สิทธิผู้เสียหาย....ที่(ผู้เสียหาย)ไม่เคยรู้ !!!

เครดิต
http://epsyclinic.com/Common/SelfHelpDetails/151
ขึ้นชื่อว่าความผิดคดีอาญาย่อมต้องมีผู้เสียหาย โดยทั่วไปตามกฎหมายความผิดอาญาคือความผิดที่ ผู้ก่อเหตุผิดต่อรัฐเป็นเบื้องต้น แต่นอกจากรัฐแล้วนั้นส่วนใหญ่ของกรณีความผิดทางอาญาจะมีเหยื่อหรือทางกฎหมายเรียกว่า “ผู้เสียหาย” ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของสิทธิที่ผู้เสียหายพึงมี และพึงเรียกร้อง เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าหากวันหนึ่งวันใดเราตกเป็นผู้เสียหาย เราจะได้สามารถรู้กระบวนการที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเราในรูปแบบของสิทธิที่รัฐจัดให้ แน่นอนว่าสิทธิที่ง่ายๆ บางสิทธินั้นเราคงทราบกันอยู่แล้ว อาทิ การร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน การถอนฟ้อง การยอมความ หรือการยื่นอุทธรณ์ฎีกา เป็นต้น แต่วันนี้เราจะพูดถึงสิทธิที่จะทำให้คุณอุทานออกมาว่า “มีจริงหรอ ?? เราทำแบบนี้ได้หรอ ?? เราไม่รู้มาก่อนเลยนะ ??” เลยครับท่านผู้อ่าน
สิทธิที่น่าสนใจและคนทั่วไปมักไม่ทราบ
นอกจากสิทธิที่เราทราบโดยทั่วไปตามกฎหมายที่มักได้ยินได้ฟังอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วนั้นยังมีสิทธิที่รัฐจัดให้ที่จะอำนวยความยุติธรรมให้แก่เราอีกหลายต่อหลายสิทธิด้วย เช่น
1.มีสิทธิในการคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหรือจำเลย : สิทธิในข้อนี้โดยทั่วไปเรามักทราบจากสื่อว่า “พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว” โดยที่เราอาจไม่ทราบเลยว่าการคัดค้านการประกันตัวนั้นสามารถทำได้โดยผู้เสียหายเช่นกัน โดยอาจมาจากเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น หวาดกลัวผู้กระทำผิด เกรงว่าผู้กระทำผิดจะหลบหนี เป็นต้น
2.ผู้เสียหายจะเลือกให้พนักงานสอบสวนตรวจหรือไม่ตรวจร่างกายก็ได้ : ทั้งนี้ในบางครั้งความผิดอาญานั้นเกิดกับร่างกายของผู้เสียหาย แต่หากตัวผู้เสียหายเองไม่มีความสะดวกใจที่จะให้ตรวจร่างกายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามที พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือแม้แต่ศาลก็ไม่มีสิทธิให้ผู้เสียหายเข้ารับการตรวจร่างกายแต่อย่างใด
3.การชี้ตัวผู้ต้องหาต้องอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย : สิทธิในข้อนี้อาจจะกล่าวได้ว่าล้อกับสิทธิในเรื่องการคัดค้านการประกันตัวผู้กระทำผิด เพราะตามหลักการด้านงานกระบวนการยุติธรรมนั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายเป็นประการแรก เพราะหากความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายนั้นรัฐยังรักษาไม่ได้ ก็คงไม่จำเป็นต้องถามหาความยุติธรรมให้เสียเวลาแต่อย่างใด
4. ผู้เสียหายที่เป็นเด็กมีสิทธิที่จะให้ปากคำและการสอบสวนในสถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงมีบุคลากรที่เหมาะสมร่วมในการเข้าฟัง : สิทธิข้อนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นเล็งเห็นถึงสภาพจิตใจของเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามแนวคิดสังคมสงเคราะห์ โดยเจ้าพนักงานมีหน้าที่จะต้องจัดหานักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้เสียหาย ร้องขอ รวมถึงพนักงานอัยการร่วมในการสอบสวนให้ปากคำด้วยเพื่อคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ให้ปากคำเป็นประเด็นสำคัญ
5. กรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศหากผู้เสียหายเป็นหญิง สามารถเรียกร้องให้จัดพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิง : กรณีนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายเล็งเห็นถึงผลกระทบทางจิตใจในการสอบสวนผู้เสียหายจากความผิดเกี่ยวกับเพศที่เป็นหญิง จึงจัดให้ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิงได้เพราะเห็นว่ารูปแบบการสอบซักถามจะเป็นไปอย่างเห็นอกเห็นใจลูกผู้หญิงด้วยกันมากกว่าพนักงานสอบสวนที่เป็นชาย เช่น การถามว่า “แต่งตัวโป๊หละสิถึงถูกข่มขืน” เป็นต้น
6.กรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิสอบถามพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายที่นอกเหนือจากเนื้อหาในทางคดี : เช่นเดียวกับข้อก่อนหน้านี้ที่เป็นสิทธิเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่สิทธิข้อนี้หมายรวมถึงผู้ชายด้วย กล่าวคือ หากเราเป็นผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้น พนักงานสอบสวนบางท่านที่ไม่เชี่ยวชาญด้านหลักจิตวิทยาหรือสังคมสงเคราะห์ อาจจะมีการซักถามที่เกินเลยไปถึง “พฤติกรรมทางเพศ” “รสนิยมทางเพศ” ในชีวิตประจำวันของผู้เสียหายเพียงเพราะเล็งเห็นประโยชน์ในทางคดีโดยลืมนึกถึงผลกระทบทางจิตใจของผู้เสียหาย ซึ่งโดยพื้นฐานจะได้รับผลกระทบอยู่แล้วในกรณีคดีประเภทดังกล่าว
7.มีสิทธิถามคำให้การของผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน : โดยปรกติหากเกิดข้อพิพาทกันทางอาญาก็ต้องมีการสอบสวนให้การกับเจ้าพนักงานสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการค้นหาความจริง และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งในจุดจุดนี้ผู้เสียหายเองในฐานะผู้ได้รับความเสียหายอาจทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐจึงให้สิทธิที่ผู้เสียหายจะซักถามคำให้การของผู้ต้องหาได้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวผู้เสียหายเอง ทั้งในการเตรียมการของทนายความของผู้เสียหาย ในการต่อสู้ในชั้นศาล และความโปร่งใสของพนักงานสอบสวน
8.มีสิทธิที่จะทราบข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐาน : สืบเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่ารัฐนั้นได้บัญญัติกฎหมายไว้เพื่อพิทักษ์สิทธิแก่ผู้เสียหาย ไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในหลายขั้นตอน เช่นข้อนี้ ผู้เสียหายสามารถให้ที่ปรึกษาทางกฎหมายเข้าร่วมตรวจสอบพยานหลักฐาน และเอกสารในทางคดีว่าครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร เพื่อประโยชน์สูงสุดในทางการผดุงไว้เพื่อความถูกต้องของคดีความนั่นเอง
9.มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนผู้เสียหายจากรัฐ : เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยว่าเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐได้ด้วยหรือ คำตอบคือได้ครับ โดยอาศัยอำนาจตาม “พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544” ที่บัญญัติไว้ให้ผู้เสียหายหรือแม้แต่เหยื่อเองสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในทางคดีอาญาจากรัฐได้ด้วย โดยจะมีคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาการจ่ายค่าทดแทนต่างๆ ตามกระบวนการในพ.ร.บ.ดังกล่าว
หากจะกล่าวโดยสรุปให้เข้าใจง่ายอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยในปัจจุบันนั้นมีการเอื้อประโยชน์ ให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้เสียหายในทางคดีอาญาอย่างมากที่จะดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องในทางคดีความ และดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในระบบงานกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบนั่นเอง
อ้างอิง :
https://www.l3nr.org/posts/513465 (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
สิทธิผู้เสียหาย....ที่(ผู้เสียหาย)ไม่เคยรู้ !!!
