ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1456907709
ชั่วโมงนี้กลุ่มทุนจากจีนขยับการลงทุนจากแผ่นดินใหญ่รุกคืบสู่ภาคการค้าและบริการในไทยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ภูเก็ต พัทยา และกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งผัก/ผลไม้ ซึ่งรวมไปถึงการยึดกุมระบบโลจิสติกส์ไว้อย่างเบ็ดเสร็จโดยไม่ผ่านผู้ค้าคนไทย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทาง R3A ข้ามสะพานแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มุ่งหน้าสู่ตลาดไทที่เป็นครัวประเทศไทยและอาเซียน
เปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น
ทีมข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจความเคลื่อนไหวกลุ่มทุนจีนในโซนตลาดไท และตลาดไอยรา จังหวัดปทุมธานี พบว่า
ทุนจีนได้เข้ามาค้าขายเพิ่มมากขึ้น และรูปแบบการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ซึ่งจากเดิมใช้วิธีเข้ามา "เช่าแผง" ในตลาดเพื่อนำผักและผลไม้ราคาถูกจากจีนมาจำหน่ายตีตลาดสินค้าจากไทย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการ "เปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น" ให้ลูกค้ามารอรับซื้อได้เลย ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการจัดจำหน่ายผัก/ผลไม้
สำหรับเส้นทางการขนผัก/ผลไม้จากจีนมาไทย จะผ่านมาทางเส้นทาง R3A จังหวัดเชียงราย ลำเลียงสู่ตลาดไท และตลาดไอยรา แนวโน้มจะมีพ่อค้าแม่ค้าจีนเข้ามาค้าขายมากขึ้น ซึ่งบริเวณใกล้เคียงกับตลาดไอยรามีรายใหญ่ ประมาณ 2-3 ราย เข้ามาซื้ออาคารพาณิชย์เปิดห้องเย็นผลไม้ขนาดใหญ่ ขณะที่บริเวณใกล้เคียงกับตลาดไทก็มีทุนจีนเข้ามาซื้อที่ดิน เพื่อเปิดห้องเย็นขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 แห่ง
แข่งตัดราคา-ผลไม้ไทยสู้ยาก
ขณะเดียวกัน หลังจากที่ทุนจีนหลั่งไหลเข้ามามากขึ้นทำให้การแข่งขันสูง จึงมีการตัดราคาจำหน่ายผลไม้ เช่น ส้ม และแอปเปิล เกิดสงครามราคาขึ้นในกลุ่มทุนจีนด้วยกันเอง บางรายลดราคาต่ำกว่าคู่แข่ง 20% ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์จากจีนมาไทย เพราะหากรายใดมีต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำ ก็จะสามารถจำหน่ายสินค้าราคาถูกกว่าคู่แข่งได้
พ่อค้าผลไม้รายหนึ่งในตลาดไท เปิดเผยว่า หลังจากที่พ่อค้าแม่ค้าจีนแข่งขันตัดราคา ส่งผลกระทบต่อกลไกราคาผลไม้ไทย โดยเฉพาะส้มเขียวหวานที่มีฐานการผลิตใหญ่จากภาคเหนือ ลูกค้าระดับกลาง-ล่าง เปลี่ยนมาบริโภคส้มจีนแทน เพราะส้มที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาแพง จึงไม่สามารถแข่งขันกับส้มจีนได้ ส่วนขากลับพ่อค้าจีนจะขนทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย มังคุด จากไทยไปจำหน่ายที่ประเทศจีนด้วย
แห่เปิดห้องเย็น - พ่อค้าจีนเปลี่ยนจากการเช่าแผงขายผัก/ผลไม้มาเป็นการเปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น ขายตรงให้กับพ่อค้าคนไทยที่มารอซื้อถึงหน้าห้องเย็นที่ทยอยเปิด 20-30 แห่งในโซนจังหวัดปทุมธานี สินค้ายอดฮิตราคาถูกคือ แอปเปิล สาลี่ และส้ม ซึ่งทำให้ส้มที่ปลูกในเมืองไทยสู้ราคาไม่ได้
