ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะหัวหน้าคณะนักวิจัยได้ร่วมกับคณะนักศึกษาและคณาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนพิจิตร วิทยาเขตทับคล้อ โดยได้รับความเมตตาจาก นายวิชัย ชวนรักษาสัตย์ ผู้อำนวยการวิทยาเขต และนักศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวนรวม 18 คน ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยมุ่งเน้นในพื้นที่รอบเหมืองทองคำโดยเฉพาะในตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และในเขตตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนนี้ จะเป็นเครื่องชี้ถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำโดยตรง อันถือเป็นการประมวลความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจนั้น สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากน้อยเพียงใด รัฐบาลจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการวางนโยบายและแผน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เหมาะสมอันถือเป็นการฟังความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง และในการสำรวจนี้ ได้จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 596 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่โดยรอบเหมืองทองคำชาตรีของ บมจ.อัครา รีซอร์สเซส
ประชาชนถึงสี่ในห้าต้องการเหมืองทองคำ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อกรณีเห็นควรให้ปิดเหมือง หรือไม่ควรปิดโดยให้ดำเนินการต่อไป เป็นดังนี้:
ตารางที่ 1: ความเห็นของประชาชนต่อการปิดเหมืองทองคำ
ให้ปิดเหมือง 133 22%
ไม่ควรปิด 463 78%
รวม 596 100%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึง 78% หรือราวสี่ในห้า ต้องการให้เหมืองเปิดดำเนินการต่อไป มีเพียงส่วนน้อยราว 22% ที่เห็นควรให้ปิดเหมืองตามคำสั่งของทางราชการ การนี้จึงแสดงให้เห็นว่าความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่คือความต้องการเหมือง ส่วนที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาคัดค้านนั้น ในแง่หนึ่งเป็นคนส่วนน้อย (ซึ่งก็พึงรับฟัง) และในอีกแง่หนึ่งก็เป็นกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไมได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากการอยู่อาศัยในพื้นที่
เหตุผลความเห็นชอบต่อการทำเหมืองต่อไป
สำหรับเหตุผลต่อความเห็นชอบของประชาชนต่อการทำเหมืองต่อไปนี้ ส่วนมากเป็นประเด็นด้านเศรษฐกิจและการไม่เห็นว่ามีมลพิษจริงตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้:
1. กลัวคนในชุมชนตกงาน
2. กำลังพัฒนาดี
3. เกิดการกระจายรายได้/ค้าขายดีขึ้น
4. ขาดเงินสนับสนุนชุมชน/หมู่บ้าน
5. ขาดลูกค้า/รายได้
6. ชุมชนต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดหากเหมืองทองคำปิด
7. ทางบริษัทมีการช่วยเหลือชุมชนในชมชนเสมอ
8. ทำให้เศรษฐกิจชุมชนแย่ลง-ถ้าปิดจะเอาอะไรกิน
9. เพราะเหมืองไม่ได้ส่งผลอะไรมาก/ไม่มีผลกระทบ
10. โรงเรียนจะไม่ได้รับทุนสนับสนุน
11. เหมืองจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนมาก
ทั้งนี้สอดคล้องกับความเห็นของหอการค้าจังหวัดพิจิตรและคู่ค้าอัคราฯ ที่ยื่นหนังสือถึงทางราชการโดยระบุว่าการปิดเหมืองทอง จะทำให้เศรษฐกิจ 4,000 ล้านบาทต่อปี "มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งจังหวัดในปี 2541 ที่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 6 หมื่นล้านบาทในปี 2556 . . . เฉพาะรายได้ค่าภาคหลวงแร่ในช่วงปี 2541 ถึงปี 2556 ยังคิดเป็น 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ทั้งหมดของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์อีกด้วย . . . พิจิตรมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับ 4 ของภาคเหนือ และอยู่ในลำดับที่ 29 ของทั้งประเทศในปี 2556 ที่ผ่านมา" {2}
