คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 105
ณ ขณะที่เรากำลังพยายามปั่นเล่มวิทยานิพนธ์เพื่อเตรียมสอบจบปริญญาเอกต้นเดือนหน้า (แน่นอนว่าสายวิทย์) เห็นจ่าแชร์กระทู้นี้เลยเข้ามาอ่าน รู้สึกบั่นทอนจิตใจและกำลังใจทั้งหมด เลยนึกย้อนกลับไปตอนตัวเองเริ่มเรียนปริญญาเอก รวมถึงนึกไปถึงเพื่อนๆคนอื่นๆด้วย
เวลาเราเข้าฟังสัมมนาเพื่อนๆเรา (เรามีวิชาสัมมนาในหลักสูตรที่ต้องเข้าทุกเทอม หลักสูตรที่เราอยู่เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างกว้างในสายชีววิทยา) เราต้องฟังงานวิจัยของผู้ร่วมหลักสูตรจากหลายๆสาย ซึ่งคำถามในใจที่เกิดขึ้นตลอดมากับหลายๆงานคือ ทำแล้วได้อะไร บางงานทำแค่เพื่อได้ผลงานตีพิมพ์เหรอ
แต่เมื่อมีประสบการณ์มาเรื่อยๆ ทำให้เข้าใจว่างานวิจัยแต่ละงานที่นักวิทยาศาสตร์ (ทุกแขนง) ทำอยู่นั้น เกิดขึ้นมาจากโจทย์วิจัย ซึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ของโจทย์วิจัยเหล่านั้นมาจากปัญหาของประเทศ หรือแนวทางในการพัฒนาประเทศ การจะขอทุนแต่ละแหล่ง เค้าก็มีการพิจารณาถึงความสำคัญของงานต่อประเทศด้วย ก็ถูกของเจ้าของกระทู้นะว่าทำมาแล้วได้อะไร ได้แต่ผลงานตีพิมพ์แล้วเอาไปใช้ไม่ได้ แต่!!! งานแต่ละงานกว่าจะได้เป็นผลผลิตที่เห็นเป็นรูปธรรม มันไม่ได้ง่ายเหมือนผัดข้าว 100 จาน
ยกตัวอย่างสายงานปรับปรุงพันธุ์พืช ทำงาน 5 ปี (คิดเป็นเงินเดือนนักวิจัย ค่าสถานที่วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ) เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดที่เราสามารถสนับสนุนเกษตรกรได้ ถ้ามานั่งมองกันว่าปีๆนึงเค้าทำงานได้แค่ไหนบ้าง ก็คงไม่แฟร์ หรืองานวิจัยของหลายๆท่านที่ดูแล้วไม่เห็นผล เหมือนวินมอเตอร์ไซด์ขับรถ 100 เที่ยว (ตามที่ จขกท บอก) แต่งานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาของประเทศ "อย่างยั่งยืน" มันก็ดูไม่แฟร์กับพวกเขาเหล่านั้นเช่นกันที่จะถูกต่อว่าว่าไม่ได้พัฒนาอะไรในประเทศเรา
ตลอดเวลาการเรียนปริญญาเอกของเรา สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือ งานวิจัยของทุกคนมีค่าทั้งสิ้น แม้บางคนงานนั้นจะไม่สามารถเอาไปใช้ได้เลย แต่ก็เป็นเหมือนบันไดให้เดินต่อขึ้นไปอีก งานวิจัยที่เราเห็นออกมาแล้วหลายๆงานจากคนไทย เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัด กว่าจะมาเป็นวัคซีนที่ใช้ได้จริงนี่ หลายๆครั้งเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้หลายงานเลย ซึ่งถ้าคิดว่ามันไม่คุ้มทุนที่จะลงทุนกับนักวิจัยเหล่านี้ แค่ไปซื้อมาก็ได้ผล เราก็คงจะเป็นผู้ตามเค้าต่อไป
