น้ำส้มกับไวน์
การศึกษา กับ ช่องว่างที่ถูกบัง
ลาออกไปทั้งคณะ การศึกษาจะได้มีช่องว่าง...เพื่อพัฒนาในแนวทางที่มืด และ ตีบตัน อย่าดันทุรัง เวลาที่นั่งแท่น มันยาวเกินไป...
“ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย:ที่หลายฝ่ายต่างมีมุมมองของตนเอง มุมมองว่าขาด สมศ.แล้วใครจะประเมิน รับรองผลการศึกษาจากองค์กรภายนอก ที่แท้จริงอยู่ภายใต้การจัดการภายใน ในขณะที่อีกมุมมองคือ สมศ.คือภาระอันหนักหน่วง ของการตรวจสอบล่วงหน้า ที่ต้องทำให้พร้อมก่อนตรวจจริง 3 วันเท่านั้น ทั้งก่อนและหลัง และมุมมองของคนสอง สามฝ่าย สี่ฝ่าย ต่างกระทู้แข่งขันทะเลาะเบาะแว้งกันเองในโลกโซเชี่ยลแคบๆ ของมุมใด มุมหนึ่ง ทั้งไลน์ และ เฟสบุ๊ค
ถ้าผู้บริหารทั้งหมดของ สมศ. ลาออก ทิ้งหัวโขนเสียทั้งคณะ ไปไกลๆ จากการศึกษาสักระยะหนึ่ง คือ เสียงสะท้อนของผม ที่ชื่อ สุดเขต เขียวอุไร ในฐานะ ผู้ประเมินภายนอก กศน. ที่ไม่เข้าฝ่ายข้างใดข้างหนึ่ง ที่อยากให้ทั้งสอง-สามฝ่าย-สี่ฝ่าย ทุกท่านร่วมอ้าปาก ปล่อยน้ำที่ท่วมปากทุกคน จาก ครู อาจารย์ ผู้ประเมินภายนอก และ นักวิชาการประจำองค์กร ประจำหน่วย ประจำบริษัทฯ กล้าออกมา แล้ว กล้าบอกว่า... 3 ประโยค นี้ไม่ใช่ความจริง แม้แต่นิดเดียว
ฝ่าย 1 : ฉันทำแทบตายก่อนตรวจสอบเพียง 1 สัปดาห์ก่อนตรวจ อดหลับ อดนอน ลอกข้อมูลจากโรงเรียนข้างๆ มา บางอย่างฉันมี ฉันทำเอง แต่กลัวมันไม่ดี ฉันต้องมาแก้ไข ฉันทำทำไม แล้ว ผอ.จะดุฉันไหม จะทำอย่างไร แค่คน 3 คนมาตรวจ 3 วัน แต่ฉันก็พูดไม่ได้ ต้องทำ ไม่งั้น ฉันจะโดนอะไร? ฉันจะผ่านไหม? แล้วฉันได้อะไร?
