น้องน้ำหวานสงสัยว่า วิธีการที่ผ่าน ๆ มา ในการช่วยเหลือชาวนา เรามาถูกทางกันหรือไม่

.       ก็ยอมรับว่าการจำนำหรือประกัน ก็เป็นการช่วยเหลือชาวนาทางหนึ่ง
แต่ดูเหมือนจะเป็นการช่วยระงับยับยั้งปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการชั่วคราวเท่านั้น
แล้วเมื่อนำมาใช้บ่อย ๆ จนจะกลายเป็น วิธีการที่ทุก ๆ รัฐบาลต้องนำมาใช้
มันก็เลยกลายเป็นเหมือนธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมา

        เคยได้ยินได้ฟังสุนทรพจน์ ของอดีตผู้นำหลายท่าน (ทุกฝ่ายพูดเหมือนกัน)
มักอ้างอิงถึงการบริหารจัดการ ว่าจะต้องเป็นแบบบูรณาการ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย
แต่พอมาดูการบริหารจัดการของอดีตผู้นำทั้งสองท่าน ในการซื้อข้าวชาวนามาขายแล้ว
ทำให้เกิดคำถามในใจขึ้นมาว่า "มันใช่การบริหารจัดการแบบบูรณาการหรือไม่"

        แล้วก็เกิดข้อโต้แย้งขึ้นในใจอีกว่า "ก็ตอนนี้พวกเขาไม่ได้เป็นผู้บริหารประเทศ จะให้บูรณาการได้อย่างไร"
ก็นั่นน่ะสิ ตอนนี้พวกเขาก็เป็นเพียงแค่ประชาชนธรรมดา จะให้เขามาทำอะไรให้มากกว่านี้ได้อย่างไร

        หากแต่ถ้าใครได้ตระหนักถึงความเป็นผู้นำ ก็น่าจะรวบรวมปัญหาที่มีอยู่
แล้วนำมาคิดอย่างบูรณาการเพื่อที่จะลดความเดือดร้อนของชาวนา ให้ได้ดีกว่าที่เห็น เช่น
ทำอย่างไร ถึงจะให้ชาวนาสามารถมีส่วนแบ่งตลาดในประเทศได้มาก ๆ

        -การช่วยให้พวกเขารวมกลุ่ม
        -การช่วยให้จับคู่กับโรงสี เพื่อรักษาคุณภาพ
        -การช่วยให้มีความรู้ทางวิชาการ และตรวจสอบคุณภาพ
        -การช่วยสร้างแบรนด์ มีสตอรี่ เช่น ข้าวหอมอุบล ข้าวแสงแรกของประเทศ ,ข้าวหอมสุรินทร์ ข้าวหอมที่สุดในโลก
        -การช่วยหาสถานที่ขาย ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย
        -การบริหารจัดการอื่น ๆ เช่น การขนส่ง การทำบัญชี

        ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง ยังไม่ถึงกับลงลึกไปในรายละเอียด
แต่หากใคร พรรคการเมืองใด หรือรัฐบาลปัจจุบัน จะนำไปทำให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยให้พรรคการเมืองเขาแข่งกันทำ
โดยมีเป้าหมายคือ ส่วนแบ่งการตลาดขายข้าวภายในประเทศส่วนใหญ่ ต้องเป็นของชาวนา
ก็จะทำให้อาชีพนี้มีความมั่นคงยิ่งขึ้นค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่