เราขอถือวิสาสะเดา ว่า จขกท กำลังเรียนวิทยาศาสตร์อยู่นี่แหละ และกำลังหน่ายใจกับการต้องตีพิมพ์ผลงานตัวเอง เพราะไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม ถ้าเดาผิดเราขอโทษนะ (เรื่องตีพิมพ์ผลงาน มันเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยที่จะต้องเพิ่มปริมาณเปเปอร์ เพราะเป็นปัจจัยหลักๆในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ชอบแข่งกันอยู่ทุกวันนี้ สำหรับเรา น่าเบื่อมาก) แต่เราก็เข้าใจว่าการตีพิมพ์สำหรับคนทำงานวิจัย เป็นการบอกว่างานของเราได้มาตรฐานหรือไม่
เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราไม่ได้มีความรู้ในทุกแขนง แต่เราเคารพทุกงาน รวมถึงเราเชื่อว่าเขาเหล่านั้นมีเหตุผลที่จะทำงานวิจัยของเขา สิ่งที่ จขกท คิดคือไปซื้อเค้ามาเลยคุ้มกว่าการสร้างนักวิทยาศาสตร์ ถามว่า...เรามีเงินซื้อเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ตลอดไปเหรอ ถ้าลงทุนสร้างนักวิทยาศาสตร์ นอกจากเขาจะทำงานเพื่อตอบโจทย์แล้ว งานที่เขาทำก็จะเป็นประโยชน์ให้คนรุ่นต่อไปทำต่อไปอีก มันไม่จบไม่สิ้น
ได้ยินมาจากหนังเรื่อง 2012 "นักการเมือง 20 คน มีค่าไม่เท่านักวิทยาศาสตร์ 1 คน"
ไม่ได้พาดพิงการเมืองนะ อาจจะเข้าข้างตัวเอง แต่รู้สึกชอบประโยคนี้มาก
เวลาเราเข้าฟังสัมมนาเพื่อนๆเรา (เรามีวิชาสัมมนาในหลักสูตรที่ต้องเข้าทุกเทอม หลักสูตรที่เราอยู่เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างกว้างในสายชีววิทยา) เราต้องฟังงานวิจัยของผู้ร่วมหลักสูตรจากหลายๆสาย ซึ่งคำถามในใจที่เกิดขึ้นตลอดมากับหลายๆงานคือ ทำแล้วได้อะไร บางงานทำแค่เพื่อได้ผลงานตีพิมพ์เหรอ
แต่เมื่อมีประสบการณ์มาเรื่อยๆ ทำให้เข้าใจว่างานวิจัยแต่ละงานที่นักวิทยาศาสตร์ (ทุกแขนง) ทำอยู่นั้น เกิดขึ้นมาจากโจทย์วิจัย ซึ่งมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ของโจทย์วิจัยเหล่านั้นมาจากปัญหาของประเทศ หรือแนวทางในการพัฒนาประเทศ การจะขอทุนแต่ละแหล่ง เค้าก็มีการพิจารณาถึงความสำคัญของงานต่อประเทศด้วย ก็ถูกของเจ้าของกระทู้นะว่าทำมาแล้วได้อะไร ได้แต่ผลงานตีพิมพ์แล้วเอาไปใช้ไม่ได้ แต่!!! งานแต่ละงานกว่าจะได้เป็นผลผลิตที่เห็นเป็นรูปธรรม มันไม่ได้ง่ายเหมือนผัดข้าว 100 จาน