ฝ่าย 2 : ฉันมาตรวจ 3 วัน ฉันก็แค่ทำตามกรอบที่เขาวางมา มีหรือไม่ ถูกหรือไม่ถูก ชัดเจน หรือ ไม่ชัดเจน ฉันก็ไม่ได้เป็นคนคิดเอง พูดมาก ฉันก็ถูกแบล๊คลิส ฉันแนะนำมาก ฉันก็กลัวออกโรงเรียนไม่ได้ ฉันมาแบบกัลยาณิมิตร ที่ไม่ได้ศึกษาระบบบริหารจัดการโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมพฤติกรรมขององค์กรในชาติอย่างถ่องแท้แล้วนำมาใช้ พูดมากไป ต่อไปนักวิชาการที่จัดจ้างเขาก็ไม่ให้ฉันตรวจอีกเพราะถูกร้องเรียน เอกสารเหล่านี้เขาให้ฉันตรวจ เขาทำมา 3 ถึง 5 ปี ไม่ใช่มาทำแค่ 3 – 5 วันก่อนฉันมาตรวจ จะบ่นทำไม
ฝ่าย 3 : ฉันเป็นนักวิชาการ เพียงคนสองคน ที่เหลือเป็นจ้างรายวัน ฉันสอบผ่านมาอย่างยากลำบาก ฉันเก่ง แต่ฉันต้องตรวจ ร.ร.เป็นร้อยๆ พันๆ รวมกันเป็นหมื่นๆ ฉันมี 2 มือ 1 หัวคิด ทั้งรัฐบาล เอกชน ทุกโรงเรียน อีกคนลา อีกคนคลอด อีกคนป่วย ฉันมีอำนาจ ฉันก็ทำได้แค่นี้ ช้าช่างฉันไม่แคร์ ถ้าไม่ดี ฉันก็ผลักไป หรือโทษผู้ประเมินภายนอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ ใครจะทำไม โยนกันไป โยนกันมา ก็สิ้นเรื่อง
ฝ่าย 4 : …………………………………?????
ฝ่าย 5 : Etc. …………………………………?????
เหตุผลที่เราต้องมี สมศ. คือ ในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการบริหารหรือดำเนินกิจการต่างๆที่ต้องมีการดำเนินงานให้ เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การประเมินผล เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดำเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทำให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติ ถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษาและภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา (onesqa.or.th)
เมื่อพูดถึงการบริหารจัดการ ในฐานะผู้บริหาร ธุรกิจองค์การภาคเอกชน ที่เป็นทั้งผู้ประเมินภายนอก ตั้งแต่อายุ 32 ปี ปัจจุบัน 42 ปี ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะตั้งแต่ลงทุนสอบครั้งแรก จนวันนี้ รายได้ที่รับมา ยังไม่คุ้มทุน ในฐานะทำงานทางธุรกิจ ไม่กล้าที่จะคิด เบรกอีเว้นพ๊อยท์ ให้ตัวเองด้วยซ้ำไปในการลงทุน แต่สิ่งที่ได้รับจากการสละเวลาของหน้าที่การงานภาคเอกชน หลบหลีกมาทำงานเพื่อการศึกษาของประเทศ บางครั้งยังโดนนักวิชาการภายในของ สมศ.ว่าเป็นคนไม่มีคุณภาพด้วยซ้ำไป (เชื่อว่า ผู้ประเมินหลายคน คงโดนเหมือนกัน)
ผมไม่มีน้ำท่วมปาก เพราะผมทำงานองค์กรเอกชน ที่มีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติ และ เชื่อว่าสิ่งที่ผมคิดน่าจะมีส่วนสะท้อนให้ คุณๆ ท่านๆ ผู้สวมหัวโขน และ หวงแหนหัวโขนในองค์กร ผู้ที่ไม่กล้าอ้าปากให้น้ำที่ล้นอยู่ไหลออกมาได้รับทราบบ้าง
วันนี้มีคำถามอยากถาม ผอ.สมศ. อยากถาม ดร.คมฯ และ ทีมงานอาจารย์ทุกท่านที่มากันเป็นชุดเดียวกัน ที่ผมเคยพบ ประสบเจอ ที่คุ้งน้ำ ที่บ้านอัมพวา ทั้งชุด อย่างไม่ต้องการคำตอบว่า ในเมื่อดันทุรังในสิ่งที่ทำมาแล้วไม่บังเกิดผล ระยะเวลาที่ทำมาทำให้ความเสื่อมถอย จากระบบความคิดของคนที่ไม่เกิดความเชื่อมั่นในระบบการประเมิน ทั้งที่ที่ประเทศอื่นๆ ทำแล้วได้ผล ทำแล้วประชาชนมีความเชื่อมั่น ทำแล้วผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาเชื่อถือในระบบ ศรัทธาในระบบ ท่านจะอยู่ทำ อีกทำไม? ไม่ปล่อยวางหัวโขนเหล่านั้นให้ผู้อื่นสวนบ้าง เผื่อว่าจะทำได้ดีกว่า....
