สวัสดีค่ะเพื่อนๆ Pantip ทุกคน
มิ้นห่างหายจากการเขียนรีวิวพันทิปไปนานเลย วันนี้กลับมาอยากพาเพื่อนๆไปรู้จักที่ที่นึง
ที่นี่มีชื่อว่า "บ้านวังน้ำมอก"
โฮมสเตย์บ้านวังน้ำมอกหรือศูนย์ประสานงานชุมชนบ้านวังน้ำมอก ตั้งอยู่ที่ภูผีปอบ-ภูปักแป้น อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันแรกที่มุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านนี้ก็ค่ำแล้ว ระหว่างการเดินทางก็เข้าหมู่บ้านนั้นค่อนข้างมืด
เนื่องจากเป็นหมู่บ้านชนบทแค่เวลาทุ่มกว่าๆ ก็เหมือนทุกคนก็จะเข้าบ้านเตรียมตัวนอนกันหมดแล้ว
ทางพวกเราเกรงใจผู้เฒ่าผู้แก่กับทางที่พักมาก เนื่องจากที่นี่เป็นโฮมสเตย์ของคนพื้นที่จริงๆ
ระหว่างการเดินทางจึงส่งข้อความแจ้งกับคุณติณณภพ (ผู้นำชุมชน) ทานข้าวกันก่อนก็ได้นะคะ กลัวว่าจะช้า
คุณติณณภพ : ไม่เป็นไร...รอได้ครับ เดินทางปลอดภัยนะคะ
พร้อมกับส่งข้อความรูปภาพมาให้ว่า "มากินข้าว"
เรามาถึงที่พักตอนประมาณ 1 ทุ่ม จอดรถตรงศาลาทานข้าวริมธาร เปิดประตูก้าวขาลงจากรถสัมผัสอากาศเย็นๆ
ภาพที่เห็นคือแสงไฟจากโคมไฟสวยๆในศาลา ที่มีคุณย่าคุณยาย นั่งรอเราเพื่อทานข้าวพร้อมกับเราอยู่
ศาลานี้เปรียบเสมือนห้องรับแขก ห้องทานอาหารดีๆนี่เอง
บรรยากาศอบอุ่นเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับแสงเทียนที่ตัวแทนของกลุ่มจุดบนบายศรี

เป็นวัฒนธรรมของที่นี่คะ ว่าก่อนทานข้าวมื้อแรกคนต่างถิ่นจะต้องทำพิธีบายศรีขวัญ-ชุมข้าวพาแลง
และผูกข้อไม้ข้อมือจากผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หรือคนในชุมชนก่อน

วันนี้เราทางชุมชนมีเราเป็นแขกเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น จึงเป็นบายศรีชุดเล็ก
หากเป็นกลุ่มคณะทัวร์ใหญ่ๆ ทางหมู่บ้านก็จะใช้บายศรีชุดใหญ่กว่านี้

"กินข้าวเว้าพื้น"ของเราก็เริ่มต้นขึ้นกับอาหารมื้อแรกของเรา (หน้าตาแบบนี้)
ตัมฟัก อั่วปลา เมี่ยง ไก่ผัด ที่มีน้ำจิ้มทำจากตับและไข่แดง
อาหารพื้นบ้านมื้อแรกของที่นี่ทานไม่ยากนะคะ....อร่อยด้วย
แต่ไม่ต้องกังวล สำหรับผู้ที่ทานยากจริงๆ ทางนี้ก็มีไข่เจียวเตรียมไว้ให้ด้วย

เราทุกคนร่วมวงทานข้าว พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เล่าถึงที่มาที่ไปของหมู่บ้านแห่งนี้
และวางแผนถึงโปรแกรมวันพรุ่งนี้ว่าเราจะต้องทำอะไรกันบ้าง
กิจกรรมที่นี่เยอะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเดินศึกษาป่าชุมชนภูผีปอบ
ฝึกทำโคมไฟพาแลง ตกใยแมงมุม ทอผ้า ตำสาดฯ
โคมไฟพาแลง ที่ศาลาริมธาร

บรรยากาศโดยรอบ ศูนย์บ้านน้ำมอก
ธารน้ำที่เห็น เราสามารถเล่นน้ำได้นะคะ นำไม่ลึกค่ะ แค่ระดับเอว(เทียบกับคนที่ความสูง 160)
แอบไปตีโป่งใต้แสงดาวมาเหมือนกัน ...^^...