ยกตัวอย่างสายงานปรับปรุงพันธุ์พืช ทำงาน 5 ปี (คิดเป็นเงินเดือนนักวิจัย ค่าสถานที่วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ) เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุดที่เราสามารถสนับสนุนเกษตรกรได้ ถ้ามานั่งมองกันว่าปีๆนึงเค้าทำงานได้แค่ไหนบ้าง ก็คงไม่แฟร์ หรืองานวิจัยของหลายๆท่านที่ดูแล้วไม่เห็นผล เหมือนวินมอเตอร์ไซด์ขับรถ 100 เที่ยว (ตามที่ จขกท บอก) แต่งานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาของประเทศ "อย่างยั่งยืน" มันก็ดูไม่แฟร์กับพวกเขาเหล่านั้นเช่นกันที่จะถูกต่อว่าว่าไม่ได้พัฒนาอะไรในประเทศเรา
ตลอดเวลาการเรียนปริญญาเอกของเรา สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือ งานวิจัยของทุกคนมีค่าทั้งสิ้น แม้บางคนงานนั้นจะไม่สามารถเอาไปใช้ได้เลย แต่ก็เป็นเหมือนบันไดให้เดินต่อขึ้นไปอีก งานวิจัยที่เราเห็นออกมาแล้วหลายๆงานจากคนไทย เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัด กว่าจะมาเป็นวัคซีนที่ใช้ได้จริงนี่ หลายๆครั้งเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้หลายงานเลย ซึ่งถ้าคิดว่ามันไม่คุ้มทุนที่จะลงทุนกับนักวิจัยเหล่านี้ แค่ไปซื้อมาก็ได้ผล เราก็คงจะเป็นผู้ตามเค้าต่อไป
เราขอถือวิสาสะเดา ว่า จขกท กำลังเรียนวิทยาศาสตร์อยู่นี่แหละ และกำลังหน่ายใจกับการต้องตีพิมพ์ผลงานตัวเอง เพราะไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม ถ้าเดาผิดเราขอโทษนะ (เรื่องตีพิมพ์ผลงาน มันเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยที่จะต้องเพิ่มปริมาณเปเปอร์ เพราะเป็นปัจจัยหลักๆในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่ชอบแข่งกันอยู่ทุกวันนี้ สำหรับเรา น่าเบื่อมาก) แต่เราก็เข้าใจว่าการตีพิมพ์สำหรับคนทำงานวิจัย เป็นการบอกว่างานของเราได้มาตรฐานหรือไม่
เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราไม่ได้มีความรู้ในทุกแขนง แต่เราเคารพทุกงาน รวมถึงเราเชื่อว่าเขาเหล่านั้นมีเหตุผลที่จะทำงานวิจัยของเขา สิ่งที่ จขกท คิดคือไปซื้อเค้ามาเลยคุ้มกว่าการสร้างนักวิทยาศาสตร์ ถามว่า...เรามีเงินซื้อเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ตลอดไปเหรอ ถ้าลงทุนสร้างนักวิทยาศาสตร์ นอกจากเขาจะทำงานเพื่อตอบโจทย์แล้ว งานที่เขาทำก็จะเป็นประโยชน์ให้คนรุ่นต่อไปทำต่อไปอีก มันไม่จบไม่สิ้น
ได้ยินมาจากหนังเรื่อง 2012 "นักการเมือง 20 คน มีค่าไม่เท่านักวิทยาศาสตร์ 1 คน"
ไม่ได้พาดพิงการเมืองนะ อาจจะเข้าข้างตัวเอง แต่รู้สึกชอบประโยคนี้มาก
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
สิ่งที่ผมคิดว่าต้องทำความเข้าใจคือคำจำกัดความ
เช่น อะไรคืออาชีพนักวิทยาศาสตร์ และ อะไรคือผลประโยชน์
นักวิทยาศาสตร์
หมายถึงใคร นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ นักวิทยาศาสตร์ในห้องแลบ อาจารย์สายวิทย์
