@ประเด็นความจริงเรื่องของใบรับรองแพทย์ หลวงพ่อธัมมชโย


1.ใบความเห็นแพทย์นี้ "ไม่ได้เป็นเท็จ"
เพราะก็เห็นจากภาพคุณหมอเดินทางมาตรวจรักษาจริง ผู้ป่วยก็เจ็บป่วยจริง และความเห็นทางการแพทย์ที่ให้ก็ถูกต้องตามหลักวิชาการจริงและออกโดยสุจริต ซึ่งสามารถให้องค์กรแพทย์ หรืออาจารย์แพทย์ ที่เป็นกลางมาตรวจการเจ็บป่วยได้
แต่ DSI ตอบสังคมไม่ได้ว่าทำไมไม่เชิญมาตรวจร่วมกันกลับรีบไปออกหมายจับก่อน

2.กรณีการออกใบความเห็นแพทย์ให้กับผู้ป่วยที่แพทย์ไปตรวจนอกสถานพยาบาล สามารถทำได้ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลมีแนวทางการตรวจและออกใบความเห็นแพทย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล หรือบางโรงพยาบาล ก็ยังไม่เคยมีแนวทางใดๆมาก่อนเลยก็เป็นได้
ซึ่งตัวผมเองก็ไม่ได้เป็นบุคลกกรใน รพ. แห่งนั้นไม่รู้ว่า แนวทางปฏิบัติของ รพ. แห่งนั้นเขียนไว้อย่างไร เป็นสิ่งที่ รพ. ต้องนำมาอธิบายเพื่อแสดงความโปร่งใสในการกล่าวโทษคุณหมอผู้กลายเป็นจำเลยสังคม ซึ่งถ้าคุณหมอทำผิดขั้นตอนจริง ก็เป็นเรื่องของการกระทำโดยไม่ได้มีเจตนาทุจริต มีแต่เจตนาสุจริตและเมตตาต่อผู้ป่วย

3.ผมเองก็เคยออกใบความเห็นแพทย์โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้มารักษาใน รพ.  เช่นกัน
ผมออกไปดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดอุบัติเหตุและนำส่งไป รพ ระดับสูงกว่า เลยไม่ได้พามาที่ รพ. ของผม ผมก็ให้การรักษาแล้วก็กลับมาเขียนในเวชระเบียน และ ออกใบความเห็นแพทย์ได้
และผมก็เคยไปออกใบรับรองผู้พิการที่บ้าน โดยไม่ต้องนำผู้ป่วยมา รพ.

เหตุผล ที่คุณหมอท่านนั้น ต้องทำเวชระเบียนของหลวงพ่อ
เพราะวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ท่านมีอาการหนักขึ้น อาการปวดขากำเริบมากผิดปกติ ทางทีมแพทย์ได้เชิญคุณหมอทางศัลยกรรมหลอดเลือดมาให้การตรวจรักษาและให้คำปรึกษา คุณหมอศัลยกรรมหลอดเลือดให้ความเห็นว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดซ้ำซ้อน(on top) ภาวะเลือดอุดตันเรื้อรังที่เป็นอยู่เดิม  จึงให้ท่านนอนยกขาสูง นอนนิ่งๆ งดการเคลื่อนที่
และสมควรจะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่หลอดเลือดขั้วปอด
จึงได้หารือกันในทีม เพื่อหาคุณหมอที่รู้จักและเชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยามาร่วมให้คำปรึกษาและร่วมรักษา

ทีมแพทย์จึงได้เรียนปรึกษาคุณหมอด้านโลหิตวิทยาจากรพ. ค่ายฯ ที่ ราชบุรี คุณหมอก็มีเมตตาเดินมางมาตรวจหลวงพ่อให้ถึงในวัด
แล้วก็มีการหารือกันระหว่างการพาท่านไปรพ. กับ การรักษาที่วัด โดยร่วมกันประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอดหากมีการเคลื่อนย้ายหลวงพ่อ และได้ประเมินศักยภาพของห้องผู้ป่วยที่ทีมหมอลูกศิษย์จัดสร้างถวายเพื่อดูแลท่านในวัด (ซึ่งสร้างมานานมากแล้ว) โดยมีแพทย์ที่เป็นลูกศิษย์ดูแลไกล้ชิด 24 ชม. จึงน่าจะปลอดภัยกับหลวงพ่อมากกว่า หากให้การรักษาที่วัด รวมถึงเป็นประสงค์ของท่านที่ต้องการรักษาอยู่ที่วัดมากกว่าไปโรงพยาบาล

คุณหมอด้านโลหิตวิทยา ได้มีเมตตาว่าจะนำประวัติความเจ็บป่วยและผลการตรวจร่างกายที่ได้ ในวันนั้นไปบันทึกในเวชระเบียนที่ รพ. ที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่
เพื่อที่จะเป็นการรักษาแบบเยี่ยมบ้าน (home visit) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และมีการทำกันอยู่เป็นมาตรฐานทั่วไปในเกือบทุกโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งยาจากโรงพยาบาล เพื่อไปรักษาผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านเคลื่อนย้ายลำบากโดยไม่ต้องให้ผู้ป่วยมาที่ รพ.
รวมถึงบ่อยครั้งญาติผู้ดูแลอาจมารับยาแทนผู้ป่วย
ในกรณีของหลวงพ่อ คุณหมอจึงช่วยหายาต้านการแข็งตัวของเลือดมาจากทาง รพ. ค่ายฯ จ.ราชบุรี เพื่อมาช่วยรักษาหลวงพ่อ ซึ่งในตอนนั้น ที่สหคลินิกรัตนเวชยังหาซื้อยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดนี้ไม่ได้ ในการทำเวชระเบียนในครั้งนั้นจึงเป็นไปเพื่อหวังประโยชน์จากการหายาที่จำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผู้ป่วย
ซึ่งคุณหมอได้กระทำไปด้วยเมตตาธรรมและความสุจริตใจ และได้ออกใบความเห็นแพทย์ แนะนำให้ท่านนอนพักนิ่งๆ ยกขาสูง งดการเคลื่อนที่และภารกิจ เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดหลุดไปที่ปอด
แต่ในภายหลัง สหคลินิกรัตนเวชสามารถหายามาได้เอง จึงไม่ต้องให้ท่านเอายาออกมาจาก รพ. ค่ายฯ

**********


ด้วยความเห็นใจจึงมาส่ง
จากรอง ผอ. รพ. รัฐ แห่งหนึ่งเช่นเดียวกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่