คดีแพ่งและคดีอาญาแตกต่างกันอย่างไร? (กฎหมายน่ารู้)
เวลาที่ผมเจอคำถามจากคนที่มาขอคำปรึกษา ประเภทที่ถามว่า ถ้าไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตแล้วถูกฟ้องจะติดคุกมัย? กู้เงินธนาคารมาแล้วไม่มีเงินใช้คืนจะต้องติดคุกมัย? ทำให้ผมรู้ว่า ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจคำว่า “คดีแพ่ง” กับ “คดีอาญา” คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? ทั้งๆที่เรื่องนี้ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งถ้าผมตอบสั้นๆว่า คดีบัตรเครดิต หรือ คดีกู้ยืมเงิน เป็นคดีแพ่ง ไม่ต้องติดคุก เพราะไม่ใช่คดีอาญา ก็อาจจะทำให้ผู้ขอคำปรึกษาสบายใจ แต่คงยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ ผมจึงขอโอกาส ณ ที่นี้ อธิบายให้กระจ่าง
สำหรับ “คดีแพ่ง” คือ “คดีที่พิจารณาตัดสิน เรื่อง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ตอบสั้นๆแค่นี้ล่ะคับ จบแล้ว นั้นคือความหมายของคดีแพ่ง งงมัยคับ? แล้ว “สิทธิ” คืออะไร? สิทธิ ก็คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ สิทธิที่จะพูดถึงนี้ก็คือ สิทธิของพวกเราทุกคนไงล่ะคับ เอาพื้นฐานง่ายๆ ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะพูด สิทธิที่จะกิน สิทธิที่จะอยู่อาศัยในบ้านของตน สิทธิที่จะอยู่โดยปกติสุขไม่ให้ใครมารังควาน ที่กล่าวมานี้เป็นประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ทั้งนั้น ในทางกลับกันทุกๆคนก็ มี “หน้าที่” ปฎิบัติตามกฎหมาย หากใครปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่จนไปกระทบสิทธิของเรา หากเกิดความเสียหายใดๆ คนๆนั้นก็ต้อง “รับผิดชอบ” บรรเทาผลเสียหายจากการกระทำดังกล่าว พูดเป็นภาษากฎหมายเขาใช้คำว่า คนๆนั้น “โต้แย้งสิทธิ” ของเรา ฉะนั้นเมื่อเราถูกโต้แย้งสิทธิ เราสามารถฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งให้ศาลบังคับคนๆนั้นให้ทำตาม “หน้าที่” ที่จะไม่โต้แย้งสิทธิของเรา และสามารถฟ้องให้คนๆนั้น “รับผิดชอบ” ที่จะต้องบรรเทาผลร้ายอันเกิดจากการกระทำดังกล่าวด้วย เช่น ให้คนๆนั้นชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. และนาย ข. เป็นเพื่อนบ้านกัน นาย ก. มี “สิทธิ” ที่จะใช้ทางออกจากบ้านของนาย ก. ส่วนนาย ข.เพื่อนบ้านข้างเคียง ก็มี “หน้าที่” ที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิดังกล่าวของนาย ก. ถ้าหากนาย ข. มาสร้างกำแพงปิดขวางทางออกของบ้านของนาย ก. ถือว่า นาย ข. ได้โต้แย้งสิทธิของนาย ก.แล้ว นาย ข.มี “ความรับผิดชอบ” ที่จะต้องรื้อกำแพงดังกล่าวออก เพื่อบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หากนาย ข. ไม่ยอมรื้อกำแพงดังกล่าว นาย ก.สามารถฟ้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับให้นาย ข.รื้อกำแพงดังกล่าวออกไปได้ และศาลในคดีแพ่งก็จะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. ถ้าหากนาย ก.ชนะคดี และศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข. รื้อกำแพงที่ขวางออก นาย ข.ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลโดยต้องรื้อกำแพงออกไป หากนาย ข.ยังดื้อไม่ยอมรื้อกำแพง จะเอานาย ข.ไปเข้าคุกไม่ได้น่ะคับ เพราะนาย ก.ฟ้องเป็นคดีแพ่ง นาย ก.ทำได้แต่บังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรื้อถอนกำแพงออกไปเท่านั้น แต่เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยเกิดบ่อยๆหรอกคับ งั้นผมขอยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆน่ะคับ คือ เรื่องกู้ยืมเงิน เช่น หากนาย ก.เอาเงินไปให้นาย ข.กู้ยืม นาย ก.ย่อมมี “สิทธิ” ที่จะได้เงินคืน ใช่มัยคับ ส่วนนาย ข.ก็มี “หน้าที่” ที่จะต้องคืนเงิน แก่นาย ก. หากนาย ข. ไม่ยอมปฏิบัติตาม “หน้าที่” โดยไม่ยอมคืนเงิน ก็ถือว่านาย ข.