★┷┓
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┗━ ★
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตัวอย่าง "ขอชิบุริน ssr" "ขอเจ้าศาว"
★┷┓ ★┷┓
┃渋┃ ┃お┃
┃谷┃ ┃男┃
┃凛┃ ┃の┃
┃ S┃ ┃娘┃
┃ S┃ ┃の┃
┃ R┃ ┃嫁┃
┃が┃ ┃が┃
┃あ┃ ┃あ┃
┃た┃ ┃た┃
┃り┃ ┃り┃
┃ま┃ ┃ま┃
┃に┃ ┃に┃
┃よ┃ ┃よ┃
┃う┃ ┃う┃
┃に┃ ┃に┃
┃🎋┃ ┃🎋┃
┗━ ★ ┗━ ★
ทะนะบะตะ (ญี่ปุ่น: 七夕 ? หมายถึง ยามเย็นของวันที่เจ็ด) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาวของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของ นางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา) และ ฮิโคโบชิ (ดาวอัลแทร์) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอึงจากตำนานในอดีตว่า ทางช้างเผือก คือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้ทำการแยกคู่รัก (โอริฮิเมะและฮิโคโบชิ) ไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้เจอเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในวันที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น
อนึ่งในประเทศจีน ก็ถือว่าเป็น วันแห่งความรัก ตามแบบประเพณีของจีนด้วยเช่นกัน แต่ต่างกันที่ปัจจุบันจีนยังถือตามวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ(จีน)เช่นเดิม (ปีนี้ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม)
ตำนานแบบจีน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตำนานเจ็ดนางฟ้า บางครั้งก็เรียกว่า ตำนานรักหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า กล่าวถึงหนุ่มเลี้ยงวัวคนหนึ่งชื่อ หนิวหลาง (จีน: 牛郎; พินอิน: niú láng; แปลตรงตัวว่า เด็กเลี้ยงวัว หมายถึงดาวอัลแทร์) บังเอิญไปพบนางฟ้าเจ็ดองค์เสด็จลงจากสวรรค์เพื่อมาเล่นน้ำในทะเลสาบ วัวตัวหนึ่งของเขากระซิบบอกวิธี เขาจึงไปขโมยเสื้อผ้าของพวกนางมาแล้วคอยเฝ้าดู เมื่อนางฟ้าทั้งเจ็ดองค์เล่นน้ำเสร็จแล้วหาเสื้อผ้าของตนไม่พบ จึงให้น้องสาวคนสุดท้องชื่อ จือหนี่ (จีนตัวย่อ: 织女; จีนตัวเต็ม: 織女; พินอิน: zhī nǚ; แปลตรงตัวว่า หญิงทอผ้า หมายถึงดาวเวกา) เพื่อมาเจรจาขอเสื้อผ้าคืน หนิวหลางขอให้นางแต่งงานกับเขา และนางก็ยินยอม นางฟ้าผู้พี่ทั้งหมดจึงได้กลับคืนสู่สวรรค์ ส่วนจือหนี่ได้อาศัยอยู่กับหนิวหลาง และเป็นภรรยาที่ดียิ่ง หนิวหลางรักนางมาก ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คน จือหนี่มีฝีมือในการทอผ้า ผ้าที่นางทอจะมีสีสันสวยงามไม่มีผู้ใดทัดเทียมได้ พวกเขานำไปขายได้เงินดีและมีชีวิตที่ดี
เง็กเซียนฮองเฮาผู้เป็นมารดาของเหล่านางฟ้า เมื่อได้ทราบว่าบุตรสาวของตนไปแต่งงานกับคนธรรมดาก็กริ้วโกรธ ออกคำสั่งให้จือหนี่กลับสู่สวรรค์ ฝ่ายหนิวหลางเมื่อกลับมาพบภรรยาของตนหายตัวไปก็เศร้าโศกเสียใจ ทันใดนั้นวัวของเขาก็เอ่ยคำพูดออกมาอีกครั้ง บอกให้หนิวหลางฆ่าตนเสีย แล้วเอาหนังคลุมร่างเพื่อจะได้ไปสวรรค์ตามหาภรรยาได้ หนิวหลางฆ่าวัวด้วยน้ำตา ครั้นเมื่อเอาหนังมาคลุมร่างเขากับบุตรทั้งสองก็เหาะไปยังแดนสวรรค์ตามหาจือหนี่ เง็กเซียนฮองเฮาพบพวกเขาขึ้นมาบนสวรรค์ก็โกรธ ดึงปิ่นปักผมของนางออกมาแล้วกรีดท้องฟ้าออกกลายเป็นแม่น้ำกว้าง ทำให้คู่รักทั้งสองต้องแยกจากกันตลอดกาล (แม่น้ำนั้นบนโลกรู้จักในชื่อ ทางช้างเผือก ซึ่งกั้นขวางระหว่างดาวอัลแทร์กับดาวเวกา) จือหนี่เฝ้าแต่ทอผ้าคอยอยู่ฟากหนึ่งของแม่น้ำอย่างเศร้าสร้อย ขณะที่หนิวหลางดูแลบุตรสองคนของพวกเขา (คือดาวข้างเคียงในกลุ่มดาวเดียวกัน ได้แก่ β อินทรี และ γ อินทรี)
ทว่ามีเพียงวันเดียวในรอบปี ที่เหล่านกกระเรียนจะมาเรียงตัวกันด้วยความเมตตาสงสาร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อให้คนทั้งสองสามารถข้ามมาพบกัน (เรียกว่า 鵲橋 Que Qiao ฉวีเฉียว หรือสะพานนกกระเรียน) สะพานทอดข้ามดาวเดเน็บในกลุ่มดาวหงส์ ทำให้จือหนี่ หนิวหลาง และลูก ๆ มาพบกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ของปี เพียงวันเดียวเท่านั้น
เล่ากันว่าถ้ามีฝนตกในคืนแห่งเลขเจ็ด นั่นคือน้ำตาของหนิวหลางและจือหนี่ที่ร่ำไห้กับความรันทดในชีวิตของตน
เครดิต wikipedia กับ เขียนเพิ่มเติมเองนิดหน่อย
เขียนคำขอพรเนื่องในวันทานาบาตะกันเต๊อะ
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┃ ┃
┗━ ★
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทะนะบะตะ (ญี่ปุ่น: 七夕 ? หมายถึง ยามเย็นของวันที่เจ็ด) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาวของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของ นางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา) และ ฮิโคโบชิ (ดาวอัลแทร์) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอึงจากตำนานในอดีตว่า ทางช้างเผือก คือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้ทำการแยกคู่รัก (โอริฮิเมะและฮิโคโบชิ) ไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้เจอเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในวันที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น
อนึ่งในประเทศจีน ก็ถือว่าเป็น วันแห่งความรัก ตามแบบประเพณีของจีนด้วยเช่นกัน แต่ต่างกันที่ปัจจุบันจีนยังถือตามวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ(จีน)เช่นเดิม (ปีนี้ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม)
ตำนานแบบจีน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เครดิต wikipedia กับ เขียนเพิ่มเติมเองนิดหน่อย