ในสัปดาห์หน้าคาดว่าจะมีความชัดเจนในสองเหตุการณ์สำคัญในวงการผ้าเหลืองที่มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญนั่นคือปัญหาของสองอาจารย์ศิษย์คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ช่วง แห่งวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และธัมมชโย เจ้าสำนักจานบิน
สมเด็จช่วง กำลังมาถึงโค้งสุดท้ายที่จะชี้ว่าจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชอย่างถูกต้องตามกฎหมายและชอบธรรมหรือไม่ หลักจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีผู้ยื่นเรื่องร้องต่อสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ตรวจสอบกรณีที่มหาเถรสมาคม(มส.) ซึ่งมี สมเด็จช่วง เป็นประธานรวบรัดประชุมลับและมีมติให้ สมเด็จช่วง เป็นสมเด็จพระสังฆราช หลังเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพียงไม่กี่วัน อันเป็นการขัดต่อมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สงฆ์ เนื่องจากทำผิดขั้นตอน เพราะมาตรา 7 กำหนดให้การเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชต้องเริ่มจากนายกฯเสนอไปยัง มส. ไม่ใช่มส.เลือกแล้วเสนอมาให้นายกฯรับทราบ
ก่อนหน้านี้สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาคำร้องแล้วมีความเห็นว่า มติของมส.ขัดกับมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สงฆ์ และส่งข้อสรุปความเห็นไปยังรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเหมือนที่ปรึกษากฎหมายของรัฐตีความเพื่อความรอบคอบและเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ทั้งนี้พ.ร.บ.สงฆ์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาตรา 7 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
ล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อกฎหมายเสร็จแล้วแต่ไม่เปิดเผยโดยรายงานผลการพิจารณาไปยัง นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกฯที่ดูแลด้านศาสนา เพื่อแถลงต่อสาธารณชนในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องจับตาดูต่อไปถึงผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมาอย่างไร
แต่ไม่ว่าผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับ สมเด็จช่วงแล้วยังต้องเผชิญวิบากกรรมหากจะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมีมลทินถูกสังคมตั้งคำถามในเรื่องความเหมาะสมทั้งจากเรื่องครอบครองรถเบนซ์โบราณเถื่อนที่กำลังมีการดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการถูกตั้งข้อสังเกตว่าให้ท้ายปกป้อง ธัมมชโย ซึ่งเป็นศิษย์มาตลอด โดยมส.ยุค สมเด็จช่วง ลงมติว่า ธัมมชโย ไม่ปาราชิกพ้นความเป็นพระอันเป็นการขัดต่อพระบัญชาของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราชฯ ที่ชี้ว่า ธัมมชโย ปาราชิกพ้นความเป็นพระตั้งแต่ปี 2542 จากคดียักยอกเงินวัดมาเป็นสมบัติส่วนตัวและอวดอุตริมนุสธรรมเผยแพร่ลัทธิที่ขัดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสิ้นเชิง
ทางด้าน ธัมมชโย ล่าสุดได้มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเช่นกันหลังจากที่พยายามดื้อดึงยื้อเกมไม่ยอมเข้ามอบตัวตามหมายจับของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ข้อหาพัวพันการฟอกเงินและรับของโจรคดีโกงเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่ง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ย้ำว่าอาจจะต้องมีการขออำนาจศาลออกหมายค้นสำนักจานบินเพื่อจับกุม ธัมมชโย เป็นครั้งที่สองหากยังดื้อดึงท่ามกลางรายงานข่าวว่า หมายค้นรอบสองนี้อาจจะไม่ใช่แค่ตรวจค้นกุฏิของ ธัมมชโย แต่อาจจะเป็นการตรวจค้นทั่วทั้งสำนักจานบิน
ส่วนการที่ ธัมมชโย ตั้งแง่ต่อรองขอประกันตัวทันทีหากมอบตัวนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมดีเอสไอกล่าวว่า ขณะนี้คงเลยจุดนั้นมาแล้วเพราะดีเอสไอส่งสำนวนคดีไปยังอัยการแล้ว ดังนั้นจึงอยู่ในอำนาจและดุลยพินิจของอัยการและศาลที่จะพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ โดยอัยการกำหนดชี้ชะตาจุดเปลี่ยนของ ธัมมชโย ในวันที่ 13 ก.ค.นี้
