กรุงเทพฯ 31 มี.ค. – นายก อบต.และชาวบ้านรอบเหมืองทองคำชาตรียื่นหนังสือสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำ ด้านอธิบดี กพร.ฝากผู้นำชุมชนทำความเข้าใจชาวบ้าน
นายกฤษณ ก้อนแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก พร้อมด้วยนายฝ้าย มหาสัตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังโพรง และชาวบ้านแท้จริงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ชี้แจงข้อมูลสถานการณ์จริงของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำชาตรีและขอสนับสนุนการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ของบริษัท อัครา รีอร์สเซส จำกัด (มหาชน) พร้อมสำเนาบัญชีรายชื่อและหมายเลขบัตรประชาชนชาวบ้าน 5,787 ราย จาก 29 หมู่บ้าน ของ 4 ตำบล ใน 3 จังหวัดรอบเหมืองฯ และสำเนาใบแจ้งความจากกลุ่มประชาชนที่เกรงว่าจะถูกหลอกลวงให้เซ็นชื่อรับพืชผักฟรี แต่กลับนำรายชื่อดังกล่าวไปรวมเป็นประชาชนผู้ประท้วงเหมืองแร่ทองคำชาตรี เพื่อเป็นข้อมูลให้ภาครัฐในการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ อธิบดี กพร. กล่าวว่า ชาวบ้านใกล้เหมืองหลายคนยังไม่ทราบว่าเหมืองทำอะไรบ้าง เหมืองกับชาวบ้านต้องสื่อสารกันให้มากขึ้น สิ่งที่เหมืองทำแล้วชาวบ้านไม่รู้ จึงอยากให้ผู้นำชุมชนสื่อสารทั้งบวก ลบ กับชาวบ้าน ทราบมาว่ามีชาวบ้านกว่าร้อยละ 30 ไม่ได้ทั้งคัดค้านและสนับสนุนเหมือง แต่บางครั้งไม่รู้เหมืองทำอะไรบ้าง จึงอยากให้มีการสื่อสารให้ถึงชาวบ้านให้มากขึ้น
ขอขอบคุณข่าวจาก:
http://www.tnamcot.com/content/437110
เศรษฐกิจ อธิบดี กพร.ฝากผู้นำชุมชนทำความเข้าใจชาวบ้านรอบเหมือง
กรุงเทพฯ 31 มี.ค. – นายก อบต.และชาวบ้านรอบเหมืองทองคำชาตรียื่นหนังสือสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำ ด้านอธิบดี กพร.ฝากผู้นำชุมชนทำความเข้าใจชาวบ้าน
นายกฤษณ ก้อนแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก พร้อมด้วยนายฝ้าย มหาสัตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังโพรง และชาวบ้านแท้จริงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ชี้แจงข้อมูลสถานการณ์จริงของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำชาตรีและขอสนับสนุนการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ของบริษัท อัครา รีอร์สเซส จำกัด (มหาชน) พร้อมสำเนาบัญชีรายชื่อและหมายเลขบัตรประชาชนชาวบ้าน 5,787 ราย จาก 29 หมู่บ้าน ของ 4 ตำบล ใน 3 จังหวัดรอบเหมืองฯ และสำเนาใบแจ้งความจากกลุ่มประชาชนที่เกรงว่าจะถูกหลอกลวงให้เซ็นชื่อรับพืชผักฟรี แต่กลับนำรายชื่อดังกล่าวไปรวมเป็นประชาชนผู้ประท้วงเหมืองแร่ทองคำชาตรี เพื่อเป็นข้อมูลให้ภาครัฐในการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ อธิบดี กพร. กล่าวว่า ชาวบ้านใกล้เหมืองหลายคนยังไม่ทราบว่าเหมืองทำอะไรบ้าง เหมืองกับชาวบ้านต้องสื่อสารกันให้มากขึ้น สิ่งที่เหมืองทำแล้วชาวบ้านไม่รู้ จึงอยากให้ผู้นำชุมชนสื่อสารทั้งบวก ลบ กับชาวบ้าน ทราบมาว่ามีชาวบ้านกว่าร้อยละ 30 ไม่ได้ทั้งคัดค้านและสนับสนุนเหมือง แต่บางครั้งไม่รู้เหมืองทำอะไรบ้าง จึงอยากให้มีการสื่อสารให้ถึงชาวบ้านให้มากขึ้น
ขอขอบคุณข่าวจาก: http://www.tnamcot.com/content/437110