เหตุผลที่ควรหยุดการหยุดการทำเหมือง
ในทางตรงกันข้าม เหตุผลของการหยุดการทำเหมือง มีดังนี้
1. กลัวตนเองลูกหลานได้รับสารพิษ/สารเคมี
2. กลัวเป็นโรค
3. คนที่ทำงานแล้วได้รับผลกระทบ ไม่มีการช่วยเหลือใดใดทั้งสิ้น
4. คนในชุมชนเดือดร้อน-ป่วย-เสียชีวิต
5. คนในพื้นที่ไม่ค่อยได้รับผลประโยชน์
6. จะได้ไม่มีเสียง (ดัง) มารบกวนอีก
7. ต้องทำตามกฎหมาย (ตามที่รัฐบาลสั่ง)
8. ทำลายสิ่งแวดล้อม
9. ผักและน้ำกินไม่ได้เพราะมีสารพิษ ไม่สะอาด
10. ฝุ่นละออง
11. มีผลเสียมากกว่าผลดี
12. ไม่เคยช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน
13. ไม่ปรับปรุงแก้ไขเรื่องสารพิษ
14. ไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
15. อากาศเสีย
อาชีพกับการปิดเหมือง
แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะเห็นด้วยกับการให้เหมืองคงอยู่ต่อไป แต่หากวิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่า อาชีพที่แตกต่างกันก็มีสัดส่วนของความเห็นด้วยหรือไม่ที่แตกต่างไปบ้างเช่นกัน
ตารางที่ 2: อาชีพกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อาชีพ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ข้าราชการ 10 19 29 66%
ค้าขาย/อิสระ 50 155 205 76%
พนง.เหมือง/เกี่ยวข้อง 5 79 84 94%
พนง.เอกชนอื่น 10 31 41 76%
เกษตรกร 46 124 170 73%
อื่นๆ 12 55 67 82%
รวมทั้งหมด 133 463 596 78%
รวมแต่ไม่เอาข้าราชการ 123 444 567 78%
รวมที่ไม่รวม พนง.เหมือง 128 384 512 75%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าแม้ส่วนใหญ่ถึงเกือบ 80% จะต้องการให้เหมืองเปิดดำเนินการต่อไป แต่จะพบว่าข้าราชการ มีความต้องการเช่นนี้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าคือ 66% หรือราวสองในสาม ในขณะที่ประชาชนทั่วไปสี่ในห้าต้องการเหมือง กรณีเช่นนี้คงเป็นเพราะข้าราชการไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการทำเหมือง และคงวิตกไปตามการกล่าวอ้างถึงเรื่องมลพิษ แต่หากตัดกลุ่มข้าราชการออกไป ก็ยังพบว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังต้องการมีเหมืองต่อไป ในทางตรงกันข้ามกลุ่มคนที่ทำงานในเหมืองหรือเป็นบริษัทรับจ้างต่อมีสัดส่วนถึง 94% ที่ต้องการให้เหมืองดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตามหากตัดกลุ่มนี้ทิ้งไป ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้มีอาชีพที่เกี่ยวกับการทำเหมืองส่วนใหญ่ถึง 75% ก็ยังต้องการให้เหมืองดำเนินการต่อไป
อายุและระยะเวลาการอยู่อาศัย
หากพิจารณาถึงช่วงอายุ และระยะเวลาการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อการปิดเหมืองอย่างไรบ้าง ก็ได้พบดังนี้:
ตารางที่ 3: อายุของประชาชนกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อายุ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ไม่เกิน 30 ปี 28 75 103 73%
31-45 ปี 25 76 101 75%
46-60 ปี 36 144 180 80%
มากกว่า 60 ปี 44 168 212 79%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนในชุมชนที่มีอายุที่แตกต่างกันตั้งแต่อายุไม่เกิน 30 ปีที่ยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ จนถึงกลุ่มผู้สูงวัย (อายุเกิน 60 ปี) ก็ไม่ได้มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการเหมืองทองคำ
ตารางที่ 4: ระยะเวลาในการอยู่อาศัยในชุมชนกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อายุ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ไม่เกิน 10 ปี 21 39 60 65%