ภาพส่งท้ายคืนนี้ ธุง หรือ ตุงใย ตุงใยแมงมุม
สวัสดีเช้าวันใหม่กับการเก็บสายหมอกจางๆเหนือผิวน้ำตอนเช้า
พวกเรารีบตื่นเช้ามาเตรียมตัวตักบาตรข้าวเหนียว
ทางเจ้าหน้าที่ที่นี่จะทำการเตรียมข้าวเหนียวใส่กระติ๊บ ไว้ให้พวกเรา ซึ่งจะวางอยู่ที่เคาท์เตอร์กาแฟแล้ว

เราเดินออกมาที่สะพานข้ามธารหน้าปากทางเข้าศูนย์ฯ
มีหมอกจางๆให้เราได้เห็น อากาศเย็นๆที่ทำขนแขนตั้ง แต่ถือกระติ๊บข้าวเหนียวอุ่นๆในมือ

รออยู่พักหนึ่งก็มีชาวบ้านท่านอื่นออกมาเพื่อเตรียมใส่บาตรเช่นกัน

เมื่อตักบาตรข้าวเหนียวแล้ว เราจะวางข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ 1 ก้อนไว้ข้างทาง
ประมาณว่า วางไว้ให้เจ้าที่เจ้าทาง
เมื่อตักบาตรแล้วเราก็กลับเข้าศูนย์ฯ ผ่านหน้าป้ายพอดี ขอถ่ายรูปเป็นที่ระทึกหน่อย

แนะนำช่างกล้องของภาพนี้ "คุณสองกระติ๊บ ณ วังน้ำมอก"

กลับเข้ามาในซอยทางเข้าศูนย์

พบว่ามีพี่กำลังทำข้าว่าจี่อยู่
มิ้นเป็นเด็กภาคตะวันออกค่ะ ไม่เคยทำ และไม่เคยทานข้าวจี่ เลยต้องขอลองนิดนึง
เก็บภาพบรรยากาศยามเช้า
ไอหมอกจางๆบนผิวน้ำ กับอากาศเย็นๆ และลมอ่อนๆ
พร้อมกับกลิ่นของการก่อเตาถ่านที่ทำข้าวจี่หอมๆอยู่.....หืมมมมมม ขอหยุดเวลาไว้ตรงนี้ได้ไม๊อ่ะ
ชุมชนบ้านวังน้ำมอกมีศักยภาพ และเอกลักลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวเรียนรู้
ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและผู้คนในชุมชน
ให้เกิดคุณค่าของการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่แนวความคิด
"ชุมชนพอเพียง เผื่อแผ่ พอดี ภูมิใจในสิ่งที่ตนมี"
ภาพห้องพัก ประมาณนี้ ได้บรรยากาศบ้านน้ำมอกสุดๆ
กลางคืนมีดาว นอนฟังเสียงธารน้ำไหล ฟินๆกันไป....
มื้อเช้าของเรา ผักลวก ต้มปีกบนไก่ ปลานิลนึ่ง ไข่เจียว ข้าวเหนียว
และที่สำคัญ.....ข้าวจี่ ที่มิ้นทำเมื่อเช้า 1 ก้อน
หลังทานข้าว เรามากันที่บ้านอีกหลังหนึ่งเพื่อเตรียมทำ "ขันคู่ปี"
เราจะต้องเป็นผู้ทำเอง ขันใครขันมัน (ขันในที่นี้คือใบตองทรงกรวย)
ปักดอกไม้ตามอายุของเรา (และปักให้เกินมา 1-3 ดอก)
ดอกไม้แต่ละดอกมีความหมายที่แตกต่างกัน
เช่น ดาวเรือ-รุ่งเรือง ดอกเข็ม-ความรู้ มังกรคาบแก้ว-การเงิน เป็นต้น
ตกแต่งตามความสวยงาม และต้องขียนคำอธิฐานของเราด้วย
การทำขันคู่ปีจะต้องตั้งใจทำ ปักดอกไม้ให้แน่น ระหว่างทางที่เดินไปวัด จะต้องไม่ตกหล่น