รวมหมอ หมอฟัน สัตวแพทย์ เภสัชฯ พยาบาล ทหาร นักเศรษฐศาสตร์ วิศวกรด้วยหรือเปล่า
บางอาชีพมันวิทยาศาสตร์จ๋าอยู่แล้วเช่นวิศวะ หมอบางสาขา
หมอบางอาชีพเกือบจะเป็นนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่นหมอรังสีรักษาที่เชี่ยวชาญเรื่องนิวเคลียร์ฟิสิกส์
เรื่องผลประโยชน์
ผมคิดว่า จขกท. คงหมายถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรแบบทันทีทันใด
เช่น เมื่อคนนั่งวินมอร์ไซค์ เขาก็จะจ่ายเงิน ถือว่าเกิดผลประโยชน์แล้ว
ถ้าเป็นแบบนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ถือว่าทำประโยชน์ให้องค์กรในแบบเดียวกัน
เช่นเมื่อลูกค้าจ่ายเงินค่าตรวจแลบหรือนักศึกษาจ่ายค่าลงทะเบียน
ส่วนผลประโยชน์ระยะยาวทางวิทยาศาสตร์ถือว่าสูงมาก เช่น
»การพบสีย้อมผ้าในสมัยก่อนสงครามโลก
»การค้นพบทรานซิสเตอร์
»การค้นพบยาต่างๆฯลฯ (คิดว่า จขกท.คงรู้อยู่แล้ว)
แต่ยังสงสัยหน่วยนับ รู้สึกว่าจขกท. จะนับเป็น "ราย" ไม่ได้นับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์
เช่นคนขับมอร์เตอร์ไซค์ทุกคนทำงานดีก็นับเป็นร้อยเปอร์เซนต์
แต่นักวิทยาศาสตร์ในองค์กรมีร้อยคน แม้มีหนึ่งคนทำรายได้ให้องค์กรหรือประเทศเป็นแสนล้านบาทก็นับเป็น 1/100
(เช่นนักวิทยาศาสตร์ของ IBM ที่พบ Scanning Tunneling Electron Microscope ก็มีคนหรือสองคน)
นอกจากนั้น
»นักคณิตศาสตร์ก็ทำรายได้เป็นล้านๆบาทให้กับบริษัทประกันชีวิต
»เภสัขกรและนักเคมีก็ทำรายได้ให้บริษัทยาเป็นล้านล้านบาท
อย่างเช่นคนที่พบ Viagra
»รายได้เข้าประเทศตอนนี้หลายแสนล้านบาทก็มาจาก food science
เช่น อะไรคืออาชีพนักวิทยาศาสตร์ และ อะไรคือผลประโยชน์
นักวิทยาศาสตร์
หมายถึงใคร นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ นักวิทยาศาสตร์ในห้องแลบ อาจารย์สายวิทย์
รวมหมอ หมอฟัน สัตวแพทย์ เภสัชฯ พยาบาล ทหาร นักเศรษฐศาสตร์ วิศวกรด้วยหรือเปล่า
บางอาชีพมันวิทยาศาสตร์จ๋าอยู่แล้วเช่นวิศวะ หมอบางสาขา
หมอบางอาชีพเกือบจะเป็นนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่นหมอรังสีรักษาที่เชี่ยวชาญเรื่องนิวเคลียร์ฟิสิกส์
เรื่องผลประโยชน์
ผมคิดว่า จขกท. คงหมายถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรแบบทันทีทันใด
เช่น เมื่อคนนั่งวินมอร์ไซค์ เขาก็จะจ่ายเงิน ถือว่าเกิดผลประโยชน์แล้ว
ถ้าเป็นแบบนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ถือว่าทำประโยชน์ให้องค์กรในแบบเดียวกัน
เช่นเมื่อลูกค้าจ่ายเงินค่าตรวจแลบหรือนักศึกษาจ่ายค่าลงทะเบียน
ส่วนผลประโยชน์ระยะยาวทางวิทยาศาสตร์ถือว่าสูงมาก เช่น