ซึ่งสำหรับผม ในทางธุรกิจ ผู้บริหาร นักบริหารที่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย หรือ จุดมุ่งหมายที่วางไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณาตัวเองทันที ....
ทำไมไม่ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาสวมบทบาทแทน สปิริตง่ายๆ ตรรกง่ายๆ ว่า ทุกวันต้องมีคนเก่งกว่า ดีกว่า มาแทนได้เสมอ... ท่านทั้งหลายหวงเก้าอี้ทำไม ในเมื่อ ขณะนี้ ความศรัทธา สมศ. นั้นเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือไม่นั้น พวกคุณเท่านั้นที่รู้ดี
ถ้ารัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นั่งแต่เครื่องบิน ก็จะไม่รู้ว่า การเดินทางโดยภาคพื้นดินมีปัญหาอะไร ถ้าท่านเดินทางโดยความคิดและระบบของตนเอง ท่านก็จะไม่ทราบความคิดและระบบของผู้อื่นว่าเป็นอย่างไร? ตราบใดที่ท่านยังกินน้ำจากแก้ว ที่มีเลขาชื่อแบ๊งค์ประทานให้ ท่านก็จะไม่สามารถกดน้ำกินเองได้
.... ในทางธุรกิจ ก็เป็นแบบนี้ ที่เขาประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ทางการบริหารก็เป็นเช่นนี้ง่ายๆ บางสถาบันการศึกษาเปิดเกรด ปิดเกรด ดูเกรด โอนเกรด ผิดเกรด ขาดคุณภาพ ผิดคุณภาพ ไร้คุณภาพ ก็มีนักวิชาการของท่าน นั่งทำงานอยู่ในนั้น ... ท่านเองก็ทราบดี
แต่หากวันนี้ท่าน(คุณ) ไม่สามารถบริหารจัดการภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลด้านลบจากองค์กรภายในยังถูกส่งออกมา ดิสก์เครดิตขององค์กรเอง บุคลากรภายในยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของการให้บริการสู่วัฒนธรรมทางการศึกษา ที่มีชั้นวรรณะมาอย่างยาวนาน อย่าคิดอยู่บริหารจัดการ องค์การศึกษาระดับประเทศเลย ลองถอยออกมา ให้ดูอยู่ห่างๆ ว่า ปัญหาอะไร ที่ศรัทธา ของ สมศ. องค์กรที่มีคุณภาพ องค์กรที่ในประเทศที่เจริญแล้ว สามารถทำได้ ทำไม ถึง มีคำว่า “คุณภาพ” ลองให้ผู้อื่น นั่งแท่นดู มันน่าจะดีกว่านี้ ....
ลิงค์
http://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/ ยืนยันว่าวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ผิดพลาด โดยผลการประเมินไม่มีความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และแนะนำให้ยกเลิกวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเสีย ซึ่งล่าสุด งบประมาณประจำปี (พ.ศ. 2556) ของกระทรวงศึกษาธิการพุ่งขึ้นไปถึง 4.6 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาต่องบประมาณรวมที่สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน แต่ผลการจัดอันดับด้านคุณภาพการศึกษาโดย World Economic Forum ปี พ.ศ. 2556 ให้ไทยอยู่อันดับที่ 8 ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มรั้งท้ายในตาราง
นี่คืออีกคำตอบ ที่ผมอยากให้ท่าน(คุณ) พิจารณาลาออก แล้วให้ผู้อื่นมาทำแทน...............
