บทความโดย : คุณพิชชารัศมิ์ www.marumura.com
“เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของคุณคืออะไรคะ” เมื่อฟังคำถามนี้แล้วหลาย ๆ คนคงสตั๊นไป 10 วิ เพราะแม้แต่ดิฉันเองยังต้องใช้เวลาในการคิดคำตอบสักหน่อย ที่นี้อาจลองถามตัวเองด้วยคำถามที่ง่ายกว่าว่า “ในทุก ๆ เช้าคุณตื่นนอนขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นหรือความเบื่อหน่ายเมื่อคิดถึงสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละวัน”
ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ทุกคนต่างมี “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่” ซ่อนอยู่ในตัวเองทั้งนั้น ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “อิคิไก” (ikigai – 生き甲斐) พูดง่าย ๆ ก็คือเหตุผลที่คุณจะลุกขึ้นมายามเช้าเพื่อมีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย “อิคิไก” ไม่ได้หมายถึงแค่เป้าหมายชีวิตเพียงอย่างเดียวแต่ในเป้าหมายนั้นยังจะต้องมีการให้ความหมายหรือคุณค่าที่ตัวเองยึดถือประกอบอยู่ด้วย ดิฉันเองไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนคิดไดอะแกรมข้างล่างนี้แต่ก็เป็นการอธิบายความหมายของคำว่า “อิคิไก” ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน
สรุปง่าย ๆ จากไดอะแกรมข้างบน “อิคิไก” คือความสมดุลหรือจุดกึ่งกลางระหว่างองค์ประกอบ 4 อย่างได้แก่
• สิ่งที่คุณรัก หรือมีความสุขที่จะทำ
• สิ่งที่โลกใบนี้ต้องการ
• สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา
• สิ่งที่เราทำได้ดี
อิคิไก เป็นจุดร่วมของ Passion (สิ่งที่คุณหลงใหล) Mission (พันธกิจ) Vocation (งาน ธุรกิจ เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะอาจผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้) Profession (วิชาชีพ ความถนัดเฉพาะทาง ที่ต้องผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการ เช่นมหาวิทยาลัย เช่นหมอ วิศวะ นักกฏหมายเป็นต้น)
ต่อไปเราลองมาตอบคำถามเพื่อค้นหา “อิคิไก” ของเราดูค่ะ
• Passion มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดี และมีความสุขที่ได้ทำ”
• Mission มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่คุณมีความสุขที่ได้ทำ และขณะเดียวกันมีประโยชน์กับโลกใบนี้”
• Vocation มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกใบนี้และก็สร้างรายได้ให้เราได้ด้วย”
• Profession มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีแล้วสร้างรายได้ให้กับเรา”
หากขาดความสมดุลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ถือว่าคุณยังหา “อิคิไก” ไม่เจอค่ะ เช่น
มีความสามารถในการผลิตฟิล์มถ่ายภาพ (สิ่งที่ทำได้ดี) แต่โลกเราเปลี่ยนมาใช้ภาพดิจิตอลกันหมด (สิ่งที่โลกต้องการ) ดังนั้นถึงจะผลิตฟิล์มถ่ายภาพต่อไปก็คงขายไม่ออก
บางคนอาจจะชอบร้องเพลงมาก (สิ่งที่รัก) แต่ฝึกเท่าไรก็ยังร้องไม่เพราะอยู่ดีเพราะน้ำเสียงไม่ให้ (สิ่งที่ทำได้ดี) แบบนี้ถึงจะประกอบอาชีพได้แต่ก็คงจะไม่สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือโด่งดังในด้านการร้องเพลงได้ หรืออีกอย่างเช่น