ได้โต้แย้งสิทธิของนาย ก.แล้ว นาย ข. ก็มี “ความรับผิดชอบ” ชดใช้เงินดังกล่าวคืน ดังนั้น นาย ก.สามารถฟ้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับให้นาย ข.คืนเงินแก่นาย ก.ได้ และศาลในคดีแพ่งก็จะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. หากศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข.คืนเงิน แต่นาย ข.ยังไม่ยอมคืนอีก จะไปเอานาย ข.เข้าคุกไม่ได้น่ะคับ เพราะเป็นเรื่องทางแพ่ง นาย ก.ทำได้แต่บังคับคดี โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของนาย ข.มาขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชดใช้หนี้แก่นาย ก. ดังนั้น คดีแพ่ง จึงหมายถึง คดีที่พิจารณาตัดสิน เรื่อง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ไงล่ะคับ
แต่อย่าชะล่าใจว่า คดีแพ่งไม่ต้องติดคุก ถ้าคิดแบบนี้ ต่อมาคุณถูกฟ้องคดีแพ่งทุกเรื่องก็เลยไม่กลัว คิดผิดน่ะคับ เพราะมีคดีแพ่งบางคดีให้อำนาจศาลที่จะเอาลูกหนี้ที่ไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาไปจับกุมกักขังได้น่ะคับ แต่การจับกุมกักขังในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นการเอาไปติดคุก แค่เอาตัวไปกักขังไว้เพื่อให้คนๆนั้นยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้น และไม่ใช่คดีแพ่งทุกคดีที่ศาลจะเอาตัวลูกหนี้ไปกักขังน่ะคับ การที่ศาลจะเอาลูกหนี้ไปกักขังได้ จะต้องปรากฎโดยชัดแจ้งว่า การปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้นั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของลูกหนี้โดยแท้ จะให้คนอื่นมาทำแทนก็ไม่ได้ หรือ จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมาจัดการแทนก็ไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่น น.ส.สวย ฟ้องนายจิตเป็นคดีแพ่ง ต่อศาล ขอห้ามไม่ให้นายจิตเดินติดตาม น.ส.สวย เมื่อศาลมีคำพิพากษาห้ามไม่ให้นายจิตเดินติดตาม น.ส.สวยแล้ว แต่นายจิตฝ่าฝืนคำพิพากษาของศาล ยังไปเดินติดตาม น.ส.สวย อยู่ ศาลก็มีอำนาจจับกุมกักขังนายจิตเพื่อบังคับนายจิตให้เกรงกลัวและยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาได้ แต่ไม่ได้เอานายจิตไปติดคุกน่ะคับ แค่กักขังให้นายจิตยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาไม่ไปเดินติดตาม น.ส.สวย เท่านั้น เพราะถ้าไม่กักขังนายจิต ก็ไม่มีทางที่จะบังคับคดีอย่างอื่นได้ หรือ กรณีอีกตัวอย่างนึง เช่น นาย ก. ฟ้องขับไล่ นาย ข. ให้นาย ข.ออกจากที่ดินของนาย ก. เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข. ออกจากที่ดินแล้ว นาย ข.ยังไม่ยอมออก ศาลก็มีอำนาจจับกุมกักขังนาย ข. เพื่อให้ปฎิบัติตามคำพิพากษาได้เช่นกัน เพราะการออกไปจากที่ดินนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของนาย ข. จะให้คนอื่นทำแทนไม่ได้ แตกต่างจาก คดีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ เนื่องจาก เจ้าหนี้ยังมีสิทธิติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระแทนได้ หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เจ้าหนี้ก็ต้องคอยดูว่าลูกหนี้จะมีทรัพย์สินขึ้นมาเมื่อไหร่ แล้วค่อยบังคับคดี กรณีถือว่า ยังมีหนทางอื่นที่จะบังคับตามคำพิพากษาได้ กรณีนี้ ศาลไม่มีอำนาจจับกุมกักขังลูกหนี้
นอกจากนี้ การดำเนินคดีแพ่งต่อศาล ยังสามารถทำได้ฝ่ายเดียว แม้ไม่มีใครมาโต้แย้งสิทธิของเรา แต่จะต้องเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้ใช้ “สิทธิ” ทางศาลเท่านั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จะไม่สามารถกระทำได้