จีนรุมตอมตลาดไอยรา
นายสุวัจ เดชเทวัญดำรง ประธานบริหาร บริษัท พีเอส เมนแลนด์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจตลาดไอยรา ตลาดค้าส่งและค้าปลีกผลไม้ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนห้องเย็นผลไม้ขนาดใหญ่ บริเวณตลาดไอยรา ประมาณ 2-3 ราย และเช่าแผงค้าผลไม้ในตลาดไอยราอีกประมาณ 2-3 ราย แนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดทุนจีนสนใจเข้ามาเช่าพื้นที่จำหน่ายกระเทียมนำเข้าจากจีน นอกจากนี้บริษัทได้พัฒนาโครงการอาคารพาณิชย์ 162 ยูนิต ก็มีทุนจีนเข้ามาซื้อโครงการมากพอสมควร
สำหรับแผนการลงทุนที่จะรองรับทั้งทุนจากจีน และทุนในประเทศ ที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดได้ทุ่มงบฯลงทุนอีก 500 ล้านบาท พัฒนาโครงการตลาดค้าปลีกค้าส่งผัก บนเนื้อที่ 36 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดไอยราค้าปลีกค้าส่งผลไม้ โดยตลาดค้าส่งผัก ปัจจุบันมีอัตราการจองแผง 80% แบ่งเป็นค้าส่ง 80% และค้าปลีก 20% กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่มาจากตลาดข้างเคียงและกลุ่มผู้ค้ารายเดิมที่ขยายการลงทุน จุดเด่นคือสามารถจอดรถหน้าแผงสินค้าได้ สะดวกต่อการซื้อขายสินค้า คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้
สำหรับตลาดค้าส่งผลไม้นั้น มีการนำเข้าผลไม้พรีเมี่ยม เช่น ส้ม แอปเปิล สาลี่ องุ่น สตรอว์เบอรี่ เชอรี่ จากจีน ออสเตรเลีย เกาหลี เปรู อินเดีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล บรูไน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จุดเด่นคือ เป็นตลาดผลไม้พรีเมี่ยมรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต และดีลิเวอรี่ นอกจากนั้นบริษัทยังส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ และมังคุด
ยึดระบบโลจิสติกส์ผักผลไม้
ขณะที่จังหวัดเชียงรายถือเป็นประตูด่านแรกที่รับสินค้าจากจีนเข้าไทยนายอนุรัตน์อินทรประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนมีบทบาทต่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ชายแดนจังหวัดเชียงรายทั้งระบบ โดยเฉพาะสินค้าผัก ผลไม้ ดอกไม้ นักธุรกิจจีนจะควบคุมธุรกิจการขนส่ง 80-90% ทั้งการขนส่งจากมณฑลยูนนานมายังด่านพรมแดนเชียงราย และนำไปส่งที่ตลาดไท และตลาดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคกลาง
"สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะทุนจีนมีเงินทุนมาก เป็นเจ้าของสินค้าเอง ได้เปรียบด้านภาษา เข้ามาตั้งรกรากในไทยเพื่อติดต่อค้าขายกันเอง สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ปัจจุบันผัก/ผลไม้จากจีนถูกกำหนดราคาโดยนักธุรกิจจีนในฐานะเป็นผู้ค้าส่ง ส่วนนักธุรกิจไทยจะเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ไปรับสินค้าไปจำหน่ายต่อ"
ด้าน
นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หลังจากมีการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมถนน R3A อำเภอเชียงของ-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ทำให้กลุ่มทุนจีนเข้ามาลงทุนคึกคัก เช่น กลุ่มเจ๋ฟง ที่กำลังลงทุนสร้างศูนย์โลจิสติกส์บนพื้นที่ 70-80 ไร่ใกล้ด่านพรมแดน อำเภอเชียงของ