»การพบสีย้อมผ้าในสมัยก่อนสงครามโลก
»การค้นพบทรานซิสเตอร์
»การค้นพบยาต่างๆฯลฯ (คิดว่า จขกท.คงรู้อยู่แล้ว)
แต่ยังสงสัยหน่วยนับ รู้สึกว่าจขกท. จะนับเป็น "ราย" ไม่ได้นับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์
เช่นคนขับมอร์เตอร์ไซค์ทุกคนทำงานดีก็นับเป็นร้อยเปอร์เซนต์
แต่นักวิทยาศาสตร์ในองค์กรมีร้อยคน แม้มีหนึ่งคนทำรายได้ให้องค์กรหรือประเทศเป็นแสนล้านบาทก็นับเป็น 1/100
(เช่นนักวิทยาศาสตร์ของ IBM ที่พบ Scanning Tunneling Electron Microscope ก็มีคนหรือสองคน)
นอกจากนั้น
»นักคณิตศาสตร์ก็ทำรายได้เป็นล้านๆบาทให้กับบริษัทประกันชีวิต
»เภสัขกรและนักเคมีก็ทำรายได้ให้บริษัทยาเป็นล้านล้านบาท
อย่างเช่นคนที่พบ Viagra
»รายได้เข้าประเทศตอนนี้หลายแสนล้านบาทก็มาจาก food science
ความคิดเห็นที่ 27
เจ้าของกระทู้ตั้งพลาดตั้งแต่กระทู้ครับ
เจ้าของกระทู้ยกตัวอย่าง
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 100 คัน ประสิทธิภาพ 100%
ร้านอาหาร 100 ร้าน ประสิทธิภาพ 100%
แต่ พอมาที่นักวิทยาศาสตร์ กลับบอกว่า 100 คน ประสิทธิภาพไม่เต็ม 100
1. เป็นการยกตัวอย่างที่ไม่ยุติธรรม
เพราะสองอันแรกบอกว่าได้เต็มร้อย แต่พอมานักวิทยาศาสตร์กลับบอกว่าไม่เต็มร้อย
เป็นการสรุปไว้ก่อนแล้ว
2. จงใจไม่วัดผล
ไปลงตีความ"สรุปเอาเอง" ว่างานวิจัยส่วนใหญ่คือขึ้นหิ้ง และไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ
การจะบอกว่างานวิจัยไหนขึ้นหิ้งหรือไม่ขึ้นหิ้ง ต้องมีตัวชี้วัดครับ และควรจะต้องเป็นตัวชี้วัดที่เท่าเทียมกัน
เช่นถ้าคุณลงไปถึงการบอกว่านักวิทยาศาสตร์วิจัย แล้วปรากฎว่างานวิจัยขึ้นหิ้ง ไม่ได้ทำประโยชน์ให้สังคม ดังนั้นประสิทธิภาพไม่ดี
ก็ต้องไปดูว่าคนที่มอเตอร์ไซค์รับจ้างขนส่ง ไปทำอะไร .. ถ้าผู้โดยสารไปซื้อยาเสพติด ไปปล้นคน ก็ต้องหักลบคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ร้านอาหาร ก็ต้องมีจุดอ้างอิงว่าอะไรคือประสิทธิภาพ อิ่มท้อง - ราคา - ความสะอาดโภชนาการ - สวยงาม
ถ้าหากวัดคุณค่าด้วยความอิ่มท้อง ... ร้านไหนทำอาหารหรูหราดูดีมีรสชาติแต่ปริมาณน้อยราคาแพง ก็ต้องหักคะแนน
ถ้าวัดคุณค่าด้วยโภชนาการ ... ร้านไหนราคาถูกอิ่มท้องแต่สารอาหารไม่สมดุลก็เจอหักคะแนน
จริงๆ ทุกอาชีพมีคุณค่า มีความสำคัญ เพียงแต่ว่าตัวของเราอยู่ในสังคมหรือตัวเรามีผลประโยชน์ที่คาบเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน
หากเราไม่มีผลประโยชน์หรือมีชีวิตที่ต้องการความสำคัญของสิ่งนั้น เราก็อาจจะมีตัวชี้วัดที่ไม่ยุติธรรมต่อสิ่งนั้นได้
เจ้าของกระทู้ยกตัวอย่าง