11-20 ปี 22 61 83 73%
21-30 ปี 18 92 110 84%
31 ปีขึ้นไป 72 271 343 79%
133 463 596 78%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในแทบทุกหมู่บ้านต่างเห็นด้วยกับการให้มีเหมืองทองคำต่อไป มีเพียงบ้านหมู่ 8 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัด ที่มีผู้เห็นด้วยกับการคงเหมืองทองคำ 59% และที่บ้านหมู่ 5 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวดเพชรบูรณ์ ที่เห็นด้วยกับการคงเหมืองทองคำ 52% แต่ก็ยังถือได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านทั้งสองแห่งนี้ยังเห็นด้วยกับการมีเหมืองทองคำ และหากไม่นับรวมสองหมู่บ้านนี้ สัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วยกับเหมืองทองคำ จะสูงถึง 83%
ความเห็นต่อมลพิษและเหมือง
ประชาชนในส่วนที่เห็นด้วยกับการปิดเหมืองเห็นว่าระดับมลพิษของเหมืองมีสูงถึง 7.2 คะแนนจาก 10 คะแนนเต็ม ส่วนประชาชนกลุ่มที่ไม่เห็นควรให้ปิดเหมือง กลับมีความเห็นในเชิงที่แทบจะไม่มีมลพิษเลย (คะแนน 1 คือไม่มีมลพิษ)
ตารางที่ 5: ความเห็นของประชาชนต่อระดับมลพิษและการทำประโยชน์ของเหมือง
ความเห็น ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด เฉลี่ย
ระดับมลพิษที่เกิดจากเหมือง 7.2 1.7 2.9
การมีเหมืองส่งผลดีเพียงใด 3.8 9.1 7.9
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
ในทางตรงกันข้าม ต่อความเห็นว่าการมีเหมืองทองคำ ส่งผลดีต่อชุมชนมากน้อยเพียงใด ผลปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วส่งผลดีมาก (7.9 คะแนนจาก 10 คะแนนเต็ม) โดยเฉพาะกลุ่มที่เห็นด้วยกับการมีเหมืองให้คะนนถึง 9.1 ส่วนในกลุ่มที่ต้องการให้ปิดเหมือง ก็ยังเห็นคุณประโยชน์ของการมีเหมืองพอสมควร คือประมาณ 3.8 คะแนน แสดงว่าเหมืองก็ได้สร้างคุณูปการเป็นที่ประจักษ์พอสมควร
การป่วยและเสียชีวิตจากการทำเหมือง?
มักมีการกล่าวอ้างกันว่า การป่วยและตายของประชาชนในพื้นที่นั้น เกิดขึ้นจากการทำเหมืองทองคำ คณะนักวิจัยจึงได้สัมภาษณ์ประชาชนว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาในชุมชนของท่านมีผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองทองคำกี่คน ผลการศึกษาเป็นดังนี้:
ตารางที่ 5: การแยกแยะความเห็นรายหมู่บ้าน
หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ตาย ป่วย
1-2 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
2 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
3 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
4 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
7 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 6
8 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 30 20
9 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
1 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
2-4 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
3 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
5 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 10 10
7 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 4
8 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
9 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
10 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
12 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
4 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
8 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
9 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
รวม 40 40