ยกตัวอย่างเช่น มารดาของ นาง จ. เสียชีวิต นาง จ. ย่อมมี “สิทธิ” ที่จะได้รับมรดก และนาง จ. ก็มี “หน้าที่” แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนอื่น นาง จ.จึงไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินเพื่อขอรับโอนที่ดินมรดกของมารดามาแบ่งให้ตนเองและทายาท แต่ทางสำนักงานที่ดินไม่ยอมโอนที่ดินมรดกให้นาง จ. โดยอ้างว่า ต้องมีคำสั่งศาลแต่งตั้งให้นาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนถึงจะยอมโอนให้ กรณีนี้นาง จ.สามารถร้องขอต่อศาลเป็นคดีแพ่งฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งนาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ศาลก็จะพิจารณาถึง “สิทธิและหน้าที่” ของนาง จ. และมีคำสั่งตั้งให้นาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 (2) ว่า ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ สามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ ฉะนั้น นาง จ.จึงสามารถใช้ “สิทธิ” ทางศาลได้เพียงฝ่ายเดียวตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
เห็นมัยคับ แม้การดำเนินคดีแพ่งจะทำฝ่ายเดียวต่อศาล คดีแพ่งก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลพิจารณาถึง “สิทธิ และหน้าที่” เหมือนกันคับ
ส่วน “คดีอาญา” หมายถึง “คดีที่พิจารณาตัดสินว่า การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นความผิดตามที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้หรือไม่” ซึ่งกฎหมายอาญาจะบัญญัติ “โทษ” เพื่อใช้ลงโทษแก่ ผู้ทำ “ความผิด” ซึ่งได้แก่ การลงโทษจำคุก การลงโทษปรับ เป็นต้น มีข้อสังเกตุว่า การกระทำที่จะมี “ความผิด” ทางอาญาได้นั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ใครจะทำก็ทำไป ไม่ผิดทางอาญาและไม่มีทางถูกลงโทษจำคุกแน่นอน
ยกตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” เห็นมัยคับว่า กฎหมายอาญาบัญญัติ การกระทำ “ความผิด” ไว้ชัดเจน และกำหนด “โทษ” ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดด้วย ถ้าหาก นางโหด ฆ่า นางดี ตายโดยเจตนา นางโหดจะต้องถูกฟ้องต่อศาลเป็นคดีอาญา และศาลจะมีคำพิพากษาว่านางโหดมี “ความผิด” และ ลง “โทษ” จำคุกนางโหด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 แต่ถ้าหาก นางโหด กู้ยืมเงินนางดี แล้วไม่ยอมชดใช้คืน นางดีจะฟ้องให้ศาลลงโทษจำคุกนางโหดที่ไม่คืนเงินกู้ไม่ได้ เพราะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า กู้เงินแล้วไม่ใช้คืนเป็นความผิดทางอาญา การตีความตามกฎหมายอาญานั้น ศาลจะต้องตีความตามตัวอักษรที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หากการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิด หรือ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดและไม่ต้องถูกลงโทษใดๆ
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตุว่า ความผิดทางอาญาและความรับผิดในทางแพ่ง สามารถเกิดขึ้นจากการกระทำเดียวกันได้ เพราะ เรื่องทางแพ่ง และเรื่องทางอาญาเป็นคนละเรื่องกัน คดีแพ่ง ศาลจะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ” ส่วนคดีอาญา ศาลจะพิจารณาถึง “การกระทำความผิด และการลงโทษ”
ยกตัวอย่างเช่น นางโหด ฆ่า นางดี ตาย โดยเจตนา นอกจากที่นางโหดจะมีความผิดและถูกศาลลงโทษจำคุกแล้ว ยังถือว่า นางโหดโต้แย้งสิทธิของนางดี ที่นางดีมีสิทธิมีชีวิตอยู่ นางโหดจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งให้แก่ ทายาทของนางดีด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวในส่วนแพ่งต่างหากจากส่วนอาญา
บทความนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานทนายความนิติทวีปัญญา อนุญาตให้เผยแพร่ได้แต่ต้องให้เครดิตที่มาจากสำนักงานน่ะคับ
คดีแพ่งและคดีอาญาแตกต่างกันอย่างไร? (กฎหมายน่ารู้)