ใช้ไทยเป็นฮับส่งออกผักอาเซียน[/bb]
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นางเขอ ยี่เหม่ย ประธานบริษัท ซ่งเวย จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกผักออร์แกนิกรายใหญ่ของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนเกือบ 15,000 ไร่ เปิดเผยว่า บริษัทปลูกผักมากกว่า 50 ชนิด และผลไม้อีกราว 20 ชนิด ผลผลิตเกือบทั้งหมดได้ส่งออกไปต่างประเทศ โดยใช้ระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์เส้นทาง R3A ผ่านด่านบ่อหาน (จีน)-บ่อเต็น (ลาว) เข้าสู่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และขนส่งต่อไปยังตลาดสี่มุมเมือง โดยวางตำแหน่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ส่งออกสินค้าไปประเทศกลุ่มอาเซียนและตลาดโลก ในปี 2557 มีกำลังการผลิต 5 หมื่นตัน ยอดขายอยู่ที่ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ผักที่ตลาดเมืองไทยมีความต้องการมาก คือกะหล่ำปลี และบร็อกโคลี่ ซึ่งในปี 2557 ส่งมาขายในประเทศไทยจำนวนมากถึง 3,500 ตัน และบริษัทยังได้นำเข้าสินค้าบางชนิดจากประเทศไทย เช่น มังคุด แต่ปริมาณไม่มากนัก
นี่คือความเปลี่ยนแปลงล่าสุดในภาคการค้า และโลจิสติกส์ภาคการเกษตรของไทย ที่กำลังเผชิญภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง อนาคตของเกษตรกร และพ่อค้าแม่ค้าคนไทยจะเป็นอย่างไรหากปรับตัวไม่ทันการรุกคืบของทุนต่างชาติในยุคการค้าเสรีเช่นนี้
ผลไม้-ผักจีน ทะลุทะลวงครัวไทย รุกเปิดห้องเย็นประชิดตลาดไท-ไอยรา
ชั่วโมงนี้กลุ่มทุนจากจีนขยับการลงทุนจากแผ่นดินใหญ่รุกคืบสู่ภาคการค้าและบริการในไทยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ภูเก็ต พัทยา และกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งผัก/ผลไม้ ซึ่งรวมไปถึงการยึดกุมระบบโลจิสติกส์ไว้อย่างเบ็ดเสร็จโดยไม่ผ่านผู้ค้าคนไทย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทาง R3A ข้ามสะพานแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มุ่งหน้าสู่ตลาดไทที่เป็นครัวประเทศไทยและอาเซียน
เปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น
ทีมข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจความเคลื่อนไหวกลุ่มทุนจีนในโซนตลาดไท และตลาดไอยรา จังหวัดปทุมธานี พบว่า ทุนจีนได้เข้ามาค้าขายเพิ่มมากขึ้น และรูปแบบการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ซึ่งจากเดิมใช้วิธีเข้ามา "เช่าแผง" ในตลาดเพื่อนำผักและผลไม้ราคาถูกจากจีนมาจำหน่ายตีตลาดสินค้าจากไทย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการ "เปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น" ให้ลูกค้ามารอรับซื้อได้เลย ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการจัดจำหน่ายผัก/ผลไม้
สำหรับเส้นทางการขนผัก/ผลไม้จากจีนมาไทย จะผ่านมาทางเส้นทาง R3A จังหวัดเชียงราย ลำเลียงสู่ตลาดไท และตลาดไอยรา แนวโน้มจะมีพ่อค้าแม่ค้าจีนเข้ามาค้าขายมากขึ้น ซึ่งบริเวณใกล้เคียงกับตลาดไอยรามีรายใหญ่ ประมาณ 2-3 ราย เข้ามาซื้ออาคารพาณิชย์เปิดห้องเย็นผลไม้ขนาดใหญ่ ขณะที่บริเวณใกล้เคียงกับตลาดไทก็มีทุนจีนเข้ามาซื้อที่ดิน เพื่อเปิดห้องเย็นขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 แห่ง