ขอแสดงความนับถือ
.............สุดเขต เขียวอุไร
ถ้าผู้บริหารทั้งหมดของ สมศ. ลาออก ทิ้งหัวโขนเสียทั้งคณะ ไปไกลๆ จากการศึกษาสักระยะหนึ่ง คือ เสียงสะท้อนของผม
การศึกษา กับ ช่องว่างที่ถูกบัง
ลาออกไปทั้งคณะ การศึกษาจะได้มีช่องว่าง...เพื่อพัฒนาในแนวทางที่มืด และ ตีบตัน อย่าดันทุรัง เวลาที่นั่งแท่น มันยาวเกินไป...
“ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย:ที่หลายฝ่ายต่างมีมุมมองของตนเอง มุมมองว่าขาด สมศ.แล้วใครจะประเมิน รับรองผลการศึกษาจากองค์กรภายนอก ที่แท้จริงอยู่ภายใต้การจัดการภายใน ในขณะที่อีกมุมมองคือ สมศ.คือภาระอันหนักหน่วง ของการตรวจสอบล่วงหน้า ที่ต้องทำให้พร้อมก่อนตรวจจริง 3 วันเท่านั้น ทั้งก่อนและหลัง และมุมมองของคนสอง สามฝ่าย สี่ฝ่าย ต่างกระทู้แข่งขันทะเลาะเบาะแว้งกันเองในโลกโซเชี่ยลแคบๆ ของมุมใด มุมหนึ่ง ทั้งไลน์ และ เฟสบุ๊ค
ถ้าผู้บริหารทั้งหมดของ สมศ. ลาออก ทิ้งหัวโขนเสียทั้งคณะ ไปไกลๆ จากการศึกษาสักระยะหนึ่ง คือ เสียงสะท้อนของผม ที่ชื่อ สุดเขต เขียวอุไร ในฐานะ ผู้ประเมินภายนอก กศน. ที่ไม่เข้าฝ่ายข้างใดข้างหนึ่ง ที่อยากให้ทั้งสอง-สามฝ่าย-สี่ฝ่าย ทุกท่านร่วมอ้าปาก ปล่อยน้ำที่ท่วมปากทุกคน จาก ครู อาจารย์ ผู้ประเมินภายนอก และ นักวิชาการประจำองค์กร ประจำหน่วย ประจำบริษัทฯ กล้าออกมา แล้ว กล้าบอกว่า... 3 ประโยค นี้ไม่ใช่ความจริง แม้แต่นิดเดียว
ฝ่าย 1 : ฉันทำแทบตายก่อนตรวจสอบเพียง 1 สัปดาห์ก่อนตรวจ อดหลับ อดนอน ลอกข้อมูลจากโรงเรียนข้างๆ มา บางอย่างฉันมี ฉันทำเอง แต่กลัวมันไม่ดี ฉันต้องมาแก้ไข ฉันทำทำไม แล้ว ผอ.จะดุฉันไหม จะทำอย่างไร แค่คน 3 คนมาตรวจ 3 วัน แต่ฉันก็พูดไม่ได้ ต้องทำ ไม่งั้น ฉันจะโดนอะไร? ฉันจะผ่านไหม? แล้วฉันได้อะไร?