เวลาที่ผมเจอคำถามจากคนที่มาขอคำปรึกษา ประเภทที่ถามว่า ถ้าไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตแล้วถูกฟ้องจะติดคุกมัย? กู้เงินธนาคารมาแล้วไม่มีเงินใช้คืนจะต้องติดคุกมัย? ทำให้ผมรู้ว่า ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจคำว่า “คดีแพ่ง” กับ “คดีอาญา” คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร? ทั้งๆที่เรื่องนี้ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งถ้าผมตอบสั้นๆว่า คดีบัตรเครดิต หรือ คดีกู้ยืมเงิน เป็นคดีแพ่ง ไม่ต้องติดคุก เพราะไม่ใช่คดีอาญา ก็อาจจะทำให้ผู้ขอคำปรึกษาสบายใจ แต่คงยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ ผมจึงขอโอกาส ณ ที่นี้ อธิบายให้กระจ่าง
สำหรับ “คดีแพ่ง” คือ “คดีที่พิจารณาตัดสิน เรื่อง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ตอบสั้นๆแค่นี้ล่ะคับ จบแล้ว นั้นคือความหมายของคดีแพ่ง งงมัยคับ? แล้ว “สิทธิ” คืออะไร? สิทธิ ก็คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ สิทธิที่จะพูดถึงนี้ก็คือ สิทธิของพวกเราทุกคนไงล่ะคับ เอาพื้นฐานง่ายๆ ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะพูด สิทธิที่จะกิน สิทธิที่จะอยู่อาศัยในบ้านของตน สิทธิที่จะอยู่โดยปกติสุขไม่ให้ใครมารังควาน ที่กล่าวมานี้เป็นประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ทั้งนั้น ในทางกลับกันทุกๆคนก็ มี “หน้าที่” ปฎิบัติตามกฎหมาย หากใครปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่จนไปกระทบสิทธิของเรา หากเกิดความเสียหายใดๆ คนๆนั้นก็ต้อง “รับผิดชอบ” บรรเทาผลเสียหายจากการกระทำดังกล่าว พูดเป็นภาษากฎหมายเขาใช้คำว่า คนๆนั้น “โต้แย้งสิทธิ” ของเรา ฉะนั้นเมื่อเราถูกโต้แย้งสิทธิ เราสามารถฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งให้ศาลบังคับคนๆนั้นให้ทำตาม “หน้าที่” ที่จะไม่โต้แย้งสิทธิของเรา และสามารถฟ้องให้คนๆนั้น “รับผิดชอบ” ที่จะต้องบรรเทาผลร้ายอันเกิดจากการกระทำดังกล่าวด้วย เช่น ให้คนๆนั้นชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. และนาย ข. เป็นเพื่อนบ้านกัน นาย ก. มี “สิทธิ” ที่จะใช้ทางออกจากบ้านของนาย ก. ส่วนนาย ข.เพื่อนบ้านข้างเคียง ก็มี “หน้าที่” ที่จะไม่ไปละเมิดสิทธิดังกล่าวของนาย ก. ถ้าหากนาย ข. มาสร้างกำแพงปิดขวางทางออกของบ้านของนาย ก. ถือว่า นาย ข. ได้โต้แย้งสิทธิของนาย ก.แล้ว นาย ข.มี “ความรับผิดชอบ” ที่จะต้องรื้อกำแพงดังกล่าวออก เพื่อบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หากนาย ข. ไม่ยอมรื้อกำแพงดังกล่าว นาย ก.สามารถฟ้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับให้นาย ข.รื้อกำแพงดังกล่าวออกไปได้ และศาลในคดีแพ่งก็จะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. ถ้าหากนาย ก.ชนะคดี และศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข. รื้อกำแพงที่ขวางออก นาย ข.ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลโดยต้องรื้อกำแพงออกไป หากนาย ข.ยังดื้อไม่ยอมรื้อกำแพง จะเอานาย ข.ไปเข้าคุกไม่ได้น่ะคับ เพราะนาย ก.ฟ้องเป็นคดีแพ่ง นาย ก.ทำได้แต่บังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรื้อถอนกำแพงออกไปเท่านั้น แต่เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยเกิดบ่อยๆหรอกคับ งั้นผมขอยกตัวอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆน่ะคับ คือ เรื่องกู้ยืมเงิน เช่น หากนาย ก.เอาเงินไปให้นาย ข.กู้ยืม นาย ก.ย่อมมี “สิทธิ” ที่จะได้เงินคืน ใช่มัยคับ ส่วนนาย ข.ก็มี “หน้าที่” ที่จะต้องคืนเงิน แก่นาย ก. หากนาย ข. ไม่ยอมปฏิบัติตาม “หน้าที่” โดยไม่ยอมคืนเงิน ก็ถือว่านาย ข.ได้โต้แย้งสิทธิของนาย ก.