เป็นคนดีมีศีลธรรมไม่เคยผิดศีลห้า (สิ่งที่รัก) แต่ทำงานหาเลี้ยงชีพโดยการเปิดร้านขายเหล้า บุหรี่ (สิ่งที่สร้างรายได้) ซึ่งขัดต่อหลักคุณธรรมในใจก็คงยากที่จะหาความสงบใจได้หากยังฝืนทำงานนี้ต่อไป และที่หลาย ๆ คนอาจจะเป็นกันคือทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบไปวัน ๆ เพื่อแลกกับเงินเดือนทุกเดือน
สิ่งที่ดิฉันคิดว่ามีความสำคัญที่สุดในหลักของ “อิคิไก” ก็คือความสมบูรณ์ของชีวิตที่ไม่เพียงแค่ทำทุกอย่างเพื่อตัวเองแต่ยังเป็นประโยชน์แก่สังคมและต่อโลกใบนี้ค่ะ เหมือนดังที่ Dr. Kazuo Inamori ผู้ก่อตั้งบริษัท Kyocera และ KDDI และกอบกู้ Japan Airlines ให้พ้นวิกฤตบอกว่าจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจก็คือเพื่อคนอื่นมากกว่าเพื่อตัวเอง โดยเขามองว่าไม่ต้องไล่ล่าหรือแสวงหากำไรมากนัก แต่กำไรจะมาเองจากความพยายามที่ได้ลงมือทำไป
จะสังเกตว่ามหาเศรษฐีหลายคน ๆ ของโลกเช่น บิล เกตส์ หรือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ก็กำลังดำรงตัวเองอยู่ในวิถีทางนี้เช่นกัน เพราะดิฉันเชื่อว่าการทำตัวเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นจะทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองและช่วยให้เราค้นพบความหมายที่แท้จริงของชีวิตด้วยเช่นกัน
ยังมีผลวิจัยที่ทำการสำรวจกลุ่มชาวญี่ปุ่นจำนวนมากกว่า 43,000 พบว่าคนที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีค่ามีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่จะมีอายุยืนยาวกว่า มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีกว่า เพราะเขาเหล่านั้นจะมีความสุขสงบในใจ มีความพึงพอใจในชีวิต และมีความสุขกับทุกนาทีที่มีชีวิตอยู่ เมื่อเทียบกับคนที่คิดบั่นทอนหรือคิดลบ ๆ กับตัวเอง เช่น ฉันเป็นคนไร้ค่าน่าสมเพช ฉันถูกทำร้ายจากสังคม ฉันไม่น่าเกิดมาเลย ชีวิตฉันช่างว่างเปล่าไร้จุดหมาย ฯลฯ พูดง่าย ๆ คือคิดกับตัวเองเช่นไร ก็จะได้ผลเช่นนั้นแหละค่ะ
ดิฉันคิดว่าการหา “อิคิไก” ของตัวเองให้พบยังเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จของคนเราเพราะเมื่อเราค้นพบว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราจะมีความชัดเจนในทุกเรื่องว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร ทำงานกับใคร งานจะเป็นแบบไหน และจะมีความสุขมากขึ้นชนิดที่ว่ามิอาจทดแทนด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียงใด ๆ ในทางตรงกันข้ามหากเหตุผลในการทำงานของเราเป็นเพียงเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายเพียงอย่างเดียวและต้องก้มหน้าก้มตาทำไปทั้งๆที่ไม่ชอบ เราก็คงหาความสุขในชีวิตได้ยากหน่อย หรือบางคนใช้ชีวิตสนุกไร้สาระไปวันๆอาจจะบอกว่าตัวเองมีความสุข แต่ลึกๆในใจอาจจะรู้สึกโหวง ๆ พิกล