ฝ่าย 2 : ฉันมาตรวจ 3 วัน ฉันก็แค่ทำตามกรอบที่เขาวางมา มีหรือไม่ ถูกหรือไม่ถูก ชัดเจน หรือ ไม่ชัดเจน ฉันก็ไม่ได้เป็นคนคิดเอง พูดมาก ฉันก็ถูกแบล๊คลิส ฉันแนะนำมาก ฉันก็กลัวออกโรงเรียนไม่ได้ ฉันมาแบบกัลยาณิมิตร ที่ไม่ได้ศึกษาระบบบริหารจัดการโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมพฤติกรรมขององค์กรในชาติอย่างถ่องแท้แล้วนำมาใช้ พูดมากไป ต่อไปนักวิชาการที่จัดจ้างเขาก็ไม่ให้ฉันตรวจอีกเพราะถูกร้องเรียน เอกสารเหล่านี้เขาให้ฉันตรวจ เขาทำมา 3 ถึง 5 ปี ไม่ใช่มาทำแค่ 3 – 5 วันก่อนฉันมาตรวจ จะบ่นทำไม
ฝ่าย 3 : ฉันเป็นนักวิชาการ เพียงคนสองคน ที่เหลือเป็นจ้างรายวัน ฉันสอบผ่านมาอย่างยากลำบาก ฉันเก่ง แต่ฉันต้องตรวจ ร.ร.เป็นร้อยๆ พันๆ รวมกันเป็นหมื่นๆ ฉันมี 2 มือ 1 หัวคิด ทั้งรัฐบาล เอกชน ทุกโรงเรียน อีกคนลา อีกคนคลอด อีกคนป่วย ฉันมีอำนาจ ฉันก็ทำได้แค่นี้ ช้าช่างฉันไม่แคร์ ถ้าไม่ดี ฉันก็ผลักไป หรือโทษผู้ประเมินภายนอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ ใครจะทำไม โยนกันไป โยนกันมา ก็สิ้นเรื่อง
ฝ่าย 4 : …………………………………?????
ฝ่าย 5 : Etc. …………………………………?????
เหตุผลที่เราต้องมี สมศ. คือ ในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการบริหารหรือดำเนินกิจการต่างๆที่ต้องมีการดำเนินงานให้ เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การประเมินผล เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดำเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทำให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติ ถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษาและภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา (onesqa.or.th)
เมื่อพูดถึงการบริหารจัดการ ในฐานะผู้บริหาร ธุรกิจองค์การภาคเอกชน ที่เป็นทั้งผู้ประเมินภายนอก ตั้งแต่อายุ 32 ปี ปัจจุบัน 42 ปี ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะตั้งแต่ลงทุนสอบครั้งแรก จนวันนี้ รายได้ที่รับมา ยังไม่คุ้มทุน ในฐานะทำงานทางธุรกิจ ไม่กล้าที่จะคิด เบรกอีเว้นพ๊อยท์ ให้ตัวเองด้วยซ้ำไปในการลงทุน แต่สิ่งที่ได้รับจากการสละเวลาของหน้าที่การงานภาคเอกชน หลบหลีกมาทำงานเพื่อการศึกษาของประเทศ บางครั้งยังโดนนักวิชาการภายในของ สมศ.ว่าเป็นคนไม่มีคุณภาพด้วยซ้ำไป (เชื่อว่า ผู้ประเมินหลายคน คงโดนเหมือนกัน)
ผมไม่มีน้ำท่วมปาก เพราะผมทำงานองค์กรเอกชน ที่มีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติ และ เชื่อว่าสิ่งที่ผมคิดน่าจะมีส่วนสะท้อนให้ คุณๆ ท่านๆ ผู้สวมหัวโขน และ หวงแหนหัวโขนในองค์กร ผู้ที่ไม่กล้าอ้าปากให้น้ำที่ล้นอยู่ไหลออกมาได้รับทราบบ้าง
วันนี้มีคำถามอยากถาม ผอ.สมศ. อยากถาม ดร.คมฯ และ ทีมงานอาจารย์ทุกท่านที่มากันเป็นชุดเดียวกัน ที่ผมเคยพบ ประสบเจอ ที่คุ้งน้ำ ที่บ้านอัมพวา ทั้งชุด อย่างไม่ต้องการคำตอบว่า ในเมื่อดันทุรังในสิ่งที่ทำมาแล้วไม่บังเกิดผล ระยะเวลาที่ทำมาทำให้ความเสื่อมถอย จากระบบความคิดของคนที่ไม่เกิดความเชื่อมั่นในระบบการประเมิน ทั้งที่ที่ประเทศอื่นๆ ทำแล้วได้ผล ทำแล้วประชาชนมีความเชื่อมั่น ทำแล้วผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาเชื่อถือในระบบ ศรัทธาในระบบ ท่านจะอยู่ทำ อีกทำไม? ไม่ปล่อยวางหัวโขนเหล่านั้นให้ผู้อื่นสวนบ้าง เผื่อว่าจะทำได้ดีกว่า....