แล้ว นาย ข. ก็มี “ความรับผิดชอบ” ชดใช้เงินดังกล่าวคืน ดังนั้น นาย ก.สามารถฟ้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับให้นาย ข.คืนเงินแก่นาย ก.ได้ และศาลในคดีแพ่งก็จะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ระหว่าง นาย ก. กับ นาย ข. หากศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข.คืนเงิน แต่นาย ข.ยังไม่ยอมคืนอีก จะไปเอานาย ข.เข้าคุกไม่ได้น่ะคับ เพราะเป็นเรื่องทางแพ่ง นาย ก.ทำได้แต่บังคับคดี โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของนาย ข.มาขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชดใช้หนี้แก่นาย ก. ดังนั้น คดีแพ่ง จึงหมายถึง คดีที่พิจารณาตัดสิน เรื่อง “สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” ไงล่ะคับ
แต่อย่าชะล่าใจว่า คดีแพ่งไม่ต้องติดคุก ถ้าคิดแบบนี้ ต่อมาคุณถูกฟ้องคดีแพ่งทุกเรื่องก็เลยไม่กลัว คิดผิดน่ะคับ เพราะมีคดีแพ่งบางคดีให้อำนาจศาลที่จะเอาลูกหนี้ที่ไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษาไปจับกุมกักขังได้น่ะคับ แต่การจับกุมกักขังในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นการเอาไปติดคุก แค่เอาตัวไปกักขังไว้เพื่อให้คนๆนั้นยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้น และไม่ใช่คดีแพ่งทุกคดีที่ศาลจะเอาตัวลูกหนี้ไปกักขังน่ะคับ การที่ศาลจะเอาลูกหนี้ไปกักขังได้ จะต้องปรากฎโดยชัดแจ้งว่า การปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้นั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของลูกหนี้โดยแท้ จะให้คนอื่นมาทำแทนก็ไม่ได้ หรือ จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมาจัดการแทนก็ไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่น น.ส.สวย ฟ้องนายจิตเป็นคดีแพ่ง ต่อศาล ขอห้ามไม่ให้นายจิตเดินติดตาม น.ส.สวย เมื่อศาลมีคำพิพากษาห้ามไม่ให้นายจิตเดินติดตาม น.ส.สวยแล้ว แต่นายจิตฝ่าฝืนคำพิพากษาของศาล ยังไปเดินติดตาม น.ส.สวย อยู่ ศาลก็มีอำนาจจับกุมกักขังนายจิตเพื่อบังคับนายจิตให้เกรงกลัวและยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาได้ แต่ไม่ได้เอานายจิตไปติดคุกน่ะคับ แค่กักขังให้นายจิตยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาไม่ไปเดินติดตาม น.ส.สวย เท่านั้น เพราะถ้าไม่กักขังนายจิต ก็ไม่มีทางที่จะบังคับคดีอย่างอื่นได้ หรือ กรณีอีกตัวอย่างนึง เช่น นาย ก. ฟ้องขับไล่ นาย ข. ให้นาย ข.ออกจากที่ดินของนาย ก. เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้นาย ข. ออกจากที่ดินแล้ว นาย ข.ยังไม่ยอมออก ศาลก็มีอำนาจจับกุมกักขังนาย ข. เพื่อให้ปฎิบัติตามคำพิพากษาได้เช่นกัน เพราะการออกไปจากที่ดินนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของนาย ข. จะให้คนอื่นทำแทนไม่ได้ แตกต่างจาก คดีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ เนื่องจาก เจ้าหนี้ยังมีสิทธิติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระแทนได้ หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เจ้าหนี้ก็ต้องคอยดูว่าลูกหนี้จะมีทรัพย์สินขึ้นมาเมื่อไหร่ แล้วค่อยบังคับคดี กรณีถือว่า ยังมีหนทางอื่นที่จะบังคับตามคำพิพากษาได้ กรณีนี้ ศาลไม่มีอำนาจจับกุมกักขังลูกหนี้
นอกจากนี้ การดำเนินคดีแพ่งต่อศาล ยังสามารถทำได้ฝ่ายเดียว แม้ไม่มีใครมาโต้แย้งสิทธิของเรา แต่จะต้องเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้ใช้ “สิทธิ” ทางศาลเท่านั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จะไม่สามารถกระทำได้
