มารยาทในการจ่ายซะกาต
ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ
ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น
และจงบริจาคสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพและพวกท่านก่อนที่ความตาย
จะมาเยือนคนใดคนคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน แล้วเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า
หากพระองค์ทรงยืดเวลาให้กับข้าอีกสักระยะเวลาหนึ่งอันใกล้
แล้วข้าก็จะจ่ายทานและข้าจะเป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีคุณธรรม
(อัลมุนาฟิกูน : 10)
เวลาในการจ่ายซะกาต
1- วาญิบที่จะต้องรีบจ่ายซะกาตทันที่วาญิบ ยกเว้นหากมีเหตุจำเป็น
2- อนุญาตให้จ่ายซะกาตก่อนเวลาวาญิบหลังจากที่มีมูลเหตุวาญิบ ดังนั้นจึงอนุญาตให้จ่ายซะกาตสัตว์ ทองคำและเงิน และสินค้าที่เตรียมค้าขายหากมีการครอบครองครบพิกัด
3- อนุญาตให้จ่ายซะกาตก่อนเวลาหนึ่งปีหรือสองปี และให้แก่คนยากจนในรูปของเงินเดือนหากว่าการทำเช่นนั้นจะเกิดประโยชน์
4- ใครที่มีทรัพย์ซึ่งได้มาในเวลาที่ต่างกันเช่น เงินเดือน ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และมรดก ให้เขาจ่ายซะกาตทรัพย์ทุกประเภทนี้หลังจากครบรอบปี และถ้าหากว่าเขาพอใจและยอมเสียสละเพื่อคนยากจนและคนอื่นๆ ให้เขากำหนด(รายได้ของ)เดือนหนึ่งในรอบปีสำหรับการจ่ายซะกาตของเขาเช่น (รายได้ของ)เดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้ผลบุญที่ยิ่งใหญ่
บรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในทางของอัลลอฮฺนั้น
จงแจ้งข่าวแก่พวกเขาเถิดด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด วันที่มันจะถูกเผาด้วยไฟนรกแห่งญะฮันนัม
แล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขาและหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน
นี่แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด
(อัลเตาบะฮฺ 34-35)
Cr.islammore
ใกล้ฮารีรายอเต็มทีแล้ว มุสลิมอย่าลืมจ่ายซากาต เพื่อช่วยเหลือคนในสังคมด้วยนะครับ
การจ่ายหรือออกซะกาต(ทานบังคับ)กับมุมมองศาสนาอิสลาม
ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ
ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น
และจงบริจาคสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพและพวกท่านก่อนที่ความตาย
จะมาเยือนคนใดคนคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน แล้วเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า
หากพระองค์ทรงยืดเวลาให้กับข้าอีกสักระยะเวลาหนึ่งอันใกล้
แล้วข้าก็จะจ่ายทานและข้าจะเป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีคุณธรรม
(อัลมุนาฟิกูน : 10)
เวลาในการจ่ายซะกาต
1- วาญิบที่จะต้องรีบจ่ายซะกาตทันที่วาญิบ ยกเว้นหากมีเหตุจำเป็น
2- อนุญาตให้จ่ายซะกาตก่อนเวลาวาญิบหลังจากที่มีมูลเหตุวาญิบ ดังนั้นจึงอนุญาตให้จ่ายซะกาตสัตว์ ทองคำและเงิน และสินค้าที่เตรียมค้าขายหากมีการครอบครองครบพิกัด
3- อนุญาตให้จ่ายซะกาตก่อนเวลาหนึ่งปีหรือสองปี และให้แก่คนยากจนในรูปของเงินเดือนหากว่าการทำเช่นนั้นจะเกิดประโยชน์
4- ใครที่มีทรัพย์ซึ่งได้มาในเวลาที่ต่างกันเช่น เงินเดือน ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และมรดก ให้เขาจ่ายซะกาตทรัพย์ทุกประเภทนี้หลังจากครบรอบปี และถ้าหากว่าเขาพอใจและยอมเสียสละเพื่อคนยากจนและคนอื่นๆ ให้เขากำหนด(รายได้ของ)เดือนหนึ่งในรอบปีสำหรับการจ่ายซะกาตของเขาเช่น (รายได้ของ)เดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้ผลบุญที่ยิ่งใหญ่
บรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันในทางของอัลลอฮฺนั้น
จงแจ้งข่าวแก่พวกเขาเถิดด้วยการลงโทษอันเจ็บปวด วันที่มันจะถูกเผาด้วยไฟนรกแห่งญะฮันนัม
แล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขาและหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน
นี่แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด
(อัลเตาบะฮฺ 34-35)
Cr.islammore
ใกล้ฮารีรายอเต็มทีแล้ว มุสลิมอย่าลืมจ่ายซากาต เพื่อช่วยเหลือคนในสังคมด้วยนะครับ