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
ในการสำรวจ ในแต่ละหมู่บ้านแทบไม่มีการระบุจำนวนผู้เสียชีวิตและป่วยที่คาดว่าจะมาจากมลพิษของการทำเหมืองทองคำในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาเลย ต่างจากความเชื่อของประชาชนทั่วไปในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตสูงสุดถึง 30 ราย และป่วย 20 ราย ส่วนที่หมู่ 5 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตในรอบ 3 ปี 10 ราย และป่วย 10 ราย อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการพิสูจน์ เป็นเพียงจำนวนสูงสุดที่ให้สัมภาษณ์
ประชาชนผู้ให้สัมภาษณ์หลายรายระบุว่า หลายคนเสียชีวิตเพราะโรคชรา ก็ถูกนำมาอ้างว่าเสียชีวิตเพราะมลพิษจากเหมืองทองคำ ที่สำคัญประชาชนในส่วนที่ทำงานกับเหมือง ก็ยังแข็งแรงดี หากเหมืองมีสารพิษจริง คนทำงานในโรงงานก็คงรู้และไม่กล้าเข้าไปทำงานด้วย
ประชาชนไม่ได้เสียชีวิตเพราะเหมือง
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต เช่นกรณีนายสมคิด ธรรมพเวช ที่เสียชีวิตจากสาเหตุปอดอักเสบบวม และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเนื้อปอด ไม่มีสาเหตุมาจากการทำงานในเหมืองแร่ทองคำชาตรี โดยภริยานายสมคิดระบุว่า "แต่ยังมีผู้ไม่หวังดีแอบอ้างการเสียชีวิตของสามีตน นำไปเป็นข้ออ้างในการต่อต้านเหมืองแร่ทองคำชาตรีอยู่อีก นอกจากนี้ ยังมีการไปแอบอ้างรับบริจาคเงินด้วย โดยที่ตนเองและครอบครัวไม่ได้อนุญาต และไม่ได้รับเงินที่รับบริจาค" {3}
อีกกรณีหนึ่งก็คือนายเฉื่อย บุญส่ง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำ ได้เสียชีวิตลงโดยจากการตรวจสอบพบสารแมงกานีสสูงเกินค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามนายเฉื่อยก็มีโรคตับแข็งด้วย {4} ส่วนในกรณีพบสารเคมีนั้น จากการตรวจสอบของทางราชการกลับพบว่าในพื้นที่รอบเหมืองมีสารเคมี (เหล็ก แมงกานีส สารหนู) เกินค่ามาตรฐานก่อนการทำเหมืองแล้ว {5} ยิ่งกว่านั้นการที่คนไข้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น โรคนี้คงไม่ได้เกิดจากการทำเหมืองเพราะแม้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็เกิดขึ้นทั่วโลก จนถึงขนาดมีการรณรงค์ Ice Bucket Challenge ในช่วงที่ผ่านมา {6}
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1428.htm
เกือบ 80% ของประชาชนรอบเหมืองทองคำพิจิตรยังต้องการเหมือง
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนนี้ จะเป็นเครื่องชี้ถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำโดยตรง อันถือเป็นการประมวลความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจนั้น สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากน้อยเพียงใด รัฐบาลจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการวางนโยบายและแผน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เหมาะสมอันถือเป็นการฟังความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง และในการสำรวจนี้ ได้จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 596 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่โดยรอบเหมืองทองคำชาตรีของ บมจ.อัครา รีซอร์สเซส
ประชาชนถึงสี่ในห้าต้องการเหมืองทองคำ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อกรณีเห็นควรให้ปิดเหมือง หรือไม่ควรปิดโดยให้ดำเนินการต่อไป เป็นดังนี้:
ตารางที่ 1: ความเห็นของประชาชนต่อการปิดเหมืองทองคำ
ให้ปิดเหมือง 133 22%
ไม่ควรปิด 463 78%