“อิคิไก” ยังสามารถพัฒนาไปเป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจ เช่น ดิฉันมีญาติคนหนึ่งที่หลงใหลงานศิลปะและชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก พอโตขึ้นก็ไปเรียนศิลปะและการถ่ายภาพจนได้รับรางวัลมากมาย ปัจจุบันเป็นนักถ่ายภาพนิ่งที่มีชื่อเสียงมีรายได้เป็นกอบเป็นกำเพราะเขามีความสุขในทุกๆครั้งที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปะ ส่วนเพื่อนอีกคนก็ชอบเล่นเกมมากเพราะเวลาเล่นแล้วมีความสุข ภายหลังก็ไปทำงานบริษัทเกมเป็นนักพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เล่นเกมอย่างมีความสุขด้วยเช่นกัน ส่วนอีกคนหลงใหลในภาษาญี่ปุ่นมากและฝึกฝนจนชำนาญ ต่อมาพัฒนาธุรกิจหลายอย่างในด้านการประสานงานกับคนญี่ปุ่น การออกแอพพลิเคชั่นดิกชันนารีญี่ปุ่น เขียนหนังสือสอนภาษาญี่ปุ่นและบริหารร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย
ที่นี้ลองถามตัวเองว่า
• อะไรที่ทำให้คุณอยากจะตื่นนอนตอนเช้าในทุก ๆ วันเพื่อที่จะได้ทำมัน
• อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกดีว่าคุณได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้
• อะไรทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าทุกนาทีที่ยังมีลมหายใจอยู่
อิคิไกไม่ใช่เป็นเป้าหมายที่ทำสำเร็จแล้วจบแต่เป็นสิ่งง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้ทุกวัน ความสำเร็จที่ปราศจากความสุขก็คือความล้มเหลว
ดังนั้นดิฉันคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาคุณค่าของตัวเอง ทำในสิ่งที่คุณรัก และรักในสิ่งที่คุณทำค่ะ คุณยังสามารถรู้วิธีค้นพบสิ่งที่ตัวเองรักหรือทำได้ดีจนสามารถพัฒนาจนสำเร็จได้จากหนังสือที่ดิฉันเพิ่งเขียนไป “กัมบัตเตะเนะ เพราะความสำเร็จไม่มีทางลัดค่ะ”
ขอบคุณบทความโดย : คุณพิชชารัศมิ์ www.marumura.com
http://www.marumura.com/ikigai/
Ikigai เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของคุณคืออะไรคะ
บทความโดย : คุณพิชชารัศมิ์ www.marumura.com
“เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของคุณคืออะไรคะ” เมื่อฟังคำถามนี้แล้วหลาย ๆ คนคงสตั๊นไป 10 วิ เพราะแม้แต่ดิฉันเองยังต้องใช้เวลาในการคิดคำตอบสักหน่อย ที่นี้อาจลองถามตัวเองด้วยคำถามที่ง่ายกว่าว่า “ในทุก ๆ เช้าคุณตื่นนอนขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นหรือความเบื่อหน่ายเมื่อคิดถึงสิ่งที่จะต้องทำในแต่ละวัน”
ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ทุกคนต่างมี “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่” ซ่อนอยู่ในตัวเองทั้งนั้น ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “อิคิไก” (ikigai – 生き甲斐) พูดง่าย ๆ ก็คือเหตุผลที่คุณจะลุกขึ้นมายามเช้าเพื่อมีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย “อิคิไก” ไม่ได้หมายถึงแค่เป้าหมายชีวิตเพียงอย่างเดียวแต่ในเป้าหมายนั้นยังจะต้องมีการให้ความหมายหรือคุณค่าที่ตัวเองยึดถือประกอบอยู่ด้วย ดิฉันเองไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนคิดไดอะแกรมข้างล่างนี้แต่ก็เป็นการอธิบายความหมายของคำว่า “อิคิไก” ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน
ขอบคุณภาพจาก : http://anngle.org/th/j-lifestyle/jidea/ikigai.html
สรุปง่าย ๆ จากไดอะแกรมข้างบน “อิคิไก” คือความสมดุลหรือจุดกึ่งกลางระหว่างองค์ประกอบ 4 อย่างได้แก่
• สิ่งที่คุณรัก หรือมีความสุขที่จะทำ
• สิ่งที่โลกใบนี้ต้องการ
• สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา
• สิ่งที่เราทำได้ดี
อิคิไก เป็นจุดร่วมของ Passion (สิ่งที่คุณหลงใหล) Mission (พันธกิจ) Vocation (งาน ธุรกิจ เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะอาจผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้) Profession (วิชาชีพ ความถนัดเฉพาะทาง ที่ต้องผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการ เช่นมหาวิทยาลัย เช่นหมอ วิศวะ นักกฏหมายเป็นต้น)
ต่อไปเราลองมาตอบคำถามเพื่อค้นหา “อิคิไก” ของเราดูค่ะ
• Passion มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดี และมีความสุขที่ได้ทำ”
• Mission มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่คุณมีความสุขที่ได้ทำ และขณะเดียวกันมีประโยชน์กับโลกใบนี้”
• Vocation มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกใบนี้และก็สร้างรายได้ให้เราได้ด้วย”
• Profession มาจากการตอบคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีแล้วสร้างรายได้ให้กับเรา”
หากขาดความสมดุลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ถือว่าคุณยังหา “อิคิไก” ไม่เจอค่ะ เช่น
มีความสามารถในการผลิตฟิล์มถ่ายภาพ (สิ่งที่ทำได้ดี) แต่โลกเราเปลี่ยนมาใช้ภาพดิจิตอลกันหมด (สิ่งที่โลกต้องการ) ดังนั้นถึงจะผลิตฟิล์มถ่ายภาพต่อไปก็คงขายไม่ออก
บางคนอาจจะชอบร้องเพลงมาก (สิ่งที่รัก) แต่ฝึกเท่าไรก็ยังร้องไม่เพราะอยู่ดีเพราะน้ำเสียงไม่ให้ (สิ่งที่ทำได้ดี) แบบนี้ถึงจะประกอบอาชีพได้แต่ก็คงจะไม่สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือโด่งดังในด้านการร้องเพลงได้ หรืออีกอย่างเช่น
เป็นคนดีมีศีลธรรมไม่เคยผิดศีลห้า (สิ่งที่รัก) แต่ทำงานหาเลี้ยงชีพโดยการเปิดร้านขายเหล้า บุหรี่ (สิ่งที่สร้างรายได้) ซึ่งขัดต่อหลักคุณธรรมในใจก็คงยากที่จะหาความสงบใจได้หากยังฝืนทำงานนี้ต่อไป และที่หลาย ๆ คนอาจจะเป็นกันคือทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบไปวัน ๆ เพื่อแลกกับเงินเดือนทุกเดือน
สิ่งที่ดิฉันคิดว่ามีความสำคัญที่สุดในหลักของ “อิคิไก” ก็คือความสมบูรณ์ของชีวิตที่ไม่เพียงแค่ทำทุกอย่างเพื่อตัวเองแต่ยังเป็นประโยชน์แก่สังคมและต่อโลกใบนี้ค่ะ เหมือนดังที่ Dr. Kazuo Inamori ผู้ก่อตั้งบริษัท Kyocera และ KDDI และกอบกู้ Japan Airlines ให้พ้นวิกฤตบอกว่าจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจก็คือเพื่อคนอื่นมากกว่าเพื่อตัวเอง โดยเขามองว่าไม่ต้องไล่ล่าหรือแสวงหากำไรมากนัก แต่กำไรจะมาเองจากความพยายามที่ได้ลงมือทำไป
จะสังเกตว่ามหาเศรษฐีหลายคน ๆ ของโลกเช่น บิล เกตส์ หรือ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ก็กำลังดำรงตัวเองอยู่ในวิถีทางนี้เช่นกัน เพราะดิฉันเชื่อว่าการทำตัวเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นจะทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองและช่วยให้เราค้นพบความหมายที่แท้จริงของชีวิตด้วยเช่นกัน