ที่สำคัญมีสัญญาณจากรัฐบาลว่าหาก ธัมมชโย และเหล่าสาวกยังพยายามทำตัวเป็นรัฐอิสระเหนือกฎหมายขัดขวางการจับกุมดำเนินคดีก็อาจจำเป็นต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญเพื่อยุติปัญหาให้ได้โดยเร็วและเกิดประสิทธิภาพ
ปัญหาของสำนักจานบินอาจจะไม่จบแค่การจับตัว ธัมมชโย มาดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ความลี้ลับในขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาลของสำนักจานบินทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนอิทธิพลของสำนักจานบินที่ส่อไปในทางไม่ชอบมาพากลและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจึงมีแนวโน้มที่จะถูกตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการฟอกเงินหรือด้วยมาตรา 44 โดยเฉพาะที่ดินของสำนักจานบินทั้งสำนักงานใหญ่ที่ จ.ปทุมธานี และสาขาในหลายจังหวัดทั่วประเทศพบว่ามีการรุกป่าหรือครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย อาทิ กรณีล่าสุดคือ สาขาสำนักจานบินเวิลด์พีซ วัลเล่ย์เขาใหญ่ ที่สร้างอย่างหรูหราอลังการดุจรีสอร์ทพื้นที่หลายร้อยไร่พบว่ามีการรุกที่ ส.ป.ก.โดยผิดกฎหมายนับร้อยไร่
ภายใต้สถานการณ์ที่สองอาจารย์ศิษย์คือ สมเด็จช่วงและ ธัมมชโย กำลังมาถึงจุดเปลี่ยนแห่งวิบากกรรมสำคัที่ใกล้เข้าตาจนเข้าไปทุกขณะ ปรากฏว่าเหมือนมาตามนัดเมื่อแก๊งผ้าเหลืองขาประจำคือ พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) หรือที่ข่าวร่ำลือว่าแท้ที่จริงคือ นายประสาร หนองพร้าว อดีตหนึ่งในแกนนำเสื้อแดงภาคอีสาน ในคราบเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย(ศพศ.) ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องสองอาจารย์ศิษย์ ด้วยการส่งหนังสือถึงสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสขึ้นไปทั่วประเทศให้ออกมาแสดงพลังโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้นต้องจับตาระเบิดเวลาศึกผ้าเหลืองตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เพราะกำลังมาถึงโค้งสุดท้ายที่ร้อนแรงและแหลมคมมากขึ้นทุกขณะ
จุดเปลี่ยนสำคัญ ปัญหาของสองอาจารย์ศิษย์ สมเด็จช่วงวัดปากน้ำ และธัมมชโย
สมเด็จช่วง กำลังมาถึงโค้งสุดท้ายที่จะชี้ว่าจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชอย่างถูกต้องตามกฎหมายและชอบธรรมหรือไม่ หลักจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีผู้ยื่นเรื่องร้องต่อสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ตรวจสอบกรณีที่มหาเถรสมาคม(มส.) ซึ่งมี สมเด็จช่วง เป็นประธานรวบรัดประชุมลับและมีมติให้ สมเด็จช่วง เป็นสมเด็จพระสังฆราช หลังเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพียงไม่กี่วัน อันเป็นการขัดต่อมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สงฆ์ เนื่องจากทำผิดขั้นตอน เพราะมาตรา 7 กำหนดให้การเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชต้องเริ่มจากนายกฯเสนอไปยัง มส. ไม่ใช่มส.เลือกแล้วเสนอมาให้นายกฯรับทราบ
ก่อนหน้านี้สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาคำร้องแล้วมีความเห็นว่า มติของมส.ขัดกับมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สงฆ์ และส่งข้อสรุปความเห็นไปยังรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเหมือนที่ปรึกษากฎหมายของรัฐตีความเพื่อความรอบคอบและเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ทั้งนี้พ.ร.บ.สงฆ์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาตรา 7 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
ล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อกฎหมายเสร็จแล้วแต่ไม่เปิดเผยโดยรายงานผลการพิจารณาไปยัง นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกฯที่ดูแลด้านศาสนา เพื่อแถลงต่อสาธารณชนในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องจับตาดูต่อไปถึงผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมาอย่างไร