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 100 คัน ประสิทธิภาพ 100%
ร้านอาหาร 100 ร้าน ประสิทธิภาพ 100%
แต่ พอมาที่นักวิทยาศาสตร์ กลับบอกว่า 100 คน ประสิทธิภาพไม่เต็ม 100
1. เป็นการยกตัวอย่างที่ไม่ยุติธรรม
เพราะสองอันแรกบอกว่าได้เต็มร้อย แต่พอมานักวิทยาศาสตร์กลับบอกว่าไม่เต็มร้อย
เป็นการสรุปไว้ก่อนแล้ว
2. จงใจไม่วัดผล
ไปลงตีความ"สรุปเอาเอง" ว่างานวิจัยส่วนใหญ่คือขึ้นหิ้ง และไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ
การจะบอกว่างานวิจัยไหนขึ้นหิ้งหรือไม่ขึ้นหิ้ง ต้องมีตัวชี้วัดครับ และควรจะต้องเป็นตัวชี้วัดที่เท่าเทียมกัน
เช่นถ้าคุณลงไปถึงการบอกว่านักวิทยาศาสตร์วิจัย แล้วปรากฎว่างานวิจัยขึ้นหิ้ง ไม่ได้ทำประโยชน์ให้สังคม ดังนั้นประสิทธิภาพไม่ดี
ก็ต้องไปดูว่าคนที่มอเตอร์ไซค์รับจ้างขนส่ง ไปทำอะไร .. ถ้าผู้โดยสารไปซื้อยาเสพติด ไปปล้นคน ก็ต้องหักลบคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ร้านอาหาร ก็ต้องมีจุดอ้างอิงว่าอะไรคือประสิทธิภาพ อิ่มท้อง - ราคา - ความสะอาดโภชนาการ - สวยงาม
ถ้าหากวัดคุณค่าด้วยความอิ่มท้อง ... ร้านไหนทำอาหารหรูหราดูดีมีรสชาติแต่ปริมาณน้อยราคาแพง ก็ต้องหักคะแนน
ถ้าวัดคุณค่าด้วยโภชนาการ ... ร้านไหนราคาถูกอิ่มท้องแต่สารอาหารไม่สมดุลก็เจอหักคะแนน
จริงๆ ทุกอาชีพมีคุณค่า มีความสำคัญ เพียงแต่ว่าตัวของเราอยู่ในสังคมหรือตัวเรามีผลประโยชน์ที่คาบเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากน้อยแค่ไหน
หากเราไม่มีผลประโยชน์หรือมีชีวิตที่ต้องการความสำคัญของสิ่งนั้น เราก็อาจจะมีตัวชี้วัดที่ไม่ยุติธรรมต่อสิ่งนั้นได้
ความคิดเห็นที่ 17
อยากตอบกระทู้นี้มาก แต่[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ไม่เก่ง
ทั้ง 100 กว่าท่าน ในกระทู้นี้ พยายามกันเต็มที่ หลายเพลงแล้ว
ตอบได้แค่ว่า ก็ต้องลองมาเรียน มาเป็นเอง
นั่งมโนเอานั้น ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์นะ
หมายเหตุ : บอกแล้วว่าเราไม่เก่ง กระแนะกระแหนก็ไม่เป็นหรอก
ขออภัยที่พูดจาไม่ค่อยเข้าหู เพราะพูดแต่ความจริง ที่พิสูจน์ได้
ทั้ง 100 กว่าท่าน ในกระทู้นี้ พยายามกันเต็มที่ หลายเพลงแล้ว
ตอบได้แค่ว่า ก็ต้องลองมาเรียน มาเป็นเอง
นั่งมโนเอานั้น ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์นะ
หมายเหตุ : บอกแล้วว่าเราไม่เก่ง กระแนะกระแหนก็ไม่เป็นหรอก
ขออภัยที่พูดจาไม่ค่อยเข้าหู เพราะพูดแต่ความจริง ที่พิสูจน์ได้
แสดงความคิดเห็น
อาชีพนักวิทยาศาสตร์ส่งผลดีต่อสังคม ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้จริงหรือ ?