ยังมีผลวิจัยที่ทำการสำรวจกลุ่มชาวญี่ปุ่นจำนวนมากกว่า 43,000 พบว่าคนที่รู้สึกว่าชีวิตตัวเองมีค่ามีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่จะมีอายุยืนยาวกว่า มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีกว่า เพราะเขาเหล่านั้นจะมีความสุขสงบในใจ มีความพึงพอใจในชีวิต และมีความสุขกับทุกนาทีที่มีชีวิตอยู่ เมื่อเทียบกับคนที่คิดบั่นทอนหรือคิดลบ ๆ กับตัวเอง เช่น ฉันเป็นคนไร้ค่าน่าสมเพช ฉันถูกทำร้ายจากสังคม ฉันไม่น่าเกิดมาเลย ชีวิตฉันช่างว่างเปล่าไร้จุดหมาย ฯลฯ พูดง่าย ๆ คือคิดกับตัวเองเช่นไร ก็จะได้ผลเช่นนั้นแหละค่ะ
ดิฉันคิดว่าการหา “อิคิไก” ของตัวเองให้พบยังเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จของคนเราเพราะเมื่อเราค้นพบว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราจะมีความชัดเจนในทุกเรื่องว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร ทำงานกับใคร งานจะเป็นแบบไหน และจะมีความสุขมากขึ้นชนิดที่ว่ามิอาจทดแทนด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียงใด ๆ ในทางตรงกันข้ามหากเหตุผลในการทำงานของเราเป็นเพียงเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายเพียงอย่างเดียวและต้องก้มหน้าก้มตาทำไปทั้งๆที่ไม่ชอบ เราก็คงหาความสุขในชีวิตได้ยากหน่อย หรือบางคนใช้ชีวิตสนุกไร้สาระไปวันๆอาจจะบอกว่าตัวเองมีความสุข แต่ลึกๆในใจอาจจะรู้สึกโหวง ๆ พิกล
“อิคิไก” ยังสามารถพัฒนาไปเป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจ เช่น ดิฉันมีญาติคนหนึ่งที่หลงใหลงานศิลปะและชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก พอโตขึ้นก็ไปเรียนศิลปะและการถ่ายภาพจนได้รับรางวัลมากมาย ปัจจุบันเป็นนักถ่ายภาพนิ่งที่มีชื่อเสียงมีรายได้เป็นกอบเป็นกำเพราะเขามีความสุขในทุกๆครั้งที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปะ ส่วนเพื่อนอีกคนก็ชอบเล่นเกมมากเพราะเวลาเล่นแล้วมีความสุข ภายหลังก็ไปทำงานบริษัทเกมเป็นนักพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เล่นเกมอย่างมีความสุขด้วยเช่นกัน ส่วนอีกคนหลงใหลในภาษาญี่ปุ่นมากและฝึกฝนจนชำนาญ ต่อมาพัฒนาธุรกิจหลายอย่างในด้านการประสานงานกับคนญี่ปุ่น การออกแอพพลิเคชั่นดิกชันนารีญี่ปุ่น เขียนหนังสือสอนภาษาญี่ปุ่นและบริหารร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย
ที่นี้ลองถามตัวเองว่า
• อะไรที่ทำให้คุณอยากจะตื่นนอนตอนเช้าในทุก ๆ วันเพื่อที่จะได้ทำมัน
• อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกดีว่าคุณได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้
• อะไรทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าทุกนาทีที่ยังมีลมหายใจอยู่
อิคิไกไม่ใช่เป็นเป้าหมายที่ทำสำเร็จแล้วจบแต่เป็นสิ่งง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้ทุกวัน ความสำเร็จที่ปราศจากความสุขก็คือความล้มเหลว
ดังนั้นดิฉันคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาคุณค่าของตัวเอง ทำในสิ่งที่คุณรัก และรักในสิ่งที่คุณทำค่ะ คุณยังสามารถรู้วิธีค้นพบสิ่งที่ตัวเองรักหรือทำได้ดีจนสามารถพัฒนาจนสำเร็จได้จากหนังสือที่ดิฉันเพิ่งเขียนไป “กัมบัตเตะเนะ เพราะความสำเร็จไม่มีทางลัดค่ะ”
ขอบคุณบทความโดย : คุณพิชชารัศมิ์ www.marumura.com
http://www.marumura.com/ikigai/