แข่งตัดราคา-ผลไม้ไทยสู้ยาก
ขณะเดียวกัน หลังจากที่ทุนจีนหลั่งไหลเข้ามามากขึ้นทำให้การแข่งขันสูง จึงมีการตัดราคาจำหน่ายผลไม้ เช่น ส้ม และแอปเปิล เกิดสงครามราคาขึ้นในกลุ่มทุนจีนด้วยกันเอง บางรายลดราคาต่ำกว่าคู่แข่ง 20% ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์จากจีนมาไทย เพราะหากรายใดมีต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำ ก็จะสามารถจำหน่ายสินค้าราคาถูกกว่าคู่แข่งได้
พ่อค้าผลไม้รายหนึ่งในตลาดไท เปิดเผยว่า หลังจากที่พ่อค้าแม่ค้าจีนแข่งขันตัดราคา ส่งผลกระทบต่อกลไกราคาผลไม้ไทย โดยเฉพาะส้มเขียวหวานที่มีฐานการผลิตใหญ่จากภาคเหนือ ลูกค้าระดับกลาง-ล่าง เปลี่ยนมาบริโภคส้มจีนแทน เพราะส้มที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาแพง จึงไม่สามารถแข่งขันกับส้มจีนได้ ส่วนขากลับพ่อค้าจีนจะขนทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย มังคุด จากไทยไปจำหน่ายที่ประเทศจีนด้วย
แห่เปิดห้องเย็น - พ่อค้าจีนเปลี่ยนจากการเช่าแผงขายผัก/ผลไม้มาเป็นการเปิดท้ายตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็น ขายตรงให้กับพ่อค้าคนไทยที่มารอซื้อถึงหน้าห้องเย็นที่ทยอยเปิด 20-30 แห่งในโซนจังหวัดปทุมธานี สินค้ายอดฮิตราคาถูกคือ แอปเปิล สาลี่ และส้ม ซึ่งทำให้ส้มที่ปลูกในเมืองไทยสู้ราคาไม่ได้
จีนรุมตอมตลาดไอยรา
นายสุวัจ เดชเทวัญดำรง ประธานบริหาร บริษัท พีเอส เมนแลนด์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจตลาดไอยรา ตลาดค้าส่งและค้าปลีกผลไม้ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันมีกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนห้องเย็นผลไม้ขนาดใหญ่ บริเวณตลาดไอยรา ประมาณ 2-3 ราย และเช่าแผงค้าผลไม้ในตลาดไอยราอีกประมาณ 2-3 ราย แนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดทุนจีนสนใจเข้ามาเช่าพื้นที่จำหน่ายกระเทียมนำเข้าจากจีน นอกจากนี้บริษัทได้พัฒนาโครงการอาคารพาณิชย์ 162 ยูนิต ก็มีทุนจีนเข้ามาซื้อโครงการมากพอสมควร
สำหรับแผนการลงทุนที่จะรองรับทั้งทุนจากจีน และทุนในประเทศ ที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดได้ทุ่มงบฯลงทุนอีก 500 ล้านบาท พัฒนาโครงการตลาดค้าปลีกค้าส่งผัก บนเนื้อที่ 36 ไร่ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดไอยราค้าปลีกค้าส่งผลไม้ โดยตลาดค้าส่งผัก ปัจจุบันมีอัตราการจองแผง 80% แบ่งเป็นค้าส่ง 80% และค้าปลีก 20% กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่มาจากตลาดข้างเคียงและกลุ่มผู้ค้ารายเดิมที่ขยายการลงทุน จุดเด่นคือสามารถจอดรถหน้าแผงสินค้าได้ สะดวกต่อการซื้อขายสินค้า คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้