พี่ๆจับพวกเราแต่งองค์ทรงเครื่องนิดหน่อยไม่ใช่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ
แต่เป็นการให้เกียรติสถานที่ และวัฒนธรรมที่นี่ค่ะ
การทำขันคู่ปี เราทำขึ้นเพื่อสักการะพระเจ้าล้านทอง เมืองสองล้าน-สองเวียง
และทำเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตเรา
เมื่อกลับมาจากวัด ทางศูนย์ก็มีกิจกรรมต่างๆตามความสนใจ เช่น ทอผ้า ทำโคมไฟพาแลง
หรือจะพักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บบรรยากาศของที่นี่ก็ได้
ก่อนจากกันมื้อเที่ยงของเราช่างคึกครื้น
เพราะมีนักท่องเที่ยงต่างแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม ถ่ายภาพ
มีเด็กน้อยในหมู่บ้านทะยอยเข้ามาเล่นน้ำ
อาหารมื้อนี้ มีส้มตำ ไก่ทอด ส้มตำก๋วยจั๊บญวน
และแกง....อ้ายจำชื่อแกงไม่ได้ คล้ายๆแกงเปอะอ่ะ

ผู้ที่จะเข้าพักโฮมสเตย์วังน้ำมอก ต้องทำการจองล่วงหน้าก่อนนะคะ
เพราะทางศูนย์ฯ จะไม่รับนั่งผู้ต้องการเข้าพักแบบ walk-in
เนื่องจากทางศูนย์ฯ มีสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการเข้าพัก เช่น บายศรี ดอกไม้ที่ใช้แต่ขันคู่ปี
อยากให้กระทู้นี้ เป็นกระทู้แนะนำผู้ที่ไม่เคยรู้จักบ้านวังน้ำมอก มีโอกาส เข้าไปเที่ยวไปแวะชมกันนะคะ
และ เป็นกระทู้แทนคำขอบคุณทุกๆการดูและจากผู้คนบ้านวังน้ำมอก
ขอบคุณค่ะ
[CR] เก็บหมอก "วังน้ำมอก"
มิ้นห่างหายจากการเขียนรีวิวพันทิปไปนานเลย วันนี้กลับมาอยากพาเพื่อนๆไปรู้จักที่ที่นึง
ที่นี่มีชื่อว่า "บ้านวังน้ำมอก"
โฮมสเตย์บ้านวังน้ำมอกหรือศูนย์ประสานงานชุมชนบ้านวังน้ำมอก ตั้งอยู่ที่ภูผีปอบ-ภูปักแป้น อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันแรกที่มุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านนี้ก็ค่ำแล้ว ระหว่างการเดินทางก็เข้าหมู่บ้านนั้นค่อนข้างมืด
เนื่องจากเป็นหมู่บ้านชนบทแค่เวลาทุ่มกว่าๆ ก็เหมือนทุกคนก็จะเข้าบ้านเตรียมตัวนอนกันหมดแล้ว
ทางพวกเราเกรงใจผู้เฒ่าผู้แก่กับทางที่พักมาก เนื่องจากที่นี่เป็นโฮมสเตย์ของคนพื้นที่จริงๆ
ระหว่างการเดินทางจึงส่งข้อความแจ้งกับคุณติณณภพ (ผู้นำชุมชน) ทานข้าวกันก่อนก็ได้นะคะ กลัวว่าจะช้า
คุณติณณภพ : ไม่เป็นไร...รอได้ครับ เดินทางปลอดภัยนะคะ
พร้อมกับส่งข้อความรูปภาพมาให้ว่า "มากินข้าว"
เรามาถึงที่พักตอนประมาณ 1 ทุ่ม จอดรถตรงศาลาทานข้าวริมธาร เปิดประตูก้าวขาลงจากรถสัมผัสอากาศเย็นๆ
ภาพที่เห็นคือแสงไฟจากโคมไฟสวยๆในศาลา ที่มีคุณย่าคุณยาย นั่งรอเราเพื่อทานข้าวพร้อมกับเราอยู่
ศาลานี้เปรียบเสมือนห้องรับแขก ห้องทานอาหารดีๆนี่เอง
