เคยสงสัยมั้ยว่าการเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ บางคนก็อ้างถูก บางคนก็อ้างผิด?

กระทู้คำถาม
หลายครั้งเคยอ่านการวิจารณ์คำสอนของวัดพระธรรมกาย ที่คนอ้างว่าสอนผิด เราก็อยากรู้ว่าผิดยังงัย? ไม่ค่อยเจอคำตอบชัดๆ
พอไปเจอการอธิบายของอาจารย์ท่านนี้ถึงเริ่มเห็นว่า แค่คำว่ารวยก็ทำให้ถูกเข้าใจผิดกันไปมากมาย ทั้งๆที่ไม่ได้ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเถรวาทเลย
บางครั้งการอ้างพุทธพจน์หรือคำสอนต่างๆ เราคงต้องใช้วิจารณญาณกันให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจจะก่อให้เกิดมโนกรรม วจีกรรม หรือ กายกรรมทางอกุศลตามมา เช่น คิดตำหนิ พูดในทางร้าย หรือ ด่าว่าพระสงฆ์ โดยรู้เท่าไม่ถึงการ
ถ้าวัดสอนผิด ก็พูดให้ชัดว่าผิด เช่น สอนให้งมงายในสิ่งที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย ฯลฯ แบบนี้ก็พอเข้าใจได้ค่ะ


มองว่านี่เป็นตัวอย่างของการมีมุมมองที่เปิดกว้าง ทำให้เรามีการเปิดรับความคิดที่ต่างบ้าง น่าจะทำให้จิตใจเรากว้างขวางและไม่คับแคบ มีความสุขในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติธรรมให้เกิดผลดีตามมาได้ด้วย


คำสอนแบบเดี่ยว (แยกสอน)

"เวลานี้มีการสอนคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบเอามาเสนอเดี่ยว ๆ ค่อนข้างมาก เช่น วัดพระธรรมกายสอนเรื่อง 'บุญ' และ 'รวย' ในฐานะที่เป็นความคิดแบบเดี่ยว ๆ ก็เลยมีปัญหาให้คนสงสัยมากกว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างที่วัดพระธรรมกายสอนจริงหรือ? บุญตามคำสอนของวัดพระธรรมกาย คือ การกระทำที่ทำแล้วส่งผลให้เรารวย ทำไมต้องรวย? ก็เพื่อจะได้เอาความรวยมาแปรเป็นบุญอีก กลายเป็นรวยไม่รู้จบ ว่าไปแล้วคำสอนของวัดพระธรรมกายนี้ ท่านไม่ได้คิดเองดอกครับ หากใครก็ตามคิดว่า คำสอนของวัดพระธรรมกายเป็นปัญหา โปรดทราบว่า คำสอนนี้เป็นปัญหาของนิกายเถรวาทรวมทั้งหมด การที่ทางวัดขวนขวายสร้างศาสนสถานใหญ่โตนั้น ก็ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ของนิกายเถรวาทรับรองว่านี่คือกิจที่ชาวพุทธพึงกระทำ ว่าวัดพระธรรมกายไม่ได้ดอกครับ หากจะต่อว่า ก็ต้องต่อว่านิกายเถรวาททั้งหมด เพราะท่านสอนกันมาอย่างนั้น เศรษฐีในอรรถกถานั้นมีเรื่องเล่าวิจิตรพิสดารมาก เรียกว่า รวยแบบไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดี (โคตรรวย รวยตายห่า มหาเฮง...คิดเอาเองก็แล้วกันครับ) แล้วคัมภีร์ก็เล่าอีกแหละครับว่า ที่คนเหล่านี้รวยตายห่าแบบนั้นเพราะทำบุญมาเยอะในอดีตชาติ ที่ว่าทำบุญเยอะนี้ไม่ได้วัดจากจำนวนเงินที่ลงไปเท่านั้นนะครับ แต่วัดจากคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ทำแบบไม่ยั้ง ไม่คิด ทุ่มสุดกำลัง นี่คือคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์ของนิกายเถรวาท วัดพระธรรมกายไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นแม้แต่นิดเดียว ทางวัดเพียงไปเอามาใช้เท่านั้นเอง"

จากหนังสือแก่นเดิมของพุทธปรัชญา (เล่มที่ 1 : มนุษย์) สมภาร พรมทา.หน้า 62-63
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่