สำหรับตลาดค้าส่งผลไม้นั้น มีการนำเข้าผลไม้พรีเมี่ยม เช่น ส้ม แอปเปิล สาลี่ องุ่น สตรอว์เบอรี่ เชอรี่ จากจีน ออสเตรเลีย เกาหลี เปรู อินเดีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล บรูไน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จุดเด่นคือ เป็นตลาดผลไม้พรีเมี่ยมรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต และดีลิเวอรี่ นอกจากนั้นบริษัทยังส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ และมังคุด
ยึดระบบโลจิสติกส์ผักผลไม้
ขณะที่จังหวัดเชียงรายถือเป็นประตูด่านแรกที่รับสินค้าจากจีนเข้าไทยนายอนุรัตน์อินทรประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนมีบทบาทต่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ชายแดนจังหวัดเชียงรายทั้งระบบ โดยเฉพาะสินค้าผัก ผลไม้ ดอกไม้ นักธุรกิจจีนจะควบคุมธุรกิจการขนส่ง 80-90% ทั้งการขนส่งจากมณฑลยูนนานมายังด่านพรมแดนเชียงราย และนำไปส่งที่ตลาดไท และตลาดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคกลาง
"สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะทุนจีนมีเงินทุนมาก เป็นเจ้าของสินค้าเอง ได้เปรียบด้านภาษา เข้ามาตั้งรกรากในไทยเพื่อติดต่อค้าขายกันเอง สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ปัจจุบันผัก/ผลไม้จากจีนถูกกำหนดราคาโดยนักธุรกิจจีนในฐานะเป็นผู้ค้าส่ง ส่วนนักธุรกิจไทยจะเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ไปรับสินค้าไปจำหน่ายต่อ"
ด้าน นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หลังจากมีการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมถนน R3A อำเภอเชียงของ-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ ทำให้กลุ่มทุนจีนเข้ามาลงทุนคึกคัก เช่น กลุ่มเจ๋ฟง ที่กำลังลงทุนสร้างศูนย์โลจิสติกส์บนพื้นที่ 70-80 ไร่ใกล้ด่านพรมแดน อำเภอเชียงของ
ใช้ไทยเป็นฮับส่งออกผักอาเซียน[/bb]
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นางเขอ ยี่เหม่ย ประธานบริษัท ซ่งเวย จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกผักออร์แกนิกรายใหญ่ของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนเกือบ 15,000 ไร่ เปิดเผยว่า บริษัทปลูกผักมากกว่า 50 ชนิด และผลไม้อีกราว 20 ชนิด ผลผลิตเกือบทั้งหมดได้ส่งออกไปต่างประเทศ โดยใช้ระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์เส้นทาง R3A ผ่านด่านบ่อหาน (จีน)-บ่อเต็น (ลาว) เข้าสู่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และขนส่งต่อไปยังตลาดสี่มุมเมือง โดยวางตำแหน่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ส่งออกสินค้าไปประเทศกลุ่มอาเซียนและตลาดโลก ในปี 2557 มีกำลังการผลิต 5 หมื่นตัน ยอดขายอยู่ที่ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ผักที่ตลาดเมืองไทยมีความต้องการมาก คือกะหล่ำปลี และบร็อกโคลี่ ซึ่งในปี 2557 ส่งมาขายในประเทศไทยจำนวนมากถึง 3,500 ตัน และบริษัทยังได้นำเข้าสินค้าบางชนิดจากประเทศไทย เช่น มังคุด แต่ปริมาณไม่มากนัก
นี่คือความเปลี่ยนแปลงล่าสุดในภาคการค้า และโลจิสติกส์ภาคการเกษตรของไทย ที่กำลังเผชิญภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง อนาคตของเกษตรกร และพ่อค้าแม่ค้าคนไทยจะเป็นอย่างไรหากปรับตัวไม่ทันการรุกคืบของทุนต่างชาติในยุคการค้าเสรีเช่นนี้