หรือร้านอาหาร 100 ร้าน ประสิทธิภาพ 100 เปอเซนต์ผลิตอาหารขายทำเงินได้จริงๆ เงินที่จับต้องได้จริงๆ ทำให้มีมีเงินหมุนเวียนในระบบ ศก. จริงๆ
แต่มาดูอาชีพนักวิทยาศาสตร์ สมมติมี 100 คน ประสิทธิภาพหรอ อืมถ้าวัดจากประสิทธิภาพการขับเคลื่อน ศก. จะตีเป็นกี่เปอเซนต์ดี สมมติ เรียนไปจบมา ทำงานวิจัย มีงานวิจัยกี่เปอเซนต์กันเชียวที่ สามารถทำเม็ดเงินได้ ส่วนใหญ่ก็ขึ้นหิ้ง แล้วการสอนหนังสือ การแต่งตำราหล่ะ ก็เป็นเพียงอะไรที่คล้ายๆหรือเป็น ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) ซึ่งถามว่าตีมูลค่าเป็นเงินได้ไหมก็ไม่น่าได้ นั้นนักวิทย์ร้อยคนถ้า สอนหนังสือ ตีพิมพ์เปเปอร์ แต่งตำรา แต่ทั้งหมดถ้างานวิจัยไม่สามารถเอามาทำเป็นเงินได้ แบบร้านอาหาร แบบวินมอเตอรไซ แล้วจะส่งผลถึงประสิทธิภาพการขับเคลื่อน ศก. ได้อย่างไร คำตอบก็คงไม่ได้
แต่ถ้ามีนักวิทย์ใน 100 คนนั้นมี 1 คนสามารถพิมพ์เปเปอร์ที่เอามาหาเงินได้จริงๆ ก็คือมีประสิทธิภาพการขับเคลื่อนทาง ศก. 1 เปอเซนต์
ซึ่งเทียบกับวินมอเตอร์ไซ กับร้านอาหารตามสั่ง ที่มีประสิทธิภาพการหาเงินได้ 100 เปอเซนต์แล้วน้อยมาก
อ่านประวัติของสตีเฟน ฮอกกิ้งจากหนังสือ My Brief History - Stephen Hawking แล้ว เขายังบอกเลยว่า 18+ อาจจะไม่สุภาพนะ อาชีพนักวิทยาศาสตร์เหมือนกับอาชีพprosti... คือได้รับความสุขจากงานที่ตัวเองทำ แถมยังได้เงินอีก 555+
คือนักวิทยาศาสตร์ตอนเรียนกว่าจะจบปอเอกก็ต้องนานหลายปี แถมระหว่างนั้นยังไม่มีรายได้อีก แต่ก็ได้ทดลองทำสิ่งต่างๆที่ตัวเองชอบจริง
มีเวลาว่างอ่านหนังสือ ทำงานวิจัย เรียนสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ แต่ถามว่า คุ้มไหมกับการผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยเงินและเวลาที่ยาวนาน แต่ประสิทธิภาพทำเงินให้ ระบบ ศก. อาจจะแค่ 1%
หรืออย่างพนักงานออฟฟิต ทำงานเอกสาร ทำงานเซลล์ ทำงานวางแผนสินค้าผลิตภัณฑ์ ที่อาจโดนตั้งคำถามว่าอาชีพเหล่านี้ไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ หรือกระบวนการคิดที่ซับซ้อน แต่ถ้าของขายได้ก็ส่งผลดีต่อ ศก. จริงๆชัวๆ แอบโซลูทลี่ นับเป็น Economic capital หา เงินสดได้จริง แต่อาชีพนักวิทยาศาสตร์นี่จะส่งผลอย่างไรต่อ ศก.
ประเทศไทยในอดีตก็มีแต่กวี นักปกครอง ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ ประเทศขาดแคลนนักวิทย์เป็นปัญหามายาวนาน แต่ประเทศก็ยังเจริญได้ดี ฝรั่งมากรุงเทพนี่อึ้ง เห็นตึกระฟ้า ถนนหนทาง รถ ลา ก็อเมซซิ่งไทยแลนด์มากๆ
อาชีพนักวิทยาศาสตร์ส่งผลดีต่อสังคม ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้จริงหรือ ?