รวม 596 100%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึง 78% หรือราวสี่ในห้า ต้องการให้เหมืองเปิดดำเนินการต่อไป มีเพียงส่วนน้อยราว 22% ที่เห็นควรให้ปิดเหมืองตามคำสั่งของทางราชการ การนี้จึงแสดงให้เห็นว่าความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่คือความต้องการเหมือง ส่วนที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาคัดค้านนั้น ในแง่หนึ่งเป็นคนส่วนน้อย (ซึ่งก็พึงรับฟัง) และในอีกแง่หนึ่งก็เป็นกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไมได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากการอยู่อาศัยในพื้นที่
เหตุผลความเห็นชอบต่อการทำเหมืองต่อไป
สำหรับเหตุผลต่อความเห็นชอบของประชาชนต่อการทำเหมืองต่อไปนี้ ส่วนมากเป็นประเด็นด้านเศรษฐกิจและการไม่เห็นว่ามีมลพิษจริงตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้:
1. กลัวคนในชุมชนตกงาน
2. กำลังพัฒนาดี
3. เกิดการกระจายรายได้/ค้าขายดีขึ้น
4. ขาดเงินสนับสนุนชุมชน/หมู่บ้าน
5. ขาดลูกค้า/รายได้
6. ชุมชนต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดหากเหมืองทองคำปิด
7. ทางบริษัทมีการช่วยเหลือชุมชนในชมชนเสมอ
8. ทำให้เศรษฐกิจชุมชนแย่ลง-ถ้าปิดจะเอาอะไรกิน
9. เพราะเหมืองไม่ได้ส่งผลอะไรมาก/ไม่มีผลกระทบ
10. โรงเรียนจะไม่ได้รับทุนสนับสนุน
11. เหมืองจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนมาก
ทั้งนี้สอดคล้องกับความเห็นของหอการค้าจังหวัดพิจิตรและคู่ค้าอัคราฯ ที่ยื่นหนังสือถึงทางราชการโดยระบุว่าการปิดเหมืองทอง จะทำให้เศรษฐกิจ 4,000 ล้านบาทต่อปี "มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งจังหวัดในปี 2541 ที่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 6 หมื่นล้านบาทในปี 2556 . . . เฉพาะรายได้ค่าภาคหลวงแร่ในช่วงปี 2541 ถึงปี 2556 ยังคิดเป็น 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ทั้งหมดของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์อีกด้วย . . . พิจิตรมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับ 4 ของภาคเหนือ และอยู่ในลำดับที่ 29 ของทั้งประเทศในปี 2556 ที่ผ่านมา" {2}
เหตุผลที่ควรหยุดการหยุดการทำเหมือง
ในทางตรงกันข้าม เหตุผลของการหยุดการทำเหมือง มีดังนี้
1. กลัวตนเองลูกหลานได้รับสารพิษ/สารเคมี
2. กลัวเป็นโรค
3. คนที่ทำงานแล้วได้รับผลกระทบ ไม่มีการช่วยเหลือใดใดทั้งสิ้น
4. คนในชุมชนเดือดร้อน-ป่วย-เสียชีวิต
5. คนในพื้นที่ไม่ค่อยได้รับผลประโยชน์
6. จะได้ไม่มีเสียง (ดัง) มารบกวนอีก
7. ต้องทำตามกฎหมาย (ตามที่รัฐบาลสั่ง)
8. ทำลายสิ่งแวดล้อม
9. ผักและน้ำกินไม่ได้เพราะมีสารพิษ ไม่สะอาด
10. ฝุ่นละออง
11. มีผลเสียมากกว่าผลดี
12. ไม่เคยช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน
13. ไม่ปรับปรุงแก้ไขเรื่องสารพิษ
14. ไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
15. อากาศเสีย
อาชีพกับการปิดเหมือง
แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จะเห็นด้วยกับการให้เหมืองคงอยู่ต่อไป แต่หากวิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่า อาชีพที่แตกต่างกันก็มีสัดส่วนของความเห็นด้วยหรือไม่ที่แตกต่างไปบ้างเช่นกัน
ตารางที่ 2: อาชีพกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อาชีพ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ข้าราชการ 10 19 29 66%
ค้าขาย/อิสระ 50 155 205 76%
พนง.เหมือง/เกี่ยวข้อง 5 79 84 94%
พนง.เอกชนอื่น 10 31 41 76%
เกษตรกร 46 124 170 73%
อื่นๆ 12 55 67 82%
รวมทั้งหมด 133 463 596 78%
รวมแต่ไม่เอาข้าราชการ 123 444 567 78%
