก่อหนี้ไว้ทุกรัฐบาลจนถึงยิ่งลักษณ์รวมกัน 4 ล้านล้านเศษ
พอลุงตู่แย่งมาบริหาร รัฐบาลเหลือเงินคงคลังแค่ 7 หมื่นล้านบาท แต่ก่อหนี้ไว้รวมๆ กันทุกรัฐบาลมาถึงบัดนี้เพิ่มเป็น 6 ล้านล้านบาท

พอจะสรุปอะไรได้มั่งไม๊คัฟ
ความคิดเห็นที่ 9
"ถ้าเกิดเงินในคลังรัฐบาลหมดขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?"
ก็ไม่มีเงินจ่าย เหมือนบริษัท เหมือนคนทั่วไป ครับ
เช่น ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ,ไม่มีเงินจ่ายงบต่างๆ ,ไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ

"แล้วมันเคยมีเคสตัวอย่างแบบนี้ที่ประเทศอื่นบ้างรึเปล่า?"
น่าจะมีเยอะเหมือนกัน อเมริกาที่บอกว่าพิมพิ์กระดาษกงเต็กเป็นเงิน ก็เพิ่งเจอไม่นานนี้เอง(โอบาม่า)

"แล้วเขาแก้กันยังไง"
เค้าจะแก้ก่อนเงินหมดจริงๆ
ปกติก็ออกพันธบัตรรัฐบาลครับ
https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/SalestoIndividuals/GOVBond/Pages/default.aspx

"เงินคงคลัง" กะ "เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ"
สองอย่างนี้ ไม่เหมือนกัน เรียกว่า คนละเรื่องกันก็ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 8
เงินคงคลังมันคือเงินสภาพคล่องครับ ไว้สำหรับจ่ายอะไรที่ต้องการเร่งด่วน เพราะปกติเวลารัฐบาลจะจ่ายอะไรเค้าต้องตั้งงบประมาณก่อนอยู่แล้ว แต่บางทีไม่พอก็เอาเงินคงคลังไปโป่ะ

ถามว่าถ้าเงินคงคลังหมดทำไง ก็ไอ้ที่เร่งด่วนก็รอไปก่อน อย่างที่ชาวนาไม่ได้ตังตอนจำนำข้าวก็รอไปก่อน

ก่อนอื่นต้องแยกเงินคงคลังจากพวกเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ หรืออะไรอีกหลายๆอย่างก่อน มันก็เหมือนเงินสดในมือ ถามว่าหมดดีมั้ย มันก็ไม่ดี แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอย่างเงินทุนสำรองระหว่างประเทศหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่