ท่านหลับมานานแล้ว..... ตื่นเถอ... ตอนที่3

ตอนที่ 1
http://pantip.com/topic/35285266
ตอนที่ 2
http://pantip.com/topic/35287204


# 12 หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น
................การดูจิต แบบ สติปัฏฐาน 4 จะพัฒนานำเราไปสู่ องค์แห่งมรรค ข้อที่ 1 สัมมาทิฏฐิ ข้อย่อยที่ "1.9 สัตตาโอปปาติกะ"
ได้อย่างไร และยังนำเราเข้าไปแบบอัตโนมัติ เพราะการพิจารณาจิตนี่เอง ทำให้เราเห็นจิตตนเอง รู้จักจิตตนเอง ว่าแท้ที่จริงมันเป็นอาการปรุงแต่งที่มันถูก สัมพัสต่างๆ(ทวาร 6) แล้วปรุงแต่งอารมณ์โกรธ โลภ หลง เข้ามาในแต่ละเวลา แต่ละนาที ที่เราดำเนินชีวิตปกติ ทั่วไป หากเราพิจารณาให้เห็น "จิตโกรธ" นี่คือจิตสัตว์นรก "จิตอยาก" นี่คือสัตว์เปรต "จิตชอบเบียดเบียน" "จิตริษยา" "จิตสะใจเมื่อเห็นผู้อื่นล้มเหลว" ก็ให้เรียนรู้ว่า นี่คือ สัตตาโอปปาติกะ ที่มันสิงใจเรา มันหมุนเวียนกันเข้ามาสิงอยู่ตลอดเวลา หากดูในข่าวในคลิปทุกวันนี้ เราจะเห็นความหายนะของคนที่ถูกมันสิง ตัวผมเองทุกวันนี้ผมรู้จักมัน แล้วเห็นมันแล้ว ผมนี่กลัวสุดขั้วหัวใจ เพราะในอดีตเคยโดนมันเล่นงานมาแล้ว ชีวิตแทบแย่ แต่ตอนนี้ก็ยังถูกมันสิงบ้าง แต่ก็ถีบมันกระเด็นออกไปได้พอสมควร คือมันมาอาศัยได้ไม่นาน ก็ทำไปเรื่อยๆ ดูจิตให้เห็น สัตตาโอปปาติกะเหล่านี้ ไปเรื่อยๆ จิตก็จะเริ่ม เห็นจริง แล้วจะเห็น ข้อ 1.4 วิบากกรรมดีกรรมชั่วให้ผล อย่างไร จะเห็นจริงไม่ใช่จากการท่องจำ แล้ว หิริโอตปะ มันจะเกิดขึ้นในจิตเรา เอง ไม่ใช่เกิดเพราะไปท่องศีล แล้วกลัวบาป

13# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ
  .............. พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญให้ทำ สติปัฏฐาน 4 อยู่ตลอดเวลา ทุกขณะจิต ไม่ว่าเราจะทำอะไรอยู่ ให้ตรึกดูจิตเอาไว้
ตามความตอนหนึ่งใน.............
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค.
หัวข้อที่  [๓๐๐] ความตอนหนึ่งในหัวข้อ.................
          "   ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ"

14# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
   .........ผมเอาพระไตรปิฏกมาให้ดูว่า การ พิจารณากายในกาย ทำอย่างไร ในสติปัฏฐาน 4 ข้อแรก ท่านให้พิจารณาลมหายใจเข้าออก เท่านั้น ท่านไม่ได้บอกให้ไปนั่งสมาธิ จนไปเห็น ลูกแก้วใสๆๆ อยู่ศูนย์กลางกลาย ไปเห็น นรกสวรรค์ ไปเห็นคนที่ตายไปแล้ว แบบธรรมกาย มันเป็น มโนมยอัตตา เท่านั้นมันไม่มีจริง หากมีจริงท่านต้องตรัสไว้แล้วในพระไตรปิฏก

อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อม สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
กายสังขารหายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า. นายช่างกลึง หรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น
ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย
สังขาร หายใจเข้า. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็น กายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า
ความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิก็ได้ ทำในอริยาบทยืนหรือนั่งหรือนอนก็ได้ นี่แหละครับที่ผมบอกว่าศาสนาพุทธ ไม่ได้นั่งสมาธิเพื่อบรรลุธรรม มันเป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น

อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ...

[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะในการก้าวไปและถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า และเหลียวซ้ายเหลียวขวา ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียด
ออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในการเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่