รวมที่ไม่รวม พนง.เหมือง 128 384 512 75%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าแม้ส่วนใหญ่ถึงเกือบ 80% จะต้องการให้เหมืองเปิดดำเนินการต่อไป แต่จะพบว่าข้าราชการ มีความต้องการเช่นนี้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าคือ 66% หรือราวสองในสาม ในขณะที่ประชาชนทั่วไปสี่ในห้าต้องการเหมือง กรณีเช่นนี้คงเป็นเพราะข้าราชการไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการทำเหมือง และคงวิตกไปตามการกล่าวอ้างถึงเรื่องมลพิษ แต่หากตัดกลุ่มข้าราชการออกไป ก็ยังพบว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังต้องการมีเหมืองต่อไป ในทางตรงกันข้ามกลุ่มคนที่ทำงานในเหมืองหรือเป็นบริษัทรับจ้างต่อมีสัดส่วนถึง 94% ที่ต้องการให้เหมืองดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตามหากตัดกลุ่มนี้ทิ้งไป ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้มีอาชีพที่เกี่ยวกับการทำเหมืองส่วนใหญ่ถึง 75% ก็ยังต้องการให้เหมืองดำเนินการต่อไป
อายุและระยะเวลาการอยู่อาศัย
หากพิจารณาถึงช่วงอายุ และระยะเวลาการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อการปิดเหมืองอย่างไรบ้าง ก็ได้พบดังนี้:
ตารางที่ 3: อายุของประชาชนกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อายุ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ไม่เกิน 30 ปี 28 75 103 73%
31-45 ปี 25 76 101 75%
46-60 ปี 36 144 180 80%
มากกว่า 60 ปี 44 168 212 79%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนในชุมชนที่มีอายุที่แตกต่างกันตั้งแต่อายุไม่เกิน 30 ปีที่ยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ จนถึงกลุ่มผู้สูงวัย (อายุเกิน 60 ปี) ก็ไม่ได้มีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการเหมืองทองคำ
ตารางที่ 4: ระยะเวลาในการอยู่อาศัยในชุมชนกับความเห็นต่อการปิดเหมือง
อายุ ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด รวม %ที่ไม่ปิดเหมือง
ไม่เกิน 10 ปี 21 39 60 65%
11-20 ปี 22 61 83 73%
21-30 ปี 18 92 110 84%
31 ปีขึ้นไป 72 271 343 79%
133 463 596 78%
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในแทบทุกหมู่บ้านต่างเห็นด้วยกับการให้มีเหมืองทองคำต่อไป มีเพียงบ้านหมู่ 8 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัด ที่มีผู้เห็นด้วยกับการคงเหมืองทองคำ 59% และที่บ้านหมู่ 5 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวดเพชรบูรณ์ ที่เห็นด้วยกับการคงเหมืองทองคำ 52% แต่ก็ยังถือได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านทั้งสองแห่งนี้ยังเห็นด้วยกับการมีเหมืองทองคำ และหากไม่นับรวมสองหมู่บ้านนี้ สัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วยกับเหมืองทองคำ จะสูงถึง 83%
ความเห็นต่อมลพิษและเหมือง
ประชาชนในส่วนที่เห็นด้วยกับการปิดเหมืองเห็นว่าระดับมลพิษของเหมืองมีสูงถึง 7.2 คะแนนจาก 10 คะแนนเต็ม ส่วนประชาชนกลุ่มที่ไม่เห็นควรให้ปิดเหมือง กลับมีความเห็นในเชิงที่แทบจะไม่มีมลพิษเลย (คะแนน 1 คือไม่มีมลพิษ)
ตารางที่ 5: ความเห็นของประชาชนต่อระดับมลพิษและการทำประโยชน์ของเหมือง
ความเห็น ให้ปิดเหมือง ไม่ควรปิด เฉลี่ย
ระดับมลพิษที่เกิดจากเหมือง 7.2 1.7 2.9
การมีเหมืองส่งผลดีเพียงใด 3.8 9.1 7.9
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
ในทางตรงกันข้าม ต่อความเห็นว่าการมีเหมืองทองคำ ส่งผลดีต่อชุมชนมากน้อยเพียงใด ผลปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วส่งผลดีมาก (7.9 คะแนนจาก 10 คะแนนเต็ม) โดยเฉพาะกลุ่มที่เห็นด้วยกับการมีเหมืองให้คะนนถึง 9.1 ส่วนในกลุ่มที่ต้องการให้ปิดเหมือง ก็ยังเห็นคุณประโยชน์ของการมีเหมืองพอสมควร คือประมาณ 3.8 คะแนน แสดงว่าเหมืองก็ได้สร้างคุณูปการเป็นที่ประจักษ์พอสมควร
การป่วยและเสียชีวิตจากการทำเหมือง?