บรรยากาศอบอุ่นเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับแสงเทียนที่ตัวแทนของกลุ่มจุดบนบายศรี
เป็นวัฒนธรรมของที่นี่คะ ว่าก่อนทานข้าวมื้อแรกคนต่างถิ่นจะต้องทำพิธีบายศรีขวัญ-ชุมข้าวพาแลง
และผูกข้อไม้ข้อมือจากผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หรือคนในชุมชนก่อน
วันนี้เราทางชุมชนมีเราเป็นแขกเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น จึงเป็นบายศรีชุดเล็ก
หากเป็นกลุ่มคณะทัวร์ใหญ่ๆ ทางหมู่บ้านก็จะใช้บายศรีชุดใหญ่กว่านี้
"กินข้าวเว้าพื้น"ของเราก็เริ่มต้นขึ้นกับอาหารมื้อแรกของเรา (หน้าตาแบบนี้)
ตัมฟัก อั่วปลา เมี่ยง ไก่ผัด ที่มีน้ำจิ้มทำจากตับและไข่แดง
อาหารพื้นบ้านมื้อแรกของที่นี่ทานไม่ยากนะคะ....อร่อยด้วย
แต่ไม่ต้องกังวล สำหรับผู้ที่ทานยากจริงๆ ทางนี้ก็มีไข่เจียวเตรียมไว้ให้ด้วย
เราทุกคนร่วมวงทานข้าว พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เล่าถึงที่มาที่ไปของหมู่บ้านแห่งนี้
และวางแผนถึงโปรแกรมวันพรุ่งนี้ว่าเราจะต้องทำอะไรกันบ้าง
กิจกรรมที่นี่เยอะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเดินศึกษาป่าชุมชนภูผีปอบ
ฝึกทำโคมไฟพาแลง ตกใยแมงมุม ทอผ้า ตำสาดฯ
โคมไฟพาแลง ที่ศาลาริมธาร
บรรยากาศโดยรอบ ศูนย์บ้านน้ำมอก
ธารน้ำที่เห็น เราสามารถเล่นน้ำได้นะคะ นำไม่ลึกค่ะ แค่ระดับเอว(เทียบกับคนที่ความสูง 160)
แอบไปตีโป่งใต้แสงดาวมาเหมือนกัน ...^^...
ภาพส่งท้ายคืนนี้ ธุง หรือ ตุงใย ตุงใยแมงมุม
สวัสดีเช้าวันใหม่กับการเก็บสายหมอกจางๆเหนือผิวน้ำตอนเช้า
พวกเรารีบตื่นเช้ามาเตรียมตัวตักบาตรข้าวเหนียว
ทางเจ้าหน้าที่ที่นี่จะทำการเตรียมข้าวเหนียวใส่กระติ๊บ ไว้ให้พวกเรา ซึ่งจะวางอยู่ที่เคาท์เตอร์กาแฟแล้ว
เราเดินออกมาที่สะพานข้ามธารหน้าปากทางเข้าศูนย์ฯ
มีหมอกจางๆให้เราได้เห็น อากาศเย็นๆที่ทำขนแขนตั้ง แต่ถือกระติ๊บข้าวเหนียวอุ่นๆในมือ
รออยู่พักหนึ่งก็มีชาวบ้านท่านอื่นออกมาเพื่อเตรียมใส่บาตรเช่นกัน
เมื่อตักบาตรข้าวเหนียวแล้ว เราจะวางข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ 1 ก้อนไว้ข้างทาง
ประมาณว่า วางไว้ให้เจ้าที่เจ้าทาง
เมื่อตักบาตรแล้วเราก็กลับเข้าศูนย์ฯ ผ่านหน้าป้ายพอดี ขอถ่ายรูปเป็นที่ระทึกหน่อย
แนะนำช่างกล้องของภาพนี้ "คุณสองกระติ๊บ ณ วังน้ำมอก"
กลับเข้ามาในซอยทางเข้าศูนย์
พบว่ามีพี่กำลังทำข้าว่าจี่อยู่
มิ้นเป็นเด็กภาคตะวันออกค่ะ ไม่เคยทำ และไม่เคยทานข้าวจี่ เลยต้องขอลองนิดนึง
เก็บภาพบรรยากาศยามเช้า
ไอหมอกจางๆบนผิวน้ำ กับอากาศเย็นๆ และลมอ่อนๆ