ซึ่งสำหรับผม ในทางธุรกิจ ผู้บริหาร นักบริหารที่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย หรือ จุดมุ่งหมายที่วางไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณาตัวเองทันที ....
ทำไมไม่ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาสวมบทบาทแทน สปิริตง่ายๆ ตรรกง่ายๆ ว่า ทุกวันต้องมีคนเก่งกว่า ดีกว่า มาแทนได้เสมอ... ท่านทั้งหลายหวงเก้าอี้ทำไม ในเมื่อ ขณะนี้ ความศรัทธา สมศ. นั้นเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือไม่นั้น พวกคุณเท่านั้นที่รู้ดี
ถ้ารัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นั่งแต่เครื่องบิน ก็จะไม่รู้ว่า การเดินทางโดยภาคพื้นดินมีปัญหาอะไร ถ้าท่านเดินทางโดยความคิดและระบบของตนเอง ท่านก็จะไม่ทราบความคิดและระบบของผู้อื่นว่าเป็นอย่างไร? ตราบใดที่ท่านยังกินน้ำจากแก้ว ที่มีเลขาชื่อแบ๊งค์ประทานให้ ท่านก็จะไม่สามารถกดน้ำกินเองได้
.... ในทางธุรกิจ ก็เป็นแบบนี้ ที่เขาประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ทางการบริหารก็เป็นเช่นนี้ง่ายๆ บางสถาบันการศึกษาเปิดเกรด ปิดเกรด ดูเกรด โอนเกรด ผิดเกรด ขาดคุณภาพ ผิดคุณภาพ ไร้คุณภาพ ก็มีนักวิชาการของท่าน นั่งทำงานอยู่ในนั้น ... ท่านเองก็ทราบดี
แต่หากวันนี้ท่าน(คุณ) ไม่สามารถบริหารจัดการภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลด้านลบจากองค์กรภายในยังถูกส่งออกมา ดิสก์เครดิตขององค์กรเอง บุคลากรภายในยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของการให้บริการสู่วัฒนธรรมทางการศึกษา ที่มีชั้นวรรณะมาอย่างยาวนาน อย่าคิดอยู่บริหารจัดการ องค์การศึกษาระดับประเทศเลย ลองถอยออกมา ให้ดูอยู่ห่างๆ ว่า ปัญหาอะไร ที่ศรัทธา ของ สมศ. องค์กรที่มีคุณภาพ องค์กรที่ในประเทศที่เจริญแล้ว สามารถทำได้ ทำไม ถึง มีคำว่า “คุณภาพ” ลองให้ผู้อื่น นั่งแท่นดู มันน่าจะดีกว่านี้ ....
ลิงค์http://thaipublica.org/2012/02/failure-thai-educational-system/ ยืนยันว่าวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ผิดพลาด โดยผลการประเมินไม่มีความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และแนะนำให้ยกเลิกวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาดังกล่าวเสีย ซึ่งล่าสุด งบประมาณประจำปี (พ.ศ. 2556) ของกระทรวงศึกษาธิการพุ่งขึ้นไปถึง 4.6 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาต่องบประมาณรวมที่สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน แต่ผลการจัดอันดับด้านคุณภาพการศึกษาโดย World Economic Forum ปี พ.ศ. 2556 ให้ไทยอยู่อันดับที่ 8 ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มรั้งท้ายในตาราง
นี่คืออีกคำตอบ ที่ผมอยากให้ท่าน(คุณ) พิจารณาลาออก แล้วให้ผู้อื่นมาทำแทน...............
ขอแสดงความนับถือ
.............สุดเขต เขียวอุไร