เครดิต http://epsyclinic.com/Common/SelfHelpDetails/151
ขึ้นชื่อว่าความผิดคดีอาญาย่อมต้องมีผู้เสียหาย โดยทั่วไปตามกฎหมายความผิดอาญาคือความผิดที่ ผู้ก่อเหตุผิดต่อรัฐเป็นเบื้องต้น แต่นอกจากรัฐแล้วนั้นส่วนใหญ่ของกรณีความผิดทางอาญาจะมีเหยื่อหรือทางกฎหมายเรียกว่า “ผู้เสียหาย” ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของสิทธิที่ผู้เสียหายพึงมี และพึงเรียกร้อง เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าหากวันหนึ่งวันใดเราตกเป็นผู้เสียหาย เราจะได้สามารถรู้กระบวนการที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเราในรูปแบบของสิทธิที่รัฐจัดให้ แน่นอนว่าสิทธิที่ง่ายๆ บางสิทธินั้นเราคงทราบกันอยู่แล้ว อาทิ การร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน การถอนฟ้อง การยอมความ หรือการยื่นอุทธรณ์ฎีกา เป็นต้น แต่วันนี้เราจะพูดถึงสิทธิที่จะทำให้คุณอุทานออกมาว่า “มีจริงหรอ ?? เราทำแบบนี้ได้หรอ ?? เราไม่รู้มาก่อนเลยนะ ??” เลยครับท่านผู้อ่าน
สิทธิที่น่าสนใจและคนทั่วไปมักไม่ทราบ
นอกจากสิทธิที่เราทราบโดยทั่วไปตามกฎหมายที่มักได้ยินได้ฟังอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วนั้นยังมีสิทธิที่รัฐจัดให้ที่จะอำนวยความยุติธรรมให้แก่เราอีกหลายต่อหลายสิทธิด้วย เช่น
1.มีสิทธิในการคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหรือจำเลย : สิทธิในข้อนี้โดยทั่วไปเรามักทราบจากสื่อว่า “พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว” โดยที่เราอาจไม่ทราบเลยว่าการคัดค้านการประกันตัวนั้นสามารถทำได้โดยผู้เสียหายเช่นกัน โดยอาจมาจากเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น หวาดกลัวผู้กระทำผิด เกรงว่าผู้กระทำผิดจะหลบหนี เป็นต้น
2.ผู้เสียหายจะเลือกให้พนักงานสอบสวนตรวจหรือไม่ตรวจร่างกายก็ได้ : ทั้งนี้ในบางครั้งความผิดอาญานั้นเกิดกับร่างกายของผู้เสียหาย แต่หากตัวผู้เสียหายเองไม่มีความสะดวกใจที่จะให้ตรวจร่างกายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามที พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือแม้แต่ศาลก็ไม่มีสิทธิให้ผู้เสียหายเข้ารับการตรวจร่างกายแต่อย่างใด
3.การชี้ตัวผู้ต้องหาต้องอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย : สิทธิในข้อนี้อาจจะกล่าวได้ว่าล้อกับสิทธิในเรื่องการคัดค้านการประกันตัวผู้กระทำผิด เพราะตามหลักการด้านงานกระบวนการยุติธรรมนั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายเป็นประการแรก เพราะหากความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายนั้นรัฐยังรักษาไม่ได้ ก็คงไม่จำเป็นต้องถามหาความยุติธรรมให้เสียเวลาแต่อย่างใด
4. ผู้เสียหายที่เป็นเด็กมีสิทธิที่จะให้ปากคำและการสอบสวนในสถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงมีบุคลากรที่เหมาะสมร่วมในการเข้าฟัง : สิทธิข้อนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นเล็งเห็นถึงสภาพจิตใจของเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามแนวคิดสังคมสงเคราะห์ โดยเจ้าพนักงานมีหน้าที่จะต้องจัดหานักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้เสียหาย ร้องขอ รวมถึงพนักงานอัยการร่วมในการสอบสวนให้ปากคำด้วยเพื่อคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ให้ปากคำเป็นประเด็นสำคัญ
5. กรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศหากผู้เสียหายเป็นหญิง สามารถเรียกร้องให้จัดพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิง : กรณีนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายเล็งเห็นถึงผลกระทบทางจิตใจในการสอบสวนผู้เสียหายจากความผิดเกี่ยวกับเพศที่เป็นหญิง จึงจัดให้ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิงได้เพราะเห็นว่ารูปแบบการสอบซักถามจะเป็นไปอย่างเห็นอกเห็นใจลูกผู้หญิงด้วยกันมากกว่าพนักงานสอบสวนที่เป็นชาย เช่น การถามว่า “แต่งตัวโป๊หละสิถึงถูกข่มขืน” เป็นต้น
6.กรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิสอบถามพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายที่นอกเหนือจากเนื้อหาในทางคดี : เช่นเดียวกับข้อก่อนหน้านี้ที่เป็นสิทธิเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่สิทธิข้อนี้หมายรวมถึงผู้ชายด้วย กล่าวคือ หากเราเป็นผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้น พนักงานสอบสวนบางท่านที่ไม่เชี่ยวชาญด้านหลักจิตวิทยาหรือสังคมสงเคราะห์ อาจจะมีการซักถามที่เกินเลยไปถึง “พฤติกรรมทางเพศ” “รสนิยมทางเพศ” ในชีวิตประจำวันของผู้เสียหายเพียงเพราะเล็งเห็นประโยชน์ในทางคดีโดยลืมนึกถึงผลกระทบทางจิตใจของผู้เสียหาย ซึ่งโดยพื้นฐานจะได้รับผลกระทบอยู่แล้วในกรณีคดีประเภทดังกล่าว
7.มีสิทธิถามคำให้การของผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน : โดยปรกติหากเกิดข้อพิพาทกันทางอาญาก็ต้องมีการสอบสวนให้การกับเจ้าพนักงานสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการค้นหาความจริง และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งในจุดจุดนี้ผู้เสียหายเองในฐานะผู้ได้รับความเสียหายอาจทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐจึงให้สิทธิที่ผู้เสียหายจะซักถามคำให้การของผู้ต้องหาได้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวผู้เสียหายเอง ทั้งในการเตรียมการของทนายความของผู้เสียหาย ในการต่อสู้ในชั้นศาล และความโปร่งใสของพนักงานสอบสวน
8.มีสิทธิที่จะทราบข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐาน : สืบเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่ารัฐนั้นได้บัญญัติกฎหมายไว้เพื่อพิทักษ์สิทธิแก่ผู้เสียหาย ไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในหลายขั้นตอน เช่นข้อนี้ ผู้เสียหายสามารถให้ที่ปรึกษาทางกฎหมายเข้าร่วมตรวจสอบพยานหลักฐาน และเอกสารในทางคดีว่าครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร เพื่อประโยชน์สูงสุดในทางการผดุงไว้เพื่อความถูกต้องของคดีความนั่นเอง
9.มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนผู้เสียหายจากรัฐ : เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยว่าเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐได้ด้วยหรือ คำตอบคือได้ครับ โดยอาศัยอำนาจตาม “พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544” ที่บัญญัติไว้ให้ผู้เสียหายหรือแม้แต่เหยื่อเองสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในทางคดีอาญาจากรัฐได้ด้วย โดยจะมีคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาการจ่ายค่าทดแทนต่างๆ ตามกระบวนการในพ.ร.บ.ดังกล่าว
หากจะกล่าวโดยสรุปให้เข้าใจง่ายอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยในปัจจุบันนั้นมีการเอื้อประโยชน์ ให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้เสียหายในทางคดีอาญาอย่างมากที่จะดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องในทางคดีความ และดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในระบบงานกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบนั่นเอง
อ้างอิง : https://www.l3nr.org/posts/513465 (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)