พร้อมกับกลิ่นของการก่อเตาถ่านที่ทำข้าวจี่หอมๆอยู่.....หืมมมมมม ขอหยุดเวลาไว้ตรงนี้ได้ไม๊อ่ะ
ชุมชนบ้านวังน้ำมอกมีศักยภาพ และเอกลักลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวเรียนรู้
ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและผู้คนในชุมชน
ให้เกิดคุณค่าของการดำเนินวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่แนวความคิด
"ชุมชนพอเพียง เผื่อแผ่ พอดี ภูมิใจในสิ่งที่ตนมี"
ภาพห้องพัก ประมาณนี้ ได้บรรยากาศบ้านน้ำมอกสุดๆ
กลางคืนมีดาว นอนฟังเสียงธารน้ำไหล ฟินๆกันไป....
มื้อเช้าของเรา ผักลวก ต้มปีกบนไก่ ปลานิลนึ่ง ไข่เจียว ข้าวเหนียว
และที่สำคัญ.....ข้าวจี่ ที่มิ้นทำเมื่อเช้า 1 ก้อน
หลังทานข้าว เรามากันที่บ้านอีกหลังหนึ่งเพื่อเตรียมทำ "ขันคู่ปี"
เราจะต้องเป็นผู้ทำเอง ขันใครขันมัน (ขันในที่นี้คือใบตองทรงกรวย)
ปักดอกไม้ตามอายุของเรา (และปักให้เกินมา 1-3 ดอก)
ดอกไม้แต่ละดอกมีความหมายที่แตกต่างกัน
เช่น ดาวเรือ-รุ่งเรือง ดอกเข็ม-ความรู้ มังกรคาบแก้ว-การเงิน เป็นต้น
ตกแต่งตามความสวยงาม และต้องขียนคำอธิฐานของเราด้วย
การทำขันคู่ปีจะต้องตั้งใจทำ ปักดอกไม้ให้แน่น ระหว่างทางที่เดินไปวัด จะต้องไม่ตกหล่น
พี่ๆจับพวกเราแต่งองค์ทรงเครื่องนิดหน่อยไม่ใช่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ
แต่เป็นการให้เกียรติสถานที่ และวัฒนธรรมที่นี่ค่ะ
การทำขันคู่ปี เราทำขึ้นเพื่อสักการะพระเจ้าล้านทอง เมืองสองล้าน-สองเวียง
และทำเพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตเรา
เมื่อกลับมาจากวัด ทางศูนย์ก็มีกิจกรรมต่างๆตามความสนใจ เช่น ทอผ้า ทำโคมไฟพาแลง
หรือจะพักผ่อนตามอัธยาศัย เก็บบรรยากาศของที่นี่ก็ได้
ก่อนจากกันมื้อเที่ยงของเราช่างคึกครื้น
เพราะมีนักท่องเที่ยงต่างแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม ถ่ายภาพ
มีเด็กน้อยในหมู่บ้านทะยอยเข้ามาเล่นน้ำ
อาหารมื้อนี้ มีส้มตำ ไก่ทอด ส้มตำก๋วยจั๊บญวน
และแกง....อ้ายจำชื่อแกงไม่ได้ คล้ายๆแกงเปอะอ่ะ
ผู้ที่จะเข้าพักโฮมสเตย์วังน้ำมอก ต้องทำการจองล่วงหน้าก่อนนะคะ
เพราะทางศูนย์ฯ จะไม่รับนั่งผู้ต้องการเข้าพักแบบ walk-in
เนื่องจากทางศูนย์ฯ มีสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการเข้าพัก เช่น บายศรี ดอกไม้ที่ใช้แต่ขันคู่ปี
อยากให้กระทู้นี้ เป็นกระทู้แนะนำผู้ที่ไม่เคยรู้จักบ้านวังน้ำมอก มีโอกาส เข้าไปเที่ยวไปแวะชมกันนะคะ
และ เป็นกระทู้แทนคำขอบคุณทุกๆการดูและจากผู้คนบ้านวังน้ำมอก
ขอบคุณค่ะ