แต่ไม่ว่าผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับ สมเด็จช่วงแล้วยังต้องเผชิญวิบากกรรมหากจะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมีมลทินถูกสังคมตั้งคำถามในเรื่องความเหมาะสมทั้งจากเรื่องครอบครองรถเบนซ์โบราณเถื่อนที่กำลังมีการดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการถูกตั้งข้อสังเกตว่าให้ท้ายปกป้อง ธัมมชโย ซึ่งเป็นศิษย์มาตลอด โดยมส.ยุค สมเด็จช่วง ลงมติว่า ธัมมชโย ไม่ปาราชิกพ้นความเป็นพระอันเป็นการขัดต่อพระบัญชาของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราชฯ ที่ชี้ว่า ธัมมชโย ปาราชิกพ้นความเป็นพระตั้งแต่ปี 2542 จากคดียักยอกเงินวัดมาเป็นสมบัติส่วนตัวและอวดอุตริมนุสธรรมเผยแพร่ลัทธิที่ขัดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสิ้นเชิง
ทางด้าน ธัมมชโย ล่าสุดได้มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเช่นกันหลังจากที่พยายามดื้อดึงยื้อเกมไม่ยอมเข้ามอบตัวตามหมายจับของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ข้อหาพัวพันการฟอกเงินและรับของโจรคดีโกงเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่ง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ย้ำว่าอาจจะต้องมีการขออำนาจศาลออกหมายค้นสำนักจานบินเพื่อจับกุม ธัมมชโย เป็นครั้งที่สองหากยังดื้อดึงท่ามกลางรายงานข่าวว่า หมายค้นรอบสองนี้อาจจะไม่ใช่แค่ตรวจค้นกุฏิของ ธัมมชโย แต่อาจจะเป็นการตรวจค้นทั่วทั้งสำนักจานบิน
ส่วนการที่ ธัมมชโย ตั้งแง่ต่อรองขอประกันตัวทันทีหากมอบตัวนั้น พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมดีเอสไอกล่าวว่า ขณะนี้คงเลยจุดนั้นมาแล้วเพราะดีเอสไอส่งสำนวนคดีไปยังอัยการแล้ว ดังนั้นจึงอยู่ในอำนาจและดุลยพินิจของอัยการและศาลที่จะพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ โดยอัยการกำหนดชี้ชะตาจุดเปลี่ยนของ ธัมมชโย ในวันที่ 13 ก.ค.นี้
ที่สำคัญมีสัญญาณจากรัฐบาลว่าหาก ธัมมชโย และเหล่าสาวกยังพยายามทำตัวเป็นรัฐอิสระเหนือกฎหมายขัดขวางการจับกุมดำเนินคดีก็อาจจำเป็นต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญเพื่อยุติปัญหาให้ได้โดยเร็วและเกิดประสิทธิภาพ
ปัญหาของสำนักจานบินอาจจะไม่จบแค่การจับตัว ธัมมชโย มาดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ความลี้ลับในขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาลของสำนักจานบินทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนอิทธิพลของสำนักจานบินที่ส่อไปในทางไม่ชอบมาพากลและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจึงมีแนวโน้มที่จะถูกตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการฟอกเงินหรือด้วยมาตรา 44 โดยเฉพาะที่ดินของสำนักจานบินทั้งสำนักงานใหญ่ที่ จ.ปทุมธานี และสาขาในหลายจังหวัดทั่วประเทศพบว่ามีการรุกป่าหรือครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย อาทิ กรณีล่าสุดคือ สาขาสำนักจานบินเวิลด์พีซ วัลเล่ย์เขาใหญ่ ที่สร้างอย่างหรูหราอลังการดุจรีสอร์ทพื้นที่หลายร้อยไร่พบว่ามีการรุกที่ ส.ป.ก.โดยผิดกฎหมายนับร้อยไร่
ภายใต้สถานการณ์ที่สองอาจารย์ศิษย์คือ สมเด็จช่วงและ ธัมมชโย กำลังมาถึงจุดเปลี่ยนแห่งวิบากกรรมสำคัที่ใกล้เข้าตาจนเข้าไปทุกขณะ ปรากฏว่าเหมือนมาตามนัดเมื่อแก๊งผ้าเหลืองขาประจำคือ พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) หรือที่ข่าวร่ำลือว่าแท้ที่จริงคือ นายประสาร หนองพร้าว อดีตหนึ่งในแกนนำเสื้อแดงภาคอีสาน ในคราบเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย(ศพศ.) ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องสองอาจารย์ศิษย์ ด้วยการส่งหนังสือถึงสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสขึ้นไปทั่วประเทศให้ออกมาแสดงพลังโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้นต้องจับตาระเบิดเวลาศึกผ้าเหลืองตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป เพราะกำลังมาถึงโค้งสุดท้ายที่ร้อนแรงและแหลมคมมากขึ้นทุกขณะ