...เหตุการณ์สมมุตินะคะ...
ถ้ามีการนำเอานิยายย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นละคร
แต่ตามบทประพันธ์นั้น บรรยายการแต่งกายผิดไปจากความเป็นจริงในยุคนั้นๆหรือชาติพันธุ์นั้นๆ
ในฐานะของคนทำเสื้อผ้าละคร เราควรปรับให้เป็นไปตามจริงหรือเคารพในบทประพันธ์ดีคะ?
เช่น นิยายที่เขียนถึงเหตุการณ์ในสมัยที่ยุโรปเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมัยนั้นชายพม่าจะนุ่งโสร่ง ในขณะที่ชายไทใหญ่ในรัฐฉานนุ่งกางเกงเตียวเปาโยง(คล้ายกางเกงเลแต่ขากว้างและเป้าหย่อน)
แต่ตามบทประพันธ์กลับอธิบายว่า พระเอกที่เป็นคนไทใหญ่นุ่งโสร่ง
หรือฝ่ายหญิงที่เป็นชาวไทใหญ่ จะนุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าลายทอขวางลำตัวตามชาติพันธุ์
แต่บทประพันธ์กลับบรรยายเป็นลายซิ่นลักษณะอื่นเช่นลายแบบทางลาวหรืออีสาน
แบบนี้เราควรทำตามความถูกต้อง
หรือควรยึดถือตามบทประพันธ์ต่อไปดีคะ?
รบกวนสอบถามความคิดเห็นด้วยค่ะ
ถ้าต้องทำเสื้อผ้าละครย้อนยุคที่สร้างจากนวนิยาย เราควรทำตามที่ผู้แต่งประพันธ์ไว้หรือทำตามความจริงในยุคนั้นคะ?
ถ้ามีการนำเอานิยายย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นละคร
แต่ตามบทประพันธ์นั้น บรรยายการแต่งกายผิดไปจากความเป็นจริงในยุคนั้นๆหรือชาติพันธุ์นั้นๆ
ในฐานะของคนทำเสื้อผ้าละคร เราควรปรับให้เป็นไปตามจริงหรือเคารพในบทประพันธ์ดีคะ?
เช่น นิยายที่เขียนถึงเหตุการณ์ในสมัยที่ยุโรปเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมัยนั้นชายพม่าจะนุ่งโสร่ง ในขณะที่ชายไทใหญ่ในรัฐฉานนุ่งกางเกงเตียวเปาโยง(คล้ายกางเกงเลแต่ขากว้างและเป้าหย่อน)
แต่ตามบทประพันธ์กลับอธิบายว่า พระเอกที่เป็นคนไทใหญ่นุ่งโสร่ง
หรือฝ่ายหญิงที่เป็นชาวไทใหญ่ จะนุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้าลายทอขวางลำตัวตามชาติพันธุ์
แต่บทประพันธ์กลับบรรยายเป็นลายซิ่นลักษณะอื่นเช่นลายแบบทางลาวหรืออีสาน
แบบนี้เราควรทำตามความถูกต้อง
หรือควรยึดถือตามบทประพันธ์ต่อไปดีคะ?
รบกวนสอบถามความคิดเห็นด้วยค่ะ