ยกตัวอย่างเช่น มารดาของ นาง จ. เสียชีวิต นาง จ. ย่อมมี “สิทธิ” ที่จะได้รับมรดก และนาง จ. ก็มี “หน้าที่” แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนอื่น นาง จ.จึงไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินเพื่อขอรับโอนที่ดินมรดกของมารดามาแบ่งให้ตนเองและทายาท แต่ทางสำนักงานที่ดินไม่ยอมโอนที่ดินมรดกให้นาง จ. โดยอ้างว่า ต้องมีคำสั่งศาลแต่งตั้งให้นาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนถึงจะยอมโอนให้ กรณีนี้นาง จ.สามารถร้องขอต่อศาลเป็นคดีแพ่งฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งนาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกได้ ศาลก็จะพิจารณาถึง “สิทธิและหน้าที่” ของนาง จ. และมีคำสั่งตั้งให้นาง จ.เป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 (2) ว่า ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ สามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ ฉะนั้น นาง จ.จึงสามารถใช้ “สิทธิ” ทางศาลได้เพียงฝ่ายเดียวตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้
เห็นมัยคับ แม้การดำเนินคดีแพ่งจะทำฝ่ายเดียวต่อศาล คดีแพ่งก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลพิจารณาถึง “สิทธิ และหน้าที่” เหมือนกันคับ
ส่วน “คดีอาญา” หมายถึง “คดีที่พิจารณาตัดสินว่า การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นความผิดตามที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้หรือไม่” ซึ่งกฎหมายอาญาจะบัญญัติ “โทษ” เพื่อใช้ลงโทษแก่ ผู้ทำ “ความผิด” ซึ่งได้แก่ การลงโทษจำคุก การลงโทษปรับ เป็นต้น มีข้อสังเกตุว่า การกระทำที่จะมี “ความผิด” ทางอาญาได้นั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ใครจะทำก็ทำไป ไม่ผิดทางอาญาและไม่มีทางถูกลงโทษจำคุกแน่นอน
ยกตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 บัญญัติว่า “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี” เห็นมัยคับว่า กฎหมายอาญาบัญญัติ การกระทำ “ความผิด” ไว้ชัดเจน และกำหนด “โทษ” ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดด้วย ถ้าหาก นางโหด ฆ่า นางดี ตายโดยเจตนา นางโหดจะต้องถูกฟ้องต่อศาลเป็นคดีอาญา และศาลจะมีคำพิพากษาว่านางโหดมี “ความผิด” และ ลง “โทษ” จำคุกนางโหด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 แต่ถ้าหาก นางโหด กู้ยืมเงินนางดี แล้วไม่ยอมชดใช้คืน นางดีจะฟ้องให้ศาลลงโทษจำคุกนางโหดที่ไม่คืนเงินกู้ไม่ได้ เพราะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า กู้เงินแล้วไม่ใช้คืนเป็นความผิดทางอาญา การตีความตามกฎหมายอาญานั้น ศาลจะต้องตีความตามตัวอักษรที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หากการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิด หรือ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดและไม่ต้องถูกลงโทษใดๆ
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตุว่า ความผิดทางอาญาและความรับผิดในทางแพ่ง สามารถเกิดขึ้นจากการกระทำเดียวกันได้ เพราะ เรื่องทางแพ่ง และเรื่องทางอาญาเป็นคนละเรื่องกัน คดีแพ่ง ศาลจะพิจารณาถึง “สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ” ส่วนคดีอาญา ศาลจะพิจารณาถึง “การกระทำความผิด และการลงโทษ”
ยกตัวอย่างเช่น นางโหด ฆ่า นางดี ตาย โดยเจตนา นอกจากที่นางโหดจะมีความผิดและถูกศาลลงโทษจำคุกแล้ว ยังถือว่า นางโหดโต้แย้งสิทธิของนางดี ที่นางดีมีสิทธิมีชีวิตอยู่ นางโหดจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งให้แก่ ทายาทของนางดีด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวในส่วนแพ่งต่างหากจากส่วนอาญา
บทความนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานทนายความนิติทวีปัญญา อนุญาตให้เผยแพร่ได้แต่ต้องให้เครดิตที่มาจากสำนักงานน่ะคับ