มักมีการกล่าวอ้างกันว่า การป่วยและตายของประชาชนในพื้นที่นั้น เกิดขึ้นจากการทำเหมืองทองคำ คณะนักวิจัยจึงได้สัมภาษณ์ประชาชนว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาในชุมชนของท่านมีผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองทองคำกี่คน ผลการศึกษาเป็นดังนี้:
ตารางที่ 5: การแยกแยะความเห็นรายหมู่บ้าน
หมู่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ตาย ป่วย
1-2 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
2 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
3 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
4 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
7 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 6
8 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 30 20
9 เขาเจ็ดลูก ทับคล้อ พิจิตร 0 0
1 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
2-4 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
3 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
5 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 10 10
7 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 4
8 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
9 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
10 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
12 ท้ายดง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
4 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
8 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
9 วังหิน วังโป่ง เพชรบูรณ์ 0 0
รวม 40 40
ที่มา: ผลการสำรวจภาคสนาม 20 พฤษภาคม 2559
ในการสำรวจ ในแต่ละหมู่บ้านแทบไม่มีการระบุจำนวนผู้เสียชีวิตและป่วยที่คาดว่าจะมาจากมลพิษของการทำเหมืองทองคำในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาเลย ต่างจากความเชื่อของประชาชนทั่วไปในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามในพื้นที่หมู่ 8 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตสูงสุดถึง 30 ราย และป่วย 20 ราย ส่วนที่หมู่ 5 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัด เพชรบูรณ์ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตในรอบ 3 ปี 10 ราย และป่วย 10 ราย อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการพิสูจน์ เป็นเพียงจำนวนสูงสุดที่ให้สัมภาษณ์
ประชาชนผู้ให้สัมภาษณ์หลายรายระบุว่า หลายคนเสียชีวิตเพราะโรคชรา ก็ถูกนำมาอ้างว่าเสียชีวิตเพราะมลพิษจากเหมืองทองคำ ที่สำคัญประชาชนในส่วนที่ทำงานกับเหมือง ก็ยังแข็งแรงดี หากเหมืองมีสารพิษจริง คนทำงานในโรงงานก็คงรู้และไม่กล้าเข้าไปทำงานด้วย
ประชาชนไม่ได้เสียชีวิตเพราะเหมือง
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต เช่นกรณีนายสมคิด ธรรมพเวช ที่เสียชีวิตจากสาเหตุปอดอักเสบบวม และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเนื้อปอด ไม่มีสาเหตุมาจากการทำงานในเหมืองแร่ทองคำชาตรี โดยภริยานายสมคิดระบุว่า "แต่ยังมีผู้ไม่หวังดีแอบอ้างการเสียชีวิตของสามีตน นำไปเป็นข้ออ้างในการต่อต้านเหมืองแร่ทองคำชาตรีอยู่อีก นอกจากนี้ ยังมีการไปแอบอ้างรับบริจาคเงินด้วย โดยที่ตนเองและครอบครัวไม่ได้อนุญาต และไม่ได้รับเงินที่รับบริจาค" {3}
อีกกรณีหนึ่งก็คือนายเฉื่อย บุญส่ง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำ ได้เสียชีวิตลงโดยจากการตรวจสอบพบสารแมงกานีสสูงเกินค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามนายเฉื่อยก็มีโรคตับแข็งด้วย {4} ส่วนในกรณีพบสารเคมีนั้น จากการตรวจสอบของทางราชการกลับพบว่าในพื้นที่รอบเหมืองมีสารเคมี (เหล็ก แมงกานีส สารหนู) เกินค่ามาตรฐานก่อนการทำเหมืองแล้ว {5} ยิ่งกว่านั้นการที่คนไข้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น โรคนี้คงไม่ได้เกิดจากการทำเหมืองเพราะแม้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็เกิดขึ้นทั่วโลก จนถึงขนาดมีการรณรงค์ Ice Bucket Challenge ในช่วงที่ผ่านมา {6}
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1428.htm